ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ภาพกีฬา – การกำหนดค่าฟังก์ชั่น AF เพื่อจับภาพในจังหวะที่พอเหมาะพอดี

2014-02-27
2
19.12 k
ในบทความนี้:

การถ่ายภาพกีฬาในร่มนั้น ช่างภาพจะต้องรับมือกับตัวแบบที่เคลื่อนไหวด้วยความว่องไวและทรงพลังเพื่อให้ได้ภาพในจังหวะที่เหมาะที่สุด เรามาดูกันว่าช่างภาพกีฬามืออาชีพปรับหรือใช้เครื่องไม้เครื่องมือของตัวเองอย่างไรเพื่อจับภาพในจังหวะที่ต้องตัดสินใจภายใต้สภาวะที่ไม่เอื้ออำนวย ต่อไปนี้ เราจะมาดูการตั้งค่าถ่ายภาพของพวกเขา และเคล็ดลับบางประการเพื่อเราจะได้ลองทำดู (เรื่องโดย: Yusuke Nakanishi of Aflo Sports, ร่วมกับ: ทีม Tokyo Cinq Rêves (bj League) และทีม Saitama Broncos (bj League)

หน้า: 1 2

 

EF70-200mm f/2.8L IS II USM/ FL: 170 มม./ Manual exposure (1/800 วินาที, f/2.8/ ISO 10000/ WB: กำหนดเอง

ภาพนักบาสเกตบอลสองคนกำลังจั๊มพ์บอล ผมจัดองค์ประกอบภาพพร้อมกับคาดคะเนว่าลูกบอลจะถูกโยนขึ้นไปสูงแค่ไหน หากไม่มีการทำงานที่แม่นยำของ AF และการตอบสนองอย่างรวดเร็วทันใจแล้ว คงเป็นไปไม่ได้ที่จะได้ภาพถ่ายนี้

 
 

กำหนดค่าฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องกับ AF

เมื่อถ่ายภาพกีฬาในร่ม คุณจะต้องรับมือกับการเคลื่อนไหวที่ว่องไวและทรงพลังของตัวแบบ ภายใต้แสงไฟที่ไม่สว่างเอาเสียเลย แต่แม้สถานการณ์จะไม่เอื้ออำนวยต่อการถ่ายภาพ แบบถ่ายในลักษณะนี้ก็ยังเป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับทดสอบความสามารถในการถ่ายภาพของกล้อง EOS 6D อย่างมากทีเดียว มีบางประเด็นที่ผมใช้วัดสมรรถนะของกล้อง EOS 6D ในการรับมือกับฉากกีฬา

อันดับแรก จากการปรับ AI Servo AF ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดในการถ่ายภาพกีฬา ผมสามารถตอบสนองในฉากแบบต่างๆ ได้อย่างคล่องตัว เซนเซอร์ AF ติดตามแบบได้อย่างแม่นยำ และกล้องก็เข้ากันกับเลนส์ระดับ f/2.8 ได้อย่างดีเยี่ยม เมื่อพิจารณาจากคุณสมบัติที่กล่าวมา ผมเชื่อว่า กล้อง EOS 6D สามารถถ่ายภาพกีฬาได้ดีเช่นกัน


3 เคล็ดลับการถ่ายภาพกีฬา

ประเมินเกมการแข่งขันล่วงหน้า
・เปิด AI Servo AF ให้พร้อมใช้งาน
ใช้เลนส์หลากหลาย เพื่อขยายขอบเขตการถ่ายทอดอารมณ์


 

คุณสมบัติแนะนำของกล้อง EOS 6D

 
เพิ่ม/ลดความไวติดตาม

 

มีหลายกรณีที่ผู้เล่นในเกมบาสเก็ตบอลเพิ่มความไวอย่างกะทันหัน ผมจึงตั้งค่า [เพิ่ม/ลดความไวติดตาม] ไปที่ [+1]

 
 
ความไวติดตาม

 

การเคลื่อนไหวของผู้เล่นในเกมการแข่งบาสเกตบอลไม่มีแบบแผน ผมจึงตั้งความไวติดตามให้เป็นค่าลบเพื่อป้องกันไม่ให้โฟกัสถูกเลื่อนไปจากแบบหลักโดยไม่ตั้งใจ

 
 
 

เทคนิคที่ 1

กำหนดการตั้งค่าจุด AF หากคุณจำเป็นต้องเปลี่ยนทิศทางกล้องบ่อย

 

EF70-200mm f/2.8L IS II USM/ FL: 200 มม./ Manual exposure (1/800 วินาที, f/2.8)/ ISO 10000/ WB: กำหนดเอง

สำหรับภาพถ่ายแนวตั้ง ผมใช้จุด AF อื่นที่นอกเหนือไปจากจุดตรงกลางเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดองค์ประกอบภาพ

 
 

EF70-200mm f/2.8L IS II USM/ FL: 200 มม./ Manual exposure (1/1,250 วินาที, f/2.8)/ ISO 6400/ WB: กำหนดเอง

ผมจัดองค์ประกอบพร้อมกับคาดเดาการเคลื่อนไหวของผู้เล่นขณะที่พยายามเลี้ยงลูกผ่านฝ่ายตรงข้ามไปยังแป้นบาส ในภาพนี้ ผมใช้จุด AF ทางขวาของจุด AF ตรงกลาง

 
 

การบันทึกค่าจุด AF ต่างๆ สำหรับการถ่ายภาพแนวตั้งและแนวนอน

ในฉากที่ต้องเปลี่ยนการวางแนวกล้องบ่อย คุณสามารถปรับการตั้งค่า AF เพื่อจะได้ไม่ต้องยุ่งยากทุกครั้งเมื่อต้องเปลี่ยนจุด AF จากการใช้คุณสมบัติ “จุด AF ตามแนวภาพ” ที่แสนสะดวก กล้องจะตรวจจับแนวกล้อง (แนวตั้งหรือแนวนอน) โดยอัตโนมัติและเลื่อนจุด AF ไปยังจุดที่ใช้ล่าสุดตามแนวกล้องที่เปลี่ยนไปในแต่ละครั้ง การทำเช่นนี้จะทำให้คุณสามารถจดจ่อกับการถ่ายภาพได้ทันทีที่เปลี่ยนแนวกล้อง

การตั้งค่า “จุด AF ตามแนวภาพ” ให้เป็น [เลือกจุด AF แตกต่างกัน] กล้องจะสลับจุด AF ที่ตั้งไว้ล่วงหน้าโดยอัตโนมัติตามการวางแนวกล้อง

 
 
 

เทคนิคที่ 2

การถ่ายภาพครอบคลุมทั้งสนามด้วยเลนส์มุมกว้าง

EF16-35mm f/2.8L II USM/ FL: 16 มม./ Manual exposure (1/1,600 วินาที, f/2.8)/ ISO 6400/ WB: กำหนดเอง

ในการถ่ายภาพศึกที่จะเกิดขึ้นใต้แป้นบาส ผมเลือกใช้เลนส์มุมกว้าง เพื่อแสดงให้เห็นความสูงของการกระโดดอย่างทรงพลัง ผมเลือกถ่ายภาพจากมุมต่ำ

จัดองค์ประกอบภาพด้วยมุมมองอันโดดเด่น

แม้บ่อยครั้งหลายคนคิดว่าการถ่ายภาพกีฬาจะต้องใช้เลนส์เทเลโฟโต้ แต่คงเป็นเรื่องน่าเบื่อที่จะใช้เลนส์นี้เพียงอย่างเดียว เพราะกล้อง EOS 6D ใช้เซนเซอร์ขนาดฟูลเฟรมที่ช่วยให้สามารถถ่ายทอดอารมณ์ผ่านภาพถ่ายได้ง่ายขึ้นด้วยเลนส์มุมกว้าง ผมจึงขอแนะนำให้ใช้เลนส์มุมกว้างด้วยเช่นกัน สนามกีฬาหลายแห่งมีการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ ดังนั้นหากคุณสังเกตไฟบนเพดานและความตื่นเต้นของผู้ชมระหว่างจัดองค์ประกอบภาพ คุณก็จะสามารถเก็บภาพช่วงเวลาที่น่าประทับใจที่คุณไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อน

เทคนิคที่ 3

การถ่ายภาพฉากที่ไม่มีผู้เล่น

EF70-200mm f/2.8L IS II USM/ FL: 200 มม./ Manual exposure (1/1,250 วินาที, f/3.5)/ ISO 6400/ WB: กำหนดเอง

ผมจับโฟกัสในวินาทีที่ลูกบาสถูกโยนลงห่วง จากภาพนี้ คุณสามารถจินตนาการสีหน้าของผู้เล่นที่โยนลูก รวมถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้

EF70-200mm f/2.8L IS II USM/ FL: 160 มม./ Manual exposure (1/1,250 วินาที, f/2.8)/ ISO 6400/ WB: กำหนดเอง

กระดานไวท์บอร์ดสำหรับอธิบายแนวทางการเล่นให้กับผู้เล่น จากนิ้วมือที่เกร็งของโค้ช ทำให้ผู้ดูภาพสามารถเห็นอารมณ์ของโค้ชและลูกทีมที่นั่งฟังอย่างตั้งใจได้

 
 

ปลุกเร้าจินตนาการของผู้ชม

เมื่อถ่ายภาพกีฬา เราขอแนะนำให้คุณลองสิ่งใหม่ๆ โดยการถ่ายภาพที่ไม่มีผู้เล่น คุณสามารถจะสร้างภาพที่แสดงให้เห็นลักษณะพิเศษของกีฬาประเภทนั้นๆ แม้ผู้เล่นจะไม่ได้อยู่ในภาพก็ตาม ที่จริงแล้ว ภาพลักษณะนี้จะมีประสิทธิภาพในการปลุกเร้าจินตนาการของผู้ชมมากกว่า ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการถ่ายภาพเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่มีกีฬาเป็นธีมหลัก

Yusuke Nakanishi

 

Nakanishi เกิดเมื่อ 1979 และสำเร็จการศึกษาจากภาควิชาการถ่ายภาพ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียวโพลีเทคนิค หลังจากทำงานกับสำนักพิมพ์แห่งหนึ่ง Nakanishi ก็เข้าทำงานกับบริษัท AfloSport ในปี 2005 เขาเป็นช่างภาพอย่างเป็นทางการสำหรับ “bj League” ซึ่งเป็นลีกบาสเกตบอลอาชีพของญี่ปุ่น และเป็นสมาชิกของทีม SanDisk Extreme

 
 
แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา