ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

รีวิวกล้อง EOS-1D X Mark II (1): การทดสอบระบบ AF และประสิทธิภาพการถ่ายภาพต่อเนื่อง

2016-08-25
3
2.22 k
ในบทความนี้:

บทความนี้จะทดสอบการประสานการทำงานอันยอดเยี่ยมระหว่างประสิทธิภาพในการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงของ EOS-1D X Mark II และระบบ AF ภายในกล้องผ่านการถ่ายภาพการแข่งขันขี่จักรยาน (เรื่องโดย: Koichi Isomura)

 

การทดสอบการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงและการติดตาม AF ในการถ่ายภาพการแข่งขันขี่จักรยาน

กล้อง EOS-1D X Mark II ใช้เซนเซอร์ CMOS ฟูลเฟรม 35 มม. ที่มีความละเอียดประมาณ 20.2 ล้านพิกเซล ด้วยการใช้เซนเซอร์ Dual Pixel CMOS ครั้งแรกสำหรับกล้องที่มีเซนเซอร์ฟูลเฟรมของ Canon กล้องรุ่นนี้จึงให้การตอบสนองของ AF ที่รวดเร็วยิ่งขึ้นระหว่างการถ่ายภาพแบบ Live View

แม้ว่าความละเอียดของภาพในกล้องรุ่นนี้จะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก แต่ความละเอียดที่สูงขึ้นย่อมดีกว่าเสมอ เนื่องจากโดยทั่วไปช่างภาพมืออาชีพมักจะใช้วิธีครอปภาพสำหรับภาพกีฬาและภาพข่าว

อย่างไรก็ดี ภาพที่มีความละเอียดสูงยังหมายถึงขนาดของไฟล์ที่ใหญ่ขึ้นด้วย ซึ่งอาจทำให้กล้องมีระยะเวลาการตอบสนองที่ช้าลงและไฟล์ที่บันทึกโดยรวมมีขนาดใหญ่ขึ้น ดังนั้น เมื่อคำนึงถึงข้อจำกัดนี้แล้ว Canon จึงออกแบบกล้อง EOS-1D X Mark II ให้มีความละเอียดของภาพที่ประมาณ 20.2 ล้านพิกเซลเท่านั้น

(สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมและตัวอย่างคุณภาพของภาพถ่ายที่กล้อง EOS-1D X Mark II สามารถทำได้ คลิกที่นี่)

ผมเลือกการแข่งขันขี่จักรยานเพื่อทดสอบฟังก์ชั่นการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงและประสิทธิภาพการติดตาม AF ของกล้อง EOS-1D X Mark II ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก ผมเล็งกล้องไปที่นักแข่งที่กำลังเคลื่อนเข้ามาใกล้ผ่านช่องมองภาพแบบออพติคอล โดยตั้งค่าโหมดขับเคลื่อนไปที่ "การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง" และตั้ง "การโฟกัสอัตโนมัติไปที่ AI Servo AF

ในส่วนของเลนส์ ผมเลือกใช้ EF70-200mm f/2.8L IS II USM ซึ่งเป็นเลนส์ที่ช่างภาพมืออาชีพนิยมใช้กันทั่วไป และปรับค่าความไวแสง ISO เพื่อให้ความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสงอยู่ที่ 1/1,000 วินาทีและ f/2.8 ตามลำดับ หลังจากระบบ AF จับโฟกัสไปที่นักแข่ง ผมกดปุ่มชัตเตอร์ค้างไว้ จากนั้นจึงขยับกล้องเพื่อให้ตัวแบบเข้ามาอยู่ในบริเวณ AF ที่เลือกไว้เพื่อถ่ายภาพต่อเนื่อง จนกระทั่งผู้เข้าแข่งขันเข้ามาใกล้และเคลื่อนที่ออกจากองค์ประกอบภาพ สำหรับเครื่องมือการปรับแต่ง AF ซึ่งใช้สำหรับปรับคุณสมบัติต่างๆ ของ AI Servo AF นั้น ผมได้ตั้งค่าเป็นการตั้งค่ามาตรฐาน - Case 1

ตั้งค่าเมนูเครื่องมือการปรับแต่ง AF ไปที่ Case 1

 

การทดสอบที่ 1: ภาพต่อเนื่องของนักแข่งคนเดียว

ในภาพตัวอย่างด้านล่าง ผมใช้โซน AF (กึ่งกลาง) เพื่อถ่ายภาพนักแข่งคนเดียวที่อยู่ห่างจากกลุ่มและกำลังเคลื่อนที่เข้ามาใกล้ จุด AF กึ่งกลางจำนวนเก้าจุดจะสลับกันทำงานเพื่อจับโฟกัสไปที่นักแข่ง และติดตามตัวแบบที่จุดโฟกัสไปเรื่อยๆ ตลอดทางจนถึงเฟรมที่ 29 จากนั้น ในเฟรมที่ 30 โฟกัสจะเปลี่ยนไปจับที่แบ็คกราวด์เพียงชั่วขณะและกลับมาจับที่ตัวแบบอย่างรวดเร็วในเฟรมที่ 31 และ 32 เฉพาะในเฟรมที่ 33 เท่านั้นที่ภาพหลุดจากโฟกัสอย่างชัดเจน จนถึงเฟรมสุดท้าย (เฟรมที่ 34) ที่ปรากฏว่า AF จับโฟกัสไปที่ต้นขาของนักแข่ง ซึ่งอยู่ห่างจากกล้องมากกว่าตัวของเขา หลังจากผ่านเฟรมที่ 34 ไป ตัวแบบก็หลุดออกนอกภาพ

ต่อไปนี้คือภาพเคลื่อนไหวแบบเฟรมต่อเฟรมซึ่งสร้างขึ้นโดยใช้ Digital Photo Professional พร้อมแสดงจุด AF ด้วย

 

การทดสอบที่ 2: ภาพต่อเนื่องของนักแข่งที่อยู่ด้านหน้าสุดของกลุ่ม

ในการทดสอบนี้ ผมได้ลองใช้โซน AF (กึ่งกลาง) เพื่อถ่ายภาพนักแข่งที่กำลังเป็นผู้นำกลุ่มอยู่

เช่นเคย จุด AF กึ่งกลางจำนวนเก้าจุดจะสลับกันทำงานและสามารถจับโฟกัสนักแข่งที่อยู่หน้าสุดได้จนถึงเฟรมที่ 23 นับตั้งแต่ผมกดปุ่มชัตเตอร์จนถึงเฟรมที่ 11 หรือ 12 ระบบ AF ดูเหมือนจะติดตามรูปทรงและสีเสื้อของนักแข่ง ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าใบหน้าของเขามองเห็นได้ไม่ชัด โฟกัสจับที่ด้านหน้าของนักปั่นได้ในเฟรมที่ 24 แต่กลับไปจับที่ใบหน้าของเขาอีกครั้งในเฟรมที่ 26 และแม้ว่าโฟกัสจะอยู่นอกโซนโฟกัส ระบบก็สามารถติดตามตัวแบบได้จนถึงเฟรมที่ 27 และ 28 ภาพในบางเฟรมจะดูเบลอเล็กน้อยอาจเป็นเพราะกล้องอยู่ใกล้กับนักแข่งมากจนเกินไปจึงทำให้ตัวแบบเบลอ

 

 
 

การทดสอบที่ 3: การถ่ายภาพต่อเนื่องของนักแข่งที่ขี่จักรยานขนานไปกับกล้อง

ในการทดสอบครั้งที่สามนี้ ผมใช้กล้องติดตามนักแข่งที่กำลังเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่เกือบจะขนานกับกล้อง โดยผมเลือกใช้ Large Zone AF (ซ้าย) เพื่อโฟกัสไปที่นักแข่งที่อยู่ด้านหน้าสุดของกลุ่ม แม้ว่าจะมีสิ่งกีดขวางเข้ามาคั่นระหว่างตัวแบบและกล้องถึงสี่ครั้งระหว่างการถ่ายภาพ ระบบ AF ก็ยังคงติดตามตัวแบบได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่หลุดจากระยะโฟกัส ซึ่งดูเหมือนว่าสิ่งกีดขวางจะถูกมองข้ามไป เนื่องจากระบบ AF กำหนดให้กล้องติดตามนักแข่งตามข้อมูลที่ได้รับจากเซนเซอร์จับความเร่งที่ฟีดข้อมูลไปยังเซนเซอร์ไจโรที่ป้องกันภาพสั่นไหวในเลนส์

 

(ภาพถ่ายได้รับความเอื้อเฟื้อจาก: การแข่งขัน JCBF Gunma CSC Road Race ครั้งที่ 8)

สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพในการใช้ AF ของ EOS-1D X Mark II ในการถ่ายภาพนกในธรรมชาติ โปรดดูบทความต่อไปนี้: 
รีวิวการใช้งาน ตอนที่ 1: ความแม่นยำในการโฟกัสและสมรรถนะในการติดตามตัวแบบของ AF อันน่าทึ่ง
รีวิวการใช้งาน ตอนที่ 2: Dual Pixel CMOS AF - โฟกัสยอดเยี่ยมแม้ในฉากที่มืด

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดย ลงทะเบียนกับเรา

 

 

 

Koichi Isomura

 

เกิดเมื่อปี 1967 ที่จังหวัดฟุกุโอะกะ Koichi จบการศึกษาจากโรงเรียนอาชีวศึกษาด้านการถ่ายภาพในกรุงโตเกียว หลังจากทำงานในวงการผลิตโฆษณา จึงผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ เขาถ่ายภาพตัวแบบหลากหลายประเภทตั้งแต่พอร์ตเทรตไปจนถึงผลิตภัณฑ์ สถาปัตยกรรม โรงละคร และอื่นๆ อีก ในระยะเวลาไม่กี่ปีมานี้ เขาได้จัดนิทรรศการหลายแห่ง โดยมุ่งเน้นภาพถ่ายเกี่ยวกับธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์

 

Digital Camera Watch

 

ส่งข่าวสารรายวันเกี่ยวกับเรื่องราวของกล้องดิจิตอลและอุปกรณ์เสริมต่างๆ รวมถึงซอฟต์แวร์ตกแต่งภาพ นอกจากนี้ยังเผยแพร่บทความต่างๆ เช่น รีวิวการใช้กล้องดิจิตอลจริงพร้อมตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องรุ่นใหม่ๆ

http://dc.watch.impress.co.jp/

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา