ภาพทิวทัศน์ – การถ่ายภาพทิวทัศน์หลากสีสันโดยใส่ใจกับมุมกล้อง
ทันทีที่จับกล้อง EOS ของตัวเองไว้ในมือแล้ว ก็ออกไปลองใช้ทักษะการถ่ายภาพในสนามจริงได้เลย! ในส่วนนี้ ช่างถ่ายภาพทิวทัศน์ระดับมืออาชีพจะมาแนะนำเคล็ดลับในการใช้ EOS 6D และเทคนิคต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ได้ทันที (เรื่องโดย: Kentaro Fukuda)
หน้า: 1 2
EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 135 มม./ Aperture-priority AE (1/60 วินาที, f/4, +2.7EV)/ ISO 400/ WB: แสงในร่ม
ภาพซ้อนที่เกิดจากการรวมสองภาพเข้าด้วยกัน ผมถ่ายภาพแรกโดยโฟกัสไปที่ใบเมเปิล แล้วนำมาผสานกับภาพที่สองซึ่งผมตั้งใจทำให้ภาพเบลอเพื่อให้มีบรรยากาศที่เหมือนฝัน
ให้ความสำคัญกับแสงและมุม
ทิวทัศน์ธรรมชาติที่เดียวกันแต่ให้ภาพถ่ายที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ช่วงเวลาของวันรวมถึงแสงสว่างรอบๆ มีธีมที่น่าสนใจอยู่มากมายไม่มีที่สิ้นสุด ตั้งแต่วิวที่กว้างใหญ่ไพศาลไปจนถึงผลผลิตเล็กๆ จากธรรมชาติที่อยู่ใกล้ตัวเรา ดังนั้นการสร้างภาพถ่ายที่น่าประทับใจ คุณต้องเลือกมุมที่ดีที่สุดและคำนึงถึงสภาพแสงด้วย
กำลังในการแยกรายละเอียดสูงของเซนเซอร์ขนาดฟูลเฟรม ทำให้มั่นใจได้ว่าคุณจะสามารถถ่ายทอดความงดงามประณีตของวิวทิวทัศน์ได้อย่างแม่นยำ ไม่เพียงเท่านั้น EOS 6D ยังให้ประสิทธิภาพการทำงานพื้นฐานในระดับสูง รวมถึงคุณสมบัติกันชื้นและฝุ่น ภาพในช่องมองภาพที่มีขนาดใหญ่และชัดเจน และฟังก์ชั่น Live View ที่ทำให้สามารถโฟกัสแบบแมนนวลได้ด้วยการขยายส่วนต่างๆ ของภาพ เมื่อนำมาใช้กับเลนส์ EF ที่มีมากมายหลายรุ่น คุณจะสามารถเพลิดเพลินกับการถ่ายทอดอารมณ์ผ่านภาพถ่ายได้หลากหลายรูปแบบ
3 เคล็ดลับการถ่ายภาพทิวทัศน์
・สภาพแสงจะแตกต่างกันไปตามสภาพอากาศและเวลา
・ถ่ายภาพโดยใช้ประโยชน์จากลักษณะเฉพาะของเลนส์
・หมั่นขยับเปลี่ยนตำแหน่งเพื่อมองหามุมที่ดีที่สุด
คุณสมบัติที่แนะนำ EOS 6D
ตั้งการควบคุมด้วยตนเอง
การกำหนดฟังก์ชั่น เริ่ม AF ให้กับปุ่ม AF-ON จะป้องกันไม่ให้มีการดำเนินการใดๆ ที่ไม่ได้ตั้งใจได้
เทคนิค 1
การชดเชยแสงสำหรับเอฟเฟ็กต์ไฮคีย์
การชดเชยแสง: ไม่มี
Exposure
การชดเชยแสง: +1EV
EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 121 มม./ Aperture-priority AE (1/80 วินาที, f/4, +1EV)/ ISO 200/ WB: เมฆครึ้ม
ความรู้สึกของภาพถ่ายเปลี่ยนไปอย่างมากเมื่อเปิดรับแสงเพิ่มขึ้น ความรู้สึกสดใสเจิดจ้าจะถูกเติมเข้ามาในภาพเพื่อช่วยถ่ายทอดความงดงามของแสง
ใช้เอฟเฟ็กต์ไฮคีย์เพื่อขับเน้นแสงสว่าง
ภาพถ่ายใบเมเปิลใต้ร่มเงาที่มีพื้นหลังสว่าง หากไม่ได้ชดเชยแสงในฉากที่มีความแตกต่างของแสงอย่างมากเช่นในภาพนี้ ใบเมเปิลที่อยู่ใต้ร่มเงาก็จะมืดและไม่โดดเด่น
ในกรณีนี้ แทนที่จะพยายามสร้างภาพถ่ายใกล้เคียงกับสิ่งที่ตาเห็น ลองทำให้ภาพน่าสนใจมากขึ้นด้วยการสร้างเอฟเฟ็กต์ไฮคีย์ โดยการเปิดรับแสงเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มความสว่างในภาพ การทำเช่นนี้จะช่วยเพิ่มความรู้สึกอันนุ่มนวลให้กับทิวทัศน์ที่ถูกอาบไล้ด้วยแสงสว่างเจิดจ้า ดังในภาพนี้ซึ่งผมให้ความสำคัญกับแสงที่สว่างมากเกินไปในส่วนแบ็คกราวด์
คุณสมบัติที่แนะนำ EOS 6D
การตรวจดูว่าภาพมีส่วนที่สว่างเกินไปหรือไม่สามารถทำได้สะดวกด้วยฮิสโตแกรม ตรวจสอบการกระจายแสงในบริเวณที่ถ่ายภาพ และปรับให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
เทคนิค 2
สร้างพื้นผิวในภาพด้วยใช้ฟิลเตอร์ PL
ใช้ฟิลเตอร์ PL
ไม่ใช้ฟิลเตอร์ PL
EF16-35mm f/2.8L II USM/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (0.4 วินาที, f/16, -1.3EV)/ ISO 200/ WB: แสงในร่ม
การใช้ฟิลเตอร์ PL จะขับเน้นโทนสีใบไม้ที่ร่วงโรยให้มีสีเข้มขึ้น สิ่งสำคัญในภาพนี้คือการลดปริมาณแสงสะท้อนให้ได้มากที่สุด
ตรวจสอบเอฟเฟ็กต์ผ่านช่องมองภาพ
ป่าอันชุ่มฉ่ำช่วงหลังฝนตกให้ความรู้สึกที่แตกต่างจากวันที่มีแสงแดดจ้า ผมเลื่อนตัวเข้าใกล้วัตถุในโฟร์กราวด์ด้วยเลนส์มุมกว้างเพื่อเน้นมุมมองภาพให้ใบไม้ที่ร่วงหล่นบนพื้นดูโดดเด่นขึ้น นอกจากนี้ การใช้ฟิลเตอร์ PL เพื่อลดแสงสะท้อนสีขาวจากพื้นผิวของใบไม้ที่เปียกชุ่ม ยังช่วยคุมโทนภาพให้คงความรู้สึกชุ่มฉ่ำและโทนสีเข้มเอาไว้
คุณสมบัติที่แนะนำ EOS 6D
โดยทั่วไปแล้ว จะสามารถใส่ฟิลเตอร์ PL เข้าที่ด้านหน้าเลนส์ได้ หลังจากใส่ฟิลเตอร์แล้ว ลองตรวจดูเอฟเฟ็กต์ผ่านช่องมองภาพ
เทคนิค 3
การถ่ายภาพกระแสน้ำที่ ISO 50
EF16-35mm f/2.8L II USM/ FL: 20 มม./ Aperture-priority AE (5 วินาที, f/11, -1.3EV)/ ISO 50 (L)/ WB: แสงแดด
ลดความเร็วชัตเตอร์เพื่อสร้างความรู้สึกที่นุ่มนวลของกระแสน้ำ และเมื่อควบคู่ไปกับสภาพแวดล้อมที่ร่มครึ้มโทนสีน้ำเงิน จะช่วยสร้างบรรยากาศพิเศษเป็นเอกลักษณ์ได้
ลดความเร็วชัตเตอร์ให้ช้าลง ด้วยค่า ISO ต่ำ
การตั้งค่าความไวแสง ISO ต่ำ จะทำให้สามารถเลือกความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลงได้ เสน่ห์อย่างหนึ่งของ EOS 6D คือคุณสามารถใช้การตั้งค่า “L (ต่ำ)” (เทียบเท่า ISO 50) ในภาพวิวทิวทัศน์เพื่อทำให้การเคลื่อนไหวของตัวแบบเบลอ เช่น น้ำไหล ในตัวอย่างนี้ ผมใช้ขาตั้งกล้องและตั้งความเร็วชัตเตอร์ช้าๆ เพื่อจับภาพกระแสน้ำในแสงสลัว ผมทำให้ภาพดูมีพลังมากขึ้นโดยจงใจเอียงกล้องให้กระแสน้ำไหลอยู่ในแนวทแยง
คุณสมบัติที่แนะนำ EOS 6D
ระดับความเอียงอิเล็กทรอนิกส์เมื่อถ่ายภาพแบบ Live View
แม้ว่าระดับความเอียงอิเล็กทรอนิกส์จะมีไว้ใช้ตรวจสอบระดับแนวขนานของกล้อง แต่ในภาพนี้ ผมใช้มันสำหรับกำหนดระดับการเอียง
เกิดเมื่อปี 1973 เขาชื่นชอบธรรมชาติตั้งแต่ยังเป็นเด็ก และเริ่มมุ่งมั่นที่จะเป็นตากล้องเมื่ออายุ 18 ปี หลังจบการศึกษาที่ Nippon Photography Institute เขาได้ทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับช่างภาพชื่อ Toshinobu Takeuchi ต่อมาจึงผันตัวไปเป็นช่างภาพอิสระ Fukuda เป็นสมาชิกสมาคมช่างภาพอาชีพญี่ปุ่น และได้ท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ส่วนใหญ่ภายในประเทศญี่ปุ่นเพื่อมองหาสิ่งที่น่าสนใจสำหรับการถ่ายภาพ