การจัดองค์ประกอบภาพคือศิลปะแห่งการตัดสินใจว่าจะใส่อะไรเข้าไปในเฟรมภาพและจะนำเสนออย่างไร นอกเหนือไปจากแนวคิดต่างๆ อย่างทฤษฎีสีและแนวทางอย่างเช่นกฎสามส่วน เลนส์ที่คุณเลือกและวิธีการใช้เลนส์ก็มีบทบาทสำคัญต่อความรู้สึกในภาพที่ได้เช่นกัน ต่อไปนี้คือแนวคิดเกี่ยวกับเลนส์ที่สำคัญซึ่งจะช่วยให้คุณใช้ประโยชน์จากเลนส์ได้สูงสุด จัดองค์ประกอบภาพได้อย่างเชี่ยวชาญ และยกระดับการถ่ายภาพขึ้นไปอีกขั้น
1. ผลของทางยาวโฟกัสที่มีต่อมุมรับภาพ
1. ผลของทางยาวโฟกัสที่มีต่อมุมรับภาพ
หากคุณถ่ายภาพมาได้สักระยะ คุณอาจจะเข้าใจอยู่แล้วว่าทางยาวโฟกัสที่ใช้ส่งผลอย่างไรต่อมุมรับภาพ ซึ่งหมายถึงขอบเขตของฉากเบื้องหน้าที่ถูกถ่ายไว้โดยเซนเซอร์ภาพของกล้องและเข้ามาอยู่ในภาพ
ลองมาดูตัวอย่างในภาพด้านล่างซึ่งถ่ายที่ 24 มม., 45 มม. และ 105 มม. จากจุดเดียวกัน คุณสังเกตเห็นว่าขอบเขตของภาพเป็นอย่างไร และขนาดของตัวแบบ เช่น ชิงช้าสวรรค์ เป็นอย่างไร
ทางยาวโฟกัสที่สั้นกว่า (เช่น 24 มม.) จะให้มุมรับภาพที่กว้างกว่า ซึ่งหมายความว่าจะถ่ายฉากไว้ในเฟรมได้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ทางยาวโฟกัสที่ 24 มม. ของกล้องฟูลเฟรมจะถ่ายภาพฉากที่มุมมอง 84° ในเฟรมภาพวัตถุต่างๆ จะดูมีขนาดเล็กลง
ทางยาวโฟกัสที่ยาวกว่าจะให้มุมรับภาพที่แคบลง ซึ่งหมายความว่าจะถ่ายภาพได้ในส่วนที่มีขนาดเล็กกว่าในฉาก ยกตัวอย่างเช่น ทางยาวโฟกัสที่ 45 มม. ของกล้องฟูลเฟรมจะมีความครอบคลุมประมาณ 51.4° ในขณะที่ 105 มม. ครอบคลุมประมาณ 23.3° ในเฟรมภาพวัตถุต่างๆ จะดูมีขนาดใหญ่ขึ้น
ทางยาวโฟกัสสั้น | ทางยาวโฟกัสยาว | |
มุมรับภาพ | กว้างกว่า | แคบกว่า |
ขนาดของวัตถุที่ระยะหนึ่ง | เล็กกว่า | ใหญ่กว่า |
แน่นอนว่าระยะห่างระหว่างคุณกับตัวแบบก็สำคัญเช่นกัน หากคุณอยู่ใกล้กับตัวแบบ คุณจะทำให้ตัวแบบกินพื้นที่ในเฟรมมากขึ้นได้แม้จะใช้ทางยาวโฟกัสสั้น
ภาพชิงช้าสวรรค์เดียวกัน ถ่ายที่ประมาณ 88 มม. ชิงช้าจะดูมีขนาดใหญ่กว่าตัวอย่างที่ถ่ายด้วยทางยาวโฟกัส 105 มม. ในภาพ GIF เนื่องจากจุดถ่ายภาพอยู่ใกล้กว่า
คุณสามารถใช้ความรู้นี้ในการเลือกเลนส์ให้เหมาะสมเพื่อใช้กับภาพที่คุณกำลังจะถ่าย คุณจะอยู่ไกลจากตัวแบบเท่าใด คุณต้องใช้พื้นที่แค่ไหนในการเคลื่อนที่ไปมา คุณต้องการให้มีบริบทโดยรอบเข้ามาในภาพมากเพียงใด สภาวะในการถ่ายภาพมีความสำคัญไม่ต่างจากความตั้งใจของคุณ หลายคนมักนึกถึงเลนส์มุมกว้างเมื่อต้องถ่ายภาพทิวทัศน์ แต่ฉากตระการตาบางฉากกลับถ่ายออกมาได้สวยงามที่สุดเมื่อใช้เลนส์เทเลโฟโต้!
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
การเริ่มต้นถ่ายภาพทิวทัศน์: 5 สิ่งที่ควรทราบ
ข้อควรรู้: ทางยาวโฟกัสไม่ได้ส่งผลต่อการจัดเฟรมภาพเท่านั้น
การเปลี่ยนทางยาวโฟกัสสามารถส่งผลต่อลักษณะอื่นๆ ของภาพได้เช่นกัน เช่น โบเก้และเปอร์สเปคทีฟ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการให้ตัวแบบในเฟรมดูมีขนาดใหญ่ขึ้นขณะใช้ทางยาวโฟกัสสั้น คุณมักจะต้องถ่ายภาพโดยเข้าใกล้ตัวแบบให้มากขึ้น วิธีนี้ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิงเมื่อเทียบกับภาพที่ได้จากการซูมเข้าไปที่ตัวแบบโดยใช้ทางยาวโฟกัสยาว และมีความเกี่ยวข้องกับแนวคิดอื่นๆ ในบทความนี้ด้วย อ่านต่อเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเลย!
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพอย่างมืออาชีพ (3): ดึงความสามารถสูงสุดของเลนส์มาใช้
2. การควบคุมระยะชัดและโบเก้
ระยะชัดหมายถึงพื้นที่ในฉากที่ปรากฏอยู่ในโฟกัสภายในภาพ
โบเก้หมายถึงคุณสมบัติด้านความสวยงามของความเบลอที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของส่วนที่อยู่นอกโฟกัส
หมายเหตุ: ภาพด้านบนใช้สำหรับประกอบบทความเท่านั้น หากฉากมีความลึกมาก แม้แต่รูรับแสงแคบสุดก็อาจไม่สามารถทำให้ทุกอย่างอยู่ในโฟกัสได้!
จุดที่คุณวางตำแหน่งโฟกัสและปริมาณพื้นที่ของภาพที่อยู่ในโฟกัสคือสิ่งสำคัญในการบอกเล่าเรื่องราว ในบางสถานการณ์ คุณอาจต้องการสร้างโบเก้เพื่อให้ตัวแบบดูโดดเด่นตัดกับโบเก้ แต่ในสถานการณ์อื่น คุณอาจต้องการระยะชัดที่มากขึ้น (และมีโบเก้น้อยลงหรือไม่มีเลย) เพื่อให้ตัวแบบอยู่ในโฟกัสมากขึ้นหรือแสดงรายละเอียดในแบ็คกราวด์ให้มากขึ้น
ความสัมพันธ์ระหว่างระยะชัดกับรูรับแสง
f/1.2
f/8
ช่างภาพส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับความสัมพันธ์ระหว่างโบเก้และรูรับแสง:
- ค่า f น้อยลง (รูรับแสงกว้างขึ้น) = ระยะชัดที่ตื้นขึ้น โบเก้ชัดขึ้น
หากเลนส์ของคุณมี “ความไวแสง” มาก (ยิ่งรูรับแสงกว้างสุดกว้างขึ้นเท่าไหร่) คุณจะสามารถทำให้แบ็คกราวด์และโฟร์กราวด์เบลอได้มากขึ้นขณะถ่ายภาพจากตำแหน่งเดียวกันด้วยทางยาวโฟกัสเท่ากัน
เคล็ดลับระดับมือโปร: รู้จักปัจจัยที่ส่งผลต่อโบเก้
หากมีสภาวะการถ่ายภาพที่เอื้ออำนวย คุณอาจใช้ปัจจัยอื่นๆ เพื่อให้โบเก้ชัดขึ้นได้ แม้ว่าคุณจะไม่มีเลนส์ที่มีความไวแสงสูงนัก! และนี่คือสรุปสั้นๆ
ทางยาวโฟกัส
f/11 ของเลนส์ RF600mm f/11 IS STM
โดยปกติแล้ว ทางยาวโฟกัสยาวๆ จะทำให้ได้ระยะชัดที่ตื้นขึ้น จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมแบ็คกราวด์ในภาพนี้จึงดูเบลอมากแม้ใช้ค่า f/11
ระยะห่างระหว่างเลนส์และตัวแบบ
16 มม., f/8, อยู่ไกลจากตัวแบบ, โฟกัสอยู่ที่ดอกไม้ในโฟร์กราวด์
16 มม., f/8, อยู่ใกล้กับตัวแบบ สังเกตว่าอาคารในแบ็คกราวด์ดูเบลอมากกว่า
เคล็ดลับ: หากต้องการถ่ายภาพในระยะที่ใกล้ตัวแบบเช่นนี้โดยให้ตัวแบบอยู่ในโฟกัสด้วย คุณจะต้องใช้เลนส์ที่มีระยะโฟกัสใกล้สุดที่สั้น
ยิ่งปลายเลนส์อยู่ใกล้ตัวแบบมากเท่าใด ระยะชัดของภาพจะตื้นขึ้น (แคบขึ้น) เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ การถ่ายภาพตัวแบบให้อยู่ในโฟกัสอย่างเหมาะสมขณะถ่ายภาพมาโครจึงอาจเป็นเรื่องยากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ค่ารูรับแสงกว้างสุด
ระยะห่างจากแบ็คกราวด์
ถ่ายด้วย RF24-105mm f/4L IS USM ที่ 47 มม., f/4 อพาร์ตเมนต์ในแบ็คกราวด์อยู่ห่างออกไปประมาณ 700 ม.
แบ็คกราวด์ที่อยู่ห่างจากตัวแบบ (ระนาบโฟกัส) จะดูเหมือนอยู่นอกโฟกัสมากขึ้น
คุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความต่อไปนี้
พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ #3: การสร้างโบเก้
หากเลนส์ซูมของฉันไม่มีรูรับแสงกว้างสุดที่สว่างมาก ฉันจะสามารถสร้างโบเก้ขนาดใหญ่ได้อย่างไร
3. ความสัมพันธ์ระหว่างเลนส์และเปอร์สเปคทีฟ
3. ความสัมพันธ์ระหว่างเลนส์และเปอร์สเปคทีฟ
ในการถ่ายภาพ เปอร์สเปคทีฟหมายถึงระยะระหว่างวัตถุต่างๆ ว่าใกล้หรือไกลจากกันมากเพียงใด
ซึ่งเกี่ยวข้องกับขนาดของวัตถุในภาพ หากบางสิ่งดูมีขนาดใหญ่ เรามักจะคิดว่ามันอยู่ใกล้เรามากกว่า และหากบางสิ่งดูมีขนาดเล็ก เราก็มักจะคิดว่ามันอยู่ไกลจากเรามากกว่า
ทางยาวโฟกัสสั้น เปอร์สเปคทีฟเกินจริง วัตถุที่อยู่ใกล้เลนส์จะดูมีขนาดใหญ่กว่าปกติ แต่วัตถุที่อยู่ไกลกว่าจะมีขนาดเล็กกว่า
ในขณะเดียวกัน ที่ทางยาวโฟกัสยาวๆ (ถ่ายภาพให้มีลักษณะของเทเลโฟโต้มากกว่า) เปอร์สเปคทีฟจะถูกบีบอัด วัตถุที่อยู่ไกลจะถูก “ดึงเข้ามา” และดูเหมือนมีขนาดใหญ่ขึ้นและอยู่ใกล้ขึ้น ซึ่งทำให้ภาพดูแบนลง
ทางยาวโฟกัสสั้น (มุมกว้าง) |
ทางยาวโฟกัสยาว (เทเลโฟโต้) |
|
วัตถุที่อยู่ใกล้เลนส์ | ดูใหญ่กว่าอย่างไม่สมส่วน | สัดส่วนไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก อาจเกิดภาพเบลอหากวัตถุอยู่ใกล้กว่าระยะโฟกัสใกล้สุด |
วัตถุที่อยู่ไกล | ดูเล็กลง | ดูใหญ่ขึ้น |
แบ็คกราวด์ | ดูไกลขึ้น | ดูใหญ่ขึ้นและใกล้ขึ้น |
ระยะห่างระหว่างวัตถุ | ดูยาวขึ้น | ดูสั้นลง |
ผลกระทบต่อเปอร์สเปคทีฟ | เปอร์สเปคทีฟเกินจริง | เปอร์สเปคทีฟแบบบีบอัด |
ผลที่อาจกระทบต่อความลึก* | ลึกขึ้น (ฉากดูลึกขึ้น) |
ตื้นขึ้น (ฉากดูแบนลง) |
*ความชัดเจนของเอฟเฟ็กต์นี้ขึ้นอยู่กับฉากและการจัดองค์ประกอบภาพของคุณ!
16 มม.
หอยที่กำลังถูกย่างที่ด้านหน้าดูมีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับเนื้อที่อยู่ด้านหลัง นี่เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการดึงจุดสนใจไปยังอาหาร ตราบเท่าที่รูปทรงบิดเบี้ยวไม่เป็นปัญหา!
24 มม.
เอฟเฟ็กต์เปอร์สเปคทีฟเกินจริงทำให้สะพานดูมีขนาดใหญ่และสง่างาม
120 มม.
โดย @allenlo0809 การบีบอัดแบบเทเลโฟโต้ทำให้เอฟเฟ็กต์สีรุ้งของคานหลากสีสันดูโดดเด่น!
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับจุดถ่ายภาพนี้ วิธีการถ่ายภาพ และอื่นๆ อีกมากมายได้ที่ #สวัสดีจากไต้หวัน: 6 จุดถ่ายภาพในไต้หวันสำหรับผู้ชื่นชอบภาพสมมาตร
200 มม.
โดย @donamtykl เอฟเฟ็กต์การบีบอัดแบบเทเลโฟโต้ช่วย “ดึง” ป้ายต่างๆ อันเป็นสัญลักษณ์ของเขตเยาวราชในกรุงเทพฯ ออกมาจากแบ็คกราวด์และทำให้ดูมีขนาดใหญ่ขึ้น
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับพื้นที่แห่งนี้และทิวทัศน์ในจุดอื่นๆ ของกรุงเทพฯ ได้ที่ #สวัสดีจากกรุงเทพฯ: 3 สถานที่ที่มีเสน่ห์ชวนให้ถ่ายภาพได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
เคล็ดลับระดับมือโปร: วิธีเพิ่มเอฟเฟ็กต์เปอร์สเปคทีฟ
เอฟเฟ็กต์เปอร์สเปคทีฟเกินจริงจะชัดเจนยิ่งขึ้นอีกหากคุณเอียงกล้องเล็กน้อยและถ่ายภาพให้ใกล้กับโฟร์กราวด์มากขึ้น
50 มม., เอียงกล้องขึ้น
ที่มุมนี้ รูปปั้นดูตั้งตระหง่านเหนืออาคารสูงสองแห่งที่อยู่ด้านหลัง และขาของรูปปั้นก็ดูยาวกว่าเมื่อเทียบกับภาพถัดไป
200 มม., หน้าตรง
ภาพนี้ถ่ายโดยใช้ทางยาวโฟกัสที่ยาวขึ้นจากตำแหน่งที่ที่ทำให้ได้มุมกล้องในแนวตรงมากกว่า นี่คือรูปปั้นเดียวกับภาพก่อนหน้า แต่ดูมีลักษณะและให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันมาก!
ในขณะที่การ “ทำให้แบน” ของเอฟเฟ็กต์บีบอัดเปอร์สเปคทีฟอาจชัดเจนขึ้นได้เมื่อถ่ายภาพจากด้านหน้าตรงๆ หรือจากมุมที่ทำให้วัตถุต่างๆ ดูเหมือนอยู่ซ้อนกัน
359 มม., ยืนจากด้านข้าง
ช่องว่างระหว่างคานที่มองเห็นได้ทางด้านขวาบอกให้รู้ว่ามีระยะห่างระหว่างคานอยู่
300 มม., หน้าตรง
คานดูอยู่ชิดกันในลักษณะที่หนาแน่นกว่า
เคล็ดลับ: มุมกล้องก็สำคัญเช่นกัน
คุณอาจสังเกตเห็นแล้วว่า การเอียงกล้องหรือถ่ายภาพโดยเข้าไปใกล้ตัวแบบมากขึ้นทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของเปอร์สเปคทีฟได้ชัดเจนขึ้น ลองใช้วิธีเหล่านี้ในครั้งถัดไปที่คุณรู้สึกว่าไม่พอใจกับภาพที่ได้ เพราะแม้แต่การเอียงกล้องเพียงนิดเดียวก็อาจทำให้ภาพแตกต่างไปได้มาก!
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
สำรวจเลนส์มุมกว้างตอนที่ 2: เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพสำหรับเลนส์มุมกว้าง
5 สิ่งที่ควรลองด้วยเลนส์เทเลโฟโต้
ทำไมเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้จึงจำเป็นต่อการถ่ายภาพกีฬา
4. ระยะโฟกัสใกล้สุด
ระยะโฟกัสใกล้สุดเป็นตัวกำหนดว่าเราสามารถถ่ายตัวแบบได้ในระยะใกล้เพียงใดก่อนที่เลนส์จะไม่สามารถโฟกัสได้ คุณสมบัตินี้มีความสำคัญมากสำหรับการถ่ายภาพในระยะใกล้ที่เราต้องการให้โฟร์กราวด์หรือด้านหน้าของตัวแบบมีความคมชัด
ถ่ายที่ 88 มม., f/4.5
ตัวอย่างหนึ่งที่ดีคือเมื่อเราถ่ายภาพอาหารในระยะใกล้โดยใช้เอฟเฟ็กต์โฟกัสตื้น (โบเก้) สำหรับภาพเช่นนี้ หากไม่มีรายละเอียดอื่นๆ ที่คุณต้องการให้เป็นจุดสนใจ มักจะไม่เกิดปัญหาใดๆ หากคุณวางโฟกัสไว้ที่ด้านหน้าตัวแบบ แต่หากส่วนนี้อยู่ใกล้กับเลนส์เกินไป คุณจะไม่สามารถจับโฟกัสได้อย่างที่ต้องการ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
ภาพมาโครชวนน้ำลายสอ: ศิลปะแห่งการถ่ายภาพอาหารแบบโคลสอัพ
อีกตัวอย่างหนึ่งคือเมื่อเราต้องการให้เห็นเอฟเฟ็กต์เปอร์สเปคทีฟเกินจริงชัดเจนขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในภาพตัวอย่างนี้ซึ่งถ่ายที่ 14 มม. (มุมกว้างอัลตร้าไวด์) ด้วยเลนส์ RF14-35mm f/4L IS USM การถ่ายภาพโดยให้เลนส์อยู่ใกล้กับฐานของต้นไม้อย่างมากช่วยให้เอฟเฟ็กต์เปอร์สเปคทีฟเกินจริงชัดเจนขึ้น ซึ่งทำให้ลำต้นดูยาวมาก ระยะโฟกัสใกล้สุดของเลนส์ที่ค่อนข้างสั้นที่ 0.2 ม. ทำให้สามารถถ่ายรายละเอียดโดยรอบได้อย่างคมชัด ซึ่งหากปราศจากคุณสมบัตินี้ รายละเอียดเหล่านั้นจะเบลอ
คุณคงไม่ทราบว่า ควรใช้ระยะโฟกัสใกล้สุดเพื่อสร้างโบเก้ในโฟร์กราวด์!
คุณสามารถใช้โบเก้ในโฟร์กราวด์เพื่อจัดเฟรมให้ตัวแบบหรือเพิ่มความน่าสนใจให้กับภาพได้ และสิ่งที่ดีที่สุดคือคุณสามารถทำได้โดยไม่ยากนัก เพียงแค่วางสิ่งของบางอย่างเข้าไปในโฟร์กราวด์เท่านั้น อะไรก็ตามที่อยู่ใกล้กับเลนส์มากกว่าระยะโฟกัสใกล้สุดก็จะหลุดโฟกัสไป!
ถ่ายโดย @_neo_ng_ig ที่ f/5, 106 มม.
เรียนรู้วิธีการสร้างเอฟเฟ็กต์นี้และอื่นๆ ได้ที่ วิธีใช้โบเก้ในโฟร์กราวด์ให้ได้ผลดีเมื่อถ่ายภาพด้วยเลนส์เทเลโฟโต้
---
หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวคิดอื่นๆ เกี่ยวกับเลนส์และผลกระทบต่อภาพที่เลนส์ของคุณสามารถถ่ายได้ อ่านได้ที่
“อัตราส่วนกำลังขยาย” หมายถึงอะไร
ฉันจะได้ภาพแบบไหนหากถ่ายด้วยกำลังขยาย 0.25 หรือ 0.5 เท่า มีเลนส์
ม่านรูรับแสงคืออะไร ม่านรูรับแสงส่งผลต่อภาพถ่ายอย่างไร