การตัดสินใจในการถ่ายภาพทิวทัศน์: ถ่ายยามเช้าหรือยามเย็นดีกว่ากัน
ยามเช้าที่มีหยาดน้ำค้่างเป็นประกายจากแสงอาทิตย์หรือยามเย็นอันชวนฝันขณะพระอาทิตย์อัสดง ช่วงเวลาทั้งสองเป็นฉากที่งดงามมากสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ ในบทความต่อไปนี้ เราจะแนะนำช่างภาพสองคนและผลงานของพวกเขา ซึ่งจะมาเล่าเกี่ยวกับช่วงเวลาโปรดในการถ่ายภาพและเทคนิคในการถ่ายฉากที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาให้ออกมาสวยงาม (เรื่องโดย: Yoshio Shinkai, Minefuyu Yamashita)
ยามเช้า: การถ่ายภาพประกายแวววาวของน้ำค้างบนกิ่งไม้ในยามเช้า
เวลาถ่ายภาพ/ 6:30 น.
EOS 5D Mark II/ EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 200 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/500 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
ภาพโดย Yoshio Shinkai
Yoshio Shinkai กล่าวว่า:
“ในเช้าวันที่ชื้นด้วยน้ำค้าง หยดน้ำค้างจะเกาะบนใบไม้และส่องประกายเมื่อต้องแสงอาทิตย์ ภาพอันงดงามซึ่งคุณจะได้เห็นเฉพาะในเวลาเช้านี้เต็มไปด้วยชีวิตชีวาและให้ความรู้สึกสดชื่น แต่ก็เป็นระยะเวลาอันแสนสั้นด้วยเพราะหยดน้ำค้างจะระเหยไปอย่างรวดเร็วเมื่อแดดแรงขึ้น หากไม่ใช้รูรับแสงกว้างเมื่อถ่ายภาพ คุณจะไม่สามารถถ่ายเอฟเฟ็กต์ของแสงที่ส่องประกายบนน้ำค้างได้ คุณอาจจะดึงจุดสนใจไปที่วงโบเก้จำนวนมากที่ระยิบระยับอยู่ท่ามกลางแบ็คกราวด์ที่เบลออย่างนุ่มนวล”
สำหรับไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพยามเช้าและพระอาทิตย์ขึ้น โปรดอ่านบทความด้านล่าง:
ถ่ายภาพสีสันสดใสและร้อนแรงของพระอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ
การตั้งค่ากล้องสำหรับถ่ายภาพม่านหมอกยามเช้า
คำแนะนำแบบทีละขั้นตอน: เก็บภาพทิวทัศน์ยามเช้าตรู่ให้ดูสวยซึ้งนุ่มนวล
ยามเย็น: การถ่ายภาพพระอาทิตย์ที่ค่อยๆ ลับฟ้า
เวลาถ่ายภาพ/ 18:30 น.
EOS 5D Mark IV/ EF16-35mm f/2.8L III USM/ FL: 35 มม./ Aperture-priority AE (f/18, 15 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: ที่ร่ม
ภาพโดย Minefuyu Yamashita
Minefuyu Yamashita กล่าวว่า:
“เวลาที่พระอาทิตย์ส่องแสงให้ท้องฟ้ากลายเป็นสีแดงเมื่อหมดวันและหายลับไปในขอบฟ้าในขณะที่ความเงียบสงบเข้ามาเยือนอย่างช้าๆ คุณจะรู้สึกถึงเวลาที่หมุนเปลี่ยนและความรู้สึกเศร้าสร้อยที่งดงาม ซึ่งนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผมรักเวลาในยามเย็น เมื่อคิดถึงเวลากลางคืนที่จะตามมาก็ช่วยให้ผมถ่ายภาพตัวแบบได้ด้วยจิตใจที่สงบ ในช่วงเวลาเช่นนี้ สีสันต่างๆ จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างนุ่มนวลจนการกดชัตเตอร์แต่ละครั้งดูเหมือนการถ่ายภาพต่างมุมในฉากเดิม ในการถ่ายทอดภาพเช่นนี้ ผมควบคุมความเร็วชัตเตอร์ในขณะถ่ายภาพ”
เคล็ดลับ: แสดงการเปลี่ยนแปลงอันน่าตื่นตาตื่นใจของแสงอาทิตย์ด้วยการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่หลากหลาย
ความเร็วชัตเตอร์: 0.6 วินาที
EOS 5D Mark IV/ EF11-24mm f/4L USM/ FL: 14 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 0.6 วินาที, EV+0.7)/ ISO 800/ WB: แมนนวล
ภาพโดย Minefuyu Yamashita
ความเร็วชัตเตอร์: 30 วินาที
EOS 5D Mark IV/ EF11-24mm f/4L USM/ FL: 15 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 30 วินาที, EV±0)/ ISO 1000/ WB: แมนนวล
ภาพโดย Minefuyu Yamashita
Minefuyu Yamashita กล่าวว่า:
“ในช่วงเวลาที่ท้องฟัาเจิดจ้าด้วยแสงจากพระอาทิตย์ตก คุณสามารถถ่ายภาพอันน่าทึ่งเหล่านี้ได้โดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วพอที่จะแสดงการเคลื่อนที่ของคลื่น หากเวลากลางคืนกำลังใกล้เข้ามา คุณอาจลองใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำที่ 30 วินาทีเพื่อให้ได้ภาพที่ดูนุ่มนวลมากและแสดงออกถึงความเงียบสงบ การเปลี่ยนการตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์อย่างแม่นยำนั้นจำเป็นสำหรับการสื่อถึงแต่ละช่วงเวลาที่ผ่านไปในกระแสแห่งเวลา”
อ่านบทความเรื่อง การถ่ายภาพทิวทัศน์ให้งดงามภายใต้สภาวะแสงที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!
เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
Shinkai เกิดในจังหวัดนากาโน่ เมื่อปี 1953 เขาเริ่มต้นเดินทางไปทั่วประเทศญี่ปุ่นพร้อมกับกล้องขนาดใหญ่เพื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ในปี 1979 ปัจจุบัน เขาถ่ายภาพให้กับสื่อหลากหลายประเภท ตั้งแต่โปสเตอร์และปฏิทินไปจนถึงแผ่นพับด้านการท่องเที่ยวและนิตยสารถ่ายภาพ
เกิดที่จังหวัดไอชิในปี 1979 หลังจากสั่งสมประสบการณ์ในงานด้านต่างๆ เช่น การออกแบบภายในและกราฟิกดีไซน์แล้ว Yamashita ได้ผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระในปี 2011 ผลงานของเขาได้ถูกนำไปพิมพ์ในปฏิทินมากมาย