ภาพทุกภาพคือช่วงเวลาการรอคอยแสงสำหรับการถ่ายภาพเพื่อเก็บรักษาเป็นผลงานไว้ตลอดไป แม้ว่าการถ่ายภาพมักเป็นเรื่องง่าย เพียงแค่หยิบกล้องของคุณขึ้นมาแล้วกดชัตเตอร์เท่านั้น แต่การถ่ายภาพให้สวยสดงดงามต้องใช้ความเข้าใจถึงวิธีการทำงานของการเปิดรับแสง ดังนั้น เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับโอกาส 5 อันดับแรกที่ควรใช้การเปิดรับแสงสั้นหรือยาวสำหรับการถ่ายภาพ และวิธีปรับให้ได้ผลภาพตามที่ต้องการ
ภาพ Still ถ่ายโดย Mariana Bisti/ EOS 5D/ EF28-135mm f/3.5-5.6 IS USM
แต่ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจหลักพื้นฐานกันก่อน การจะได้ภาพที่เปิดรับแสงอย่างสมบูรณ์แบบนั้นเป็นศาสตร์ที่มักเกี่ยวข้องกับศัพท์เทคนิคที่ซับซ้อนมากมาย ดังนั้น ขอให้เริ่มด้วยการทราบก่อนว่าแท้จริงแล้วการเปิดรับแสงคืออะไร
ภาพที่สมบูรณ์แบบจะควบคุมการเปิดรับแสงได้อย่างมีประสิทธิผล จนกระทั่งไม่เกิดพื้นที่ที่ได้รับแสงมากเกินไป (บริเวณที่ภาพสว่างจ้าเกินไปและรายละเอียดของภาพหายไป) หรือไม่ทำให้ภาพมืดจนเกินไป (บริเวณที่มืดที่สุดซึ่งกลมกลืนไปกับกลุ่มสีดำ) โดยไม่ได้ตั้งใจ
รู้สึกตื่นเต้นที่จะเริ่มทดลองใช้เคล็ดลับการเปิดรับแสงประเภทต่างๆ แล้วใช่ไหม เรามาดูกันว่า Canon EF135mm f/2L USM สามารถทำอะไรได้บ้าง
ภาพแบบเปิดรับแสงนานภาพที่ 1: ภาพเคลื่อนไหว
ภาพ Kinetic ถ่ายโดย John/ EOS 5D Mark II/ EF135mm f/2L USM/ f/2.5, 1/10 วินาที/ ISO 200
โดยมากแล้ว การเคลื่อนไหวถูกหยุดไว้โดยใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงและการรับแสงอย่างเพียงพอ ซึ่งเทคนิคนี้มักใช้กันในการถ่ายภาพเกี่ยวกับกีฬาและธรรมชาติ แล้วถ้าในการเคลื่อนไหวที่สื่อถึงอารมณ์ล่ะ ตอนนี้การเปิดรับแสงนานจะเข้ามามีบทบาท ภาพด้านบนนี้ใช้การผสมผสานระหว่างรูรับแสงกว้างและความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำ ซึ่งทำให้รับแสงได้มากขึ้นและสามารถถ่ายภาพการเคลื่อนไหวที่สร้างอารมณ์ได้ดีที่สุดได้ การเบลอตัวแบบที่เคลื่อนไหวที่ละเอียดอ่อนมากๆ จะเน้นถึงการเคลื่อนไหวของนักเต้น
ภาพแบบเปิดรับแสงนานภาพที่ 2: ภาพทิวทัศน์ผืนน้ำ
ภาพ Swirling Sea ถ่ายโดย Adrian Kingsley-Hughes/ EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L II USM/ f/22, 8 วินาที/ ISO 100
โอกาสดีอีกอันหนึ่งที่ควรใช้การเปิดรับแสงนานคือเมื่อคุณถ่ายภาพทิวทัศน์ผืนน้ำต่างๆ เพื่อถ่ายทอดคลื่นที่หมุนเป็นเกลียวอย่างรวดเร็ว ช่างภาพจึงตัดสินใจเปิดชัตเตอร์ไว้นานแปดวินาที เพื่อให้ได้ภาพเปิดรับแสงนานที่สวยสดงดงาม
ภาพแบบเปิดรับแสงนานภาพที่ 3: เส้นแสง
ภาพ Evening Road ถ่ายโดย Carle Drogue/ EOS 5D/ EF135mm f/2L USM/ f/16, 8 นาที/ ISO 100
และตอนนี้ก็มาถึงเทคนิคการถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงนานที่ทุกคนชื่นชอบ คือ เส้นแสงนั่นเอง เมื่อคุณตั้งค่ากล้องให้เปิดรับแสงนาน ใช้รูรับแสงแคบมาก และนำกล้องยึดไว้กับขาตั้งกล้อง คุณจะได้ผลลัพธ์อันน่าทึ่งนี้ ด้วยเทคนิคสองข้อที่กล่าวไปนี้ ประกอบกับอาวุธลับของคุณคือขาตั้งกล้องที่ไว้ใจได้ จะช่วยให้มั่นใจว่าภาพเบลอจากตัวแบบที่เคลื่อนไหวของคุณจะเกิดในพื้นที่ที่คุณต้องการเท่านั้น
ภาพแบบเปิดรับแสงสั้นภาพที่ 1: ภาพสัตว์
ภาพ Måke (นกนางนวล) ถ่ายโดย Bjarne Stokke/ EOS 500D/ EF135mm f/2L USM/ f/2.8, 1/1000 วินาที/ ISO 100
สัตว์มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้การเปิดรับแสงช่วงสั้นๆ เพื่อบันทึกภาพโดยไม่เกิดการเบลอที่ไม่จำเป็น ในภาพนี้ ช่างภาพใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงเพื่อหยุดนกนางนวลในเฟรมภาพ ในเวลาเดียวกัน รูรับแสงกว้างส่งผลให้เกิดระยะชัดลึกที่ตื้น ซึ่งทำให้แบ็คกราวด์ดูอ่อนลงจนเกิดเป็นเอฟเฟ็กต์ที่นุ่มนวลคล้ายโบเก้
ภาพแบบเปิดรับแสงสั้นภาพที่ 2: ภาพเคลื่อนไหว
ภาพ EDance ถ่ายโดย John/ EOS 5D Mark II/ EF135mm f/2L USM/ f/2.8, 1/500 วินาที/ ISO 2500
การเปิดรับแสงเป็นระยะเวลาสั้นๆ ยังสามารถใช้แสดงความรู้สึกที่หนักแน่นในการเคลื่อนไหวได้ เพื่อหยุดการการเคลื่อนไหวขณะที่นักเต้นกำลังกระโดดบนเวทีที่มีแสงน้อย ช่างภาพเลือกที่จะเพิ่มค่า ISO ให้สูงที่สุด เพื่อให้สามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงได้