ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด In Focus: Lenses FAQs- Part5

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #5: ฟิลเตอร์ ND มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง

2019-07-03
2
12.49 k
ในบทความนี้:

หากคุณต้องการใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำหรือรูรับแสงกว้างสุดขณะถ่ายภาพในวันที่มีแดดจ้า ฟิลเตอร์ Neutral Density (ND) จะช่วยป้องกันไม่ให้ภาพของคุณสว่างเกินไป มาดูกันว่าเพราะอะไร (เรื่องโดย: Kazuo Nakahara)

ฟิลเตอร์ ND คืออะไร และมักจะใช้กันเมื่อใด

ฟิลเตอร์ ND เป็นฟิลเตอร์ซึ่งจะติดที่ด้านหน้าเลนส์ (หรือด้านหลังเลนส์) เพื่อลดความเข้มของแสงที่เข้าสู่กล้อง และมักจะถูกนำมาใช้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ดังต่อไปนี้


เพื่อให้ได้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำลงเมื่อถ่ายภาพกลางแสงแดดจ้า

ความเร็วชัตเตอร์ต่ำสามารถทำให้ น้ำตกดูนุ่มนวลขึ้น เบลอก้อนเมฆ หรือเพิ่มความมีมิติให้กับตัวแบบที่กำลังเคลื่อนที่ แต่ในสภาวะที่มีแสงจ้า เช่น เมื่อถ่ายภาพกลางแสงแดด ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำเกินไปอาจทำให้เกิดส่วนที่สว่างจ้าในภาพ ซึ่งจะไม่สามารถมองเห็นรายละเอียดในส่วนนั้นเนื่องจากการเปิดรับแสงมากเกินไป

วิธีแก้ไขข้อหนึ่งที่สามารถทำได้คือ ปรับรูรับแสงให้แคบลง แต่การทำเช่นนี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความบิดเบี้ยว ซึ่งทำให้ภาพสูญเสียความคมชัดไป ด้วยเหตุผลนี้ ช่างภาพหลายคนจึงหลีกเลี่ยงวิธีดังกล่าวและเลือกใช้ฟิลเตอร์ ND แทน

เคล็ดลับ: ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลงสามารถทำให้สีสันต่างๆ ชัดเจนขึ้นได้หากจัดแสงอย่างมีทักษะ อ่านได้ที่: 3 เคล็ดลับเพื่อยกระดับการถ่ายทอดเรื่องราวในงานแต่งงาน (และเหตุผลที่ EOS R ช่วยคุณได้)


เพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้แม้มีแสงสว่างจ้า

 ในวันที่มีแดดจ้า การใช้รูรับแสงกว้างสุดเพื่อสร้างโบเก้จะทำให้แสงผ่านเข้าสู่เลนส์ในปริมาณมาก ในสภาวะที่มีแสงจ้ามาก อาจมีแสงมากเกินไปจนแม้แต่การใช้ความไวแสง ISO ต่ำสุดร่วมกับความเร็วชัตเตอร์สูงสุดของกล้องยังไม่สามารถลดปริมาณแสงลงได้มากพอ ภาพจึงได้รับแสงมากเกินไป (ทบทวนพื้นฐานเรื่องการเปิดรับแสงได้ในบทความ: พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #3: การเปิดรับแสง)

คุณควรทำอย่างไรหากต้องการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่สวยงามด้วยเลนส์เดี่ยวไวแสงสูงเป็นพิเศษตัวใหม่ของคุณ คุณจะต้องลดปริมาณแสงที่ผ่านเข้าสู่กล้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ฟิลเตอร์ ND สามารถทำได้

สำหรับผู้ใช้ช่องมองภาพแบบออพติคอล (OVF) โปรดทราบว่า: เนื่องจากฟิลเตอร์ ND ทำหน้าที่ลดปริมาณแสงที่ผ่านเข้าสู่กล้อง ภาพที่คุณเห็นใน OVF จะดูมืดกว่าปกติ

สรุป: ข้อดีและข้อเสียของการใช้ฟิลเตอร์ ND

ข้อดี ข้อเสีย
ลดความเร็วชัตเตอร์ ทำให้ช่องมองภาพออพติคอลมืดลง
ใช้รูรับแสงกว้างสุดได้แม้เป็นวันที่มีแดดจ้า โอกาสที่จะมีปัญหาจากอาการกล้องสั่นเพิ่มขึ้น (ป้องกันได้โดยใช้ขาตั้งกล้อง)


ข้อควรรู้ (1): ฟิลเตอร์ ND คืออุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้สำหรับการถ่ายภาพยนตร์ระดับมืออาชีพ

ในขณะถ่ายวิดีโอ ความเร็วชัตเตอร์จะขึ้นอยู่กับอัตราเฟรมที่ผู้ถ่ายทำภาพยนตร์เลือกใช้ เนื่องจากสามารถควบคุมความเร็วชัตเตอร์ได้เพียงเล็กน้อย ในวันที่มีแดดจ้าผู้ถ่ายทำภาพยนตร์จะต้องใช้รูรับแสงแคบและความไวแสง ISO ต่ำเพื่อควบคุมการเปิดรับแสง ซึ่งก็อาจจะยังไม่เพียงพอ ฟิลเตอร์ ND สามารถลดปริมาณแสงให้อยู่ในระดับความเข้มที่สามารถควบคุมได้ และยังช่วยให้ผู้ถ่ายทำภาพยนตร์ใช้รูรับแสงที่กว้างขึ้นเพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์ของระยะชัดตื้นด้วย

ฟิลเตอร์นี้มีความสำคัญมากจนกระทั่งกล้องวิดีโอระดับไฮเอนด์ รวมถึงกล้องในกลุ่ม Cinema EOS ต้องมีฟิลเตอร์ ND ในตัว 


ข้อควรรู้ (2): ฟิลเตอร์ Graduated ND ช่วยสร้างสมดุลให้กับความเปรียบต่างที่ไม่สม่ำเสมอในภาพ

ฟิลเตอร์ Graduated Neutral Density

ฟิลเตอร์ Graduated ND (GND) (ตัวอย่างด้านบน) คือฟิลเตอร์ ND ที่มีการไล่ระดับความสว่างและความมืด ซึ่งมีทั้งแบบวงรีและวงกลม เมื่อคุณวางด้านที่มืดของฟิลเตอร์เหนือส่วนที่สว่างเกินไปในฉาก จะช่วยให้ความเปรียบต่างในภาพดูสม่ำเสมอขึ้น เช่นในภาพนี้

 

ถ่ายที่ค่า f/18, 0.6 วินาที ด้วยฟิลเตอร์ ND รุ่น ND8X-L จาก Canon 

ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวของผู้คนที่ผ่านไปมาหน้าวัด

เนื่องจากภาพนี้มีแสงสว่างที่จ้ามาก ผมจึงใช้ฟิลเตอร์ ND รุ่น ND8X-L ซึ่งสามารถลดแสงได้ 3 สต็อป ผมจึงสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำถึง 0.6 วินาที ซึ่งทำให้การเคลื่อนไหวของคนที่เดินผ่านไปมาเป็นภาพเบลอ

 

ถ่ายที่ค่า f/1.8, 1/8,000 วินาที ด้วยฟิลเตอร์ ND รุ่น ND8X-L จาก Canon

ใบแปะก๊วยบนพื้น

แดดแรงมากจนหากไม่ใช้ฟิลเตอร์ ND การถ่ายภาพด้วยค่ารูรับแสงกว้างสุดที่ f/1.8 เพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้จะทำให้ภาพได้รับแสงมากเกินไป แม้ผมจะใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดของกล้องที่ 1/8,000 วินาทีแล้วก็ตาม ฟิลเตอร์ ND รุ่น ND8X-L ช่วยลดปริมาณแสงที่เข้ามาในกล้อง ผมจึงสามารถใช้รูรับแสงกว้างสุดได้โดยไม่สูญเสียรายละเอียดบนใบไม้ไปจากการเกิดส่วนที่สว่างจ้า

 

ตัวอย่างฟิลเตอร์ ND ของ Canon

 

ฟิลเตอร์ ND รุ่น ND4X-L

ฟิลเตอร์ ND รุ่น ND4X-L

ลดแสงที่เข้ามาจากเลนส์ลง 1/4 (2 สต็อป) มี 3 ประเภท ได้แก่ 52 มม., 58 มม. และ 72 มม. สำหรับการใช้งานกับเลนส์ EF ที่รองรับ

 

ฟิลเตอร์ ND รุ่น ND8X-L

ฟิลเตอร์ ND รุ่น ND8X-L

ลดแสงที่เข้ามาจากเลนส์ลง 1/8 (3 สต็อป) มี 3 ประเภท ได้แก่ 52 มม., 58 มม. และ 72 มม. สำหรับการใช้งานกับเลนส์ EF ที่รองรับ

 

เคล็ดลับ: หากคุณกำลังใช้กล้อง EOS R/EOS RP ลองใช้นี่ดู!


เมาท์อะแดปเตอร์ฟิลเตอร์แบบ Drop-in EF-EOS R กับฟิลเตอร์ ND Drop-in แบบปรับได้ A

เมาท์อะแดปเตอร์ฟิลเตอร์แบบ Drop-in EF-EOS R กับฟิลเตอร์ ND Drop-in แบบปรับได้ A

เมาท์อะแดปเตอร์รุ่นนี้ ซึ่งช่วยให้คุณสามารถใช้เลนส์ EF/EF-S กับกล้อง EOS R หรือ EOS RP ได้ มีฟิลเตอร์ ND แบบปรับได้ซึ่งสามารถลดปริมาณแสงได้ 1.5 ถึง 9 สต็อป (เทียบเท่า ND3 ถึง ND500) จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่คุณสามารถใช้ได้ในทุกสถานการณ์ โดยไม่ต้องใช้ฟิลเตอร์หลายชิ้นที่มีความหนาและเส้นผ่านศูนย์กลางต่างกัน คุณสามารถใช้ได้แม้กระทั่งกับเลนส์ที่ไม่ได้รับการออกแบบมาให้ติดฟิลเตอร์ลงไปด้านหน้า

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Kazuo Nakahara

เกิดที่เมืองฮอกไกโดในปี 1982 Nakahara ผันเข้าสู่วงการถ่ายภาพหลังจากทำงานในบริษัทผลิตสารเคมี เขาถ่ายภาพที่ Vantan Design Institute เป็นหลักและเป็นผู้บรรยายในเวิร์คช็อปและสัมมนาด้านการถ่ายภาพ นอกเหนือจากการทำงานถ่ายภาพโฆษณา เขายังเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการถ่ายภาพอย่าง studio9 อีกด้วย

http://photo-studio9.com/

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา