ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การตัดสินใจในการถ่ายภาพทิวทัศน์: แสงด้านหน้าหรือแสงด้านหลัง

2017-01-26
1
4.19 k
ในบทความนี้:

ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ ทิศทางของแสงคือปัจจัยหนึ่งที่ช่างภาพต้องตัดสินใจ และบ่อยครั้งความชอบส่วนตัวก็มีความสำคัญและส่งผลต่อสไตล์การถ่ายภาพของช่างภาพ ในบทความนี้ เราจะมาศึกษาถึงเหตุผลของช่างภาพทั้งสองคนว่าทำไมพวกเขาแต่ละคนจึงชื่นชอบแสงด้านหน้าและแสงด้านหลัง (เรื่องโดย Takashi Nishikawa, GOTO AKI)

 

แสงจากด้านหน้า: ช่วยขับเน้นสีสันในภาพทิวทัศน์

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/16, 1/30 วินาที, EV+1.0)/ ISO 200/ WB: แสงแดด
สถานที่: เส้นทางชมซากุระโอคิทะมะ จังหวัดยามากะตะ ประเทศญี่ปุ่น
ภาพโดย Takashi Nishikawa

 

บทความนี้จะอธิบายความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับทิศทางของแสง หากคุณรู้สึกไม่คุ้นเคยกับหลักพื้นฐานดังกล่าวอาจต้องการดูที่
[บทที่ 14] รู้จักทิศทางของแสงในภาพถ่ายของคุณ

ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ แม้ว่าไม่ใช่ทุกคนที่ต้องการสร้างเอฟเฟ็กต์ดังกล่าว แต่วิธีคลาสสิกที่สุดในการถ่ายภาพท้องฟ้าให้มีสีฟ้าสดใสคือ การถ่ายทอดสีสันเพื่อทำให้ฉากที่ออกมาราวกับถอดออกมาจากภาพวาด

ภาพนี้ถ่ายเมื่อเช้าวันหนึ่งในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ เป็นภาพของต้นซากุระที่อยู่ริมถนน Dai no Sakura ในเส้นทางชมซากุระโอคิทะมะ ในจังหวัดยามากะตะ ประเทศญี่ปุ่น ดอกซากุระนี้เป็นสายพันธุ์ที่มีชื่อว่า “Beniyutaka” หรือ "สีแดงจัด" ซึ่งก็ตรงกับชื่อของมันจริงๆ เพราะดอกซากุระเหล่านี้ขึ้นชื่อในเรื่องสีที่สวยเข้มเป็นอย่างมาก อีกทั้งยอดเขาที่อยู่ในส่วนแบ็คกราวด์ยังมีร่องรอยของหิมะหลงเหลืออยู่ จึงยิ่งทำให้ภาพนี้ดูสวยสดงดงามอย่างยิ่ง

การถ่ายภาพโดยใช้แสงด้านหน้าในสภาพอากาศที่สดใสเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการถ่ายทอดสีสันของวิวทิวทัศน์ให้ออกมาสวยงามและสมจริงมากที่สุด ช่างภาพ Takashi Nishikawa จึงต้องการถ่ายภาพทิวทัศน์โดยใช้แสงด้านหน้าทันทีหลังจากที่ฝนหยุดตก หรือในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใสปลอดโปร่ง

 

เคล็ดลับ: เพื่อปกปิดโทนสีที่ไม่สม่ำเสมอกันบนท้องฟ้า ให้วางตัวแบบของคุณให้เหมาะสม

EOS 5D Mark III/ EF8-15mm f/4L Fisheye USM/ FL: 15 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/250 วินาที, EV+0.7)/ ISO 200/ WB: Manual
ภาพโดย Takashi Nishikawa

 

เมื่อคุณถ่ายภาพโดยให้แสงเข้าจากด้านหน้า โทนสีที่ไม่สม่ำเสมอกันบนท้องฟ้ามีแนวโน้มที่จะเห็นชัดขึ้นหากคุณใช้เลนส์มุมกว้าง แม้ว่าคุณจะไม่ได้ใช้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ทรงกลม (PL) ก็ตาม แต่หากคุณวางตัวแบบของคุณให้พอดีกับบริเวณที่ท้องฟ้ามีสีเข้มมากที่สุดดังเช่นในภาพด้านบน ไม่เพียงท้องฟ้าจะดูสม่ำเสมอมากขึ้นเท่านั้น แต่จะทำให้ต้นซากุระมีโทนสีเข้มมากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งนับเป็นวิธีการที่หลักแหลมที่ช่วยให้เรายิงปืนนัดเดียวได้นกถึงสองตัวเลยทีเดียว

 

แสงด้านหลัง: ดึงความสนใจของผู้ชมไปที่แสงสว่างเพื่อสร้างความประทับใจไม่รู้ลืม

EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/4L IS USM/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/250 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
ภาพโดย GOTO AKI

 

แสงด้านหน้าใช้เพื่อให้แสงส่องกระทบฉากทั้งฉาก ทำให้มองเห็นรายละเอียดของตัวแบบที่ถ่ายได้อย่างชัดเจน ในทางตรงกันข้าม แสงด้านหลังจะทำให้เกิดส่วนที่เป็นแสงและเงา โดยที่ไม่เห็นรายละเอียดของเงา ซึ่งความเปรียบต่างที่ได้มีแนวโน้มที่จะสร้างเอฟเฟ็กต์ที่สะเทือนอารมณ์ได้

ในสถานที่เช่นป่าไม้ แสงด้านหลังจะกระจายตัวไปตามต้นไม้และใบไม้ทั้งยังมีแสงประกายอยู่โดยรอบ ทำให้ตัวแบบเหล่านั้นแปรเปลี่ยนจากวัตถุธรรมดาๆ เป็นตัวแบบที่กระตุ้นความสนใจและสร้างความประทับใจได้ ส่วนตัวแบบที่มีรูปทรงน่าสนใจก็สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นภาพซิลูเอตต์ได้ด้วยการถ่ายภาพโดยใช้แสงด้านหลังและการชดเชยแสงเป็นลบ ดังนั้น เมื่อคุณถ่ายภาพในสภาวะย้อนแสง จึงควรระมัดระวังในเรื่องแสงและเงาขณะจัดองค์ประกอบภาพและกำหนดการตั้งค่าการเปิดรับแสงของคุณ

 

เคล็ดลับ: เพื่อเน้นให้แสงสว่างดูน่าสนใจ ให้ปรับลักษณะของภาพในส่วนที่เป็นเงาให้เหมาะสมด้วยการชดเชยแสง

EV-0.3
EOS 5DS R/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM/ FL: 255 มม./ Shutter-priority AE (f/18, 1/800 วินาที, EV-0.3)/ ISO 200/ WB: Manual
ภาพโดย GOTO AKI

 

EV-1.3
EOS 5D Mark IV/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/60 วินาที, EV-1.3)/ ISO 400/ WB: Manual
ภาพโดย GOTO AKI

 

เงาจะช่วยดึงความสนใจของผู้ชมไปที่แสงสว่าง ดังนั้น การจะควบคุมลักษณะของภาพเงาที่เกิดขึ้นได้นั้นต้องใช้การชดเชยแสงเข้าช่วย หากคุณต้องการสร้างภาพซิลูเอตต์ ให้ใช้การชดเชยแสงเป็นลบจนถึงค่าประมาณ EV-2.0 จนกระทั่งส่วนหนึ่งของภาพเป็นสีดำเพียงพอที่จะเน้นให้แสงสว่างดูน่าสนใจ

หากต้องการดูตัวอย่างเกี่ยวกับวิธีสร้างภาพซิลูเอตต์ โปรดดูบทช่วยสอน:
เทคนิคการถ่ายภาพด้วยเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ - ภาพซิลูเอตต์ของสัตว์ป่าภายใต้แสงอาทิตย์

สำหรับเอฟเฟ็กต์ที่ดีเยี่ยมอีกอย่างหนึ่งที่คุณสามารถใช้เพื่อดึงความสนใจไปที่แสงสว่างได้ โปรดดูที่ คำแนะนำในการสร้างเอฟเฟ็กต์แฉกแสงด้วยดวงอาทิตย์

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดย ลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

GOTO AKI

เกิดเมื่อปี 1972 ที่จังหวัดคานากาวะ จบการศึกษาจาก Sophia University และ Tokyo College of Photography Goto เผยแพร่ผลงานคอลเลคชั่นภาพถ่ายที่มีชื่อว่า "LAND ESCAPES" และยังมีส่วนร่วมในผลงานอื่นๆ อีก อาทิ "water silence" การแสดงผลงานศิลปะที่ผสานภาพถ่ายกับวิดีโอเข้าไว้ด้วยกัน

http://gotoaki.com/

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Takashi Nishikawa

เกิดที่จังหวัดนาระ เมื่อปี 1965 Nishikawa จบการศึกษาจากคณะวิจิตรศิลป์ สาขาการแพร่ภาพและภาพยนตร์ Osaka Professional Total Creative School เขาศึกษาการถ่ายภาพด้วยตนเอง และทำงานที่บริษัทผลิตวิดีโอโฆษณาและศูนย์พิมพ์ภาพระดับมืออาชีพ ก่อนจะผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระในที่สุด และยังเป็นสมาชิกของสมาคม Japan Nature Scenery Photograph Association (JNP) อีกด้วย

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา