ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การถ่ายภาพต้นซากุระในญี่ปุ่น: จุดชมวิวและเคล็ดลับของช่างภาพมืออาชีพ (3)

2017-04-06
1
2.8 k
ในบทความนี้:

ในตอนที่สามนี้ เราไม่เพียงแนะนำจุดชมซากุระที่มีชื่อเสียง ซึ่งเหมาะสำหรับการไปเยือนในเดือนเมษายนเท่านั้น แต่จะเผยเคล็ดลับการจัดองค์ประกอบภาพ การจัดแสง และการถ่ายภาพซ้อน ที่จะเพิ่มความงดงามให้กับซากุระอีกด้วย (เรื่องโดย: Hidehiko Mizuno, Komei Motohashi, Michiko Kaneko)

 

1: สวนสาธารณะอุจิ (จังหวัดเกียวโต ทางตะวันตกของเกาะฮอนชู)

ขับเน้นสีสันที่สดเข้มของต้นซากุระ โดยเลือกวิธีจัดแสงให้เหมาะกับโทนสี

พื้นที่ที่เชื่อมระหว่างเกาะ Tou-no-shima กับเกาะ Tachibana มีต้นซากุระเรียงรายอยู่มากมาย และยังมีนักท่องเที่ยวพลุกพล่านในตอนกลางวัน แต่เมื่อตกเย็นไปแล้วฝูงชนจะเริ่มบางตาลง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ไฟประดับต้นไม้ต่างๆ จะเปิดสว่างไสว ในคราวที่ผมไปเที่ยวชมนั้นท้องฟ้ายังไม่มืดสนิท ความสว่างระหว่างต้นซากุระกับท้องฟ้าซึ่งยังคงเป็นสีครามเล็กน้อยจึงมีความสมดุลเป็นพิเศษ

ต้นไม้ที่เรียงรายตลอดแนวแม่น้ำทำให้จุดชมวิวมีลมแรง เพื่อถ่ายภาพนิ่งของต้นซากุระ ผมจึงเพิ่มความไวแสง ISO เพื่อให้สามารถถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้นได้ ผมถ่ายภาพโดยตั้งค่า WB ไปที่ ‘แสงหลอดฟลูออเรสเซนต์ขาว’ เพื่อให้ได้ภาพถ่ายที่ค่อนข้างใกล้เคียงกับที่ผมหวังไว้ จากนั้น จึงแก้ไขอุณหภูมิสีในระหว่างปรับแต่งภาพ RAW

สีของต้นซากุระในภาพดูอ่อนมากๆ เมื่อถ่ายภาพภายใต้แสงอาทิตย์ แต่สีชมพูอ่อนกลับดูสดชัดมากขึ้นเมื่อได้รับแสงสว่างจากแสงเทียม ดังนั้น ในระหว่างกระบวนการปรับแต่งภาพ ผมจึงปรับภาพเพื่อขับเน้นโทนสีแดงในกลีบดอกไม้ให้สดเข้มยิ่งขึ้น และเนื่องจากแหล่งกำเนิดแสงสว่างจ้ามาก ผมจึงต้องปรับตำแหน่งการถ่ายภาพด้วยเช่นกัน โดยใช้ประโยชน์จากเสาต่างๆ ที่รองรับต้นซากุระ เพื่อปิดกั้นแสงบางส่วนและทำให้เอฟเฟ็กต์ดูนุ่มนวลขึ้น

ภาพถ่ายที่ผมต้องการสร้างสรรค์คือ ต้นซากุระทั้งต้นที่กำลังบานสะพรั่ง แผ่กิ่งก้านสาขา และเต็มไปด้วยดอกซากุระสีชมพูสว่างไสว เปล่งประกายตัดกับท้องฟ้ายามเย็นที่อยู่ในฉากหลัง ผมเลือกถ่ายภาพที่ระยะ 35 มม. ในแนวนอนและจัดองค์ประกอบภาพโดยให้พื้นที่เฟรมทั้งหมดเต็มไปด้วยต้นซากุระและสิ่งที่อยู่รายล้อม แต่แสงจากไฟประดับสว่างไม่เพียงพอและไม่สามารถทำให้ทุกส่วนของต้นไม้สว่างขึ้นได้ ดังนั้น ผมจึงตั้งไฟวิดีโอ LED บนขาตั้งกล้องสำหรับเดินทาง และเปิดให้สว่างเพื่อให้แสงไฟกระจายไปทั่วทั้งสองด้านของต้นไม้ เมื่อเพิ่มความสว่างให้กับพื้นที่มืดด้วยไฟ LED โทนอุ่น ผมจึงได้ภาพที่ต้นไม้ทั้งต้นดูนุ่มนวลแต่มีแสงสว่างเพียงพอ

หากมีช่างภาพคนอื่นๆ อยู่ในบริเวณใกล้เคียงขณะที่คุณกำลังถ่ายภาพ ตรวจดูว่าขาตั้งกล้องของคุณไม่รบกวนการถ่ายภาพของพวกเขา

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 35 มม./ Manual exposure (f/5.6, 0.4 วินาที, EV±0)/ ISO 1600/ WB: 4,200K
ภาพโดย: Hidehiko Mizuno/ สถานที่: อุจิ, เมืองอุจิ จังหวัดเกียวโต
ช่วงที่เหมาะแก่การชมมากที่สุด: ต้นเดือนเมษายน/ เวลาที่ถ่ายภาพ: 18:30 น.

 

ไฟวิดีโอ LED ทำหน้าที่เสมือนแหล่งกำเนิดแสงเสริม

ไฟวิดีโอที่ผมใช้ถ่ายภาพนี้คือไฟ LED กำลังไฟ 130 วัตต์ ที่ให้ความสว่าง 800 ลูเมน

 

ตัวอย่างที่ไม่ดี: แสงที่ส่องโดยตรงจากด้านหน้าทำให้เกิดความเปรียบต่างที่เด่นชัดเกินไป

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 55 มม./ Manual exposure (f/5.6, 1.6 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: Manual
ภาพโดย: Hidehiko Mizuno

ภาพนี้ถ่ายโดยใช้แฟลชเสริมติดเข้ากับตัวกล้อง แสงที่ส่องโดยตรงจากด้านหน้าทำให้รั้วและฐานหินดูสว่างกว่าต้นซากุระ และทำให้เกิดเงาและความเปรียบต่างที่เห็นได้ชัดเจนและดึงความสนใจไปจากภาพ

 

2: ปราสาทฮิโกเนะ (จังหวัดชิงะ ทางตะวันตกของเกาะฮอนชู)

การใช้ประโยชน์จากผิวน้ำที่ใสเหมือนกระจกเพื่อแสดงความงามของความสมมาตร

คูน้ำรอบปราสาทฮิโกเนะคือจุดชมวิวที่มีความงดงาม เหมาะสำหรับชมทิวทัศน์ของต้นซากุระที่บานสะพรั่งซึ่งสะท้อนบนผิวน้ำ ทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน แต่ถ้าต้องการถ่ายภาพต้นซากุระที่น่าประทับใจที่สุด ช่วงเวลากลางคืนจะเหมาะมากที่สุด และหากคุณต้องการภาพที่ตัวแบบและภาพสะท้อนบนผิวน้ำดูสมมาตรกันอย่างงดงาม คุณต้องตรวจดูให้แน่ใจว่าไม่มีกระแสลมอย่างเด็ดขาด

เพื่อเน้นปริมาณของต้นซากุระที่ปกคลุมกำแพงหินของปราสาทเหนือคูน้ำให้ดูหนาตาขึ้น ควรตรวจสอบบริเวณขอบที่กำแพงบรรจบกัน เนื่องจากเป็นส่วนสำคัญที่จะกำหนดว่าภาพของคุณมีความสมดุลหรือไม่ หากแบ่งภาพเป็นสามส่วนและบริเวณขอบนี้เบนออกจากพื้นที่ส่วนกลางเพียงเล็กน้อย สัดส่วนของภาพจะเปลี่ยนไป และส่งผลให้ภาพถ่ายที่ออกมาไม่สวยงามเท่าที่ควร

คุณจะเห็นว่าทางด้านขวาของภาพมีต้นซากุระหนาตาขึ้น และหากมองจากระยะไกลจะเห็นตัวตึกของปราสาททางขวาของภาพเช่นกัน จึงควรระมัดระวังอย่าใส่องค์ประกอบเข้าไปในเฟรมภาพมากเกินไป เนื่องจากจะดึงความสนใจของผู้ชมจากต้นซากุระได้

EOS-1Ds Mark III/ EF28-300mm f/3.5-5.6L IS USM/ FL: 28 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/15 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: 3,500K
ภาพโดย: Komei Motohashi/ สถานที่: ปราสาทฮิโกเนะ จังหวัดชิงะ
ช่วงที่เหมาะแก่การชมมากที่สุด: ต้นเดือนเมษายน/ เวลาที่ถ่ายภาพ: 17:30 น.

 

หมายเหตุ:  จุดสนใจจะไม่อยู่ที่ต้นซากุระอีกต่อไป หากคุณรวมตัวปราสาทไว้ในเฟรมภาพด้วย

EOS-1Ds Mark III/ EF28-300mm f/3.5-5.6L IS USM/ FL: 28 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 20 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: Manual
ภาพโดย: Komei Motohashi

ในฉากจริง เราสามารถมองเห็นตัวปราสาทที่เปิดไฟสว่างไสวจากระยะไกลที่ด้านขวาของภาพ การวางปราสาทให้ลึกเข้าไปในเฟรมภาพยิ่งขึ้นดังเช่นในภาพนี้อาจเปลี่ยนจุดสนใจ และทำให้ภาพสะท้อนของซากุระในน้ำส่งผลทางอารมณ์น้อยลง

 

3: ต้นซากุระทรงพุ่มที่ชิโนอิ (จังหวัดโทะชิงิ ทางตะวันออกของเกาะฮอนชู)

ซ้อนภาพสองภาพเพื่อสร้างบรรยากาศความอุดมสมบูรณ์

เนื่องจากในเวลานั้นไม่มีกระแสลมและกิ่งของต้นซากุระหยุดนิ่งไม่ไหวติง ผมจึงถ่ายภาพสองภาพโดยใช้ฟังก์ชั่นการถ่ายภาพซ้อน ภาพซ้อนภาพแรกถ่ายให้มีความคมชัด ส่วนภาพซ้อนภาพที่สองถ่ายให้อยู่นอกระยะโฟกัสและเบลอ และเมื่อวางภาพทั้งสองซ้อนกัน Shidare-zakura (ต้นซากุระทรงพุ่ม) จึงมีดอกซากุระปกคลุมหนาขึ้น และดูเหมือนภาพฝัน นอกจากนี้ ภาพนี้ถ่ายในยามเย็นโดยใช้แสงด้านข้าง ต้นซากุระจึงมีสีชมพูอ่อนๆ

จุดชมวิวนี้อยู่ใกล้กับบ้านในชนบท ดังนั้น หากคุณถ่ายภาพในตอนเช้า ควรถ่ายภาพอย่างเงียบเชียบ นอกจากนี้ ต้นซากุระรายล้อมไปด้วยนาข้าว จึงควรระมัดระวังอย่าเหยียบไปบนพื้นที่นา แม้ว่าในทุ่งนาจะไม่มีน้ำก็ตาม และไม่ควรเดินบนแนวคั่นระหว่างทุ่งนา

EOS 5D Mark III/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS USM/ FL: 150 มม./ Aperture-priority AE (f/5, 1/100 วินาที, EV±0)/ ISO 450/ WB: แสงแดด
ภาพโดย: Michiko Kaneko/ สถานที่: ชิโนอิ, เมืองอุสึโนะมิยะ จังหวัดโทะชิงิ
ช่วงที่เหมาะแก่การชมมากที่สุด: ต้นเดือนเมษายน/ เวลาที่ถ่ายภาพ: 17:00 น.

 

เคล็ดลับ: สำหรับภาพซ้อนภาพแรก ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่หยุดกิ่งไม้ซึ่งกำลังพลิ้วไหวไปตามแรงลม

EOS 5D Mark III/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS USM/ FL: 150 มม./ Aperture-priority AE (f/14, 1/13 วินาที, EV+0.7)/ ISO 450/ WB: แสงแดด
ภาพโดย: Michiko Kaneko

ภาพนี้เป็นภาพซ้อนแรก ผมลองเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ให้สูงขึ้น จนกระทั่งพบว่าสามารถหยุดกิ่งไม้ที่พลิ้วไหวไปตามแรงลมได้ ความเร็วชัตเตอร์นี้จะขึ้นอยู่กับความแรงของลม

สถานที่ตั้งของจุดชมวิว

 

1: สวนสาธารณะอุจิ (จังหวัดเกียวโต)
2: ปราสาทฮิโกเนะ (จังหวัดชิงะ)
3: ต้นซากุระทรงพุ่มที่ชิโนอิ (จังหวัดโทะชิงิ)

ภูมิภาคที่แสดงเป็นสีน้ำเงินได้กล่าวถึงไว้ในตอนที่ 1
ภูมิภาคที่แสดงเป็นสีเขียวได้กล่าวถึงไว้ในตอนที่ 2 (ซึ่งแนะนำจุดชมวิวอื่นๆ ในเกียวโตเช่นกัน)

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Komei Motohashi

เกิดที่โยโกฮาม่า จังหวัดคานากาวะเมื่อปี 1945 Motohashi ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีห้องมืดที่ Tokyo College of Photography เขากำลังจัดทำคอลเลกชันภาพถ่ายที่มีชื่อธีมว่า "Breath of Nature" (ลมหายใจแห่งธรรมชาติ) ซึ่งเป็นผลงานที่รวบรวมลักษณะเด่นทางธรรมชาติและสภาพอากาศที่ไม่เหมือนใครของประเทศญี่ปุ่น ผ่านมุมมองทางธรรมชาติที่เขาได้พบในเทือกเขาต่างๆ

Michiko Kaneko

เกิดที่เมือง Sendai จังหวัด Miyagi เธอเริ่มสนใจการถ่ายภาพหลังจากบังเอิญได้เห็นภาพถ่ายที่ทำให้เธอเกิดแรงบันดาลใจใน Okunikko ในปี 1987 เธอศึกษาการถ่ายภาพจาก Shotaro Akiyama ช่างภาพผู้มีชื่อเสียงที่ล่วงลับไปแล้ว ก่อนจะเปิดสตูดิโอของตัวเองและผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ ด้วยความหลงใหลในสีสันอันงดงามของธรรมชาติ เธอจึงเดินทางไปทั่วญี่ปุ่นด้วยรถยนต์ของเธอ เพื่อเก็บภาพทิวทัศน์แสนสงบในฤดูต่างๆ รวมทั้งภาพที่มีทั้งรถไฟและทิวทัศน์ด้วย เธอเป็นสมาชิกของ Japan Professional Photographers Society (JPS) และ Japan Society for Arts and History of Photography (JSAHP)

Hidehiko Mizuno

เกิดปี 1968 ในเกียวโต ผลงานที่เขาเผยแพร่เน้นทิวทัศน์ที่สวยงาม รวมถึงศาลเจ้าและวัดวาอารามในเกียวโต

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา