ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสมดุลแสงขาวช่วยสร้างโทนสีได้ดังใจนึก

2016-04-21
5
8.8 k
ในบทความนี้:

คุณภาพของภาพที่ดีเกิดจากการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ของภาพ เช่น ตัวแบบและองค์ประกอบภาพ อย่างเหมาะสม โดยมีโทนสีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เราสามารถเปลี่ยนอารมณ์ของภาพได้อย่างชัดเจนเพียงแค่เปลี่ยนโทนสีของภาพเท่านั้น ในบทความนี้ ผมจะแนะนำวิธีตั้งค่าสมดุลแสงขาว (WB) ซึ่งใช้เพื่อเปลี่ยนโทนสีของภาพ (บรรณาธิการโดย studio9)

เปลี่ยนสมดุลแสงขาวด้วยตัวเอง

เมื่อคุณเริ่มต้นใช้งานกล้อง DSLR หรือกล้องมิเรอร์เลสเป็นครั้งแรก คุณอาจรู้สึกตกตะลึงไปกับการตั้งค่าต่างๆ ที่มีมากมายเสียจนไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นตรงไหนดี หากคุณตั้งใจจะลดจำนวนการตั้งค่าที่จะต้องกำหนดลง และหันไปใช้คุณสมบัติแบบอัตโนมัติต่างๆ แทนแล้ว คุณควรลองปรับ สมดุลแสงขาว (WB) ด้วยตนเองทุกครั้งที่เป็นไปได้ เพียงแค่เปลี่ยนโทนสีของภาพ ผลกระทบที่เกิดจากองค์ประกอบของภาพ เช่น ตัวแบบและองค์ประกอบภาพ ที่ปรากฏทางสายตาต่อผู้ชม สำหรับรูปถ่ายเดียวกันนั้นก็จะ เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก

การตั้งค่าสมดุลแสงขาวแบบ 3+2 ที่ควรฝึกฝน

โดยปกติ สมดุลแสงขาวคือฟังก์ชั่นที่ใช้สำหรับแก้ไขโทนสีของภาพเพื่อสะท้อนสีสันที่แท้จริงของตัวแบบ ไม่ว่าแสงสว่างโดยรอบจะเป็นเช่นไร อย่างไรก็ดี ผมจะขอแนะนำสมดุลแสงขาวในฐานะ ฟังก์ชั่นที่ตั้งค่าโทนสีในภาพให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณ

เมื่อคุณปรับเปลี่ยนสมดุลแสงขาว ภาพที่ได้อาจมี โทนสีแดง หรือ โทนสีน้ำเงิน (แม้ว่าจะตั้งค่าอย่างเหมาะสมแล้ว โทนสีที่ได้อาจดูเหมือนสีที่คุณมองเห็นจริงด้วยตาเปล่า) ดังนั้น หากจะเปลี่ยนสมดุลแสงขาวควรคำนึงถึงข้อสำคัญนี้

ก่อนอื่น ให้ตรวจสอบโหมดสมดุลแสงขาวว่ามีให้ใช้งานในกล้องของคุณหรือไม่ วิธีการตรวจสอบโหมดอาจแตกต่างกันไปตามรุ่นของกล้องที่ใช้ ดังนั้น โปรดศึกษาข้อมูลจากคู่มือการใช้งานกล้องของคุณ เนื่องจากสมดุลแสงขาวเป็นการตั้งค่าที่ใช้กันทั่วไป โดยปกติจึงสามารถเข้าใช้งานได้ด้วยการกดปุ่มเพียงหนึ่งหรือสองครั้ง

เมนูการตั้งค่าสมดุลแสงขาวที่คุณเห็นจะมีลักษณะแบบนี้หรือคล้ายคลึงกัน

โดยจะมีโหมดให้เลือกใช้งานมากมาย ได้แก่ แสงแดด แสงในร่ม เมฆครึ้ม หลอดไฟทังสเตน และแสงหลอดฟลูออเรสเซนต์ขาว หากคุณเพิ่งเริ่มต้นถ่ายภาพเป็นครั้งแรก การฝึกใช้งานโหมดต่างๆ มากมายในคราวเดียวอาจเป็นเรื่องยาก ดังนั้น คุณควร เริ่มจากการฝึกฝนสามโหมดแรกนี้เสียก่อน

ได้แก่ แสงหลอดฟลูออเรสเซนต์ขาว แสงแดด และ เมฆครึ้ม, โพล้เพล้, พระอาทิตย์ตก

โหมดเหล่านี้จะเปลี่ยนโทนสีของภาพดังที่แสดงด้านล่าง

หากโทนสีของการตั้งค่าแสงแดด ถือว่าเป็นโทนสีแบบ "ปกติ" โทนสีของภาพจะปรากฏเป็นโทนสีน้ำเงินเมื่อใช้แสงหลอดฟลูออเรสเซนต์ขาว และเป็นโทนสีแดงเมื่อใช้เมฆครึ้ม ง่ายๆ เท่านี้เอง

เพียงแค่ 3 โหมดนี้ก็มากเพียงพอสำหรับการเริ่มต้นแล้ว เมื่อคุณฝึกใช้จนเกิดความชำนาญแล้ว จึงค่อยฝึกฝนเพิ่มอีกสองโหมด เพียงเท่านี้คุณก็จะใช้งานโหมดได้ครบตามที่ต้องการ

โหมดสองโหมดที่เหลือคือ หลอดไฟทังสเตน และแสงในร่ม โหมดหลอดไฟทังสเตนจะทำให้ภาพมีโทนสีน้ำเงินกว่าโหมดแสงหลอดฟลูออเรสเซนต์ขาว ขณะที่โหมดแสงในร่มจะทำให้ภาพมีโทนสีแดงกว่าโหมดเมฆครึ้ม วิธีที่ดีที่จะช่วยให้เข้าใจหลักการนี้คือ

เมื่อคุณฝึกฝนใช้โหมดเหล่านี้จนเกิดความชำนาญแล้ว คุณก็พร้อมแล้วสำหรับก้าวสำคัญ

การตั้งค่าที่แนะนำสำหรับฉากต่างๆ

แม้ว่าการปรับค่าสมดุลแสงขาวจะขึ้นอยู่กับความต้องการของช่างภาพแต่ละคน แต่ผมจะขอแนะนำวิธีการตั้งค่าบางส่วนดังต่อไปนี้

*ภาพตัวอย่างนี้เป็นภาพที่พัฒนาขึ้นจากไฟล์ RAW เดียวกัน โดยมีการปรับเฉพาะการตั้งค่าสมดุลแสงขาวเท่านั้น ส่วนการตั้งค่าอื่นๆ นอกเหนือจากสมดุลแสงขาว เช่น ความสว่างและความเปรียบต่างยังคงเหมือนเดิม

 

ภาพถ่ายที่ให้ความรู้สึกละเอียดอ่อนและโปร่งแสง

ขอแนะนำให้ใช้ โหมดหลอดฟลูออเรสเซนต์ขาว เย็นเพื่อถ่ายภาพดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพดอกไม้ในวันที่แสงแดดสดใส

แม้ว่าภาพที่ได้อาจมีโทนสีน้ำเงินมากกว่าความเป็นจริงก็ตาม แต่ยังมีเส่น่ห์ของความโปร่งแสงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน เมื่อภาพถ่ายมีโทนสีน้ำเงินก็มักจะทำให้ภาพมืดลงด้วยเช่นกัน ดังนั้น กุญแจสำคัญคือ ทำให้ภาพของคุณสว่างขึ้น ประมาณ +0.7 ถึง 1.3

นอกจากนี้ เมื่อถ่ายภาพในโหมดแสงแดด ภาพด้านบนจะปรากฏออกมาในแบบที่แสดงด้านล่าง

ในภาพนี้ โทนสีโดยรวมเป็นสีโทนอุ่น ซึ่งเพิ่มความอบอุ่นให้กับภาพ
 

 

ภาพถ่ายที่ให้ความรู้สึกเย็นและมืดสลัว

โทนสีเย็น เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการถ่ายทอดความรู้สึกเย็นและมืดสลัวเช่นกัน คุณสามารถเลือกใช้โหมดหลอดฟลูออเรสเซนต์ขาวหรือแม้แต่หลอดไฟทังสเตน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฉากที่ถ่าย โหมดทั้งสองนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเก็บภาพความชื่นชมที่มีต่อทิวทัศน์ยามค่ำคืนและภาพเงาซิลลูเอตต์

ในภาพนี้ ผมเก็บภาพเงาซิลลูเอตต์ของเจดีย์สูงห้าชั้นที่วัดเซนโซจิในกรุงโตเกียว ผมถ่ายภาพนี้ด้วยโหมดแสงหลอดไฟทังสเตน ซึ่งช่วยสร้างความรู้สึกเย็นและมืดสลัว

ภาพด้านล่างนี้เป็นรูปถ่ายเดียวกันแต่ถ่ายด้วยโหมดแสงแดด

โทนสีจึงออกไปในโทนอบอุ่นเล็กน้อยเสมือนถ่ายภาพในช่วงโพล้เพล้ ภาพนี้อาจทำให้บอกได้ยากว่าเป็นภาพที่ถ่ายทอดความรู้สึกเย็นและมืดสลัวหรือไม่ เพราะว่าผมถ่ายช็อตนี้ในช่วงเวลาเย็น ดังนั้นสีสันที่ปรากฏในภาพจึงดูใกล้เคียงกับสีทีุ่คุณมองเห็นด้วยตาเปล่ามากกว่า

 

ถ่ายภาพพระอาทิตย์ยามอัสดงได้อย่างสวยสดงดงาม

เมื่อคุณเริ่มต้นปรับค่าสมดุลแสงขาวด้วยตนเอง คุณจะสามารถถ่ายภาพทิวทัศน์ยามเย็นให้สวยประทับใจได้มากยิ่งขึ้น ในช่วงยามเย็น ให้ตั้งค่าสมดุลแสงขาวเพื่อขับเน้นโทนสีอบอุ่นให้ชัดเจนขึ้น

ผมเลือกถ่ายช็อตนี้ในโหมด แสงในร่ม คุณอาจเจอภาพทิวทัศน์เช่นนี้ระหว่างที่เดินเล่นรอบเมืองในเวลาเย็น คุณอาจเลือกถ่ายภาพนี้ในโหมดเมฆครึ้ม หรือหากอยากได้ภาพที่แปลกตาออกไป อาจทดลองใช้โหมดแสงในร่มก็ได้เช่นกัน

ภาพด้านล่างนี้เป็นรูปถ่ายเดียวกันแต่ถ่ายด้วยโหมดแสงแดด

ภาพนี้โทนสีน้ำเงินจะถูกขับเน้นให้เด่นชัดขึ้นเล็กน้อย และไม่มีทางที่เราจะเห็นบรรยากาศของพระอาทิตย์ตกดินได้ ขณะที่โทนสีเหล่านี้อาจดูใกล้เคียงกับสีที่มองเห็นด้วยตาตนเองมากกว่า ดังนั้น เรามักเชื่อมโยงพระอาทิตย์ตกดินเข้ากับโทนสีส้มที่เข้มกว่านี้

 

สรุป:  ใช้โหมด "แสงแดด" เป็นโหมดอ้างอิง

ในบทความนี้ผมแนะนำตัวอย่างเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่เห็นได้ง่ายว่าเพียงแค่ปรับค่าสมดุลแสงขาวเท่านั้น ภาพที่ออกมาก็จะ เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน

สามโหมดแรกที่คุณควรฝึกฝนให้ชำนาญ ได้แก่ โหมด หลอดฟลูออเรสเซนต์ขาว แสงแดด และเมฆครึ้ม หลังจากที่คุณเริ่มคุ้นเคยกับโหมดเหล่านี้แล้ว ควรศึกษาวิธีใช้งานอีกสองโหมดเพิ่มเติม ได้แก่ หลอดไฟทังสเตน และ แสงในร่ม เพื่อสื่ออารมณ์ของภาพถ่ายได้หลากหลายยิ่งขึ้น

หากการนำโหมดทั้งหมดไปใช้งานดูยากเกินไป ควรมุ่งความสนใจไปที่การถ่ายภาพและพิจารณาว่าคุณต้องการให้ภาพออกมาในโทนสีน้ำเงินหรือสีแดงมากกว่า ดังนั้น ควรจดจำลำดับของโหมดสมดุลแสงขาวห้าโหมดและเอฟเฟ็กต์ของโหมดเหล่านี้ให้ดี

 

 

studio9

เว็บไซต์ด้านการถ่ายภาพของญี่ปุ่นที่เริ่มต้นเมื่อปี 2011 ด้วยสโลแกนว่า "ให้การถ่ายภาพใกล้ตัวคุณยิ่งขึ้น" เว็บไซต์นี้นำเสนอเนื้อหาที่เป็นประโยชน์กับทุกคนที่ชอบการถ่ายภาพ นอกจากเนื้อหาบนเว็บไซต์แล้ว studio9 ยังมีการจัดสัมมนาและเวิร์กช็อปอีกด้วย

http://photo-studio9.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา