ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด พื้นฐานของการถ่ายภาพ- Part17

พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #17: การระบุค่าความเร็วชัตเตอร์ (โหมด TV)

2017-07-06
6
6.62 k
ในบทความนี้:

โหมดระบุค่าความเร็วชัตเตอร์ คือโหมดการถ่ายภาพที่มีประโยชน์เมื่อคุณต้องการ "หยุด" ตัวแบบที่เคลื่อนไหว หรือในทางกลับกัน หากคุณต้องการถ่ายภาพตัวแบบที่เคลื่อนไหวให้เป็นภาพเบลอ อ่านต่อเพื่อเรียนรู้วิธีการใช้งานได้ในบทความนี้! (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)

ภาพการระบุค่าความเร็วชัตเตอร์

 

โหมดระบุค่าความเร็วชัตเตอร์: ให้คุณสามารถควบคุมการถ่ายภาพตัวแบบที่เคลื่อนไหว

สิ่งที่ควรจดจำ

- คุณกำหนดค่าความเร็วชัตเตอร์ และกล้องตั้งค่ารูรับแสง (ค่า f) ให้สอดคล้องกัน
- ช่วงความเร็วชัตเตอร์ที่สามารถเลือกได้ขึ้นอยู่กับกล้องแต่ละรุ่น
 

โหมดระบุค่าความเร็วชัตเตอร์ คือโหมดการถ่ายที่ให้คุณสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของตัวแบบที่ถ่าย ตัวอย่างเช่น การเลือกความเร็วชัตเตอร์ตามต้องการช่วยให้สามารถ "หยุด" ตัวแบบที่เคลื่อนไหวได้อย่างง่ายดายด้วยความเร็วชัตเตอร์สูง หรือสร้างภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำ

เมื่อคุณตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ต้องการในโหมดระบุค่าความเร็วชัตเตอร์แล้ว กล้องจะตั้งค่ารูรับแสงโดยอัตโนมัติเพื่อให้ได้ระดับการเปิดรับแสงที่ดีที่สุด ช่วงความเร็วชัตเตอร์ที่พร้อมใช้งานจะขึ้นอยู่กับกล้องที่ใช้

แล้วคุณมีวิธีเลือกความเร็วชัตเตอร์อย่างไร อันดับแรก ให้สังเกตการเคลื่อนไหวของตัวแบบอย่างใกล้ชิด จากนั้น ตัดสินใจว่าคุณต้องการให้ภาพของคุณ "หยุด" ตัวแบบที่เคลื่อนไหว หรือเน้นการเคลื่อนไหวของตัวแบบด้วยภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว (เป็นสิ่งที่ช่างภาพต้องตัดสินใจทุกครั้ง อ่านได้ในบทความที่เกี่ยวกับการถ่ายภาพน้ำตก)

หากคุณวางแผนใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ นั่นหมายความว่าแสงปริมาณมากจะเข้าสู่เซนเซอร์ จึงเหมาะสำหรับถ่ายฉากที่สลัวอย่างเช่นภาพในตอนกลางคืน นอกจากนี้ ความเร็วชัตเตอร์ต่ำยังเหมาะมากกับการเก็บภาพการเคลื่อนที่ของแสง คุณจึงสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำเพื่อสร้างเส้นแสงจากยานพาหนะหรือเครื่องบินที่กำลังเคลื่อนที่ได้

 

วงแหวนเลือกโหมดในกล้อง

วงแหวนเลือกโหมดในกล้องของคุณ
หากต้องการใช้โหมดระบุค่าความเร็วชัตเตอร์ ให้หมุนวงแหวนเลือกโหมดในกล้องไปที่ [Tv]

 

หน้าจอ Quick Control

หน้าจอ Quick Control
A: ความเร็วชัตเตอร์
B: การตั้งค่ารูรับแสง (ค่า f)

ช่างภาพตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ กล้องตั้งค่ารูรับแสง 
หลังจากที่คุณตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์แล้ว กล้องจะตั้งค่ารูรับแสงที่เหมาะสมโดยอัตโนมัติ หากคุณตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์สูง คุณจะสามารถ "หยุด" ตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหวได้ หากคุณตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ต่ำ คุณจะสามารถสร้างภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวของตัวแบบในภาพถ่ายของคุณได้

 

หน้าจอ ISO อัตโนมัติ

หากระดับแสงที่ได้ไม่เป็นไปตามต้องการเท่าใดนัก...
ในโหมดระบุค่าความเร็วชัตเตอร์ เมื่อคุณตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ ช่วงของค่า f ที่กล้องสามารถตั้งค่าได้จะขึ้นอยู่กับเลนส์ที่คุณใช้ หากคุณเห็นว่าระดับแสงที่ได้ในภาพถ่ายไม่ค่อยเหมาะสม คุณสามารถลองปรับความไวแสง ISO เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้
- หากภาพมืดเกินไป เพิ่มความไวแสง ISO
- หากภาพสว่างเกินไป: ลดความไวแสง ISO

 

ตัวอย่างการใช้งาน 1: เพื่อ "หยุด" และบันทึกภาพช่วงวินาทีสำคัญ

ภาพน้ำที่สาดกระเซ็น ซึ่งถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์สูงใน EOS 6D

EOS 6D / EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 169 มม./ Shutter-priority AE (f/4, 1/2000 วินาที, EV+0.3)/ ISO 125/ WB: แสงแดด

เพื่อหยุดและบันทึกภาพวัตถุที่เคลื่อนไหว เช่น น้ำที่สาดกระเซ็นจากน้ำพุในจังหวะที่เหมาะสมนี้ คุณจำเป็นต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง โดยอาจลองใช้ค่าอย่างน้อย 1/500 วินาที

อ่านไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพดังกล่าวได้ที่:
คู่มือตามขั้นตอนสำหรับการถ่ายภาพคลื่นที่สาดกระเซ็นด้วยการตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์สูง

 

ตัวอย่างการใช้งาน 2: เพื่อสร้างภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวที่ให้ความรู้สึกถึงความเร็ว

ภาพที่มีความเบลอจากการเคลื่อนไหว ซึ่งถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำใน EOS 6D

EOS 6D/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 95 มม./ Shutter-priority AE (f/9, 1/8 วินาที, EV+0.7)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

การสร้างภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวจะสื่อถึงความเร็วในภาพถ่าย ในภาพนี้ ผมใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำที่ 1/8 วินาที เพื่อบันทึกภาพสายน้ำไหลเอื่อย ยิ่งภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวชัดเจนมากเท่าใด ความรู้สึกถึงความเร็วและความน่าตื่นเต้นจะสูงขึ้นเท่านั้น

หากต้องการทราบเคล็ดลับและไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ โปรดดูที่:
การตั้งค่ากล้องเพื่อใช้ถ่ายภาพความเร็วชัตเตอร์ต่ำที่ยอดเยี่ยม

 

ตัวอย่างการใช้งาน 3: เพื่อบันทึกภาพที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ภาพที่ถ่ายโดยใช้การเปิดรับแสงนาน 30 วินาทีด้วยกล้อง EOS 6D

EOS 6D/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Shutter-priority AE (f/22, 30 วินาที, EV-2.0)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

เพื่อให้ได้ภาพนี้ ผมถ่ายชิงช้าสวรรค์ที่กำลังหมุนโดยใช้การเปิดรับแสงนาน 30 วินาที การใช้การเปิดรับแสงนานนี้ช่วยให้คุณบันทึกภาพแสงที่กำลังเคลื่อนที่ให้เป็นเส้นแสงที่ยาวต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดภาพถ่ายที่แสดงถึงโลกใหม่ที่เหนือจริง ซึ่งไม่อาจมองเห็นด้วยตาเปล่าได้

ต่อไปนี้คือเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพเส้นแสง:
เทคนิคการใช้เส้นแสงมาตรฐาน

 

เคล็ดลับพิเศษ: ใช้ขาตั้งกล้องเพื่อป้องกันการสั่นไหวของกล้อง

สำหรับตัวอย่างการใช้งาน 2 และ 3 ด้านบน สิ่งสำคัญคือการใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำเพื่อเบลอตัวแบบที่เคลื่อนไหวเท่านั้น อย่างไรก็ดี ความเร็วชัตเตอร์ต่ำทำให้ภาพเสี่ยงต่อการเกิดปัญหากล้องสั่นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณถ่ายภาพแบบถือกล้องด้วยมือ (ดู "แนวคิดที่ 1" ใน พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #2: ความเร็วชัตเตอร์) ดังนั้น เพื่อไม่ให้ภาพถ่ายเสีย ควรใช้ขาตั้งกล้องถ้าเป็นไปได้ 

 

ต้องการเพิ่มทักษะเกี่ยวกับการใช้ความเร็วชัตเตอร์หรือไม่ โปรดดูที่บทความเหล่านี้:
ศิลปะของการใช้ชัตเตอร์ต่ำ: การใช้ระเบิดซูมเพื่อเปลี่ยนดวงดาวบนท้องฟ้าให้เป็นฝนดาวตก
ศิลปะของการใช้ชัตเตอร์ต่ำ: 3 เคล็ดลับอันยอดเยี่ยมในการถ่ายภาพโดยใช้เทคนิคการวาดภาพด้วยแสง
ศิลปะของการใช้ชัตเตอร์ต่ำ: การสร้างภาพเบลอแบบหมุนที่เหนือจริง
ทำอย่างไรให้ภาพถ่ายกีฬาดูมีพลังมากขึ้น

หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟังก์ชั่นของกล้องและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง โปรดดูที่:
จุดโฟกัส: พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Tomoko Suzuki

หลังเรียนจบจากวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยโตเกียวโพลีเทคนิคแล้ว Suzuki ก็เข้าทำงานกับบริษัทโปรดักชั่นโฆษณาแห่งหนึ่ง เธอได้ทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับช่างภาพหลายคน รวมถึง Kirito Yanase และมีความเชี่ยวชาญการถ่ายภาพโฆษณาผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องแต่งกายและเครื่องสำอางอีกด้วย ตอนนี้เธอทำงานเป็นช่างภาพสตูดิโอให้กับบริษัทผลิตเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา