ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิดและเทคนิคของเลนส์- Part6

พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ #5: เปอร์สเป็คทีฟ

2017-10-05
4
6.9 k
ในบทความนี้:

เปอร์สเป็คทีฟ คือ ปรากฏการณ์ที่ทำให้วัตถุที่อยู่ใกล้ดูมีขนาดใหญ่ขึ้น และวัตถุที่อยู่ไกลดูมีขนาดเล็กลง เปอร์สเป็คทีฟเป็นแนวคิดหนึ่งที่สำคัญในการถ่ายภาพ ซึ่งหากหมั่นฝึกฝนและสร้างเปอร์สเปคทีฟที่เกินจริงได้ ภาพของคุณจะส่งผลทางอารมณ์มากขึ้น ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ 3 องค์ประกอบที่มีผลต่อเปอร์สเป็คทีฟกัน (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)

ภาพด้านบนเกี่ยวกับพื้นฐานของเลนส์

 

3 ปัจจัยที่มีผลต่อเปอร์สเป็คทีฟ

แผนภาพเกี่ยวกับเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟ

3 ปัจจัยที่ช่วยให้ได้เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟที่ชัดเจนขึ้น
1. ใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสสั้นลง
2. ขยับเข้าใกล้ตัวแบบให้มากที่สุด
3. ถ่ายภาพจากมุมรับภาพแนวทแยงที่ชันยิ่งขึ้น

 

เปอร์สเป็คทีฟ หมายถึง ปรากฏการณ์ของภาพที่วัตถุซึ่งอยู่ใกล้ตัวเราดูมีขนาดใหญ่ขึ้น และวัตถุที่อยู่ไกลจากเราดูมีขนาดเล็กลง ในการถ่ายภาพ ปัจจัยที่มีผลต่อเปอร์สเป็คทีฟมีอยู่ 3 ประการด้วยกันคือ ทางยาวโฟกัส ระยะการถ่ายภาพ และมุมถ่ายภาพ

1. ทางยาวโฟกัส: ยิ่งคุณใช้ทางยาวโฟกัสที่สั้น เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟจะยิ่งชัดเจนขึ้น ในทางกลับกัน ยิ่งคุณใช้ทางยาวโฟกัสที่ยาวขึ้น เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟจะยิ่งด้อยลง

2. ระยะห่างจากตัวแบบ (ระยะการถ่ายภาพ หรือ "ระยะโฟกัส"): ยิ่งกล้องอยู่ใกล้ตัวแบบมากเท่าใด เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟจะยิ่งชัดเจนขึ้น ยิ่งกล้องอยู่ห่างจากตัวแบบมากเท่าใด เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟจะยิ่งด้อยลง 

3. มุมถ่ายภาพ: ยิ่งกล้องของคุณขนานกับตัวแบบมากเท่าใด (มุมถ่ายภาพตื้นขึ้น) เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟจะยิ่งด้อยลง ในทางกลับกัน ถ้าคุณวางกล้องไว้ในมุมที่ชันมากขึ้นจากตัวแบบ คุณจะได้เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟที่ชัดเจนขึ้น 

สรุปแล้ว วิธีง่ายที่สุดที่จะได้เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟที่ชัดเจนที่สุดคือ การใช้เลนส์มุมกว้าง ขยับเข้าใกล้ตัวแบบให้มากที่สุด และถ่ายภาพจากมุมรับภาพแนวทแยงที่ชัน เอฟเฟ็กต์การขยายมุมมองเปอร์สเปคทีฟเกินจริงที่เป็นเอกลักษณ์ของเลนส์มุมกว้างช่วยคุณสร้างสรรค์ภาพถ่ายที่สวยงาม พร้อมสื่อถึงความลึก ความมีมิติ และขนาดได้อย่างชัดเจน เอฟเฟ็กต์นี้จึงเหมาะกับการใช้ร่วมกับโฟกัสชัดลึก

เราลองมาดูรายละเอียดของปัจจัย 3 ประการที่ส่งผลต่อเปอร์สเป็คทีฟกัน

 

ทางยาวโฟกัส

ภาพด้านล่างถ่ายด้วยเลนส์ซูมมาตรฐานจากตำแหน่งเดียวกัน แต่ใช้ทางยาวโฟกัสต่างกัน เมื่อถ่ายด้วยทางยาวโฟกัสที่สั้นลง (24 มม.) เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟที่ได้จะค่อนข้างชัดเจน องค์ประกอบในภาพที่อยู่ใกล้ผู้ชมมากกว่าจะดูมีขนาดใหญ่ขึ้น และองค์ประกอบที่อยู่ไกลกว่าจะดูมีขนาดเล็กลง ในขณะเดียวกัน เมื่อถ่ายด้วยทางยาวโฟกัสที่ยาวขึ้น (ตัวอย่างที่ระยะ 70 มม.) เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟที่ได้จะไม่ชัดเจนนัก

ทางยาวโฟกัสสั้นลง (24 มม.)

เปอร์สเป็คทีฟที่ชัดเจนกว่าที่ 24 มม.

EOS 5D Mark III/ EF24-70mm f/2.8L II USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/30 วินาที, EV+0.7)/ ISO 1250/ WB: อัตโนมัติ

ทางยาวโฟกัสยาวขึ้น (70 มม.)

เปอร์สเป็คทีฟที่ด้อยกว่าที่ 70 มม.

EOS 5D Mark III/ EF24-70mm f/2.8L II USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/80 วินาที, EV+0.7)/ ISO 3200/ WB: อัตโนมัติ

 

ระยะห่างจากตัวแบบ

ตัวอย่างด้านล่างถ่ายโดยใช้ทางยาวโฟกัสที่เท่ากัน (50 มม.) แต่ระยะห่างจากตัวแบบที่ต่างกัน ในตัวอย่างด้านล่าง ลองสังเกตว่าส่วนของตึกที่อยู่ใกล้เราจะดูมีขนาดใหญ่กว่าตามสัดส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับการถ่ายภาพโดยขยับออกห่างจากตัวแบบมากขึ้น (ตัวอย่างที่ระยะ 3 เมตร) สิ่งนี้เห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อเรามองดูแนวเส้นที่ด้านบนและด้านล่างของป้ายโฆษณาในแต่ละภาพ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมโดยมีขอบด้านขวาของภาพเป็นฐาน ในตัวอย่างที่ถ่ายที่ระยะ 2 เมตร รูปสามเหลี่ยมนี้มีฐานกว้างกว่า เมื่อเทียบกับตัวอย่างที่ถ่ายที่ระยะ 3 เมตร ซึ่งแนวเส้นบรรจบกันที่มุมมากขึ้นเรื่อยๆ และเกิดเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีรูปทรงเพรียวบางพร้อมกับฐานที่แคบลง นี่แสดงว่ายิ่งกล้องอยู่ใกล้ตัวแบบมากเท่าใด เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟจะยิ่งชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น 

ใกล้ขึ้น (2 เมตร)

การบิดเบี้ยวของเปอร์สเป็คทีฟเห็นชัดเจนขึ้นเมื่อถ่ายภาพจากระยะที่ใกล้ขึ้น

EOS 5D Mark III/ EF24-70mm f/2.8L II USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/200 วินาที, EV+0.3)/ ISO 100/ WB: Manual

ไกลขึ้น (3 เมตร)

เปอร์สเป็คทีฟด้อยลงเมื่อถ่ายจากระยะใกล้

EOS 5D Mark III/ EF24-70mm f/2.8L II USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/200 วินาที, EV+0.3)/ ISO 100/ WB: Manual

 

มุมถ่ายภาพ

ตัวอย่างด้านล่างถ่ายโดยใช้ทางยาวโฟกัสที่เท่ากัน (50 มม.) แต่ต่างกันที่มุมถ่ายภาพ การถ่ายตัวแบบจากมุมรับภาพแนวทแยง (ตัวอย่างที่มุม 45° ) ทำให้เกิดเอฟเฟ็กต์เปอร์สเปคทีฟซึ่งเปลี่ยนรูปทรงสี่เหลี่ยมของหน้าต่างไป ขณะที่การถ่ายภาพจากมุมที่ค่อนข้างแบน (ตัวอย่างภาพที่ถ่ายจากทางด้านหน้า) จะไม่เกิดเอฟเฟ็กต์เปอร์สเปคทีฟ ภาพจึงแสดงหน้าต่างสี่เหลี่ยมเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามจริง

แนวทแยง (45°)

มุมรับภาพแนวทแยง เปอร์สเปคทีฟชัดเจนขึ้น

EOS 5D Mark III/ EF24-70mm f/2.8L II USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/320 วินาที, EV+0.7)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

แบน (กล้องและระนาบภาพอยู่ในแนวเดียวกัน)

แบนราบ, เปอร์สเปคทีฟด้อยลง

EOS 5D Mark III/ EF24-70mm f/2.8L II USM/ FL: 50mm/ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/250 วินาที, EV+0.7)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

 

สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักในการเน้นเปอร์สเปคทีฟ

1. ตระหนักถึงเส้นนำสายตาให้มากเมื่อจัดองค์ประกอบภาพ

เส้นแนวทแยงมุมและแนวตั้ง

EOS 6D/ EF17-40mm f/4L USM/ FL: 17 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/160 วินาที, EV+1)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
การใช้เส้นแนวตั้งและแนวนอนร่วมกัน

เส้นนำสายตาที่สร้างความลึก

EOS 5D Mark III/ EF24-70mm f/2.8L II USM/ FL: 24 มม./ Program AE (f/8, 1/250 วินาที)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
การใช้เส้นนำสายตาเพื่อสร้างความลึก

 

เมื่อคุณใช้เลนส์มุมกว้างเพื่อถ่ายภาพที่ใช้ประโยชน์จากเปอร์สเปคทีฟ ควรตระหนักถึงเส้นนำสายตาในภาพถ่ายให้มาก การถ่ายภาพจากมุมมองที่โดดเด่นเพื่อให้เส้นนำสายตาในอาคาร ถนน ทางเดิน แม่น้ำ และองค์ประกอบอื่นๆ ดูเป็นแนวทแยงมุมมากขึ้น จะสามารถเพิ่มเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟได้ นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้เส้นนำสายตาเพื่อสร้างความลึกในภาพถ่าย หรือดึงความสนใจของผู้ชมไปยังจุดใดจุดหนึ่งได้

 

2. เล่นกับตำแหน่งและมุมกล้อง

ภาพถ่ายจากตำแหน่งที่ต่ำ

EOS 6D/ EF17-40mm f/4L USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/200 วินาที, EV-0.3)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
ตำแหน่งที่ต่ำ

ภาพถ่ายจากมุมสูง

EOS 6D/ EF17-40mm f/4L USM/ FL: 25 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/80 วินาที)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
มุมสูง

 

หากคุณถ่ายภาพในระดับสายตา การได้เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย จึงขอแนะนำให้ลองถ่ายภาพจากตำแหน่งที่ต่ำหรือมุมสูงแทน แม้แต่การเอียงกล้องขึ้นหรือลงเพียงเล็กน้อยก็อาจสร้างความแตกต่างได้มากเช่นกัน

โปรดดูที่:
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #14: ตำแหน่งกล้องและมุมกล้อง

 

เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟอาจช่วยให้คุณได้ภาพเช่นนี้!

ภาพมุมกว้างที่มีเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟชัดเจน

EOS 6D/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/30 วินาที, EV+0.3)/ ISO 500/ WB: แสงแดด
จัดตำแหน่งตัวเองให้อยู่ใกล้กับตัวแบบและถ่ายภาพมุมกว้างจากมุมต่ำ
เก้าอี้ในห้องนั่งเล่นเป็นสีเขียวสวย ฉันขยับเข้าใกล้และถ่ายภาพโดยใช้มุมต่ำและทางยาวโฟกัสมุมกว้าง ส่วนของเก้าอี้ที่อยู่ใกล้ผู้ชมมากกว่าดูมีขนาดใหญ่ และค่อยๆ แคบขึ้นเมื่อมองลึกเข้าไปในภาพ ภาพนี้จึงแสดงให้เห็นถึงมิติความลึกของห้อง

สำหรับเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเพิ่มมุมมองเปอร์สเปคทีฟเกินจริง โปรดดูที่:
สำรวจเลนส์มุมกว้างตอนที่ 2: เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพสำหรับเลนส์มุมกว้าง

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Tomoko Suzuki

หลังเรียนจบจากวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยโตเกียวโพลีเทคนิคแล้ว Suzuki ก็เข้าทำงานกับบริษัทโปรดักชั่นโฆษณาแห่งหนึ่ง เธอได้ทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับช่างภาพหลายคน รวมถึง Kirito Yanase และมีความเชี่ยวชาญการถ่ายภาพโฆษณาผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องแต่งกายและเครื่องสำอางอีกด้วย ตอนนี้เธอทำงานเป็นช่างภาพสตูดิโอให้กับบริษัทผลิตเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา