ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

3 เคล็ดลับตามสถานการณ์จากช่างภาพไหวพริบดี

2019-10-23
2
2.35 k
ในบทความนี้:

สิ่งต่างๆ อาจไม่เป็นอย่างที่เราคาดไว้เสมอไปในการถ่ายภาพ บางครั้ง ธรรมชาติก็ไม่ยอมให้ความร่วมมือ หรือในบางครั้ง เช่น ในขณะที่เราเข้าร่วมการแข่งขันอย่าง Canon PhotoMarathon (ฉบับภาษาอังกฤษ) เราจะต้องถ่ายภาพภายใต้ความกดดันด้านเวลาและข้อจำกัดที่เกิดขึ้นตามสถานการณ์ แต่เคล็ดลับง่ายๆ ที่ยอดเยี่ยมที่สุดก็อาจเกิดขึ้นได้จากข้อจำกัดเหล่านี้ ในบทความนี้ ช่างภาพสามรายจะมาเล่าให้เราฟังถึงวิธีการแก้ปัญหาภายใต้สถานการณ์ที่ไม่เป็นใจ (เรื่องโดย: Takashi Namiki, Shugo Takemi, GOTO AKI, Digital Camera Magazine)

ภาพโคลสอัพของหญ้าซึซึกิที่ดูเหมือนกำลังไหวไปตามลม

EOS 6D/ EF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 200 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/500 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
โดย: Takashi Namiki

 

1. สถานการณ์: มีลมพัดน้อยเกินไปจนไม่เกิดการเคลื่อนไหว


เคล็ดลับ: ใช้การถ่ายภาพซ้อนเพื่อ “สร้าง” ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว

วิธีทั่วไปในการทำให้ทุ่งหญ้าดูเหมือนกำลังพลิ้วไหวไปตามลมคือ สร้างภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ แต่ในขณะที่ผมถ่ายภาพทุ่งหญ้าซึซึกินี้ (หรือที่เรียกกันว่า หญ้าเมเดนซิลเวอร์) ลมพัดเบามากจนภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวดูไม่สวยเอาเสียเลย

ผมจึงตัดสินใจใช้ฟังก์ชั่นการถ่ายภาพซ้อนในกล้อง เพื่อทำให้ภาพดูดีขึ้น ผมถ่ายภาพต่อเนื่องหลายภาพโดยไม่เปลี่ยนการจัดเฟรม

ภาพโคลสอัพของหญ้าซึซึกิที่มีการเคลื่อนไหวน้อยกว่า

นี่คือภาพที่ได้เมื่อผมไม่ใช้การถ่ายภาพซ้อน มีการเคลื่อนไหวน้อยกว่ามาก ซึ่งทำให้ภาพดูไม่น่าประทับใจนัก

 

นี่คือภาพ GIF ของทั้งสองภาพเพื่อให้คุณได้เห็นความแตกต่าง:


 

เคล็ดลับ:

- ถ่ายภาพโดยถือกล้องด้วยมือเพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว

อย่าใช้ขาตั้งกล้องในสถานการณ์นี้ แต่ให้ถ่ายภาพด้วยมือตามปกติแทน คุณจะขยับกล้องทีละน้อยตามธรรมชาติในแต่ละครั้งที่เปิดรับแสง เมื่อนำภาพที่มีการรับแสงต่างกันมาซ้อนกัน การขยับกล้องตามธรรมชาตินั้นจะเพียงพอสำหรับการสร้างเอฟเฟ็กต์ที่ดูคล้ายกับภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวซึ่งคุณจะได้หากมีลมพัดแรงพอจริงๆ


- ตั้งค่าการควบคุมการถ่ายภาพซ้อนไปที่ “เฉลี่ย”

การตั้งค่านี้จะควบคุมระดับแสงของภาพซ้อนในขั้นสุดท้ายโดยอัตโนมัติ หากคุณเลือก “เติมแต่ง” คุณจะต้องตั้งค่าการชดเชยแสงเป็นลบเพื่อป้องกันไม่ให้ภาพดูสว่างเกินไป สำหรับการเริ่มต้น ให้ถ่ายภาพซ้อนกันห้าภาพ คุณไม่จำเป็นต้องทำตามนี้อย่างเคร่งครัด แต่ผมพบว่าห้าภาพคือปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการเริ่มต้น


- สร้างโบเก้ในแบ็คกราวด์เพื่อปกปิดภาพเบลอที่ไม่สวยงามในแบ็คกราวด์

ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวที่แท้จริงจะเกิดกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวเท่านั้น แบ็คกราวด์ไม่ควรเคลื่อนไหวด้วย! แต่เมื่อคุณจำลองภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวด้วยการถ่ายภาพซ้อน แบ็คกราวด์จะดูเหมือนเกิดการเบลอจากการเคลื่อนไหวด้วย ให้ปกปิดโดยใช้การสร้างโบเก้ในแบ็คกราวด์


ดูวิธีอื่นๆ ในการใช้ฟังก์ชั่นการถ่ายภาพซ้อนได้ที่:
เทคนิคการถ่ายภาพด้วยกล้อง EOS 80D: ภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืน  (เทคนิค 03)
การถ่ายภาพซ้อนของดอกไม้ไฟ: คำแนะนำอย่างละเอียดเพื่อถ่ายภาพสวยได้ดั่งใจ
การถ่ายภาพต้นซากุระในญี่ปุ่น: จุดชมวิวและเคล็ดลับของช่างภาพมืออาชีพ (3) (ฉาก 3)

 

2. สถานการณ์: มีช่างภาพคนอื่นๆ มากเกินไปในสถานที่เดียวกัน


เคล็ดลับ: สร้างเฟรมที่ไม่เหมือนใครขึ้นมาเพื่อให้ภาพของคุณโดดเด่น

นักเล่นสกีกำลังเล่นสกีในเฟรมวงกลมที่เกิดจากน้ำแข็ง

EOS-1D X/ EF16-35mm f/2.8L USM/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (f/16, 1/800 วินาที, EV±0)/ ISO 500/ WB: อัตโนมัติ
โดย: Shugo Takemi

มีช่างภาพคนอื่นๆ มากกว่าสิบคนในการแข่งขันสกีที่จุดเดียวกัน ผมอยากให้ภาพของผมแตกต่างจากภาพของคนอื่นๆ และเกิดความคิดว่าจะใช้ประโยชน์จากหิมะ

หากมีอะไรที่จะสร้างความประทับใจไม่รู้ลืมเกี่ยวกับสถานที่แห่งนี้ นั่นคือความหนาวไปถึงกระดูก ผมจึงใช้หิมะเป็นอุปกรณ์ประกอบฉากเพื่อถ่ายทอดความหนาวเย็น โดยนำเอาหิมะมาแปะลงบนฟิลเตอร์ป้องกันบนเลนส์ของผม จากนั้นผมปรับรูรับแสงให้แคบลงเหลือ f/16 เพื่อไม่ให้หิมะเบลอจนกลายเป็นโบเก้นิ่มนวลในโฟร์กราวด์ แต่ยังคงผิวสัมผัสที่ดูแข็งเหมือนน้ำแข็งเอาไว้

เฟรมภาพที่ได้จึงไม่เพียงแต่ช่วยรักษาความทรงจำของอากาศเย็นจัดในวันนั้นเอาไว้ แต่ยังช่วยเพิ่มความแตกต่างให้กับภาพนักสกีที่กำลังไถลไปบนหิมะด้วย


สิ่งที่ควรระมัดระวัง:

- อย่าใส่หิมะลงบนหน้าเลนส์โดยตรง

ภาพแสดงหิมะที่อยู่รอบๆ เลนส์

ผมนำหิมะมาแปะไว้ตรงขอบของฟิลเตอร์เลนส์ และใช้นิ้วทำให้เรียบเพื่อสร้าง “เฟรม” ชั่วคราว คุณจำเป็นต้องใส่หิมะลงบนฟิลเตอร์ UV หรือฟิลเตอร์ใส เพื่อปกป้องอุปกรณ์ให้ปลอดภัย อย่าใส่ลงไปที่ด้านหน้าของชิ้นเลนส์โดยตรง!


- ดูให้แน่ใจว่าความชื้นไม่สามารถซึมเข้าไปในอุปกรณ์ของคุณ

ความร้อนจากมือของคุณจะทำให้หิมะบางส่วนละลายในขณะที่คุณกำลังแปะลงไปบนฟิลเตอร์ ระวังอย่าให้ความชื้นเข้าไปในส่วนอื่นๆ ของเลนส์หรือกล้อง

 

ดูเทคนิคที่ Mohammad Norfahan Bin Bahron ผู้ชนะการแข่งขัน Canon PhotoMarathon Asia Championship 2018 ใช้ในการจัดเฟรมภาพที่คล้ายกันนี้ระหว่างการแข่งขันถ่ายภาพได้ที่:
มองต่างเลนส์: บทสัมภาษณ์ผู้ชนะการแข่งขัน CPMC ประจำปี 2018

คุณอาจสนใจบทความต่อไปนี้: 
วิธีการป้องกันกล้องของคุณสำหรับการถ่ายภาพในสภาพอากาศหนาวเย็น
แนวทางสร้างสรรค์ในการสร้างกรอบรูปภาพการเดินทางของคุณ
 

 

3. สถานการณ์: ผิวน้ำมีแสงสะท้อนสว่างจ้าและไม่มีฟิลเตอร์ PL


เคล็ดลับ: ใช้แสงสะท้อนเป็นแสงด้านหลังเพื่อให้ได้ภาพสไตล์กราฟิกที่ไม่เหมือนใคร

ดอกบัวบนผิวน้ำที่มีแสงสะท้อนสว่างจ้า

EOS 5D Mark IV/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM/ FL: 400 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/4,000 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
โดย: GOTO AKI

แสงอาทิตย์สว่างจ้าที่สะท้อนลงบนผิวน้ำอาจทำให้คุณถ่ายภาพไม่ได้ตามที่ต้องการ แต่แทนที่จะลดแสงสะท้อนด้วยฟิลเตอร์ PL ควรใช้แสงนี้ให้เป็นประโยชน์ดีกว่า ในภาพด้านบน แสงทำให้เกิดเอฟเฟ็กต์ที่แตกต่างกันสองประการ ได้แก่

i) แสงส่องผ่านดอกบัวที่โปร่งแสงและแสดงสีสันและความโปร่งแสงของดอกบัว

ii) แสงไม่สามารถส่องผ่านส่วนทึบของดอกบัวได้ ดังนั้น ส่วนดังกล่าวจึงกลายเป็นภาพซิลูเอตต์แทน

ในฉากเช่นนี้ เรามักจะสนใจเพียงแค่ตัวแบบที่อยู่บนผิวน้ำเท่านั้น แต่ในภาพนี้ เมื่อหันไปสนใจแสงด้านหลังที่เกิดจากแสงสะท้อน ผมจึงสามารถถ่ายภาพที่ดูแปลกตาเหมือนภาพขาวดำที่มีสีสันโดดเด่นออกมาได้


เคล็ดลับ: หาตำแหน่งที่แสงสะท้อนจะกลายเป็นแสงด้านหลังได้

ดอกบัวและใบบัวที่มีแสงส่องมาจากด้านข้าง

ภาพด้านบนถูกถ่ายจากอีกมุมหนึ่งซึ่งไม่ได้ใช้แสงสะท้อนเป็นแสงด้านหลัง ในตำแหน่งดังกล่าว องค์ประกอบที่ทึบแสงจะไม่กลายเป็นภาพซิลูเอตต์ ดังนั้นจึงเห็นเป็นภาพสีแทน ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดีเสมอไป แต่ดอกบัวจะถูกองค์ประกอบอื่นๆ ในภาพ “แย่งความโดดเด่น” ไป


หากต้องการทราบเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการใช้ประโยชน์จากแสงด้านหลัง ลองอ่านบทความนี้:
4 ขั้นตอนในการถ่ายภาพพอร์ตเทรตที่มีแสงเข้าทางด้านหลังให้ดูนุ่มนวลชวนฝัน
วิธีถ่ายภาพหมอก ควัน และไอน้ำ
การตัดสินใจในการถ่ายภาพทิวทัศน์: แสงด้านหน้าหรือแสงด้านหลัง
เทคนิคการใช้แฟลชติดกล้อง #4: วิธีถ่ายภาพพอร์ตเทรตตัดกับแสงอาทิตย์อัสดง

---

คุณเคยรับมือกับสถานการณ์การถ่ายภาพที่มีความท้าทายด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์หรือไม่ คุณชื่นชอบเคล็ดลับใดบ้างในการถ่ายภาพ แบ่งปันเรื่องราวของคุณกับเราได้ที่ My Canon Story หรือในส่วนแสดงความคิดเห็นด้านล่าง!

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

GOTO AKI

เกิดเมื่อปี 1972 ที่จังหวัดคานากาวะ จบการศึกษาจาก Sophia University และ Tokyo College of Photography Goto เผยแพร่ผลงานคอลเลคชั่นภาพถ่ายที่มีชื่อว่า "LAND ESCAPES" และยังมีส่วนร่วมในผลงานอื่นๆ อีก อาทิ "water silence" การแสดงผลงานศิลปะที่ผสานภาพถ่ายกับวิดีโอเข้าไว้ด้วยกัน

http://gotoaki.com/

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Shugo Takemi

เกิดในปี 1985 Takemi จบการศึกษาด้านการถ่ายภาพจาก Nihon University’s College of Art หลังจากเรียนจบ เขาได้ย้ายไปยังเมือง Vancouver ในประเทศแคนาดา ซึ่งที่นั่นเขาทำงานให้กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่มีชื่อว่า MINKEI NEWS VANCOUVER หลังจากกลับมาที่ญี่ปุ่น เขาได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการถ่ายภาพมากมายในสาขาต่างๆ ผลงานของเขามีทั้งการถ่ายภาพให้นิตยสาร โปสเตอร์สำหรับอีเวนท์และการแข่งขันกีฬา นอกจากนี้เขายังเป็นช่างภาพให้กับคณะกรรมการรับสมัครในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงโตเกียวปี 2020 และพาราลิมปิกเกมส์อีกด้วย ปัจจุบัน เขาทำงานเป็นช่างภาพอิสระ

Takashi Namiki

เกิดในโตเกียว ปี 1971 หลังจากเข้าเรียนที่ Tokyo School of Photography (ปัจจุบันชื่อ: Tokyo Visual Arts) เขาได้เริ่มทำงานเป็นช่างภาพอิสระ ปัจจุบันเขามีผลงานเผยแพร่ในนิตยสารต่างๆ มากมาย เขายังคงสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้ดอกไม้เป็นตัวแบบหลัก นอกจากนี้ เขายังสอนที่ EOS Gakuen School อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา