รีวิวการใช้งาน EOS-1D X Mark II ตอนที่ 2: Dual Pixel CMOS AF โฟกัสสมบูรณ์แบบแม้ในฉากที่มืด
ในบทความนี้ ผมได้ทดลองถ่ายภาพด้วยกล้อง EOS-1D X Mark II ในสภาพอากาศที่หนาวจัด และนำความประทับใจที่ได้รับจากการใช้งานครั้งแรกในฐานะช่างภาพมืออาชีพมาเล่าสู่กันฟัง สำหรับตอนที่ 2 นี้ ผมทดสอบฟังก์ชั่นการแก้ไขภาพบนกล้องแบบเรียลไทม์และคุณสมบัติการเก็บช็อตภาพนิ่งขณะถ่ายภาพเคลื่อนไหว 4K ในโหมด Live View พร้อมกับความสามารถในการโฟกัสอัตโนมัติ (เรื่องโดย: Gaku Tozuka)
Large Zone AF ให้คุณจับโฟกัสตัวแบบได้รวดเร็ว
หลังจากการประกาศเปิดตัว EOS-1D X Mark II กล้องรุ่นใหม่ในกลุ่มกล้องระดับมืออาชีพของ Canon เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2016 ที่ผ่านมา ผมรีบหาโอกาสนำกล้องนี้ไปทดสอบการถ่ายภาพจริง โดยใช้นกป่าที่เคลื่อนไหวเร็วเป็นตัวแบบ ผมต่อตัวขยายช่องมองภาพ Extender EF 2x III กับเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ 500 มม. เพื่อให้ได้ระยะการถ่ายภาพเทียบเท่า 1000 มม. แล้วก็ต้องทึ่งกับประสิทธิภาพของ AF ของกล้องนี้ ระหว่างถ่ายภาพนกป่าครั้งนี้ ทำให้ผมได้รู้ว่ามีกล้องรุ่นเรือธงใหม่ที่ทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้เกิดขึ้นแล้ว
EF500mm f/4L IS II USM + Extender EF 2x III/ FL: 1,000 มม./ Manual Exposure (f/11, 1/2,000 วินาที)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ/ การเลือกจุด AF อัตโนมัติ 61 จุด
EOS iTR AF มีประสิทธิภาพในการติดตามตัวแบบที่ดียิ่งขึ้น และเมื่อผสานรวมเข้ากับฟังก์ชั่น AI Servo AF III+ ทำให้กล้องมีความสามารถที่เหนือชั้น ในภาพนี้ ผมจับโฟกัสที่ดวงตาของนกอินทรีย์หางขาวที่บินมาทางผม
EF500mm f/4L IS II USM + Extender EF 2X III/ FL: 1,000 มม./ Manual Exposure (f/11, 1/3,200 วินาที)/ ISO 1600/ WB: อัตโนมัติ/ Large Zone AF
Large Zone AF ให้ผมโฟกัสได้ในทันที ขณะที่ถ่ายภาพโดยใช้มือถือกล้อง ผมสามารถรับมือกับการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนและว่องไวได้ อย่างไรก็ตาม เป็นความสามารถในการรักษาโฟกัสบนตัวแบบของกล้องที่ทำให้ผมจัดการความท้าทายในการถ่ายภาพได้แม้มีความยุ่งยากมาก
EF500mm f/4L IS II USM + Extender EF 2X III/ FL: 1,000 มม./ Manual Exposure (f/11, 1/3,200 วินาที)/ ISO 1600/ WB: อัตโนมัติ/ Zone AF
นกอินทรีย์อาจจะบินช้าลงเล็กน้อยตอนที่กำลังจับปลา อย่างไรก็ตาม การวางองค์ประกอบภาพในมุมรับภาพแคบ 1000 มม. ไม่ใช่เรื่องง่าย Zone AF ซึ่งใช้งานได้มากถึงค่า f/8 ทำให้การคว้าโอกาสในการถ่ายภาพจังหวะนั้นเป็นเรื่องกล้วยๆ
EF500mm f/4L IS II USM + Extender EF 2X III/ FL: 1,000 มม./ Manual Exposure (f/11, 1/3,200 วินาที)/ ISO 1600/ WB: อัตโนมัติ/ การเลือกจุด AF อัตโนมัติ 61 จุด
ผมถ่ายภาพนกอินทรีย์กำลังจับปลาและบินขึ้นโดยใช้โหมดระเบิดซูมและการเลือก AF อัตโนมัติ 61 จุด เป้าหมายที่ต้องการถ่ายอาจมีขนาดใหญ่ แต่เพราะเป็นตัวแบบที่เคลื่อนไหวด้วยความเร็วสูง ผมจึงต้องจดจ่อเป็นพิเศษเพื่อให้ตัวแบบอยู่ในเฟรม ส่วนที่เกินจากนั้นคือต้องไว้วางใจระบบ AF
เมื่อผมใช้กล้อง EOS-1D X Mark II ติดตามการเคลื่อนไหวของนกที่กำลังบิน โฟกัสจะไม่คอยล็อกในส่วนของแบ็คกราวด์ หรือถ้าหากมีบ้าง กล้องก็จะแก้ไขการติดตามอยู่แทบตลอดเวลา อาจเป็นเพราะผมกดปุ่ม AF-ON บ่อยหรือไม่ก็เพราะโหมด Face Priority ทำงานขณะที่กำลังติดตามตัวแบบ ที่ผมทำแบบนี้ได้อาจเป็นเพราะการผสมผสานระหว่างประสิทธิภาพของระบบประมวลผลภาพ Dual DIGIC 6+ ความสามารถในการติดตามตัวแบบที่พัฒนาขึ้นของ EOS iTR AF ใหม่อันเลื่องชื่อ และ AI Servo AF III+
การแก้ไขการกระจายแสงแบบเรียลไทม์จัดการกับปัญหาการสูญเสียความละเอียดในการเกลี่ยแสงของภาพแม้ถ่ายภาพด้วยค่า f ที่ให้รูรับแสงกว้าง
ฟังก์ชั่นที่ดึงดูดผมเป็นพิเศษคือการแก้ไขการกระจายแสงแบบเรียลไทม์ ผมอยากใช้โอกาสนี้ทำความรู้จักกับความสามารถของกล้อง ผมจึงลองถ่ายภาพด้วยการตั้งค่า f/22, 1/4,000 วินาที, ISO 6400 แม้ภาพถ่ายจะมีพื้นผิวเป็นเม็ดเกรน แต่กลับไม่เห็นว่าความละเอียดของภาพถูกลดทอนลง
EF500mm f/4L IS II USM + Extender EF 2X III/ FL: 1,000 มม./ Manual Exposure (f/22, 1/4,000 วินาที)/ ISO 6400/ WB: อัตโนมัติ/ Large Zone AF
หากคุณลดขนาดของรูรับแสงมากเกินไป การโฟกัสจะเปลี่ยนไปเพราะผลกระทบจากการกระจายแสง เพื่อป้องกันปัญหานี้ กล้อง EOS-1D X Mark II จึงมาพร้อมกับฟังก์ชั่นการแก้ไขการกระจายแสงแบบเรียลไทม์ภายในตัวกล้อง เวลาที่ถ่ายภาพนกป่า อาจไม่บ่อยครั้งนักที่คุณจะต้องลดขนาดของรูรับแสงมากถึงระดับนั้น แต่ฟังก์ชั่นนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นประโยชน์กับภาพที่คุณต้องการใช้บรรยากาศรอบข้างเสริมให้การถ่ายภาพนกป่าดูมีชีวิตชีวา หรือต้องการถ่ายภาพโดยใช้ระยะชัดลึกที่มากขึ้น
4K Frame Grab ให้คุณสร้างสรรค์ผลงานที่บ่งบอกความตั้งใจของคุณ
ขณะนี้คุณยังสามารถบันทึกเฟรมภาพเคลื่อนไหว 4K ให้เป็นภาพนิ่ง (ความละเอียดประมาณ 8.8 ล้านพิกเซล) ได้อีกด้วย การถ่ายภาพเคลื่อนไหวด้วยความเร็วชัตเตอร์สูงจะช่วยลดแนวโน้มที่จะเกิดภาพเบลอหรือปัญหาจากการสั่นไหวของกล้องในภาพนิ่งจากเฟรมที่บันทึก นี่เป็นความสามารถของกล้องที่คุณควรจดจำไว้ เพื่อจะได้ไม่เพียงแค่ถ่ายภาพเคลื่อนไหวแล้วมานึกถึงเรื่องการบันทึกภาพนิ่งทีหลัง ผมกำลังถ่ายภาพนกกระเรียนมงกุฎแดงที่กำลังเต้นรำ แต่ก็ยุ่งยากมากเพราะตัวแบบออกจากเฟรมไว อย่างไรก็ดี ฟังก์ชั่นนี้สร้างความแตกต่างอย่างมาก เพราะเป็นฉากที่ถ่ายเป็นภาพนิ่งได้ยาก ส่วนตัวผมแล้ว มันทำให้ผมอยากจะถ่ายเป็นวิดีโอสโลโมชั่นแบบ Full HD เป็นหลัก
เมื่อบันทึกภาพในโหมด Live View การแตะหน้าจอ LCD ช่วยให้คุณโฟกัสตรงจุดที่ต้องการได้ ยิ่งกว่านั้น ด้วยระบบ Dual Pixel CMOS AF ใหม่ ผมไม่มีอะไรจะบ่นเรื่องความไวและความแม่นยำของ AF
ยังมีข้อดีอีกมากมายของกล้องรุ่นนี้ที่ผมจะเล่าต่อไปได้ไม่หยุด มันเป็นกล้องที่ไม่ธรรมดาจริงๆ ผมกล้าพูดว่า เราเพิ่งจะได้เห็นกำเนิดของกล้อง DSLR ที่สมบูรณ์แบบมากความสามารถที่เป็นมากกว่าแค่กล้องรุ่นเรือธงของ Canon
EF500mm f/4L IS II USM + Extender EF 2X III/ FL: 1,000 มม./ Manual Exposure (f/11, 1/2,000 วินาที)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ/ Large Zone AF
เมื่อคุณเปลี่ยนโหมดเป็นวิดีโอ 4K หน้าจอจะแสดงภาพเป็นแนวนอน ผมถ่ายภาพลำบากจริงๆ เพราะนกกระเรียนมงกุฎแดงที่กำลังเต้นอย่างสนุกนั้น อาจหลุดกรอบภาพได้หลายๆ รอบ เวลาที่ถ่ายภาพธรรมดา การเคลื่อนไหวของปีกและตัวนกจะเบลอ คุณจึงจำเป็นต้องถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์สูง เมื่อตรวจสอบภาพบนหน้าจอ LCD และถ่ายภาพเก็บเป็นเฟรม คุณจะสามารถปรับความเร็วในการเปิดดูเป็นแบบสโลโมชั่นได้สะดวก
EF500mm f/4L IS II USM + Extender EF 1.4x III/ FL: 700 มม./ Aperture-Priority AE (f/5.6, 1 วินาที, EV-0.3)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ/ ใบหน้า + การติดตาม AF
ผมลองถ่ายภาพนกฮูก Ural หลังจากดวงอาทิตย์ตกโดยใช้โหมด Live View แม้ในที่มืด โฟกัสยังจับตัวแบบได้อย่างดีเยี่ยม เมื่อผมแตะหน้าจอ LCD ผมไม่คิดว่าโหมด ใบหน้า + การติดตาม AF จะสุดยอดขนาดนี้ ผมตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ช้า 1 วินาที เพราะแสงมืดมาก และปิด Image Stabilizer และใช้สวิตช์รีโมทเพื่อลั่นชัตเตอร์ไม่ให้มีเสียง เนื่องจากการกระตุกของกระจกอยู่ระดับที่ต่ำที่สุด ผมจึงสามารถถ่ายภาพออกมาได้สวย
กล้อง EOS-1D X Mark II และเลนส์ที่ใช้ในบทความนี้
กล้อง EOS-1D X Mark II คือกล้องระดับสูงของตระกูล EOS DSLR ผมได้นำกล้องไปทดสอบการใช้งานจริงภายใต้สภาวะที่รุนแรงและหนาวเหน็บในช่วงกลางฤดูหนาวของฮอกไกโด
เก็บภาพนกกระเรียนและอินทรีหางขาวที่อยู่ไกลออกไปด้วยเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ EF500mm f/4L IS II USM โลกแห่งจินตนาการเป็นจริงได้เมื่อใช้งานควบคู่กับกล้อง EOS-1D X Mark II
คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับเลนส์ EF500mm f/4L IS II USM
Extender EF 2x III ให้คุณใช้เลนส์ EF ได้ที่ทางยาวโฟกัสเทียบเท่ากับทางยาวสองเท่า แม้ว่านี่จะหมายถึงค่า F ของรูรับแสงกว้างสุดที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า แต่กล้อง EOS-1D X Mark II ยังคงมีจุด AF สูงถึง 61 จุด (รวมถึงจุดแบบบวก 21 จุด) ที่สามารถโฟกัสด้วยปริมาณแสง f/8 ได้ ดังนั้นคุณจึงไม่ต้องกังวลกับการถ่ายภาพด้วย AF อีกต่อไป
Extender EF 1.4x III ให้คุณใช้เลนส์ EF ด้วยทางยาวโฟกัสเทียบเท่ายาวกว่า 1.4 เท่า ซึ่งทำให้รูรับแสงกว้างสุดหนึ่งสต็อปมืดลง ต่อตัวขยายช่องมองภาพกับเลนส์ 500 mm f/4 แล้วคุณจะได้ถ่ายภาพด้วยทางยาวโฟกัสเทียบเท่า 700 มม. และค่ารูรับแสง f/5.6
เกิดเมื่อปี 1966 ที่จังหวัดไอชิ Tozuka เริ่มสนใจในการถ่ายภาพขณะเรียนอยู่ไฮสคูลปีที่ 3 และหัดถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติรวมทั้งชีวิตสัตว์ป่ามานับแต่นั้น เมื่ออายุ 20 ปี เขากลายมาเป็นผู้ที่สนใจการถ่ายภาพนกธรรมชาติอย่างจริงจัง หลังจากถ่ายภาพติดนกหัวขวานโดยบังเอิญ ผลงานของเขาจำนวนมากมายหลายชิ้นได้รับการเผยแพร่ในสื่อต่างๆ เช่น นิตยสาร วารสาร หนังสือ ปฏิทิน และโฆษณาโทรทัศน์
http://happybirdsday.jp/นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation