ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การถ่ายภาพซ้อนของดอกไม้ไฟ: คำแนะนำอย่างละเอียดเพื่อถ่ายภาพสวยได้ดั่งใจ

2018-10-11
2
2.89 k
ในบทความนี้:

ท้องฟ้าซึ่งเต็มไปด้วยดอกไม้ไฟดูงดงามก็จริง แต่บางครั้งคุณอาจเพียงต้องการจับภาพเอฟเฟ็กต์ที่คุณชอบมากที่สุดเท่านั้น ดังนั้น มาลองใช้โหมดถ่ายภาพซ้อนของกล้องเพื่อสร้างสรรค์ภาพมอนทาจของดอกไม้ไฟด้วยตัวคุณเองกัน ต่อไปนี้เราจะแนะนำวิธีสร้างภาพขึ้นมาใหม่โดยใช้เทคนิคดังกล่าว (เรื่องโดย Gensaku Izumiya)

ภาพซ้อนของดอกไม้ไฟ 3 ภาพ

EOS 5DS/ TS-E17mm f/4L/ FL: 17 มม./ Manual exposure (f/11, 1 วินาที ×3 ภาพ, EV±0)/ ISO 100/ WB: 3,000K
ถ่ายโดยใช้ขาตั้งกล้อง
สถานที่ถ่ายภาพ: งานแสดงดอกไม้ไฟ Asakawa-machi (จังหวัดฟุกุชิมะ)

 

ขั้นตอนที่ 1: การเตรียมความพร้อมเพื่อถ่ายภาพ

1. ทำการบ้าน

1) สำรวจพื้นที่ ออกสำรวจขณะที่ข้างนอกยังสว่างอยู่เพื่อทราบพื้นที่ที่จะจุดดอกไม้ไฟ

2) ลองหาโบรชัวร์ของงานหากมี โบรชัวร์สำหรับงานดอกไม้ไฟที่สำคัญๆ มักระบุขนาดและประเภทของดอกไม้ไฟ รวมถึงลำดับก่อนหลัง ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับการวางแผนถ่ายภาพ

3) วางแผนเรื่องอุปกรณ์ (ดู 2. อุปกรณ์ที่จะใช้) งานแสดงดอกไม้ไฟมักแน่นขนัดไปด้วยผู้คน และคุณคงอยากเดินทางพร้อมสัมภาระที่น้อยที่สุด การทราบถึงขนาดของดอกไม้ไฟและระยะห่างจากตัวคุณจะช่วยให้คุณกำหนดทางยาวโฟกัสที่ต้องใช้ได้ สำหรับภาพด้านบน ผมตัดสินใจเลือกใช้เลนส์เดี่ยว 17 มม.

 

เคล็ดลับน่ารู้: ขนาดของดอกไม้ไฟ

งานแสดงดอกไม้ไฟขนาดเล็กถึงขนาดกลางดังเช่นงานที่ผมถ่ายภาพนี้มักใช้ดอกไม้ไฟที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 15 ซม. ซึ่งดอกไม้ไฟ 15 ซม. สามารถแตกกระจายในอากาศได้สูงถึง 190 ม. และกว้างสูงสุด 150 ม. ขณะเดียวกัน งานแสดงดอกไม้ไฟที่มีขนาดใหญ่มากๆ อาจใช้ดอกไม้ไฟที่ใหญ่ถึง 60 ซม. ซึ่งพุ่งสูงถึงระดับ 450 ม. และแตกออกจนมีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้างถึง 500 ม.

 

2. อุปกรณ์ที่จะใช้

 

EOS 5DS

EOS 5DS
คุณไม่เพียงได้ภาพที่แสดงรายละเอียดอย่างดีเยี่ยมด้วยกล้องความละเอียดสูงพิเศษเช่นนี้ แต่จำนวนพิกเซลที่สูงยังมีประโยชน์หากคุณตัดสินใจที่จะครอปภาพในภายหลัง

TS-E17mm f/4L

TS-E17mm f/4L
แม้ไม่ถึงกับเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ แต่เลนส์ทิลต์-ชิฟต์สามารถกำจัดการบิดเบี้ยวของเปอร์สเป็คทีฟที่อาจปรากฎขึ้นได้ ไม่ว่าคุณจะใช้เลนส์มุมกว้างหรือเทเลโฟโต้จะต้องขึ้นอยู่กับสภาวะในสถานที่ถ่ายภาพของคุณ

 
สายลั่นชัตเตอร์

สายลั่นชัตเตอร์/รีโมทสวิตช์
สายลั่นชัตเตอร์หรือรีโมทสวิตช์เป็นตัวช่วยที่ดีเยี่ยมสำหรับการเปิดรับแสงนาน เพราะไม่เพียงช่วยควบคุมเวลาการเปิดรับแสงและช่วงเวลาในการลั่นชัตเตอร์เท่านั้น แต่ยังป้องกันไม่ให้กล้องสั่นไหวจากการใช้นิ้วกดปุ่มชัตเตอร์อีกด้วย และจะยิ่งดีขึ้นไปอีก หากรีโมทสวิตช์ของคุณมาพร้อมกับฟังก์ชั่นการตั้งเวลาถ่ายภาพ

ฟิลเตอร์ ND

ฟิลเตอร์ ND8
แม้คุณอาจจะเลือกใช้ความไวแสง ISO ต่ำสุดและลดขนาดรูรับแสงให้แคบที่สุดแล้ว แต่ดอกไม้ไฟยังคงสว่างจ้าจนภาพอาจดูสว่างเกินไปอยู่ดี ในกรณีนี้ ฟิลเตอร์ ND จะช่วยคุณลดความเข้มแสงและป้องกันการได้รับแสงมากเกินไป
ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ข้อดีและข้อเสียของฟิลเตอร์ ND

 

ขั้นตอนที่ 2: ตั้งค่ากล้อง

1. การตั้งค่าพื้นฐาน

ผมใช้การตั้งค่าต่อไปนี้ในการถ่ายภาพดอกไม้ไฟที่จุดครั้งเดียว ซึ่งนำไปใช้กับการถ่ายภาพซ้อนได้เช่นกัน

1) ตั้งกล้องบนขาตั้งกล้อง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ตั้งกล้องไว้ในตำแหน่งที่มั่นคงดีแล้ว
2) ต่อสายลั่นชัตเตอร์/รีโมทสวิตช์
3) ปิดคุณสมบัติการลดจุดรบกวนจากการเปิดชัตเตอร์นานเพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดยิ่งขึ้น
4) ตั้งค่ารูปแบบภาพเป็น "ภาพทิวทัศน์" เพื่อให้สีสันของภาพดูสดใสขึ้น
5) ตั้งค่าโหมดการถ่ายภาพและการตั้งค่าต่างๆ การตั้งค่าที่ผมใช้ได้ผลเสมอคือ โหมด Bulb, ISO 100, f/11

 

สายลั่นชัตเตอร์และกล้องบนขาตั้งกล้อง

สายลั่นชัตเตอร์หรือรีโมทสวิตช์ช่วยให้สั่งงานชัตเตอร์ได้ง่ายและป้องกันไม่ให้กล้องสั่นไหว

วงแหวนเลือกโหมดในโหมด Bulb

การเปิดรับแสงจะทำงานต่อเนื่องเมื่อกดปุ่มสายลั่นชัตเตอร์ค้างไว้เท่านั้น

 

อ่านข้อมูลสรุปเกี่ยวกับพื้นฐานการถ่ายภาพดอกไม้ไฟที่:
การถ่ายภาพพลุดอกไม้ไฟ: วิธีถ่ายภาพ

 

เคล็ดลับ: อย่าตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้เร็วเกินไป

ภาพดอกไม้ไฟที่ถ่ายเสีย

ถ่ายที่ 1/15 วินาที
หากเวลาการเปิดรับแสงสั้นเกินไป เส้นแสงจากดอกไม้ไฟจะเห็นได้ไม่ชัดและภาพจะดูไม่น่าประทับใจนัก

ต่อไปนี้คือเคล็ดลับบางประการสำหรับการลั่นชัตเตอร์ในจังหวะที่เหมาะสมในการถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงเพียงครั้งเดียว และอื่นๆ:
4 เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญในการถ่ายภาพดอกไม้ไฟที่จุดครั้งเดียวให้ดูสวยงาม
3 สิ่งที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเกี่ยวกับการถ่ายภาพดอกไม้ไฟ

 

2. เตรียมเลนส์ของคุณให้พร้อม

1) ใช้ MF เพื่อโฟกัส ด้วยวิธีนี้ จุดโฟกัสจะไม่เคลื่อนไปโดยไม่ตั้งใจเมื่อคุณกดปุ่มสายลั่นชัตเตอร์
2) ปรับโฟกัสไว้ที่ระยะอนันต์
3) การเคลื่อนไหวในวงแหวนโฟกัสอาจทำให้ภาพของคุณหลุดโฟกัส จึงควรหลีกเลี่ยงโดยใช้เทปกาวผ้าติดวงแหวนโฟกัสให้อยู่กับที่

 

ตั้งค่าไว้ที่ MF

ตั้งค่าสวิตช์ MF ไปที่โหมด MF

ตั้งค่าไปที่ MF เพื่อไม่ให้จุดโฟกัสเคลื่อนไปโดยไม่ตั้งใจเมื่อคุณกดปุ่มสายลั่นชัตเตอร์

ตั้งโฟกัสไว้ที่ระยะอนันต์ ติดผนึกตัวเลนส์ด้วยเทปกาวผ้า

วงแหวนโฟกัสที่ติดผนึกด้วยเทปกาวผ้า

ใช้เทปกาวผ้าติดวงแหวนโฟกัสให้อยู่กับที่ เพื่อป้องกันไม่ให้ภาพที่ได้หลุดโฟกัส

 

เคล็ดลับพิเศษ: โฟกัสไปที่สถานที่จุดดอกไม้ไฟหากทำได้

หากเป็นช่วงเวลากลางวันและคุณเห็นภาชนะทรงกระบอกสำหรับดอกไม้ไฟซึ่งแสดงตำแหน่งที่จะจุด ให้ใช้ MF และตั้งโฟกัสไปที่จุดดังกล่าวล่วงหน้า

 

ขั้นตอนที่ 3: ก่อนถ่ายภาพ

1. จัดองค์ประกอบภาพสำหรับภาพซ้อนภาพแรกในแนวนอน เพื่อให้ภาพดอกไม้ไฟอยู่ทางด้านซ้ายของเฟรมภาพ

2. เฝ้าสังเกตดอกไม้ไฟดวงแรก เมื่อดอกไม้ไฟดวงแรกจุดขึ้น ลองตรวจสอบความสูงและขนาดของการกระจายผ่านกล้องของคุณ แม้ว่าจะเป็นการดีที่สุดถ้าดอกไม้ไฟที่คุณต้องการถ่ายมีขนาดเท่ากันและพุ่งขึ้นสูงในระดับและตำแหน่งเดียวกันบนท้องฟ้า แต่หากมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยก็ถือว่าใช้ได้เช่นกัน

 

ขั้นตอนที่ 4: การถ่ายภาพซ้อนจริง

1. ก่อนกดชัตเตอร์…

1) เปิดโหมดการถ่ายภาพซ้อนและกำหนดจำนวนภาพซ้อนที่จะถ่าย สำหรับภาพนี้ ผมกำหนดไว้ที่ "3" ภาพ หากคุณยังเป็นช่างภาพดอกไม้ไฟมือใหม่ คุณอาจเลือกใช้วิธีคลุมด้วยผ้าสีดำได้เช่นกัน
 

เมนูการตั้งค่าการถ่ายภาพซ้อน

การตั้งค่าของผม:
โหมดการถ่ายภาพซ้อน: ON: ระบบ/ควบฯ (เน้นระบบและการควบคุม)
การควบคุมการถ่ายภาพซ้อน: "สว่าง"
จำนวนภาพซ้อน: 3
*ภาพแสดงหน้าจอเมนูในกล้อง EOS 5DS/EOS 5DS R และอาจแตกต่างจากกล้องรุ่นอื่นๆ

 

2) อย่าเริ่มถ่ายภาพทันที ครั้งแรกที่คุณได้ยินเสียงดอกไม้ไฟแตกออก ให้รีบดูที่หน้าจอกล้องเพื่อเช็คความสูงและขนาดทันที และตรวจสอบว่าดอกไม้ไฟอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องในภาพถ่ายหรือไม่

 

เคล็ดลับ: มีเส้นแสงดีหรือไม่ดี

เมื่อดอกไม้ไฟถูกจุดขึ้น คุณจะเห็นเส้นแสงเกิดเป็น "ทาง" ขณะดอกไม้ไฟพุ่งสู่ท้องฟ้า คุณสามารถเลือกได้ว่าจะรวมเส้นแสงนี้ไว้ในองค์ประกอบดีหรือไม่ สำหรับภาพนี้ ผมเลือกที่จะตัดเอาเส้นแสงออกเพื่อดึงความสนใจของผู้ชมไปที่ดอกไม้ไฟหลักที่แตกออก

 

ควรกดชัตเตอร์เมื่อใด

ภาพประกอบสำหรับเวลาที่ควรลั่นชัตเตอร์

ควรเริ่มถ่ายภาพซ้อนเมื่อ "เส้นแสง" ของดอกไม้ไฟหายไปแล้ว หากต้องการรวมเส้นแสงเข้าไปในองค์ประกอบภาพ ให้เริ่มถ่ายภาพซ้อนทันทีที่ได้ยินเสียงดอกไม้ไฟแตกออก

 

2. เปลี่ยนองค์ประกอบภาพเพื่อถ่ายภาพดอกไม้ไฟครั้งต่อๆ ไป

ภาพที่ได้จะขาดความสมดุลหากคุณแพนกล้องไปแบบสุ่มๆ หลังจากถ่ายภาพแรก ควรวางแผนว่าคุณต้องการให้ดอกไม้ไฟในภาพแต่ละภาพอยู่ในตำแหน่งใด และเปลี่ยนองค์ประกอบภาพให้สอดคล้องกัน

ผมถ่ายภาพซ้อนของดอกไม้ไฟสามภาพ พร้อมกับหมุนแท่นขาตั้งกล้อง 10° หลังจากถ่ายภาพแต่ละภาพ จากนั้นวางดอกไม้ไฟดวงแรก (A) ไว้ทางด้านซ้ายของเฟรมภาพ ดวงที่สอง (B) ไว้ตรงกลาง และดวงที่สาม (C) ไว้ทางด้านขวา

 

แผนภาพองค์ประกอบภาพที่แสดงลำดับของภาพซ้อน

เมื่อนำภาพมารวมกันแล้ว ดอกไม้ไฟทั้งสามดวงจะมีขนาดเท่ากัน (เส้นผ่านศูนย์กลาง 12 ซม.) B อยู่ที่ตำแหน่ง 10° ทางด้านขวาของ A และ C จะอยู่ที่ตำแหน่ง 10° ทางด้านขวาของ B คุณสามารถปรับเปลี่ยนมุมของตำแหน่งได้ตามทางยาวโฟกัสของเลนส์และขนาดของดอกไม้ไฟ

หากดอกไม้ไฟถูกยิงขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง ต่อไปนี้เป็นวิธีเก็บภาพดอกไม้ไฟทั้งชุดไว้ในเฟรมเดียวกัน
เคล็ดลับเกี่ยวกับความเร็วชัตเตอร์: วิธีเก็บภาพดอกไม้ไฟทั้งชุดไว้ในเฟรมเดียวกัน

 

ขั้นตอนสุดท้าย: ระวังสิ่งที่อาจทำลายภาพถ่ายของคุณ

1. เต้นท์กลางแจ้งและองค์ประกอบอื่นๆ ที่อยู่กับที่และมีขนาดใหญ่

ภาพถ่ายซ้อนที่ถ่ายเสีย: เต็นท์ที่มองเห็นเป็นภาพซ้อน

เมื่อคุณแพนกล้องในโหมดการถ่ายภาพซ้อน วัตถุใดที่อยู่กับที่ซึ่งถ่ายติดมาด้วยจะไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันในภาพซ้อนแต่ละภาพ ซึ่งอาจทำให้ "เห็นเป็นภาพซ้อน" กระจัดกระจาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุที่มีขนาดใหญ่อย่างเช่นเต็นท์และอาคารบ้านเรือนต่างๆ แต่ในภาพที่ใช้งานได้จะไม่เจอกับปัญหาดังกล่าวเนื่องจากมีการใช้แสงยามค่ำคืนเป็นฉากหลัง

 

2. การรับแสงมาก/น้อยเกินไป

ภาพสว่างเกินไป: แสงสว่างโพลน

ดอกไม้ไฟที่ได้รับแสงมากเกินไป

ภาพมืดเกินไป: ดอกไม้ไฟดูมืดเกินไป

ดอกไม้ไฟที่ได้รับแสงน้อยเกินไป

ระยะห่างไม่ว่าใกล้หรือไกลระหว่างดอกไม้ไฟกับกล้องส่งผลให้ได้เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟที่แตกต่างกัน ซึ่งท้ายที่สุดอาจเปลี่ยนความสว่างของภาพถ่ายได้ นอกจากนี้ ดอกไม้ไฟบางดอกอาจสว่างกว่าดอกอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด จึงควรควบคุมการเปิดรับแสงโดยปรับรูรับแสงตามที่จำเป็น

 

ต่อไปนี้เป็นไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ภาพดอกไม้ไฟ:
ถ่ายภาพการแสดงดอกไม้ไฟด้วยมืออย่างไรให้มีศิลปะ!

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Gensaku Izumiya

เกิดที่เมืองอะกิตะเมื่อปี 1959 การถ่ายภาพดอกไม้ไฟคือความหลงใหลที่มีมายาวนานในชีวิตของ Izumiya เขาถ่ายภาพทิวทัศน์ งานโฆษณา ผู้คน สินค้า และการทำอาหาร และสร้างสรรค์ภาพถ่ายเกี่ยวกับไฟและน้ำเป็นหลัก นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกของสมาคม Japan Professional Photographers Society

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา