คำแนะนำแบบทีละขั้นตอน: เก็บภาพทิวทัศน์ยามเช้าตรู่ให้ดูสวยซึ้งนุ่มนวล
การปรับสมดุลแสงขาว (WB) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างสีที่ดูสวยซึ้งนุ่มนวลของยามเช้า นอกจากนี้ยังควรพิจารณามุมรับภาพและองค์ประกอบภาพที่ใช้ด้วย เพื่อสร้างภาพที่ออกมาดูสวยงามน่าประทับใจ เรียนรู้จากกระบวนการลองผิดลองถูกของผู้เขียนในขณะที่กำลังทดลองถ่ายภาพก่อนที่จะได้ภาพยามเช้าตรู่ที่ออกมาดูสวยซึ้งนุ่มนวล (เรื่องโดย: Masatsugu Korikawa)
EOS 5D Mark II/EF17-40mm f/4L USM/FL: 17 มม./Aperture Priority AE (f/8, 1/350 วินาที EV ±0)/ISO 1600/WB: 4,800K
ถ่ายภาพวิวการก่อสร้างเพื่อเก็บไว้เป็นบันทึก
มีคนหนุ่มสาวจำนวนมากมายหลั่งไหลมาเที่ยวนอกบ้านจนดึกดื่นในช่วงคืนวันหยุดนักขัตฤกษ์รอบๆ บริเวณสถานีชิบูยา ซึ่งงานก่อสร้างและงานซ่อมแซมได้เริ่มต้นขึ้น อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาแห่งความสงบเงียบได้แผ่เข้าปกคลุมสถานที่แห่งนี้เป็นช่วงเวลาสั้นๆ หลังรถไฟขบวนแรกของวันได้เคลื่อนตัวออกจากสถานี นี่คือฉากที่จะเลือนหายไปเมื่องานก่อสร้างยุติลง เหลือไว้แต่เพียงบันทึกที่เหมาะสมของฉากดังกล่าว ซึ่งสามารถถ่ายทอดผ่านภาพได้ นอกจากนั้นผมยังต้องการถ่ายภาพตอนเช้าตรู่ซึ่งสถานที่นี่ไม่คราคร่ำไปด้วยผู้คนรอบๆ สถานี ในวันที่ฟ้าใสเสียจนรู้สึกราวกับว่าคุณสามารถมองทะลุไปยังอนาคตได้
แม้ว่าสถานที่จริงที่ผมเลือกสำหรับการถ่ายภาพคือบนสะพานเดินเท้าที่ทางออกด้านตะวันออกของสถานีชิบูยา แต่ก็แทบจะไม่มีคนผ่านไปมาเลยในช่วงเวลานี้ ผมจึงสามารถลองมุมและองค์ประกอบต่างๆ ของกล้องได้อย่างอิสระ ภาพถ่ายที่ตอนต้นของบทความนี้ถ่ายหลังจากที่ผมลองใช้เวลาวางกล้องในตำแหน่งต่างๆ แล้ว ตอนนี้ หลังจากได้ลองถ่ายหลายๆ ภาพแบบลองผิดลองถูกแล้ว ผมจะอธิบายจุดที่คุณจะต้องคำนึงถึงในเรื่องเกี่ยวกับมุมรับภาพ องค์ประกอบภาพ และสมดุลแสงขาว ที่จะช่วยให้คุณถ่ายภาพแบบนั้นได้
จุดที่ 1: มุมรับภาพ – ใช้มุมรับภาพกว้างเพื่อสร้างผลกระทบที่แผ่ขยายไปจนถึงฉากหลัง
ภาพถ่ายที่ไม่มีเปอร์สเป็คทีฟ
ภาพนี้ถ่ายตอนบ่าย 3 โมงที่ทางยาวโฟกัส 24 มม. การเปลี่ยนเวลาและทางยาวโฟกัสสร้างความแตกต่างอย่างมากให้กับลักษณะและบรรยากาศของสถานที่ที่ปรากฏในภาพ แม้ว่าคนเดินถนนจะดูเด่นในภาพ ทางยาวโฟกัสที่ 24 มม. ทำให้ภาพขาดเปอร์สเป็คทีฟที่จะทำให้สิ่งที่ปรากฏในภาพดูแผ่ขยายออกไปจนถึงฉากหลัง
จุดที่ 2: องค์ประกอบภาพ - หาองค์ประกอบในโฟร์กราวด์เพื่อเน้นความลึก
กระดานประกาศข่าวดูเรียบๆ ไม่น่าสนใจ
ตำแหน่งถ่ายภาพอยู่ใกล้กับทางด้านซ้ายและสูงกว่าภาพหลักเล็กน้อย ภาพขาดเปอร์สเป็คทีฟโดยรวมเนื่องจากกระดานประกาศข่าวทางด้านขวาอยู่ต่ำและดูราบเรียบ นอกจากนี้ ยังไม่สามารถถ่ายทอดภาพสะท้อนของท้องฟ้าบนราวสะพานคนเดินข้าม ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการขับเน้นให้ภาพดูเด่น ผมขยับไปทางขวา ปรับระดับกล้อง เพื่อให้เก็บภาพราวสะพานคนเดินข้ามได้อย่างเต็มที่
จุดที่ 3: WB - แสดงความรู้สึกสดชื่นของยามเช้าตรู่ด้วยการตั้งค่าไปที่ 4,800K
ภาพที่ถ่ายโดยตั้ง WB ไปที่อัตโนมัติ
หลังจากจัดองค์ประกอบภาพจนได้สมดุลแล้ว ต่อไปคือการปรับแต่งสี แม้ว่าผมต้องการจะใช้โทนออกสีฟ้าเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกสดชื่นของยามเช้า แต่โทนสีฟ้าดูเข้มเกินไปเมื่อใช้การตั้งค่า WB เป็นหลอดไฟทังสเตน ดังนั้นผมจึงใช้โหมด WB อัตโนมัติแทน และตั้งอุณหภูมิสีให้ต่ำลงเล็กน้อยเพื่อที่โทนออกสีฟ้าจะได้ดูเข้มขึ้น การตั้งค่าโหมด WB อัตโนมัติไปที่ 6,250K ทำให้ได้ภาพดังที่แสดงไว้ด้านบน ผมจึงปรับไปที่ 4,800K แทน
Masatsugu Koorikawa
เกิดในเมืองนาระ นอกจากการถ่ายภาพพอร์ตเทรตและสินค้าให้กับนิตยสารกล้องและเพลงแล้ว Koorikawa ยังมีผลงานที่ใช้ริมฝั่งบริเวณอ่าวโตเกียวเป็นธีมอีกด้วย
Digital Camera Magazine
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation