ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ภาพทิวทัศน์ในฤดูร้อนที่สวยงามน่าทึ่ง: จุดชมวิวในญี่ปุ่นและเคล็ดลับของช่างภาพมืออาชีพ (1)

2017-06-15
0
5.91 k
ในบทความนี้:

สี่ฤดู สี่สไตล์ในญี่ปุ่นให้ประสบการณ์่ถ่ายภาพอันน่าตื่นตาตื่นใจตลอดทั้งปีสำหรับบรรดาช่างภาพ ในบทความต่อเนื่องชุดนี้ เราจะมาดูจุดชมวิวที่สวยงามเป็นพิเศษในช่วงฤดูร้อนและได้รับความนิยมในหมู่ช่างภาพมืออาชีพ พร้อมกับเผยสุดยอดเทคนิคที่มีประโยชน์สำหรับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ในรุ่งเช้าและยามพระอาทิตย์ตกดิน (เรื่องโดย: Michiko Kaneko, Rika Takemoto)

ภาพอาทิตย์อัสดง ถ่ายด้วย EOS 5D Mark III

 

1: สวนดอกไม้ในสวนสาธารณะโคไคกาวะ ฟุเรไอ (อิบารากิ ญี่ปุ่น)

ภาพภูเขาสึคุโบะที่ถ่ายหลังพระอาทิตย์ขึ้นด้วย EOS 5D Mark III

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/16, 1/20 วินาที, EV+0.7)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
ภาพโดย Michiko Kaneko
สถานที่: โฮริโกเมะ เมืองชิโมะซึมะ จังหวัดอิบารากิ ญี่ปุ่น/ ช่วงที่ดีที่สุดสำหรับถ่ายภาพ: ต้นเดือนมิถุนายน/ เวลาถ่ายภาพ: 05:00 น.

 

ดอกป๊อปปี้ที่บานสะพรั่งไปทั่วบริเวณเชิงเขาภูเขาสึคุบะ

สำหรับการถ่ายภาพนี้ ฉันเลือกใช้เลนส์ 24 มม. ที่มีเอฟเฟ็กต์การขยายมุมมองเปอร์สเปคทีฟเกินจริง ซึ่งสามารถขับเน้นทุ่งดอกป๊อปปี้ที่กำลังเบ่งบานไปสุดลูกหูลูกตา ฉันขยับเข้าไปใกล้ดอกป๊อปปี้ที่กำลังเปล่งประกายสดใสเมื่อต้องแสงอาทิตย์ตอนเช้าตรู่ และจัดให้ภาพดอกไม้เต็มพื้นที่สองในสามส่วนขององค์ประกอบภาพเพื่อเพิ่มเอฟเฟ็กต์การขยายมุมมองเปอร์สเปคทีฟเกินจริงให้เด่นชัดมากขึ้น

สิ่งหนึ่งที่ควรระมัดระวังคือ คุณต้องแน่ใจว่าองค์ประกอบภาพอยู่ในแนวนอน หากคุณถ่ายภาพหลังพระอาทิตย์ขึ้น เมื่อมองเห็นดวงอาทิตย์ที่ด้านหลังภูเขาสึคุบะได้ชัดเจน คุณจะสามารถจับภาพประกายของหยาดน้ำค้างยามเช้าบนกลีบและก้านดอกไม้ ซึ่งปรากฏขึ้นเพียงชั่วขณะแม้จะถ่ายภาพในสภาวะย้อนแสง อีกทั้งยังถ่ายทอดสีสันของกลีบดอกไม้ที่สดชัดมากที่สุดได้

 

ภาพเสีย: หยดน้ำค้างยามเช้าจะไม่ส่องประกายหากคุณถ่ายภาพก่อนพระอาทิตย์ขึ้น

ภาพภูเขาสึคุโบะที่ถ่ายก่อนพระอาทิตย์ขึ้นด้วย EOS 5D Mark III

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/16, 1/5 วินาที, EV+0.3)/ ISO 200/ WB: Manual
ภาพโดย Michiko Kaneko
หากคุณถ่ายภาพก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ดอกป๊อปปี้จะดูหม่นหมองไม่มีชีวิตชีวา และไม่สามารถจับภาพประกายของหยาดน้ำค้างยามเช้าได้

อ่านบทความของเราเกี่ยวกับ: 
การถ่ายภาพทิวทัศน์ในยามเช้าตรู่: ถ่ายภาพก่อนหรือหลังพระอาทิตย์ตกดินดี?

 

2: ทะเลสาบชินจิ (ชิมาเนะ)

ภาพอาทิตย์อัสดง ถ่ายด้วย EOS 5D Mark II

EOS 5D Mark II/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 47 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/25 วินาที, EV+0.3)/ ISO 200/ WB: แสงในร่ม
ภาพโดย Rika Takemoto
สถานที่: โซเดชิ-โช เมืองมัตสึเอะ จังหวัดชิมาเนะ ญี่ปุ่น/ ช่วงที่ดีที่สุดสำหรับถ่ายภาพ: ปลายเดือนมิถุนายน/ เวลาถ่ายภาพ: 19:00 น.

 

จุดยอดนิยมที่แนะนำใน "สุดยอดพระอาทิตย์ตกที่ญี่ปุ่น 100 แห่ง"

บริเวณริมฝั่งทะเลสาบชินจิซึ่งมีจุดท่องเที่ยวหลายแห่งที่มีทัศนียภาพพระอาทิตย์ตกดินอันสวยสดงดงาม ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสถานที่สำหรับสุดยอดพระอาทิตย์ตกที่ญี่ปุ่น 100 แห่ง* เงาที่สวยสะกดใจในภาพด้านล่างนั้นคือเกาะโยะเมะงะชิมะ ซึ่งตั้งอยู่โดดเดี่ยวบนทะเลสาบ

ในขณะถ่ายภาพ ก้อนเมฆที่ลอยอยู่เหนือทะเลสาบอาบไล้ไปด้วยสีสันของดวงอาทิตย์อัสดง ฉันจึงตัดสินใจจัดภาพท้องฟ้าให้กินพื้นที่ส่วนใหญ่ขององค์ประกอบภาพ เพื่อขับเน้นขนาดของทิวทัศน์ให้ดูตระการตามากขึ้น ฉันเลือกใช้ทางยาวโฟกัสที่ 47 มม. โดยพิจารณาถึงความสมดุลระหว่างท้องฟ้า พระอาทิตย์ยามเย็น และเกาะ

ในวันนี้ลมพัดแรงมาก ฉันจึงปรับค่าความไวแสง ISO เพื่อป้องกันไม่ให้ความเร็วชัตเตอร์ช้าลง เพราะอาจทำให้เกิดปัญหากล้องสั่นไหวได้ ขอบฟ้าเต็มไปด้วยก้อนเมฆมากมาย แต่พอฉันคิดว่าวันนี้คงไม่มีโอกาสได้บันทึกภาพอาทิตย์ตกดิน ทันใดนั้นเองดวงอาทิตย์ก็ปรากฏขึ้นมาจากท่ามกลางหมู่เมฆ “การปรากฏตัวอีกครั้ง” อย่างไม่คาดคิดเช่นนี้ถือเป็นเรื่องปกติในการถ่ายภาพพระอาทิตย์ตกดิน และบ่อยครั้งทำให้เราได้ภาพที่สวยน่าทึ่งอย่างที่สุด ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมฉันจึงแนะนำให้คุณถ่ายภาพต่อไปอย่างน้อย 30 นาที หลังจากดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าแล้ว

เมื่อถ่ายภาพแสงยามเย็น ให้ตั้งค่า สมดุลแสงขาว เป็น "แสงในร่ม" หรือ "เมฆครึ้ม" เพื่อเพิ่มโทนสีแดงให้กับดวงอาทิตย์ที่กำลังตก พร้อมกับสร้างเอฟเฟ็กต์ที่เร้าอารมณ์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม พารามิเตอร์โทนสีของการตั้งค่าบางอย่างในรูปแบบภาพอาจส่งผลให้สีบางสีฉูดฉาดมากในภาพที่ออกมา ดังนั้น จะต้องให้ความสำคัญกับความสมดุลของสีขณะถ่ายภาพด้วย
*“สุดยอดพระอาทิตย์ตกที่ญี่ปุ่น 100 แห่ง” คือรายชื่อสถานที่ท่องเที่ยว 100 แห่งในญี่ปุ่นที่มีทิวทัศน์พระอาทิตย์ตกดินที่สวยงามที่สุด ซึ่งรวบรวมโดย NPO Association of Township Building Sunrise and Sunset in Japanese Islands

โปรดดูบทความต่อไปนี้หากต้องการทราบเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมดุลแสงขาวและการปรับแต่งโทนสี:
หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสมดุลแสงขาวช่วยสร้างโทนสีได้ดังใจนึก
วิธีการแสดงสีด้วยฟังก์ชั่นการแก้ไขสมดุลแสงขาว

 

ภาพเสีย: แสงอาทิตย์ออกมาเป็นโทนสีน้ำเงิน

ถ่ายพระอาทิตย์ตกที่ถ่ายด้วย EOS 5D Mark II (โทนสีน้ำเงิน)

EOS 5D Mark II/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 47 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/25 วินาที, EV+0.3)/ ISO 200/ WB: แสงแดด
ภาพโดย Rika Takemoto
การตั้งค่าสมดุลแสงขาวเป็น “แสงแดด” จะลดโทนสีแดงในภาพ และทำให้ภาพพระอาทิตย์ตกดินออกเป็นโทนสีน้ำเงิน

 

1: สวนดอกไม้ในสวนสาธารณะโคไคกาวะ ฟุเรไอ (อิบารากิ)
2: ทะเลสาบชินจิ (ชิมาเนะ)

 

โปรดดูบทความต่อไปนี้หากต้องการทราบเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก:
การตัดสินใจในการถ่ายภาพทิวทัศน์: ถ่ายยามเช้าหรือยามเย็นดีกว่ากัน
ถ่ายภาพสีสันสดใสและร้อนแรงของพระอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ
การตัดสินใจในการถ่ายภาพทิวทัศน์: ควรใส่ดวงอาทิตย์ไว้ในเฟรมภาพดีหรือไม่


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Michiko Kaneko

เกิดที่เมือง Sendai จังหวัด Miyagi เธอเริ่มสนใจการถ่ายภาพหลังจากบังเอิญได้เห็นภาพถ่ายที่ทำให้เธอเกิดแรงบันดาลใจใน Okunikko ในปี 1987 เธอศึกษาการถ่ายภาพจาก Shotaro Akiyama ช่างภาพผู้มีชื่อเสียงที่ล่วงลับไปแล้ว ก่อนจะเปิดสตูดิโอของตัวเองและผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ ด้วยความหลงใหลในสีสันอันงดงามของธรรมชาติ เธอจึงเดินทางไปทั่วญี่ปุ่นด้วยรถยนต์ของเธอ เพื่อเก็บภาพทิวทัศน์แสนสงบในฤดูต่างๆ รวมทั้งภาพที่มีทั้งรถไฟและทิวทัศน์ด้วย เธอเป็นสมาชิกของ Japan Professional Photographers Society (JPS) และ Japan Society for Arts and History of Photography (JSAHP)

Rika Takemoto

Rika เป็นช่างภาพทิวทัศน์ที่เริ่มต้นจากการถ่ายภาพเป็นกิจกรรมยามว่างตั้งแต่ปี 2004 และเริ่มดูแลเว็บไซต์แชร์ภาพถ่ายในปี 2007 เธอเรียนรู้การถ่ายภาพจากช่างภาพทิวทัศน์ธรรมชาติอย่าง Yoshiteru Takahashi ก่อนจะผันตัวเป็นช่างภาพอิสระ นับแต่นั้นมา เธอก็ได้ถ่ายภาพทิวทัศน์หลากหลายรูปแบบทั่วญี่ปุ่น (รวมถึงต่างประเทศด้วย)

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา