ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การตั้งค่ากล้องเพื่อใช้ถ่ายภาพความเร็วชัตเตอร์ต่ำที่ยอดเยี่ยม

2019-01-30
8
30.53 k
ในบทความนี้:

โดยพื้นฐานแล้ว การถ่ายภาพช่วยให้เราเก็บภาพสิ่งต่างๆ ในแบบที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่า แต่นั่นอาจไม่เพียงพอที่จะเก็บภาพมุมมองบางอย่างในฉาก ตัวอย่างเช่น คุณจะถ่ายทอดแนวคิดเกี่ยวกับคนที่กำลังวิ่งอย่างรวดเร็วได้อย่างไร เพราะการใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดจะไม่สื่อถึงการเคลื่อนไหวหรือความเร็ว ต่อไปนี้คือสองเทคนิคในการใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำเพื่อถ่ายทอดแนวคิดดังกล่าว รวมถึงเคล็ดลับบางประการในการใช้งานให้เกิดประโยชน์ที่สุด (บรรณาธิการโดย studio9)

ภาพนักวิ่งที่ถ่ายแบบแพนกล้อง

ภาพนักวิ่งบนลู่วิ่งที่ถ่ายแบบแพนกล้อง

 

เทคนิคที่ 1: ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว

ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วสัมพันธ์กับความเร็วชัตเตอร์ (เวลาการเปิดรับแสง) ของกล้องจนเกิดเป็นภาพเบลอ ภาพเบลอนี้อาจเกิดขึ้นโดยบังเอิญพร้อมกับผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น เมื่อตัวแบบบุคคลเคลื่อนที่ในช่วงที่ลั่นชัตเตอร์พอดี แต่คุณสามารถใช้เอฟเฟ็กต์แบบเดียวกันนี้ให้เกิดประโยชน์ได้ เพียงควบคุมความเร็วชัตเตอร์ ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวก็จะเป็นเครื่องมือในการแสดงถึงการเคลื่อนไหวได้เป็นอย่างดี

เทคนิคนี้ค่อนข้างง่าย เพียงคุณตั้งเป้าหมายที่จะ
- ใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าเพียงพอจนกระทั่งทำให้ตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหวดูเบลอและสร้างความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว
- ทำให้แบ็คกราวด์ดูนิ่งและคมชัด เพราะหากทั้งตัวแบบที่เคลื่อนไหวและแบ็คกราวด์ดูเบลอ ภาพจะดูหลุดโฟกัส

ภาพที่ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำตัดกับภาพกราฟิตี้ในแบ็คกราวด์

FL: 35 มม./ f/6.3/ 1/8 วินาที/ ISO 125

ความเร็วชัตเตอร์ที่ใช้ในภาพนี้คือ 1/8 วินาที ซึ่งช้ากว่าความเร็วแนะนำที่ 1/10 วินาที เล็กน้อย

 

ควรตั้งค่าพื้นฐานอะไรบ้างเพื่อสร้างภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว

โหมดการถ่ายภาพ: โหมด Tv

ในการสร้างภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว คุณจำเป็นต้องควบคุมความเร็วชัตเตอร์ โหมดการระบุค่าความเร็วชัตเตอร์ (โหมด TV) ช่วยให้คุณสามารถกำหนดความเร็วชัตเตอร์ด้วยตัวเอง ขณะที่กล้องตั้งค่ารูรับแสงอัตโนมัติ

 

ความเร็วชัตเตอร์: ลองเริ่มต้นที่ 1/10 วินาที

ความเร็วชัตเตอร์ที่จะใช้ขึ้นอยู่กับความเร็วในการเคลื่อนที่ของตัวแบบรวมถึงความชอบส่วนตัวเป็นอย่างมาก แต่หากคุณไม่แน่ใจว่าจะเริ่มที่ค่าไหนดี ให้ลองใช้ 1/10 วินาที

จากประสบการณ์เราพบว่าความเร็ว 1/10 วินาทีจะสร้างภาพเบลอได้อย่างเพียงพอ แม้ว่าตัวแบบกำลังเดินอยู่ก็ตาม ในขณะเดียวกันก็น่าจะเร็วเพียงพอที่จะทำให้คุณสามารถเก็บภาพแบ็คกราวด์นิ่งๆ ได้ ทั้งนี้ต้องแน่ใจว่า
ระบบป้องกันภาพสั่นไหว (โหมด IS) เปิดอยู่
- จับถือกล้องอย่างมั่นคง และ
- ไม่ใช้เลนส์ในระยะเทเลโฟโต้ (ทางยาวโฟกัสมีความสำคัญ ซึ่งเราจะอธิบายเหตุผลให้ทราบในภายหลัง)

จากนั้น คุณสามารถปรับความเร็วชัตเตอร์ได้ตามที่จำเป็น หากคุณคิดว่าภาพออกมาเบลอเกินไป ลองปรับความเร็วชัตเตอร์ให้เร็วขึ้น 1 สต็อป (1/13 วินาที) และหากคุณต้องการให้ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวดูโดดเด่นมากยิ่งขึ้น ให้ลดความเร็วลง 1 สต็อป (1/8 วินาที)

 

ความไวแสง ISO: ใช้ ISO อัตโนมัติหากคุณไม่แน่ใจ

การได้ระดับแสงที่เหมาะสมเมื่อใช้โหมด Tv อาจเป็นเรื่องยากเล็กน้อย หากคุณไม่มั่นใจที่จะใช้งานหรือรู้สึกไม่คุ้นเคยกับแนวคิดเรื่องความไวแสง ISO เท่าใดนัก คุณก็สามารถตั้งความไวแสงเป็น “อัตโนมัติ” ได้ และหากคุณเป็นผู้กำหนดการตั้งค่าด้วยตนเอง โปรดระวังอย่าปรับค่าจนเกินขีดจำกัดการปรับระดับแสงอัตโนมัติ

 

การโฟกัส: โฟกัสล่วงหน้า จากนั้นล็อคโฟกัส

ภาพขาของผู้คนที่ผ่านไปมา ถ่ายโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ

FL: 24 มม./ f/22/ 1/8 วินาที/ ISO 160

 

การโฟกัส: โฟกัสไปที่แบ็คกราวด์หรือโฟกัสล่วงหน้าไปยังจุดที่ตัวแบบจะเคลื่อนผ่านไป
ความเร็วชัตเตอร์ที่ใช้ในภาพนี้คือ 1/8 วินาที (FL: 24 มม.) คุณจะเห็นว่าพื้นถนนจะนิ่ง ในขณะที่ขาของคนที่เดินไปมาจะเบลอ ในภาพนี้ ผมใช้เทคนิคโฟกัสล่วงหน้า โดยประเมินว่าตัวแบบจะผ่านไปที่จุดใด จากนั้นปรับโฟกัสของกล้องไปที่จุดดังกล่าว ล็อคโฟกัสโดยกดชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง จากนั้นจึงลั่นชัตเตอร์เมื่อตัวแบบเคลื่อนมายังจุดนั้น อีกวิธีหนึ่งคือจับโฟกัสไปที่แบ็คกราวด์ ตัวแบบจะเบลอเนื่องจากการเคลื่อนไหว

เคล็ดลับ: อย่าเข้าใจผิดว่า 1/10 วินาทีคือ 10 วินาที
กล้องบางรุ่นจะไม่แสดงตัวเลขเศษส่วนเป็น 1/10 วินาที แต่แสดงเพียงแค่เลข 10 เท่านั้น ส่วน 10 วินาทีจะแสดงเป็น 10” (สังเกตเครื่องหมายอัญประกาศข้างหลัง) โปรดระวังอย่าสับสน

 

ทำอย่างไรให้ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวดูสวยงามขึ้น

การใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำจะเพิ่มโอกาสในการเกิดปัญหากล้องสั่น เมื่อทุกสิ่งดูเบลอจึงยากที่จะบอกได้ว่าภาพเคลื่อนไหวนั้นเบลออย่างตั้งใจหรือไม่ เพราะภาพดูไม่คมชัดทั้งภาพ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมการป้องกันปัญหากล้องสั่นไหวจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการได้ภาพเบลอสวยๆ จากการเคลื่อนไหว

1. ตั้งกล้องให้มั่นคงอยู่เสมอ หาตำแหน่งการถ่ายที่มั่นคงและใช้ขาตั้งกล้องหากจำเป็น

2. กดปุ่มชัตเตอร์อย่างนุ่มนวล คุณอาจลองพิจารณาใช้การตั้งเวลาถ่ายภาพหรือรีโมทสวิตช์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเปิดรับแสงนานขึ้น

3. ทางยาวโฟกัสมีความสำคัญ ยิ่งคุณถ่ายภาพระยะไกลมากขึ้นเท่าใด ยิ่งมีโอกาสสูงขึ้นที่จะเกิดปัญหากล้องสั่น และเพื่อป้องกันปัญหานี้ เราขอแนะนำให้ใช้ช่วงทางยาวโฟกัสระหว่าง 24 ถึง 50 มม. เทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. (16 ถึง 35 มม. ในกล้องที่มีเซนเซอร์ APS-C)

น้ำพุในสวนสาธารณะ

FL: 85 มม./ f/32/ 1/10 วินาที/ ISO 199

ผมถือกล้องถ่ายภาพนี้ การใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/10 วินาทีนับว่าเพียงพอที่จะเบลอสายน้ำไหลจากน้ำพุและน้ำตก และเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดูเนียนตาขึ้น ผมอาจถ่ายที่ความเร็วชัตเตอร์ 1 วินาที ซึ่งควรใช้ขาตั้งกล้องจึงจะเหมาะที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้ทางยาวโฟกัสที่มากขึ้นเช่น 85 มม.

ต่อไปเป็นตัวอย่างเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่คุณสามารถทำได้ด้วยภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว
การถ่ายภาพกีฬา: วิธีเน้นความเร็วโดยการถ่ายทอดความสงบนิ่งตัดกับการเคลื่อนไหว
[เทคนิคขั้นสูง] ศิลปะของการใช้ชัตเตอร์ต่ำ: การสร้างภาพเบลอแบบหมุนที่เหนือจริง

 

เทคนิคที่ 2: การแพนกล้อง

เทคนิคนี้เป็นเทคนิคในระดับสูงขึ้นอีกเล็กน้อย โดยเป็นการทำให้ตัวแบบดูค่อนข้างคมชัดขณะที่คุณเบลอแบ็คกราวด์ ซึ่งจะตรงข้ามกับเทคนิคก่อนหน้านี้ เทคนิคนี้เราเรียกว่า “การแพนกล้อง

ภาพนักวิ่งในลู่ที่ถ่ายแบบแพนกล้อง

FL: 33 มม./ f/2.8/ 1/10 วินาที/ ISO 2500

 

ควรตั้งค่าพื้นฐานอะไรบ้างสำหรับการแพนกล้อง 

การตั้งค่ากล้อง: ใช้การตั้งค่าเดียวกับเทคนิคภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว

เช่นเดียวกับเทคนิคภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว เริ่มแรกคุณอาจใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/10 วินาที ซึ่งเป็นค่าที่ผมใช้ถ่ายภาพนักวิ่งด้านบน (FL: 33 มม.)
คุณอาจจำเป็นต้องฝึกฝนเพิ่มอีกสักนิด เนื่องจากเทคนิคการแพนกล้องต้องอาศัยความสามารถเชิงเทคนิคเพิ่มขึ้นนิดหน่อย แม้ว่าคุณจะยังไม่สามารถทำได้ในทันที ก็อย่าเพิ่งหมดหวัง ขอให้หมั่นฝึกฝนต่อไป

 

หัวใจสำคัญอยู่ที่เทคนิค: ขยับกล้องให้พร้อมกับตัวแบบ

การแพนกล้องเป็นการขยับกล้องไปตามตัวแบบที่กำลังเคลื่อนที่ แม้ฟังดูง่าย แต่เทคนิคนี้ต้องใช้ความนิ่งและการประสานงานอย่างมาก หากต้องการอ่านคำแนะนำอย่างละเอียดเกี่ยวกับระยะการถ่ายภาพที่คุณควรใช้และวิธีขยับกล้อง โปรดดูที่ ฉันจะถ่ายภาพแบบแพนกล้องได้อย่างไร

หากความเร็วของตัวแบบเท่ากับความเร็วที่คุณขยับ (แพน) กล้องพอดี ตัวแบบที่เคลื่อนไหวจะหยุดนิ่งและแบ็คกราวด์ที่หยุดนิ่งจะดูเบลอ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการสร้างความรู้สึกถึงความเร็ว

 

การโฟกัส: โฟกัสที่ตัวแบบ ใช้โหมดโฟกัสล่วงหน้าหรือการติดตาม AF

เทคนิคนี้แตกต่างจากเทคนิคภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว เนื่องจากคุณต้องการทำให้ตัวแบบดูค่อนข้างคมชัด ดังนั้น คุณต้องจับโฟกัสที่ตัวแบบ

การจับโฟกัสทันทีไปที่ตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหวอาจเป็นเรื่องยากพอสมควร ดังนั้นมีสองวิธีที่คุณสามารถทำได้ นั่นคือ

 

ตัวเลือกที่ 1 ใช้เทคนิคโฟกัสล่วงหน้าเหมือนที่คุณใช้สร้างภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว

ขั้นตอนที่ 1: คาดเดาจุดที่ตัวแบบจะเคลื่อนผ่านไป จากนั้นจับโฟกัสที่จุดดังกล่าว
ขั้นตอนที่ 2: กดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งขณะที่รอให้ตัวแบบเข้ามาใกล้ หากวิธีนี้ทำได้ยาก ให้เปลี่ยนโหมดกล้องเป็น MF (แมนนวลโฟกัส) ซึ่งจะล็อคโฟกัสไว้ไม่ให้เปลี่ยนไป 
ขั้นตอนที่ 3: เมื่อตัวแบบเคลื่อนมาที่จุดดังกล่าว ให้กดปุ่มชัตเตอร์ลงเต็มที่ 

 

ตัวเลือกที่ 2: ใช้ฟังก์ชั่นการติดตาม AF ในกล้อง (AI Servo AF หรือ Servo AF ในกล้อง Canon)

วิธีนี้จะใช้ได้ผลดีเพียงใดขึ้นอยู่กับกล้องของคุณและฉาก หากคุณใช้กล้องไฮเอนด์รุ่นใหม่ๆ คุณจะสามารถปรับแต่งลักษณะเฉพาะในการติดตามให้เหมาะกับตัวแบบและฉากได้ดีขึ้น เพราะในกล้องรุ่นเก่าบางรุ่น การติดตามอาจทำงานได้ไม่ดีนักในฉากบางฉาก หากคุณพบปัญหาในการโฟกัสด้วยวิธีนี้ ให้กลับไปที่ตัวเลือกที่ 1: 

 

ภาพปลาที่ถ่ายแบบแพนกล้อง

FL: 47 มม./ f/13/ 1/10 วินาที/ ISO 1250

ปลาที่อพยพย้ายถิ่น เช่น ปลาทูน่าและปลาสำลีญี่ปุ่น ว่ายในทิศทางที่ตายตัวด้วยความเร็วคงที่ การมีความรู้ในเรื่องนี้จะช่วยให้คุณโฟกัสล่วงหน้าและถ่ายภาพโดยการแพนกล้องได้ง่ายขึ้น

 

ถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง

แม้แต่ช่างภาพที่มีความชำนาญในการถ่ายภาพแบบแพนกล้องยังพบว่าการหยุดวัตถุที่เคลื่อนไหวด้วยการถ่ายภาพครั้งเดียวนั้นทำได้ยาก การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงจำนวนมากจึงช่วยได้มากทีเดียว


เคล็ดลับ: ถ่ายภาพในมุมกว้างขึ้นเล็กน้อยในครั้งแรก และจากนั้นค่อยตัดบางส่วนของภาพออก เพื่อเผื่อพื้นที่ของภาพไว้เมื่อคุณแพนกล้อง

 

ทำอย่างไรให้ถ่ายภาพแบบแพนกล้องได้สวยขึ้น

1. ไม่ใช่แค่ขยับกล้องด้วยมือเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

แต่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายของคุณตั้งแต่ช่วงเอวลงไปพร้อมกับให้มือและศีรษะอยู่นิ่งๆ ด้วย เพื่อให้ตำแหน่งถ่ายภาพมั่นคงขึ้น

 

2. ฝึกการเคลื่อนไหวด้วยการแพนกล้องของคุณให้สอดคล้องกับตัวแบบ

ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ได้ภาพแบบแพนกล้องที่สวยงาม แต่ต้องใช้การฝึกฝนอย่างมากเช่นกัน อย่ากังวลเกินไปเกี่ยวกับการลองจัดองค์ประกอบภาพแบบต่างๆ ในทีแรก เพียงแค่ลองจัดให้ตัวแบบอยู่ที่กึ่งกลางก่อน การหมั่นฝึกฝนจะทำให้คุณประสบความสำเร็จในที่สุด

ภาพอีกาที่ถ่ายแบบแพนกล้อง

FL: 105 มม./ f/22/ 1/10 วินาที/ ISO 50

ผมไม่สามารถติดตามตัวแบบได้เหมือนกับที่ต้องการในภาพด้านบน แต่คุณคงเห็นแล้วว่าแม้ว่าจะใช้การถ่ายภาพแบบแพนกล้อง ภาพอีกาก็ยังดูน่าสนใจ ผมถ่ายภาพนี้ด้วยความเร็วชัตเตอร์ปกติที่ 1/10 วินาที (105 มม.) สิ่งที่คุณสามารถทำได้ด้วยความเร็วดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่าประทับใจมาก

อ่านบทความเหล่านี้เพื่อดูตัวอย่างเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่คุณทำได้ด้วยการแพนกล้อง:
เคล็ดลับการแพนกล้องสำหรับการถ่ายภาพที่สื่อถึงการเคลื่อนไหวของนกป่าที่กำลังโผบิน
ฉันจะใช้การแพนกล้องเป็นวงกลมเพื่อสร้างภาพที่โดดเด่นไม่ซ้ำใครได้อย่างไร
วิธีถ่ายภาพกีฬาเอ็กซ์ตรีมให้สวยงามที่สุด

 

การแก้ไขปัญหา: ปัญหาความเร็วชัตเตอร์ต่ำโดยทั่วไปและวิธีการแก้ไข

1. ค่า f กะพริบสว่างและดับ

หากใช้โหมด Tv อยู่ นั่นหมายความว่าความเร็วชัตเตอร์ที่คุณตั้งไว้สูงเกินไป คุณอาจจำเป็นต้องตั้งค่ารูรับแสงให้อยู่นอกช่วงของกล้องเพื่อให้ได้ระดับแสงที่เหมาะสม

โหมด Tv ช่วยให้คุณสามารถตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้อยู่ในช่วงความเร็วชัตเตอร์ของกล้อง (1/4000 วินาทีถึง 30 วินาทีในกล้องส่วนใหญ่) ไม่ว่าถ่ายภาพในสภาพแวดล้อมแบบใด หากคุณกำลังถ่ายภาพโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ นั่นหมายความว่ากล้องจะปล่อยให้คุณตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้ต่ำมากๆ ได้ ซึ่งจะทำให้แสงเข้าสู่กล้องมากเกินไปและทำให้ภาพสว่างจ้า

ซึ่งคุณอาจมีคำถามว่า “กล้องจะตั้งค่า f ที่เหมาะสมเพื่อควบคุมระดับแสงไม่ใช่หรือ” แม้ว่าเป็นเช่นนั้นจริง แต่ก็อาจมีแสงเข้าสู่เลนส์มากเกินไปจนค่า f ต่ำสุดไม่เพียงพอ ในกรณีเช่นนี้ ค่า f ที่แสดงขึ้นในช่องมองภาพและบนหน้าจอ LCD จะกะพริบสว่างและดับ

หมายเหตุ: กรณีเช่นนี้จะเกิดขึ้นเช่นกันหากคุณตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์เร็วเกินไปจนค่ารูรับแสงกว้างสุดที่ตั้งไว้ไม่เพียงพอที่จะป้องกันไม่ให้ภาพดูมืดทึบ

สิ่งที่ต้องทำ:
ลองลดความไวแสง ISO อย่างไรก็ดี วิธีนี้อาจยังคงไม่ได้ผล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม อีกวิธีหนึ่งคือ ใช้ฟิลเตอร์ ND ที่เหมาะสม ซึ่งจะลดปริมาณแสงที่เข้าสู่เลนส์ โดยช่วยให้คุณสามารถตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้ช้าลงได้

 

2. ความเร็วชัตเตอร์ไม่ช้าลงไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ตาม

ปัญหานี้มักเกิดในวันที่แดดจ้าขณะที่ใช้โหมด Tv เมื่อมีแสงเข้าสู่เลนส์มากเกินไป กล้องจะไม่ให้คุณตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้ช้ากว่าค่าระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นความพยายามของกล้องในการป้องกันไม่ให้ภาพถ่ายดูสว่างโพลน

สิ่งที่ต้องทำ:
เมื่อเกิดปัญหาข้างต้น ให้ลองใช้ฟิลเตอร์ Neutral Density (ND) เคล็ดลับ: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีฟิลเตอร์ที่พอดีกับเส้นผ่านศูนย์กลางเลนส์

เกี่ยวกับฟิลเตอร์ ND

ฟิลเตอร์ ND มีหลากหลายชนิด และช่วยลดปริมาณแสงในระดับที่ต่างกัน หากคุณกำลังใช้ฟิลเตอร์ ND เป็นครั้งแรก ฟิลเตอร์ ND8 คือตัวเลือกที่เหมาะมาก เพราะจะช่วยลดปริมาณแสงลงเท่ากับความเร็วชัตเตอร์ 3 สต็อป นั่นคือ คุณจะถ่ายภาพได้ที่ 1/60 วินาทีเท่านั้นหากไม่ใช้ฟิลเตอร์นี้ แต่หากมีฟิลเตอร์ คุณจะถ่ายภาพได้ด้วยความเร็วชัตเตอร์ถึง 1/8 วินาที ซึ่งความเร็ว 3 สต็อปนับว่าเพียงพอสำหรับฉากส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน

เมื่อซื้อฟิลเตอร์ ND ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าฟิลเตอร์พอดีกับเส้นผ่านศูนย์กลางเลนส์ของคุณ คุณสามารถซื้อฟิลเตอร์ที่พอดีกับเลนส์ใหญ่ที่สุดของตัวเอง แล้วใช้วงแหวน Step-down เพื่อแปลงให้ใช้ได้กับเลนส์ที่มีขนาดเล็กกว่า แต่วิธีนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาบางอย่างได้ 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา