ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ศิลปะของการใช้ชัตเตอร์ต่ำ: การใช้ระเบิดซูมเพื่อเปลี่ยนดวงดาวบนท้องฟ้าให้เป็นฝนดาวตก

2016-09-15
1
9.45 k
ในบทความนี้:

คุณสามารถถ่ายภาพดวงดาวให้ดูเหมือนฝนดาวตกได้ด้วยการใช้เทคนิคการระเบิดซูม (หรือที่เรียกกันว่า การเบลอซูม) เราลองมาดูวิธีการกัน (เรื่องโดย: Yuta Nakamura)

30 วินาที

EOS 5D Mark II/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 24 ถึง 105 มม./ Manual Exposure (f/4, 30 วินาที)/ ISO 3200/ WB: แสงหลอดฟลูออเรสเซนต์ขาว
เพื่อตามหาท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาว ผมเลือกเดินทางไปยังจุดที่เป็นพื้นที่สูงในจังหวัดยามานาชิ ซึ่งมองเห็นทะเลสาบยามานากะ และภูเขาไฟฟูิจิ สภาพอากาศเหมาะอย่างยิ่งสำหรับถ่ายภาพเส้นแสงของดวงดาว เนื่องจากท้องฟ้าไร้ซึ่งก้อนเมฆใดๆ

 

การถ่ายภาพดวงดาวด้วยเทคนิคการระเบิดซูม

การระเบิดซูมคือเทคนิคที่ใช้การหมุนวงแหวนซูมบนเลนส์ซูมระหว่างการเปิดรับแสง เพื่อถ่ายภาพตัวแบบเสมือนกับว่าตัวแบบกำลังระเบิดออกมา เมื่อนำเทคนิคนี้มาใช้ในการถ่ายภาพดวงดาว ดวงดาวที่ได้จะมีลักษณะเหมือนกับฝนดาวตก

การตั้งค่าของผม:
ผมตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องที่มั่นคงเพื่อไม่ให้เส้นแสงของดวงดาวออกมาเบลอ จากนั้น ตั้งค่าโหมดการถ่ายภาพเป็นโหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเอง และเปิดรูรับแสงให้มากที่สุดโดยใช้ค่าสูงสุดคือ f/4
เพื่อให้ได้ภาพที่มีความสว่าง ผมเลือกใช้ความไวแสง ISO ที่ 3200
ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ของดวงดาว ยิ่งเปิดรับแสงเป็นเวลานานเท่าใด ดวงดาวยิ่งดูเหมือนจะเคลื่อนที่ได้มากเท่านั้น ดังนั้น ผมจึงตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ไปที่ 30 วินาที
หลังจากตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผมจึงกดปุ่มชัตเตอร์เพื่อเริ่มเปิดรับแสง

กระบวนการ:
ในช่วง 15 วินาทีแรกของการเปิดรับแสง ผมหมุนวงแหวนซูมจากช่วงเทเลโฟโต้ไปที่ช่วงมุมกว้าง โดยไม่ได้ถ่ายภาพแสงสว่างจากเมืองริมทะเลสาบแห่งนี้
ส่วนอีก 15 วินาทีที่เหลือของเวลาเปิดรับแสง ผมเลือกคงวงแหวนซูมไว้ที่ช่วงมุมกว้างเช่นเดิม เพื่อให้แน่ใจว่าทั้งดวงดาวและแสงสว่างในเมืองริมทะเลสาบในภาพจะออกมาคมชัด นอกจากนี้ วิธีนี้ยังช่วยให้ผมสามารถรวมทะเลสาบและภูเขาฟูจิเข้าไว้ในองค์ประกอบภาพ ท่ามกลางท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาวได้อีกด้วย
จากนั้น ผมถ่ายภาพในรูปแบบ RAW และปรับความเปรียบต่าง ความคมชัด และแสงเงาในระหว่างกระบวนการปรับแต่งภาพ เพื่อให้ผลภาพที่คมชัดมากยิ่งขึ้น

โปรดสังเกตว่าแสงที่สว่างไสวของเมืองในภาพตัวอย่างด้านบนนั้นหยุดนิ่งคมชัดและไม่ระเบิดออกมาเหมือนกับดวงดาว ซึ่งนี่เป็นเอฟเฟ็กต์ในแบบที่ผมต้องการ

อย่างไรก็ดี หากคุณใช้เทคนิคการระเบิดซูมขณะที่แสงของทิวทัศน์ในเมืองมีความสว่างมากกว่า มีความเป็นไปได้ว่าแสงจากแหล่งอื่นๆ นี้จะระเบิดออกมาได้ ซึ่งวิธีการป้องกันปัญหานี้คือ ผสานรวมภาพทิวทัศน์กลางคืนปกติของเมืองเข้ากับภาพท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาวที่ถ่ายโดยใช้การระเบิดซูม

 

จุดที่ 1: ใช้ขาตั้งกล้องที่มั่นคง

เมื่อใช้เทคนิคการระุเบิดซูม เพื่อให้ได้เส้นแสงที่สม่ำเสมอไม่บิดเบี้ยว ให้หมุนเลนส์ซูมด้วยความเร็วคงที่ และเนื่องจากปัญหากล้องสั่นจะส่งผลต่อเส้นแสงที่ได้ ดังนั้น จึงแนะนำให้ใช้ขาตั้งกล้องที่มีความมั่นคง

 

จุดที่ 2: หมุนวงแหวนซูมแล้วถ่ายภาพ

ใช้เทคนิคการระเบิดซูมเพื่อให้แบ็คกราวด์หยุดนิ่ง และมีเฉพาะดวงดาวเท่านั้นที่มีลักษณะระเบิดออกมา หากเวลาเปิดรับแสงอยู่ที่ 30 วินาที ให้หมุนวงแหวนซูมจากช่วงเทเลโฟโต้ไปที่ช่วงมุมกว้างในช่วง 15 วินาทีแรก จากนั้นคงตำแหน่งของวงแหวนซูมไว้ที่ช่วงมุมกว้างในช่วง 15 วินาทีหลัง

 

จุดที่ 3: ปรับแต่งภาพถ่ายเพื่อให้ดวงดาวดูคมชัด

ผมใช้ Digital Photo Professional เพื่อปรับแต่งภาพถ่าย RAW โดยตั้งค่าความเปรียบต่างไว้ที่ 2 ความคมชัดไว้ที่ 8 และแสงเงาไว้ที่ -2 เพื่อสร้างภาพดวงดาวและเส้นแสงที่คมชัด นอกจากนี้ คุณยังสามารถเพิ่มระดับความสว่างได้อีกด้วยหากจำเป็น

 

รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับข่าวสาร เคล็ดลับและลูกเล่นในการถ่ายภาพได้โดย ลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับเรา!

 

 

Yuta Nakamura

 

เกิดที่จังหวัดคานากาวะเมื่อปี 1988 เขาทำงานเป็นช่างภาพทิวทัศน์กลางคืนนับตั้งแต่ปี 2010 ไม่เพียงแค่การถ่ายภาพสถานที่ต่างๆ ในเวลากลางคืนเฉพาะในกรุงโตเกียวเท่านั้น แต่ถ่ายทั่วทั้งญี่ปุ่น และเขายังเปิดเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลสำหรับจุดถ่ายภาพทิวทัศน์กลางคืนชื่อว่า "Nightscape FAN"

http://yakei-fan.com/

 

Digital Camera Magazine

 

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา