ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การถ่ายภาพทิวทัศน์: เคล็ดลับสำหรับภาพโฟกัสชัดลึกที่สวยงามน่าทึ่ง

2017-09-07
7
12.14 k
ในบทความนี้:

เมื่อคุณออกเดินทางไปยังสถานที่ที่สวยงามและพบภาพทิวทัศน์อันงดงามที่ทอดตัวไปไกลสุดสายตา คุณจะสามารถเก็บทุกรายละเอียดของภาพทิวทัศน์นี้ให้ออกมาคมชัดได้อย่างไร ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับสองประการจากช่างภาพมืออาชีพ เกี่ยวกับสิ่งที่คุณควรให้ความสำคัญในการถ่ายภาพดังกล่าว (เรื่องโดย: Yoshiki Fujiwara)

ภาพทิวทัศน์ ถ่ายด้วย EOS 6D

EOS 6D/ EF16-35mm f/4L IS USM/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/30 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

 

ขับเน้นรายละเอียดของทิวทัศน์ด้วยการบันทึกภาพแบบ RAW และโฟกัสชัดลึก

เพื่อให้ได้ภาพถ่ายบอลลูนที่ลอยกระจัดกระจายเต็มองค์ประกอบภาพทั้งในระยะใกล้และไกลให้ออกมาคมชัด ผมใช้เทคนิคโฟกัสชัดลึก โดยตั้งค่ารูรับแสงที่ f/11 และตั้งค่าคุณภาพการบันทึกภาพไปที่ RAW

ไฟล์ภาพในรูปแบบ RAW มีข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ เช่น ข้อมูลแสง (รวมทั้งข้อมูลสี) ที่ได้รับจากเซนเซอร์ภาพ แต่อาจไม่แสดงให้เห็นในภาพถ่าย การประมวลผลไฟล์ช่วยให้คุณสามารถใช้ข้อมูลนี้ได้อย่างเต็มที่ เช่น ขับเน้นสีสันที่อาจ "ซุกซ่อนไว้" ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับฉากที่มีความเปรียบต่างระหว่างพื้นที่สว่างกับมืดมาก เช่น ภาพพระอาทิตย์ขึ้น ตัวอย่างเช่น ในภาพหลัก กระบวนการปรับแต่งภาพ RAW ทำให้โทนสีส้มโดดเด่นจากไฮไลต์ทางด้านซ้ายของภาพด้านบน ขณะที่ส่วนที่เป็นเงาของผิวน้ำซึ่งอาจดูมืดจะออกมาสว่างและเป็นสีน้ำเงิน

ผมมักเลือกใช้เทคนิคโฟกัสชัดลึกอยู่เสมอๆ เพื่อให้แน่ใจว่าจะเก็บบันทึกข้อมูลในรูปแบบไฟล์ภาพ RAW ไว้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

คุณทราบหรือไม่ว่าคุณสามารถประมวลผลภาพ RAW ในกล้องรุ่นล่าสุดของ Canon ได้ โปรดดูที่:
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง #4: ฉันสามารถทำอะไรได้บ้างกับกระบวนการปรับแต่งภาพ RAW ภายในกล้อง

ใช้ความไวแสง ISO ต่ำ เพื่อเพิ่มความสว่างให้แก่ส่วนเงา
หากเราลองลดความสว่างของท้องฟ้าที่ส่วนบนของภาพ ผิวน้ำอาจออกมามืดเกินไป และจุดรบกวนจะเห็นได้ชัดเจนหากเพิ่มความสว่างให้กับผิวน้ำที่มืดในระหว่างกระบวนการปรับแต่งภาพ RAW จึงจำเป็นจะต้องใช้ความไวแสง ISO ต่ำ เพื่อลดจุดรบกวนให้เหลือน้อยที่สุด ผมจึงเลือกถ่ายภาพโดยใช้ค่าความไวแสง ISO ที่ 100

ภาพโคลสอัพของผิวน้ำ (EOS 6D)

ภาพโคลสอัพที่บริเวณผิวน้ำหลังผ่านกระบวนการปรับแต่งภาพ ไฟล์ RAW มีรายละเอียดเพียงพอเกี่ยวกับพื้นที่ที่มืดเกินไปในตอนแรก และนำมาเพิ่มความสว่างด้วยกระบวนการปรับแต่งภาพ

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Yoshiki Fujiwara

แต่เดิม Fujiwara เคยเป็นนักสโนว์บอร์ดมืออาชีพ ต่อมาได้ผันตัวเข้าสู่อาชีพที่สองในฐานะช่างภาพหลังจากเลิกเล่นสโนว์บอร์ดเพราะอาการบาดเจ็บ เขามุ่งหาวิธีใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติเพื่อสร้างความรู้สึกโปร่งแสง และประสบการณ์ที่ได้รับจากการศึกษาด้วยตนเองทำให้ภาพถ่ายของเขาได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน “10 ภาพที่แชร์กันอย่างแพร่หลายของ Tokyo Camera Club”

http://www.yoshiki-fujiwara.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา