ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด พื้นฐานของการถ่ายภาพ- Part5

พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #5: ความไวแสง ISO

2017-02-09
11
18.42 k
ในบทความนี้:

ความไวแสง ISO เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเปิดรับแสงพอๆ กับรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ ตอนนี้เราจะมาทำความรู้จักถึงข้อดีและข้อเสียของการเพิ่มความไวแสง ISO กัน (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)

 

ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงน้อย เราสามารถเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ด้วยการเพิ่มความไวแสง ISO ได้

สิ่งที่พึงจดจำ

- ในช่วงความไวแสง ISO ปกติ เมื่อลดความไวแสง ISO ลง คุณภาพของภาพจะสูงขึ้น
- การเพิ่มความไวแสง ISO ทำให้กล้องสามารถตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้สูงขึ้นได้
- จุดสีรบกวนจะเกิดขึ้นเมื่อความไวแสง ISO สูงขึ้น
 

หากพูดง่ายๆ ก็คือ ความไวแสง ISO คือความสามารถในการรับแสงของเซนเซอร์ภาพ ซึ่งสะท้อนออกมาเป็นค่าตัวเลข กล่าวกันว่าการเปิดรับแสงจะเป็นตัวกำหนดว่าการถ่ายภาพของคุณประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว แต่ความไว ISO เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดการเปิดรับแสงเช่นกัน

หากรูรับแสงคือความกว้างของรัศมีแสงที่ผ่านเข้ามาและความเร็วชัตเตอร์คือเวลาที่รัศมีของแสงใช้ในการส่องผ่าน ค่าความไวแสง ISO จะอธิบายถึงความสามารถในการรับแสงของเซนเซอร์ภาพ ยิ่งมีค่าสูงเท่าไหร่ กล้องจะยิ่งมีความไวแสงมากขึ้นเท่านั้น แม้แต่ในสภาพแวดล้อมที่มืดหรือเมื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืน เรายังสามารถถ่ายภาพให้ออกมาสว่างและสวยงามได้ หรือในอีกทางหนึ่ง สมมติว่าเราไม่ต้องการให้ภาพออกมาสว่างจนเกินไป ความไวแสง ISO ที่สูงขึ้นยังทำให้ได้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้นได้ ดังนั้น เพียงแค่ปรับความไวแสง ISO เราก็จะเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ด้วยเช่นกัน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยป้องกันภาพเบลออันเป็นผลจากปัญหากล้องสั่นหรือความเบลอที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของตัวแบบได้

นอกจากนี้ ความไวแสง ISO ที่สูงขึ้นยังช่วยให้เราได้รูรับแสงที่แคบลงโดยไม่ทำให้ความสว่างของภาพลดลงตราบใดที่คุณใช้ความเร็วชัตเตอร์คงที่ (เช่น โดยการใช้โหมด Shutter-priority AE)

แม้ว่าฉันจะพูดได้ว่าความไวแสง ISO เป็นฟังก์ชันที่มีประโยชน์ แต่มันก็มีข้อเสียเช่นกัน ยิ่งความไวแสง ISO สูงขึ้นเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีจุดสีรบกวนมากขึ้นเท่านั้น ภาพถ่ายโดยรวมจึงอาจมีเม็ดเกรนเกิดขึ้นได้ ใช่ค่ะ มีกล้องหลายรุ่นที่มาพร้อมคุณสมบัติในการลดจุดสีรบกวน แต่ช่างภาพส่วนใหญ่จะพยายามตั้งค่าความไวแสง ISO ให้เพียงพอที่จะป้องกันไม่ให้เกิดภาพเบลอจากกรณีที่กล้องสั่นไหว โดยปกติแล้ว ค่าที่ว่านี้จะใกล้เคียงกับความไวแสง ISO มาตรฐาน (ความไวแสง ISO ปกติที่ต่ำที่สุด) มากที่สุด แต่อาจเพิ่มสูงขึ้นได้ตามเป้าหมายในการถ่ายภาพและสภาพการถ่าย

ตัวอย่างเช่น คุณอาจใช้ความไวแสง ISO มาตรฐานได้เมื่อถ่ายภาพเส้นแสงและอาคารในยามค่ำคืน อย่างไรก็ตาม คุณอาจจำเป็นต้องเพิ่มความไวแสง ISO ให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันกล้องสั่นไหวเมื่อถ่ายภาพแบบถือกล้องด้วยมือในตอนกลางคืน และหากคุณต้องการที่จะเก็บภาพดวงดาวไว้ในภาพถ่ายของคุณ แม้ว่าคุณจะใช้ขาตั้งกล้อง คุณจะต้องใช้ทั้งความเร็วชัตเตอร์ต่ำและความไวแสง ISO ที่สูงมากๆ อย่างแน่นอน 

 

จากซ้าย:
EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.4 USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 2.5 วินาที, EV-0.7)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.4 USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/6 วินาที, EV-0.7)/ ISO 1600/ WB: อัตโนมัติ
EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.4 USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/50 วินาที, EV-0.7)/ ISO 12800/ WB: อัตโนมัติ

สังเกตดูว่าจุดสีรบกวนในภาพจะเพิ่มขึ้นเมื่อเราใช้ความไวแสง ISO สูงขึ้น ซึ่งปัญหานี้จะปรากฏชัดเจนอย่างมากตามสถานการณ์ที่เราถ่ายภาพ ดังนั้น ตรวจดูให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้ตั้งค่าความไวแสง ISO ไว้สูงจนเกินไป!

 

คำสำคัญ: ISO อัตโนมัติ

เมื่อเปลี่ยนจากสภาพแวดล้อมที่สว่างเป็นสภาพแวดล้อมที่มืด อย่าลืมเพิ่มความไวแสง ISO ให้สูงขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหากล้องสั่น หากคุณคิดว่าอาจลืมเปลี่ยนค่า ISO คุณก็สามารถตั้งกล้องไว้ในโหมด ISO อัตโนมัติได้ โดยคุณสมบัตินี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการปรับค่าความไวแสง ISO ในกล้องให้โดยอัตโนมัติ เพื่อให้การตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์มีความรวดเร็วเพียงพอที่จะป้องกันปัญหากล้องสั่นไหว นอกจากนี้ โหมดนี้ยังช่วยป้องกันไม่ให้กล้องกลับไปใช้ค่าความไวแสง ISO เดิมเพื่อถ่ายภาพ หลังจากที่คุณเปลี่ยนสถานที่ถ่ายภาพจากสภาพแวดล้อมที่มืดเป็นสภาพแวดล้อมที่สว่างแล้ว

 

หน้าจอ ISO อัตโนมัติ
ในการตั้งค่า ISO เป็นอัตโนมัติ ให้เลือก [AUTO] บนหน้าจอเพื่อตั้งค่า เมื่อเลือก AUTO แล้ว กล้องจะกำหนดค่าความไวแสง ISO เองโดยอัตโนมัติตามฉากและโหมดภาพ นี่จึงเป็นคุณสมบัติที่แสนสะดวกซึ่งจะช่วยป้องกันภาพสั่นไหวเมื่อเกิดปัญหากล้องสั่นและความเบลอที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของตัวแบบ

 

การตั้งค่าขีดจำกัดสูงสุดสำหรับ ISO อัตโนมัติ
เมื่อตั้งค่าความไวแสง ISO เป็น AUTO เรายังสามารถตั้งค่าขีดจำกัดสูงสุดสำหรับความเร็วที่กล้องสามารถทำงานได้อีกด้วย หากค่าขีดจำกัดถูกตั้งไว้สูงขึ้น แม้ว่าเราจะสามารถถ่ายภาพในฉากมืดหรือถ่ายภาพตัวแบบที่มืดได้อย่างง่ายดาย แต่จะเกิดจุดสีรบกวนเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้น ให้ตั้งค่าความไวแสง ISO ในระดับที่จะไม่ส่งผลต่อคุณภาพของภาพถ่ายมากจนเกินไป

 

เคล็ดลับที่เป็นประโยชน์: ความแตกต่างระหว่างความไวแสง ISO ปกติ และความไวแสง ISO แบบขยาย

กล้องบางรุ่นจะแยกแยะความแตกต่างระหว่างความไวแสง ISO ปกติ และความไวแสง ISO แบบขยาย โดย "ความไวแสง ISO ปกติ" (หรือที่เรียกกันว่า "ความไวแสง ISO ดั้งเดิม") หมายถึง ช่วงความไวแสง ISO ที่ผู้ผลิตกล้องได้ทำการทดสอบและพิจารณาแล้วว่าควรให้คุณภาพของภาพที่ดีที่สุด ส่วน "ความไวแสง ISO แบบขยาย" หมายถึง ความเร็วที่สูงหรือต่ำกว่าช่วงความไวแสง ISO ปกติ และโดยทั่วไปจะส่งผลให้คุณภาพของภาพถ่ายลดลงเมื่อนำมาใช้งาน ดังนั้น เมื่อตัดสินใจว่าจะใช้ความไวแสงแบบใดเมื่อใด ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการใช้และตัวแบบที่จะถ่าย โดยหากเป็นสถานการณ์ที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพของภาพเป็นหลัก ฉันขอแนะนำให้คุณใช้ช่วงความไวแสง ISO ปกติจะเป็นการดีกว่า

สำหรับเคล็ดลับเกี่ยวกับวิธีใช้ความไวแสง ISO แบบขยาย โปรดดูที่:
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง #3: ฉันจะใช้ความไวแสง ISO แบบขยายบนกล้องอย่างไร

 

หน้าจอการตั้งค่าความไวแสง ISO แบบขยาย
ในกล้องส่วนใหญ่ ค่าเริ่มต้นสำหรับความไวแสง ISO แบบขยายจะถูกปิดใช้งาน ในกล้องบางรุ่น คุณสามารถตั้งค่าความไวแสง ISO แบบขยายที่ต่ำลงนอกเหนือจากค่าความไวแสง ISO แบบขยายที่เพิ่มสูงขึ้นได้

 

หน้าจอการตั้งค่าการลดจุดสีรบกวน
คุณสมบัติการลดจุดสีรบกวนช่วยให้จุดสีรบกวนลดน้อยลงเมื่อคุณใช้ค่าความไวแสง ISO ที่สูงหรือถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงนาน จึงควรเลือกระดับที่เหมาะสมกับฉากที่ถ่ายด้วย

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดย ลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Tomoko Suzuki

หลังเรียนจบจากวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยโตเกียวโพลีเทคนิคแล้ว Suzuki ก็เข้าทำงานกับบริษัทโปรดักชั่นโฆษณาแห่งหนึ่ง เธอได้ทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับช่างภาพหลายคน รวมถึง Kirito Yanase และมีความเชี่ยวชาญการถ่ายภาพโฆษณาผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องแต่งกายและเครื่องสำอางอีกด้วย ตอนนี้เธอทำงานเป็นช่างภาพสตูดิโอให้กับบริษัทผลิตเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา