เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้เห็นความพยายามของช่างภาพมืออาชีพทั่วโลก ที่ต่างดั้นด้นอย่างมากล้นเพื่อให้ได้ภาพอันน่าตื่นตาตื่นใจ นี่คือบทเรียนสำคัญ 5 ประการที่จะช่วยคุณฝึกฝนศาสตร์แห่งการถ่ายภาพทิวทัศน์ให้เชี่ยวชาญได้อย่างรวดเร็ว
ระยะชัดลึก มากไปก็ไม่ใช่ว่าจะดี
ในการถ่ายภาพเพื่อให้โฟกัสวัตถุในเฟรมได้มากที่สุดนั้น ตำราหลายเล่มก็คงไม่พ้นที่จะแนะนำให้ตั้งค่าการรับแสงไว้ที่ f/8 หรือมากกว่า สิ่งสำคัญคือความรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อองค์ประกอบพื้นหลังของภาพอยู่อย่างกระจัดกระจาย การถ่ายภาพด้วยการตั้งค่าการรับแสงให้น้อย ๆ จะช่วยแยกความแตกต่างระหว่างวัตถุหลักที่โฟกัสและพื้นหลังให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เทคนิคนี้จะช่วยให้วัตถุหลักมีความโดดเด่นมากขึ้น เมื่อเทียบกับการตั้งค่าที่มากขึ้นของระยะชัดลึก
Canon EOS 6D, EF16-35 มม. f/4L IS USM, f/4.0, 1/200 วินาที, ISO 100
หากคุณต้องการถ่ายภาพสายน้ำตกโดยไม่ต้องใช้ฟิลเตอร์ เพียงปรับความเร็วของชัตเตอร์ให้ช้าลง และตั้งค่าการรับแสงให้สูงขึ้นก็อาจช่วยได้แล้ว
Canon EOS 6D, EF16-35 มม. f/4L IS USM, f/18, 1.3 วินาที, ISO 100
องค์ประกอบภาพสำคัญเป็นที่หนึ่ง!
องค์ประกอบภาพคือกุญแจสำคัญของการถ่ายภาพทิวทัศน์ ในขณะที่การถ่ายภาพทิวทัศน์ส่วนใหญ่ต้องใช้เลนส์มุมกว้าง การเรียนรู้ว่าจะต้องใส่องค์ประกอบใดบ้างในเฟรมและการจัดตำแหน่งขององค์ประกอบเหล่านั้น จะเป็นสิ่งที่ชี้ขาดได้ว่าสุดท้ายแล้วคุณจะทำให้ผู้ชมเข้าถึงบรรยากาศที่อยู่ในภาพได้มากน้อยเพียงใด
Canon EOS 6D, EF24-105 มม. f/4L IS USM, f/4.0, 1/1600 วินาที, ISO 100
ไม่มีสิ่งใดที่ถือเป็นข้อกฏข้อบังคับในการถ่ายภาพ ทุกสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องชี้แนะแนวทางเท่านั้น การปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดมากเกินไปจะกลายเป็นการปิดกั้นสไตล์ในการถ่ายภาพของคุณ "กฎแห่งสาม" คือหลักปฏิบัติที่สำคัญที่สุดสำหรับมือสมัครเล่นในทุกแขนงของการถ่ายภาพ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพบุคคลหรือทิวทัศน์ ส่วนคนอื่น ๆ ก็ยึดมั่นใน "สัดส่วนทอง" อันเลื่องลือ หรือที่เรียกว่าหลักการเส้นตารางแบบ 1:0.618:1 ซึ่งเชื่อกันว่าหากใช้เทคนิคนี้ได้อย่างถูกต้องแล้ว จะทำให้มีองค์ประกอบภาพที่สมดุลอย่างไร้ที่ติ และเป็นที่ถูกตาถูกใจของผู้ชม
เส้นตารางยังสามารถทำให้ผู้ชมจับจ้องไปที่องค์ประกอบหลักของเฟรมได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายเส้นตรงหรือเส้นทางที่คดเคี้ยว ลองศึกษาสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในฉาก และทดลองโดยใช้องค์ประกอบที่ไม่ซ้ำกัน ก่อนที่จะดำเนินการต่อ ใครจะรู้ คุณอาจจะได้ภาพในมุมมองใหม่ ๆ ที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนก็เป็นได้
Canon EOS 6D, EF16-35 มม. f/4L IS USM, f/4.0, 1/400 วินาที, ISO 100
ใช้ความอดทน
แน่นอนว่าการศึกษาข้อมูลล่วงหน้าจะช่วยให้คุณเก็บภาพสถานที่ในเวลาที่ใช่ของวัน ยังไม่แน่ใจว่าควรจะถ่ายภาพในช่วงพระอาทิตย์ขึ้นหรือช่วงพระอาทิตย์ตกใช่ไหม? ลองค้นหาภาพที่มีคนถ่ายไว้ ณ สถานที่ดังกล่าว จากนั้นจึงเลือกมุมที่ดีที่สุด อย่าลืมวางแผนเส้นทางก่อนออกเดินทางเสมอ
โดยส่วนตัวแล้ว ผมชอบถ่ายภาพในเวลาโพล้เพล้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนึ่งหรือสองชั่วโมงก่อนพระอาทิตย์ตก คุณจะได้ถ่ายภาพอันสวยงามของพระอาทิตย์ที่กำลังลับขอบฟ้า และสนุกไปกับแสงอันอบอุ่นของยามสนธยาได้อย่างเต็มที่ และแน่นอน ถ้าเริ่มเตรียมเก็บของเมื่อฟ้าเริ่มมืด ความสนุกกำลังจะเริ่มต้น!
ายโดยใช้แบบ RAW
ไฟล์ภาพนามสุกล RAW นั้นเต็มไปด้วยรายละเอียดที่อัดแน่นของแสงและเงา ซึ่งเปิดโอกาสให้คุณแก้ไขรายละเอียดในส่วนที่ผิดที่ผิดทางได้อย่างเต็มที่ ถึงแม้รูปที่ออกมาจากการถ่ายภาพในครั้งแรกจะไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าไหร่นัก แต่เมื่อนำมาเข้ากระบวนการตกแต่งแล้วจะทำให้อะไรต่ออะไรดูง่ายขึ้น ทำเช่นนี้ควบคู่ไปกับการตั้งค่าความไวต่อแสง (ISO) ให้ต่ำเข้าไว้ เพื่อคุณภาพที่ดีและมีจุดรบกวนในภาพน้อยที่สุด ลองทำตามแล้วจะได้ภาพใหญ่ ๆ ที่สวยงามมากอย่างแน่นอน
Canon EOS 6D, EF16-35 มม. f/4L IS USM, f/10, 1/640 วินาที, ISO 100 (ก่อน)
Canon EOS 6D, EF16-35 มม. f/4L IS USM, f/10, 1/640 วินาที, ISO 100 (หลัง)
โฟกัสให้แม่นยำ
กล้องที่สามารถถ่ายภาพในพื้นที่แสงน้อย โดยเฉพาะกล้องฟูลเฟรม อย่าง Canon EOS 6D จะถ่ายภาพตอนกลางคืนได้อย่างน่าพอใจ แต่บางคนอาจรู้สึกว่ายากในการหาจุดโฟกัสที่เหมาะสม เมื่อถ่ายภาพตอนกลางคืน
วิธีหลีกเลี่ยงปัญหาคือ ถ้าวัตถุอยู่ใกล้พอ การส่องแสงไฟฉายอาจช่วยให้กล้องโฟกัสได้ดีขึ้น แต่จะดียิ่งกว่านั้นหากเปิดแสดงภาพก่อนถ่ายภาพจริงบนหน้าด้านหลังกล้องเพื่อหาจุดโฟกัส เนื่องจากเซ็นเซอร์ของกล้องมีความไวต่อแสงมากกว่าตาของเรา การใช้ฟังก์ชันแสดงภาพก่อนถ่ายภาพจริงจะช่วยให้โฟกัสวัตถุได้ดีขึ้น
Canon PowerShot G9 X, 10.2-30.6 มม., f/4.0, 1/250 วินาที, ISO 800
สิ่งที่คุณต้องทำนอกจากจดจำเทคนิคที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว คือการให้ความสำคัญกับการถ่ายภาพในจังหวะที่เหมาะเจาะ และเรียนรู้ที่จะสังเกตความเปลี่ยนแปลงของแสง และที่สำคัญที่สุด ขอให้สนุกกับกระบวนการถ่ายภาพภาพทั้งหมดนี้!
หลายคนมักจะรอเวลาที่เหมาะสมเพื่อที่จะได้ภาพถ่ายทิวทัศน์ที่ดีที่สุด แต่หารู้ไม่ว่าการให้ความสนใจต่อรายละเอียดและความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม คือสิ่งที่จะเพิ่มความเป็นตากล้องมืออาชีพให้กับตัวคุณ
ภาพทั้งหมดถ่ายด้วย EOS 6D; EF16-35 มม. f/4L IS USM Lens และ EF 50 มม. f/1.2L USM Lens
ภาพเบื้องหลังฉากถ่ายโดย PowerShot G9 X
EOS 6D (Body) |
|
PowerShot G9 X |
Kenji Kwok Profile of writer เป็นช่างภาพสารคดีจากสิงคโปร์ ได้สร้างผลงานจากความเชื่อของตัวเอง ที่จะเป็นกระบอกเสียงให้คนอื่น ๆ รวมถึงให้ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อเปลี่ยนแปลงประเด็นต่าง ๆ ทางสังคมทั่วโลก |