ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ถ่ายภาพสีสันสดใสและร้อนแรงของพระอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ

2016-07-28
3
4.83 k
ในบทความนี้:

การถ่ายภาพพระอาทิตย์ขึ้น (และพระอาทิตย์ตก) เป็นเรื่องที่ท้าทายเสมอ สภาพแสงที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาหมายความว่าคุณมีเวลาเพียงสั้นๆ เท่านั้น ก่อนที่สีสันจะเริ่มจางหายไป ถ้าเช่นนั้นแล้วคุณจะเอาชนะเวลานี้ได้อย่างไร ต่อไปนี้คือเทคนิคสองสามข้อที่ใช้กันในหมู่ช่างภาพมืออาชีพเพื่อถ่ายภาพสีสันอันสดใสของพระอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ (เรื่องโดย: Yoshio Shinkai)

EOS 5D Mark II/ EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 176 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/6 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: 3,800K
หากคุณไม่รีบถ่ายภาพอย่างรวดเร็ว สีสันที่สดใสของพระอาทิตย์ขึ้นจะจางหายไป ดังนั้น จึงควรมีไอเดียที่ชัดเจนว่าต้องการให้ผลงานออกมาเป็นอย่างไรก่อนที่จะเริ่มถ่ายภาพ การวางแผนก่อนล่วงหน้าช่วยให้คุณสามารถเตรียมตัวและยืนในตำแหน่งที่ถูกต้องได้ทันที ต่อไปนี้เป็นวิธีที่ทำให้ผมสามารถเก็บภาพยามรุ่งอรุณให้มีสีสันที่สวยสดใสมากที่สุด!

ก้อนเมฆที่สร้างอารมณ์ได้ดีที่สุดจะปรากฎขึ้นเป็นเวลา 30 นาทีก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น

รูปในภาพหลักนี้ถ่ายในช่วงฤดูร้อนที่โตเกียว จากสถานที่ซึ่งมองเห็นวิวทิวทัศน์ของกลุ่มอาคารสูงระฟ้าในย่านชินจูกุและโตเกียวสกายทรี ผมจัดเตรียมทุกอย่างให้พร้อมเป็นเวลาพักหนึ่งก่อนเวลาที่คาดหมายว่าพระอาทิตย์จะขึ้น จากนั้นก็เฝ้ารอ

เนื่องจากโทนสีของท้องฟ้าเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเมื่อดวงอาทิตย์เริ่มโผล่พ้นขอบฟ้า ดังนั้น การจะเก็บภาพช่วงเวลาสำคัญได้อย่างแม่นยำ เช่น เมื่อสีสันบนท้องฟ้าสดใสแจ่มชัดที่สุดได้นั้น ผมต้องทำงานแข่งกับเวลา ดังนั้น การวางแผนล่วงหน้าและใช้การตั้งค่าที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในภาพนี้ ผมให้ความสำคัญกับการตั้งค่า 3 อย่างเป็นพิเศษ ได้แก่ ทางยาวโฟกัส ค่า f และสมดุลแสงขาว 

(เข้าไปดู บทความนี้ เพื่ออ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีถ่ายภาพทิวทัศน์อันน่าทึ่งในยามเช้าตรู่)

 

จุดที่ 1: ดึงภาพทิวทัศน์ของเมืองให้ดูโดดเด่นด้วยทางยาวโฟกัส 176 มม.

ผมอยากถ่ายภาพที่แสดงให้เห็นการไล่เฉดสีในโทนสีของภาพดวงอาทิตย์ขึ้นไปพร้อมกับถ่ายทอดภาพทิวทัศน์ของเมืองเป็นภาพซิลูเอตต์ ดังนั้น ผมจึงเลือกใช้เลนส์เทเลโฟโต้ 176 มม. ที่ให้ เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพที่ "ดึงเอา" ภาพทิวทัศน์ของเมือง" ออกมาให้ดูโดดเด่น ซึ่งการทำให้ตึกสูงต่างๆ มีลักษณะเป็นกลุ่มอาคารขนาดเล็กจะช่วยขับเน้นให้ท้องฟ้าดูทรงพลังได้

 

จุดที่ 2: ถ่ายทอดรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ด้วย f/11

หากคุณใช้รูรับแสงที่แคบจนเกินไป จะมีปรากฏการณ์ที่เรียกว่าการกระจายแสงเกิดขึ้น ซึ่งทำให้คุณภาพของภาพถ่ายลดลง ภาพนี้ไม่จำเป็นต้องมีระยะชัดลึกมากเท่าใดนัก เนื่องจากเป็นภาพที่ถ่ายทอดทิวทัศน์ที่อยู่ไกลออกไป ดังนั้น การใช้ f/8 ก็นับว่าเพียงพอแล้ว อย่างไรก็ดี เนื่องจากมีความเปรียบต่างที่ชัดเจนระหว่างแสงและเงาในภาพ ผมจึงเลือกค่ารูรับแสงที่แคบลงที่ f/11 เพื่อไม่ให้รายละเอียดต่างๆ ของภาพเบลอ

 

จุดที่ 3: ตั้งค่าสมดุลแสงขาวเป็น 3,800K เพื่อทำให้ก้อนเมฆดูเป็นสีฟ้าจัดกว่าเดิม

เหตุผลที่ผมตั้งค่าสมดุลแสงขาวเป็น 3,800K เนื่องจากว่าก้อนเมฆดูมีโทนสีฟ้าเล็กน้อยอยู่แล้ว ซึ่งผมรู้สึกว่าเป็นสีที่ชวนมองอย่างมาก แน่นอนว่า ผมยังต้องการเน้นที่โทนสีแดงของพระอาทิตย์ยามรุ่งอรุณด้วยเช่นกัน ควรระมัดระวังการใช้สมดุลแสงขาวอัตโนมัติ เนื่องจากรายละเอียดของก้อนเมฆที่โดดเด่นด้วยแสงสีฟ้าอาจจมหายไปเมื่อใช้การตั้งค่านี้

 

คำแนะนำ: สีสันที่สดใสที่สุดมักจะปรากฎขึ้นเป็นเวลา 30 นาทีก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น

จังหวะเวลาเป็นปัจจัยสำคัญในการถ่ายภาพพระอาทิตย์ขึ้น สีสันที่สดใสที่สุดมักจะปรากฎขึ้นเป็นเวลา 30 นาทีก่อนเวลาที่คาดหมายว่าดวงอาทิตย์จะขึ้น ดังนั้น จึงควรเตรียมทุกอย่างให้พร้อมและเฝ้ารอก่อนจะถึงช่วงเวลาดังกล่าว (ในระหว่างนี้ คุณอาจสนุกไปกับ แสงสีฟ้าก่อนฟ้าสาง ได้ แต่ควรถ่ายภาพแสงสีฟ้านี้ในวันถัดไป เพราะต้องใช้การตั้งค่ากล้องที่แตกต่างกันอย่างมาก)
นอกจากนี้ สภาพอากาศยังมีอิทธิพลต่อภาพที่ถ่ายออกมาด้วยเช่นกัน ภาพดวงอาทิตย์ขึ้นดูสวยสดงดงามมากกว่าเดิมเมื่อมีก้อนเมฆปกคลุมรอบๆ ดังนั้น เราจึงควรรอให้วันที่อากาศดีผ่านพ้นไปเสียก่อน หากคุณถ่ายภาพในประเทศที่มี 4 ฤดู ฤดูร้อนเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมเช่นเดียวกัน 

 

 

หลังจากได้ทราบถึงหลักสำคัญในการถ่ายภาพพระอาทิตย์ขึ้นที่มีสีสันสดใสร้อนแรงแล้ว คุณจะลองถ่ายภาพ ยามเย็นที่งดงามน่าทึ่ง ดูบ้างไหมครับ?

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Yoshio Shinkai

Shinkai เกิดในจังหวัดนากาโน่ เมื่อปี 1953 เขาเริ่มต้นเดินทางไปทั่วประเทศญี่ปุ่นพร้อมกับกล้องขนาดใหญ่เพื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ในปี 1979 ปัจจุบัน เขาถ่ายภาพให้กับสื่อหลากหลายประเภท ตั้งแต่โปสเตอร์และปฏิทินไปจนถึงแผ่นพับด้านการท่องเที่ยวและนิตยสารถ่ายภาพ

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา