ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด Photographer's Series- Part1

การเริ่มต้นถ่ายภาพทิวทัศน์: 5 สิ่งที่ควรทราบ

2020-02-05
10
5.78 k
ในบทความนี้:

หากคุณพร้อมที่จะออกไปถ่ายภาพทิวทัศน์ครั้งสำคัญเป็นครั้งแรกด้วยกล้องและเลนส์แล้ว มาสละเวลาสักครู่เพื่ออ่านคำถามที่พบบ่อยต่อไปนี้ที่ช่างถ่ายภาพทิวทัศน์มือใหม่หลายคนมี พร้อมด้วยคำตอบจากช่างภาพทิวทัศน์มืออาชีพสองราย (เรื่องโดย: Takashi Karaki, Toshiki Nakanishi, Digital Camera Magazine)

 

1. เวลาที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพคือเมื่อใด

ในขั้นแรก ควรถ่ายภาพตอนก่อนและหลังพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก

สำหรับสถานที่ถ่ายภาพใดก็ตาม ฉากที่คุณเห็นและสีสันที่คุณสามารถเก็บภาพได้จะเปลี่ยนไป ขึ้นอยู่กับทั้งฤดูกาลและช่วงเวลาของวันที่คุณถ่ายภาพ

“ช่วงเวลาทอง” บางช่วงสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์นั้นรวมถึงท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาวหลังพระอาทิตย์ตกดิน และพระอาทิตย์ขึ้นหลังจากรุ่งสาง ในช่วงเวลาเหล่านี้ สีสันที่สวยสดงดงามซึ่งเกิดจากท้องฟ้าที่กำลังเปลี่ยนแปลงและองค์ประกอบที่ช่วยให้ถ่ายภาพอันสวยงามน่าทึ่งได้อย่างง่ายดาย ยังเหมาะที่จะแชร์ลงบนโซเชียลมีเดียอีกด้วย

สภาพอากาศอาจมีผลต่อภาพถ่ายเช่นกัน โดยส่วนตัว ผมไม่ชอบถ่ายในวันที่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ผมชอบให้มีเมฆบนท้องฟ้ามากกว่า เช่น เวลาที่มีเมฆครึ้มแต่ฟ้าเปิดเป็นระยะ หรือเวลาที่ท้องฟ้าแจ่มใสหลังจากฝนตก ผมรู้สึกว่ามันช่วยเปิดโอกาสให้ถ่ายทอดภาพออกมาได้อย่างสร้างสรรค์มากขึ้น

ภาพพระอาทิตย์ขึ้นในช่วง Blue Hour ริมทะเล ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำ

พระอาทิตย์ขึ้น
EOS 5DS R/ EF24-70mm f/2.8L II USM/ FL: 24mm/ Manual exposure (f/5.6, 30 วินาที)/ ISO 250/ WB: ทังสเตน
ภาพโดย: Takashi Karaki

ฟ้างามยามราตรีเปลี่ยนเป็นท้องฟ้ายามรุ่งอรุณ ท้องฟ้าที่เปลี่ยนจากสีดำเป็นสีน้ำเงิน แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงและสีส้ม ทำให้เกิดภาพอันน่าประทับใจ คนส่วนใหญ่ยังคงหลับสนิทอยู่ในช่วงเวลานี้ แต่ฉากสุดพิเศษนี้ก็คุ้มค่าที่จะตื่นมารับชมอย่างแน่นอน


พระอาทิตย์ตก
EOS 5DS R/ EF24-70mm f/2.8L II USM/ FL: 35mm/ Manual exposure (f/9, 0.4 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
ภาพโดย: Takashi Karaki

พระอาทิตย์ตกดินสามารถเป็นภาพที่ดูมีพลังมาก หากก้อนเมฆอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม หากท้องฟ้าทางตะวันตกแจ่มใสขึ้นทันทีหลังจากฝนตก นั่นเป็นสัญญาณว่าพระอาทิตย์ยามเย็นจะมีสีแดงเข้ม เตรียมรอชมได้เลย แม้ว่าหลังจากพระอาทิตย์ลับเส้นขอบฟ้าไปแล้วก็ตาม

เคล็ดลับ: การรู้ตำแหน่งพระอาทิตย์หรือพระจันทร์ล่วงหน้าจะช่วยให้คุณวางแผนการถ่ายภาพได้ดีขึ้น ลองใช้แอปอย่าง Sun Surveyor ดู

อ่านเคล็ดลับเกี่ยวกับการถ่ายภาพขณะพระอาทิตย์ขึ้นและตกเพิ่มเติมที่:
ถ่ายภาพสีสันสดใสและร้อนแรงของพระอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ
การถ่ายภาพทิวทัศน์ในยามเช้าตรู่: ถ่ายภาพก่อนหรือหลังพระอาทิตย์ตกดินดี?
การตัดสินใจในการถ่ายภาพทิวทัศน์: ถ่ายยามเช้าหรือยามเย็นดีกว่ากัน
พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก: ถ่ายภาพสตรีทให้ได้ความเปรียบต่างที่น่าทึ่ง

 

2. อุปกรณ์เสริมอะไรบ้างที่ช่วยให้ถ่ายภาพได้ง่ายยิ่งขึ้น

ขาตั้งกล้อง รีโมทกดชัตเตอร์ และฟิลเตอร์เลนส์

ขาตั้งกล้องและการลั่นชัตเตอร์

ไม่ว่าจะช่วงพระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก ช่วงเวลาทองและช่วงเวลา Blue Hour ยามเช้าและยามเย็น หรือท้องฟ้าที่มีดาวพร่างพราย… ช่วงเวลาอันยอดเยี่ยมในการถ่ายภาพทิวทัศน์เหล่านี้ต่างมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือ มีแสงธรรมชาติน้อยมาก หมายความว่าคุณจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำเพื่อให้เปิดรับแสงได้อย่างเพียงพอ ซึ่งอาจทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาพเบลอจากการสั่นของกล้อง ขาตั้งกล้องและรีโมทกดชัตเตอร์จะช่วยป้องกันปัญหานี้และทำให้ภาพดูไม่พร่ามัวและคมชัดยิ่งขึ้น

กล้อง Canon ที่ยึดไว้กับขาตั้งกล้อง

ขาตั้งกล้องจะช่วยให้กล้องมั่นคง ขาตั้งกล้องมีรูปร่างและขนาดที่หลากหลาย ควรเลือกขาตั้งกล้องที่มีขาหนาและแข็งแรงซึ่งทำจากอะลูมิเนียม เพื่อเพิ่มความมั่นคงที่ดีที่สุด หากคุณต้องการขาตั้งกล้องที่ทั้งมั่นคงและมีน้ำหนักเบา ควรเลือกรุ่นที่ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์

ปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของขาตั้งกล้อง ได้แก่:
- น้ำหนักที่ขาตั้งกล้องสามารถรับได้
- ขีดจำกัดน้ำหนักของหัวขาตั้งกล้อง
- น้ำหนักของตัวกล้อง

เคล็ดลับ: เมื่อคุณได้ขาตั้งกล้องมาแล้ว ให้เลือกใช้หัวขาตั้งกล้องที่ช่วยให้คุณปรับมุมกล้องได้แม้หลังจากติดตั้งกล้องอย่างแน่นหนาแล้ว

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ของขาตั้งกล้องได้ใน:
เคล็ดลับที่มืออาชีพใช้ในการถ่ายภาพด้วยขาตั้งกล้อง


รีโมทกดชัตเตอร์ของ Canon

การกดปุ่มชัตเตอร์ของกล้องอาจทำให้กล้องสั่นได้ คุณสามารถถ่ายภาพได้โดยไม่ต้องกดปุ่มชัตเตอร์ของกล้อง โดยใช้รีโมทกดชัตเตอร์ หรือที่เรียกกันว่า รีโมทสวิตช์ ซึ่งมักใช้ร่วมกับขาตั้งกล้อง

เคล็ดลับ:
- หากกล้องของคุณเปิดใช้งาน Wi-Fi ได้ คุณสามารถใช้สมาร์ทโฟนที่จับคู่กับกล้องเป็นรีโมทกดชัตเตอร์ผ่านฟังก์ชั่นการถ่ายภาพ Live View ระยะไกล บนแอพ Canon Camera Connect สำหรับสมาร์ทโฟน (ฉบับภาษาอังกฤษ) ที่มีให้ดาวน์โหลดได้ฟรี
- ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ ให้ลองใช้ฟังก์ชั่นตั้งเวลา 2 วินาทีหรือ 10 วินาที


ฟิลเตอร์เลนส์

เมื่อถ่ายภาพทิวทัศน์กลางแดด วิธีการจับภาพและถ่ายทอดแสงของคุณจะเป็นปัจจัยกำหนดความแตกต่างระหว่างภาพถ่ายธรรมดาๆ กับผลงานชิ้นเอก ฟิลเตอร์เลนส์เป็นวิธีที่ช่วยให้คุณควบคุมแสงที่กล้องจับภาพไว้อย่างสะดวก

ฟิลเตอร์สองประเภทที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ คือ:

- ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ (ฟิลเตอร์ PL) ซึ่งใช้เพื่อทำให้สีชัดเจนขึ้นและช่วยลดแสงสะท้อนได้ และ
- ฟิลเตอร์ Neutral Density (ฟิลเตอร์ ND) ซึ่งช่วยลดปริมาณแสงที่ผ่านเข้าสู่กล้อง คุณจึงสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำลงหรือค่ารูรับแสงที่กว้างขึ้นเพื่อถ่ายทอดภาพได้อย่างสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น

ฟิลเตอร์ ND และฟิลเตอร์ PL

เคล็ดลับ: ฟิลเตอร์ ND แบ่งหมวดหมู่ตามเอฟเฟ็กต์การลดแสง ควรตรวจดูให้แน่ใจว่าฟิลเตอร์ที่คุณเลือกนั้นให้ผลตรงตามที่คุณต้องการ การลดแสงอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบ AF แต่การโฟกัสในโหมด Live View น่าจะช่วยได้


ภาพโดย: Takashi Karaki

ภาพเมโอโตะ อิวะ (หินแต่งงาน) ในเมืองฟูตามิ จังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่นนี้ถ่ายแบบเปิดรับแสงนานทันทีหลังจากพระอาทิตย์ขึ้น เนื่องจากท้องฟ้าสว่างสดใส ผมจึงใช้ฟิลเตอร์ ND1000 ซึ่งทำให้ผมสามารถถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ 55 วินาที ซึ่งช้ากว่าการถ่ายแบบไม่ใช้ฟิลเตอร์อยู่ 10 สต๊อป การเปิดรับแสงนานขึ้นอาจทำให้ทะเลดูราบเรียบยิ่งขึ้น แต่ความเร็วชัตเตอร์นี้ยังคงรูปร่างบางส่วนของคลื่นไว้ เพื่อให้ดูคล้ายทะเลหมอก

 

3. สามารถถ่ายภาพทิวทัศน์โดยไม่ใช้ขาตั้งกล้องได้หรือไม่

ได้ หากคุณใช้คุณสมบัติต่างๆ ของกล้องและเลนส์ให้เป็นประโยชน์

กี่ครั้งแล้วที่คุณถือกล้องถ่ายภาพกลางแดดแล้วคิดว่าจะไม่เกิดปัญหากล้องสั่น แต่ต้องมารู้สึกผิดหวังเอามากๆ หลังจากมองดูภาพเหล่านั้นดีๆ ในระหว่างกระบวนการปรับแต่งภาพ

ความจริงก็คือ มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหากล้องสั่นได้เสมอแม้ว่าจะถ่ายภาพในสภาวะที่มีแสงจ้า เพราะมนุษย์มักจะเคลื่อนไหวเล็กน้อยโดยไม่ตั้งใจอยู่ตลอด เช่น เวลาที่เราหายใจ ดังนั้น จะปลอดภัยกว่าถ้าใช้ขาตั้งกล้องเมื่อทำได้

อย่างไรก็ตาม แน่นอนว่าคุณเองก็สามารถถ่ายภาพแบบถือกล้องด้วยมือให้ออกมาคมชัดได้ เพียงแต่อย่าลืมทำตามคำแนะนำต่อไปนี้

- ใช้ค่าความไวแสง ISO สูงๆ
- ใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงตามความเหมาะสม
- ใช้เลนส์ที่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหว (IS) และอย่าลืมเปิดใช้งานด้วย
- วางท่าทางการถ่ายภาพให้มั่นคง

เทคโนโลยีระบบป้องกันภาพสั่นไหวได้รับการปรับปรุงดีขึ้นอย่างมากในระยะหลังนี้ ซึ่งทำให้มีความน่าเชื่อถือมากกว่าเดิม หากกล้องของคุณสามารถถ่ายภาพด้วยความไวแสง ISO สูงโดยมีจุดรบกวนภาพน้อยที่สุด คุณจะสามารถใช้ประโยชน์จากจุดนี้เพื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้นในสภาวะแสงน้อยเช่นกัน

 

ถ่ายภาพโดยใช้ขาตั้งกล้อง

ภาพแม่น้ำและก้อนหินที่ปกคลุมด้วยตะไคร่น้ำ ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำ

ภาพโดย: Takashi Karaki

ขาตั้งกล้องจะช่วยให้กล้องมั่นคงเมื่อคุณต้องการถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงนาน การเปิดรับแสงนานเพื่อถ่ายภาพแม่น้ำที่มีทิศทางกระแสน้ำไหลสม่ำเสมอจะช่วยให้ภาพของคุณดูนุ่มนวลดุจแพรไหม ดังเช่นในภาพนี้ ช่างภาพมือใหม่หลายรายอาจใฝ่ฝันที่จะถ่ายภาพเช่นนี้


ถ่ายภาพด้วยมือ

ภาพแบบสมมาตรของใบไม้เปลี่ยนสีภายในวัดยามค่ำคืน

ภาพโดย: Takashi Karaki

สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่งในญี่ปุ่นตอนนี้ห้ามใช้ขาตั้งกล้องเนื่องจากอาจขวางทางเดินนักท่องเที่ยวคนอื่นๆ แต่นั่นไม่ควรเป็นอุปสรรคในการถ่ายภาพให้ออกมาสวยงาม! หากคุณใช้ความเร็ว ISO สูงและเลนส์ที่มี IS ในตัว คุณจะยังคงถ่ายภาพโดยถือกล้องด้วยมือได้อย่างมั่นคงในสถานที่ที่มีแสงน้อย เช่น ภาพใบไม้เปลี่ยนสีที่สว่างไสวในสวนเท็นจูอัน วัดนันเซ็นจิ จังหวัดเกียวโตนี้

 

4. เลนส์ที่ดีที่สุดที่ควรใช้เป็นเลนส์หลักคือเลนส์อะไร

เลนส์ซูมเทเลโฟโต้ใช้ถ่ายภาพทิวทัศน์ได้สะดวกมาก

คนส่วนใหญ่คิดว่าเลนส์หลักที่ดีที่สุดที่ควรใช้สำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์คือเลนส์มุมกว้าง แต่จริงๆ ผมใช้เลนส์ซูมเทเลโฟโต้มากที่สุด ที่จริงแล้ว EF100-400mm f/4- 5.6L IS II USM เป็นเลนส์ที่ดีที่สุดสำหรับผมในการถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติอันกว้างใหญ่ไพศาลของฮอกไกโด ซึ่งถือเป็น “สมรภูมิ” หลักของผม

ดูภาพอื่นๆ ที่ Toshiki Nakanishi ถ่ายด้วยเลนส์รุ่นนี้ใน:
ทิวทัศน์ฤดูหนาวแสนมหัศจรรย์: เมื่อเกล็ดหิมะระยิบระยับราวอัญมณีกลายเป็นเสาแสงอาทิตย์

เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพและการดึงวัตถุของเลนส์เทเลโฟโต้จำเป็นอย่างยิ่งเมื่อผมต้องขยับเข้าใกล้ส่วนใดส่วนหนึ่งของภูมิทัศน์ที่ดูเบาบาง หรือเมื่อผมต้องการให้องค์ประกอบดูเป็นสองมิติมากขึ้นเพื่อจุดประสงค์ทางศิลปะ คุณสามารถใช้ได้แม้กระทั่งเลนส์มาโคร และขยับเข้าใกล้รายละเอียดต่างๆ

(ภาพด้านล่างโดย: Toshiki Nakanishi)


100 มม.

ต้นไม้และทะเลสาบ ถ่ายที่ระยะ 100 มม.

เมื่อผมต้องการถ่ายทอดทิวทัศน์ให้ดูเหมือนภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์มาตรฐาน ผมจะใช้ระยะมุมกว้างของเลนส์ EF100-400mm f/4- 5.6L IS II USM ซึ่งส่งผลให้ภาพดูเป็นธรรมชาติและมีการบีบมุมมองภาพน้อยมาก


160 มม.

ต้นไม้ต้นเดียวบนเนินเขา ถ่ายที่ระยะ 160 มม.

การบีบมุมมองภาพที่ชัดเจนขึ้นเมื่อใช้ทางยาวโฟกัสนี้ช่วยให้ผมถ่ายภาพเนินเขาออกมาดูราบเรียบ เหมือนในภาพวาด


400 มม.

เนินเขายามค่ำคืน ถ่ายที่ระยะ 400 มม.

การใช้ทางยาวโฟกัสที่ยาวเพื่อครอปบางส่วนของฉากที่อยู่ห่างไกลจะทำให้ดูเหมือนอยู่ใกล้กว่าความเป็นจริง

ดูเพิ่มเติมได้ที่: เคล็ดลับการจัดองค์ประกอบภาพที่ทำให้หมอกสวยงามเตะตา

 

5. มีธรรมเนียมปฏิบัติใดบ้างที่ควรทราบ

อย่าลืมให้ความเคารพผู้ที่ช่วยบำรุงรักษาทัศนียภาพนั้นๆ 

ธรรมชาติอาจสร้างทิวทัศน์อันสวยงามที่คุณเห็น แต่อย่าลืมผู้คนที่พยายามรักษาทิวทัศน์เหล่านี้ให้คงความสวยงามเอาไว้อย่างต่อเนื่อง ในญี่ปุ่น ผืนดินทุกแห่งที่คุณเห็นจะมีเจ้าของผู้ทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อช่วยรักษาทิวทัศน์อันงดงามไว้ ให้นึกถึงพวกเขาและเคารพสิ่งแวดล้อมเมื่อคุณถ่ายภาพ

สิ่งที่ควรคำนึงถึงเสมอ

- อย่าลืม “ดื่มด่ำกับบรรยากาศ” เมื่อ “เที่ยวชมวิว” จงอยู่กับปัจจุบัน มุ่งความสนใจทั้งหมดไปที่ทิวทัศน์นั้นๆ
- เก็บเพียงภาพถ่าย ทิ้งไว้แค่รอยเท้า
- เห็นคุณค่าของตัวแบบที่คุณถ่ายภาพ ควรคิดว่าทิวทัศน์เป็นเหมือนตัวแบบบุคคลที่อนุญาตให้คุณถ่ายภาพพวกเขาได้ และปฏิบัติต่อพวกเขาด้วยความเคารพไม่ต่างกัน
- ระวังสิ่งที่คุณโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย อย่าโพสต์สิ่งใดก็ตามที่จะทำให้ผู้คนไม่อยากไปสถานที่นั้นๆ

ป้ายโฆษณาฟาร์ม

ภาพโดย: Toshiki Nakanishi

ในฮอกไกโด ผมทำงานร่วมกับฟาร์มของเพื่อนคนหนึ่งในโครงการที่เปิดให้ผู้คนมาเยี่ยมชมฟาร์ม กิจกรรมลักษณะนี้ช่วยให้ผู้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับฟาร์มต่างๆ มากขึ้น ซึ่งช่วยทำให้ทิวทัศน์ของบิเอะเป็นอย่างที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Toshiki Nakanishi

เกิดปี 1971 ในโอซาก้า หลังจากศึกษาการถ่ายภาพด้วยตัวเอง Nakanishi ย้ายสถานที่ดำเนินกิจกรรมถ่ายภาพของตนไปยังเมือง Biei ที่อำเภอ Kamikawa-gun ในฮอกไกโด นอกจากถ่ายภาพทิวทัศน์ที่โฟกัสที่แสงเป็นหลักแล้ว เขายังสร้างสรรค์ผลงานที่เน้นถึงความงามของธรรมชาติในจินตนาการอีกด้วย เขามีตำแหน่งเป็นหัวหน้า PHOTO OFFICE ของ atelier nipek

http://www.nipek.net/

Takashi Karaki

หลังจากผ่านประสบการณ์การเป็นโค้ชกีฬา ต่อด้วยการทำงานในแวดวงการผลิตนิตยสารและบรรณาธิการมาเป็นเวลา 10 ปี Karaki ก็ย้ายไปยังเมืองโยนาโงะในจังหวัดท็อตโตริ ซึ่งเขาได้กลายเป็นที่รู้จักจากผลงานการถ่ายภาพทิวทัศน์ในภูมิภาคซันอินของญี่ปุ่น ผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์ใน จุลสาร Amazing Village ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับหมู่บ้านสวยๆ ในญี่ปุ่นที่จัดทำขึ้นภายใต้โครงการความร่วมมือ CANON × Discover Japan ในปี 2017 และภาพทะเลหมอกที่ช่องเขาอาเคชิในจังหวัดท็อตโตริก็เป็นหนึ่งใน 12 ภาพที่ได้รับคัดเลือกจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น (JNTO) ให้เป็นตัวแทนของญี่ปุ่น

Instagram: @karakky0918

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา