รีวิวการใช้งาน EOS-1D X Mark II ตอนที่ 1: โฟกัสที่แม่นยำและสมรรถนะการติดตามตัวแบบของ AF ที่น่าทึ่ง
EOS-1D X Mark II มีทางยาวโฟกัสเทียบเท่ากับ 1000 มม. ที่สามารถจดจำใบหน้าของนกในธรรมชาติได้
"เราพัฒนามาไกลถึงขนาดนี้เชียว..."
ผมคิดเช่นนี้จริงๆ หลังจากที่ทดลองใช้กล้องรุ่น EOS-1D X Mark II
ผมได้รับการร้องขอจากฝ่ายบรรณาธิการของ Akan International Crane Centre ให้ถ่ายภาพนกกระเรียนและอินทรีหางขาว โดยจะมีการเลือกสถานที่ในการถ่ายภาพไว้ให้ เพื่อให้ผมแสดงความสามารถของกล้องได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากผมมีคติประจำใจว่าจะต้องถ่ายภาพภายใต้สภาวะสุดขั้วให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผมจึงติดตัวขยายช่องมองภาพ 2 เท่าเข้ากับเลนส์ EF500mm f/4L IS II USM และถ่ายด้วยทางยาวโฟกัส 1000 มม.
กล้อง EOS-1D X Mark II คือกล้องระดับเรือธงของตระกูล EOS DSLR ผมได้นำกล้องไปทดสอบการใช้งานจริงภายใต้สภาวะที่รุนแรงและหนาวเหน็บในช่วงกลางฤดูหนาวของฮอกไกโด
เก็บภาพนกกระเรียนและอินทรีหางขาวที่อยู่ไกลออกไปด้วยเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ EF500mm f/4L IS II USM โลกแห่งจินตนาการเป็นจริงได้เมื่อใช้งานควบคู่กับกล้อง EOS-1D X Mark II
คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับเลนส์ EF500mm f/4L IS II USM
Extender EF 2x III ให้คุณใช้เลนส์ EF ได้ที่ทางยาวโฟกัสเทียบเท่ากับทางยาวสองเท่า แม้ว่านี่จะหมายถึงค่า F ของรูรับแสงกว้างสุดที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า แต่กล้อง EOS-1D X Mark II ยังคงมีจุด AF สูงถึง 61 จุด (รวมถึงจุดแบบบวก 21 จุด) ที่สามารถโฟกัสด้วยปริมาณแสง f/8 ได้ ดังนั้นคุณจึงไม่ต้องกังวลกับการถ่ายภาพด้วย AF อีกต่อไป
แม้ว่าจะใช้การโฟกัสด้วยปริมาณแสง f/8 กล้อง EOS-1D X Mark II ยังคงใช้งานจุดแบบบวกได้สูงถึง 21 จุด อีกทั้งยังสนับสนุนการทำงานของ AF แบบโซนและการเลือก AF อัตโนมัติ 61 จุดอีกด้วย โดยทั่วไปเมื่อคุณต่อตัวขยายช่องมองภาพ ยิ่งระดับในการขยายสูงขึ้นเท่าไหร่ การวางตำแหน่งตัวแบบในช่องมองภาพก็ทำได้ยากมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นจึงควรถ่ายภาพด้วยมือให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้สามารถจับภาพการเคลื่อนไหวแบบฉับพลันได้
คุณจะเห็นว่าภาพที่ออกมานั้นยอดเยี่ยมสมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง
คุณไม่เพียงต้องรักษาโฟกัสให้คมชัดเท่านั้น แต่ยังต้องติดตามตัวแบบที่เคลื่อนไหวด้วย แม้ว่าจะต่อตัวขยายช่องมองภาพ 2 เท่าแล้ว คุณยังจะต้องแน่ใจด้วยว่าสามารถโฟกัสตัวแบบได้อย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการติดตามการเคลื่อนไหวแบบฉับพลันและความเร็วที่เปลี่ยนไปได้
เมื่อใช้ Large Zone AF กับกล้องรุ่นก่อนหน้านี้เพื่อโฟกัสตัวแบบที่อยู่ใกล้ มีโอกาสสูงที่โฟกัสอาจหลุดไปอยู่ที่ปลายปีกนกกระเรียนในฉากแบบนี้ได้เช่นนั้น อย่างไรก็ดี กล้อง EOS-1D X Mark II มีการพัฒนาฟังก์ชั่นการติดตามตัวแบบของ EOS iTR AF เพื่อให้คุณสามารถจับโฟกัสที่ใบหน้าของนกกระเรียนขณะที่บินหนีไป พร้อมทั้งรักษาโฟกัสไว้ขณะที่คุณติดตามตัวแบบ
EF500mm f/4L IS II USM+EXTENDER EF2× III/ FL: 1,000 มม./ Manual Exposure (f/11, 1/3,200 วินาที)/ ISO 1600/ WB: อัตโนมัติ/Large Zone AF
สมรรถนะอันน่าทึ่งของ AF ที่ท้าทายสภาพการถ่ายสุดขั้ว
ความมหัศจรรย์ของกล้องรุ่นล่าสุดนี้อยู่ที่กล้องจะมีปฏิกิริยาต่อหมอกร้อนเมื่อความแม่นยำของ AF เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี เมื่อถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง คุณจะสามารถถ่ายภาพโดยไม่ได้รับผลกระทบจากหมอกร้อนเลย เมื่อเห็นภาพที่ถ่ายออกมาแล้ว ผมรู้สึกประหลาดใจกับความคมชัดของภาพ ที่ผมทำแบบนี้ได้อาจเป็นเพราะการผสมผสานระหว่างประสิทธิภาพของระบบประมวลผลภาพ Dual DIGIC 6+ ความสามารถในการติดตามตัวแบบที่พัฒนาขึ้นของ EOS iTR AF ใหม่อันเลื่องชื่อ และ AI Servo AF III
คุณสามารถถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงถึง 14 ภาพต่อวินาทีด้วยกล้องรุ่นนี้ได้เช่นกัน เมื่อผมใช้การ์ดที่รองรับ CFast 2.0 จะไม่มีสถานะ "ไม่ว่าง" แสดงขึ้น แม้ในขณะที่กำลังบันทึกภาพในรูปแบบ RAW+JPEG (ขนาดใหญ่/ละเอียด) ไปพร้อมกัน ด้วยการ์ดรุ่นนี้ ผมพูดได้เลยว่าช่างภาพไม่ต้องรู้สึกเครียดเมื่อต้องถ่ายภาพต่อเนื่องเหมือนอย่างที่เคยเป็นอีกต่อไป
เกิดเมื่อปี 1966 ที่จังหวัดไอชิ Tozuka เริ่มสนใจในการถ่ายภาพขณะเรียนอยู่ไฮสคูลปีที่ 3 และหัดถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติรวมทั้งชีวิตสัตว์ป่ามานับแต่นั้น เมื่ออายุ 20 ปี เขากลายมาเป็นผู้ที่สนใจการถ่ายภาพนกธรรมชาติอย่างจริงจัง หลังจากถ่ายภาพติดนกหัวขวานโดยบังเอิญ ผลงานของเขาจำนวนมากมายหลายชิ้นได้รับการเผยแพร่ในสื่อต่างๆ เช่น นิตยสาร วารสาร หนังสือ ปฏิทิน และโฆษณาโทรทัศน์
http://happybirdsday.jp/นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation