พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ #9: เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้าง
เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างคือเลนส์ที่มีค่า f สูงสุดต่ำ เช่น f/1.2 หรือ f/1.8 เหมาะสำหรับการถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อยและสร้างเอฟเฟ็กต์ภาพเบลอ (โบเก้) ที่นุ่มนวลในส่วนแบ็คกราวด์ได้ อ่านต่อเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม แล้วเราจะแนะนำเลนส์บางรุ่นให้คุณอีกด้วย!
EOS R + RF85mm f/1.2L IS USM ที่ 85 มม., f/1.2, 1/40 วินาที, ISO 100
คุณสมบัติของเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้าง
คุณสมบัติของเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้าง
- สร้างเอฟเฟ็กต์โฟกัสตื้น (โบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์) ที่สวยงาม
- คุณสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้นในสภาวะแสงน้อย
- ให้ประสิทธิภาพการโฟกัสอัตโนมัติที่ดียิ่งขึ้นในสภาวะแสงน้อย
- เมื่อถ่ายภาพโดยใช้ค่ารูรับแสงกว้างสุดหรือเกือบกว้างสุด คุณจะต้องใช้ความพยายามมากเป็นพิเศษเพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างอยู่ในโฟกัสเนื่องจากระยะชัดที่ตื้นขึ้น
เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างคืออะไร
เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างคืออะไร
- เลนส์ที่มีค่า f ต่ำ (f/2.8 หรือต่ำกว่า)
- เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเลนส์ "ไวแสง" หรือ "ให้ความสว่าง"
"รูรับแสง" ในที่นี้หมายถึง ไดอะแฟรมรูรับแสง ซึ่งเป็นช่องเปิดในเลนส์ที่จะเปิดรับแสงให้เข้าถึงกล้อง "เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้าง" คือเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างสุดที่กว้าง/มีขนาดใหญ่ หรืออีกนัยหนึ่ง ค่า f ที่ระบุในชื่อเลนส์จะมีค่าต่ำคือ f/2.8 หรือต่ำกว่า
ทำไมเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างจึงเรียกอีกอย่างว่าเลนส์ "ให้ความสว่าง" หรือ "ไวแสง"
คุณอาจเคยได้ยินว่าเลนส์รุ่นนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นเลนส์ "ให้ความสว่าง" หรือ "ไวแสง" ซึ่งเป็นชื่อเรียกอื่นๆ ของเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้าง เหตุผลนั้นต้องย้อนกลับไปที่แนวคิดของการเปิดรับแสงและสามเหลี่ยมความสัมพันธ์การเปิดรับแสง
เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้าง "ให้ความสว่าง" เนื่องจากรูรับแสงที่กว้างขึ้นช่วยให้แสงเข้าสู่เลนส์ได้มากขึ้น เมื่อใช้การตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์และความไวแสง ISO ที่เท่ากัน การตั้งค่ารูรับแสงให้กว้างขึ้น (ตั้งค่า f-stop ให้น้อยลง) จะส่งผลให้ภาพสว่างขึ้น
เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างยัง "ไวแสง" ด้วยเช่นกัน เนื่องจากเมื่อแสงเข้าสู่เลนส์ได้มากขึ้น (และผ่านไปถึงเซนเซอร์ภาพ) คุณจะสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ เพื่อถ่ายภาพให้มีความสว่างในระดับเดียวกัน จึงทำให้การหยุดการเคลื่อนไหวของตัวแบบที่เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วในสภาพแสงน้อยเป็นเรื่องง่ายขึ้น และยังป้องกันปัญหากล้องสั่นไหวในระหว่างการถ่ายภาพโดยไม่ใช้ขาตั้ง โดยเฉพาะเมื่อใช้เลนส์เทเลโฟโต้ซึ่งจะเกิดภาพเบลอที่เด่นชัดมากขึ้น
EOS R3/ RF135mm f/1.8L IS USM/ Manual exposure (f/1.8, 1/1600 วินาที, ISO 3200)
เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างทำให้หยุดช่วงเวลาสำคัญที่เกิดขึ้นในชั่วพริบตาแม้ในสถานที่มืดได้
ข้อควรรู้: การโฟกัสอัตโนมัติมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อใช้เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้าง
จุดแข็งอีกประการหนึ่งของเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ทราบคือ เลนส์ชนิดนี้ช่วยให้การโฟกัสอัตโนมัติมีประสิทธิภาพมากขึ้นในสภาพแสงน้อย หรืออย่างน้อยก็ในกล้อง Canon! เพราะกล้องมักมองหาตัวแบบสำหรับโฟกัสด้วยรูรับแสงกว้างสุด (ระบบวัดแสงด้วยรูรับแสงกว้างสุด) ยิ่งแสงผ่านเข้ามาถึงเซนเซอร์ได้มากขึ้น ก็ยิ่งมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากขึ้นสำหรับระบบ Dual Pixel CMOS AF
อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #2: เลนส์ไวแสงทำให้มองเห็นผ่านช่องมองภาพได้ง่ายขึ้นหรือไม่
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง: ขีดจำกัดของ AF ในสภาวะแสงน้อยส่งผลต่อภาพอย่างไร
เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างสร้างโบเก้ (ภาพเบลอที่อยู่นอกโฟกัส) ได้ดีกว่า
EPS R6/ RF85mm f/2 Macro IS STM/ Aperture-priority AE (f/2, 1/250 วินาที, EV +1)/ ISO 400
ยิ่งค่ารูรับแสงกว้างสุดมากขึ้นเท่าใด จะได้เอฟเฟ็กต์แบ็คกราวด์เบลอ (โบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์) ที่นุ่มนวลง่ายขึ้นเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ตัวแบบดูโดดเด่น
อย่างไรก็ตาม หากตั้งค่า f-stop ไว้ต่ำจะทำให้ยากที่จะจับโฟกัสได้แม่นยำ เนื่องจากมีระยะชัดตื้น คุณอาจต้องขยายหน้าจอเพื่อให้มองเห็นได้ชัดขึ้นและ/หรือใช้การโฟกัสแบบแมนนวล (อ่านเพิ่มเติมได้ที่: Focus Guide และ MF Peaking: ให้การโฟกัสแบบแมนนวลเป็นเรื่องง่าย)
ตัวอย่างเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างจาก Canon
ตัวอย่างเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างจาก Canon
คุณจะเห็นได้ว่าเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างช่วยเพิ่มโอกาสการถ่ายภาพในสถานการณ์ต่างๆ มากมาย ด้วยเหตุนี้ ช่างภาพและผู้สร้างภาพยนตร์จำนวนมากจึงเลือกเลนส์ชนิดนี้มากกว่าตัวเลือกอื่นๆ! เลนส์ชนิดนี้น่ามีไว้ใช้ไม่ว่าคุณจะถ่ายอะไรก็ตาม แต่จะมีประโยชน์เป็นพิเศษสำหรับการถ่ายภาพประเภทต่อไปนี้
- การถ่ายภาพสตรีท: สภาวะแสงน้อยและช่วงเวลาสำคัญ
- การถ่ายภาพพอร์ตเทรตและผลิตภัณฑ์: โบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์
เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่ที่สุดมักจะเป็นเลนส์เดี่ยวเพราะสามารถออกแบบได้ง่ายกว่า และต่อไปนี้คือทางยาวโฟกัสที่เราแนะนำสำหรับการถ่ายภาพแต่ละประเภท อย่าลืมคำนึงถึงคุณสมบัติการครอป 1.6 เท่าด้วยหากคุณใช้กล้อง APS-C เช่น EOS R10 หรือ EOS R50!
เลนส์เดี่ยวที่แนะนำสำหรับการถ่ายภาพสตรีท
เลนส์เดี่ยวขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา และมีทางยาวโฟกัสมาตรฐานสำหรับการถ่ายภาพสตรีทเหล่านี้ จะช่วยคุณหยุดภาพช่วงเวลาที่ไม่คาดคิดแม้ว่าจะถ่ายภาพในยามค่ำคืน นอกจากนี้ เลนส์ที่มีคำว่า "มาโคร" อยู่ในชื่อยังเหมาะสำหรับการถ่ายภาพโคลสอัพด้วยเช่นกัน
จากซ้าย:
- RF16mm f/2.8 STM (เป็นเลนส์เทียบเท่า 25.5 มม. ที่ไวแสงและใช้งานได้ดีสำหรับกล้อง APS-C)
- RF28mm f/2.8 STM
- RF24mm f/1.8 Macro IS STM
- RF35mm f/1.8 Macro IS STM
- RF35mm f/1.4L VCM
- RF50mm f/1.8 STM ("เลนส์ความไวสูง")
เลนส์เดี่ยวที่แนะนำสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรต
สำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรตและภาพผลิตภัณฑ์ คุณมักจะต้องการโบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์มากขึ้นเพื่อทำให้ตัวแบบดูโดดเด่นยิ่งขึ้น และใช้ทางยาวโฟกัสยาวๆ เพื่อให้ภาพเบลอชัดเจนยิ่งขึ้น (อ่านได้ที่: พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ #3: การสร้างโบเก้) สำหรับวัตถุประสงค์การใช้งานส่วนใหญ่ เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ไม่เหมาะเนื่องจากมีการบิดเบี้ยวของเปอร์สเปคทีฟ แม้ว่าจะสามารถใช้เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการสร้างสรรค์ก็ตาม
แถวหลัง (จากซ้าย)
- RF35mmf/1.4LVCM
- RF50mmf/1.2LUSM
- RF85mmf/1.2LUSM
- RF135mmf/1.8L IS USM
แถวหน้า (จากซ้าย)
- RF35mm f/1.8 Macro IS STM
- RF50mm f/1.8 STM
- RF85mm f/2 Macro IS STM
เลนส์ที่มีวงแหวนสีแดงคือเลนส์ระดับมืออาชีพ ซึ่งออกแบบมาให้สามารถต้านทานฝุ่นและความชื้นและมีคุณภาพทางออพติคอลที่ดียิ่งขึ้น
เคล็ดลับระดับมือโปร: ทางยาวโฟกัสยาวขึ้น แบ็คกราวด์จะเบลอมากขึ้น
ทางยาวโฟกัสที่ยาวขึ้นจะทำให้แบ็คกราวด์เบลอมากขึ้น ดังนั้นหากต้องการโบเก้ที่ดีที่สุด ลองใช้เลนส์เทเลโฟโต้ระยะกลาง เช่น RF85mm f/1.2L USM และ RF135mm f/1.8L IS USM โดยเฉพาะเมื่อคุณมีพื้นที่ทำงานมากขึ้น
โดยธรรมชาติแล้ว เลนส์มุมกว้างมีระยะชัดที่กว้างกว่า ดังนั้นแบ็คกราวด์จะไม่เบลอมากเมื่อเทียบกับเลนส์ที่ยาวกว่าและใช้ค่ารูรับแสงที่เท่ากัน หากคุณต้องการแบ็คกราวด์เบลอที่สวยงามขณะถ่ายภาพในมุมกว้างมากขึ้น ให้เลือกเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างที่สุด
เลนส์ซูมรูรับแสงกว้างที่แนะนำ
บางครั้งเลนส์ซูมใช้งานได้สะดวกกว่า ต่อไปนี้คือเลนส์ซูมรูรับแสงกว้างที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของ Canon ซึ่งแตกต่างจากเลนส์คิทส่วนใหญ่ตรงที่ทั้งหมดนี้เป็นเลนส์ซูมที่มีรูรับแสงคงที่ ดังนั้น รูรับแสงกว้างสุดจะคงที่ที่ f/2.8 แม้ขณะซูมเข้า
จากซ้าย:
- RF24-105mmf/2.8LIS USM Z
- RF24-70mmf/2.8LIS USM
- RF28-70mmf/2LUSM
- RF15-35mmf/2.8LIS USM
- RF70-200mmf/2.8LIS USM
ข้อควรรู้: กลุ่มสามเลนส์ทรงพลัง
"กลุ่มสามเลนส์ทรงพลัง" หมายถึง ชุดเลนส์ซูมไวแสงระดับมืออาชีพ 3 ตัว ประกอบด้วยเลนส์ซูมมุมกว้าง เลนส์ซูมมาตรฐาน และเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ หากคุณต้องการความอเนกประสงค์สูงสุดโดยใช้เลนส์น้อยชิ้น ควรมีเลนส์ชุดนี้ไว้ในครอบครอง คุณสามารถใช้เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างสุดกว้างๆ และทางยาวโฟกัสหลายระยะชุดนี้ถ่ายภาพได้หลากหลาย
แต่เดิมกลุ่มสามเลนส์ทรงพลังประกอบด้วยเลนส์ 15-35 มม. (มุมกว้าง), 24-70 มม. (มาตรฐาน) และ 70-200 มม. (เทเลโฟโต้) อย่างไรก็ตาม Canon ยังมีเลนส์ซูมมาตรฐานไวแสงอีก 2 รุ่นให้เลือก คือ RF28-70mm f/2L USM และ RF24-105mm f/2.8L IS USM Z ดังนั้นควรเลือกเลนส์ที่เหมาะกับความต้องการของคุณมากที่สุด!
เทคนิคการนำเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างมาใช้ให้คุ้มค่าที่สุด
เทคนิคการใช้เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้าง: สร้างวงกลมโบเก้น่ารักๆ
รูรับแสงกว้างสุดของเลนส์มีผลต่อขนาดของวงกลมโบเก้ที่คุณสร้าง เมื่อมีแหล่งกำเนิดแสงเป็นจุดเล็กๆ หรือแสงสะท้อนด้านหลังตัวแบบหลัก และค่า f ที่ต่ำลง (ตั้งค่ารูรับแสงกว้างขึ้น) จะทำให้ได้วงกลมโบเก้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
f/2
EOS R6 Mark II/ RF50mm f/1.8 STM/ FL: 50 มม./ Flexible-priority AE (f/2, 1/800 วินาที, EV +0.3)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
f/5.6
EOS R6 Mark II/ RF50mm f/1.8 STM/ FL: 50 มม./ Flexible-priority AE (f/5.6, 1/800 วินาที, EV +0.3)/ ISO 1600/ WB: อัตโนมัติ
เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างทำงานได้ดีที่สุดในฉากต่อไปนี้!
เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างทำงานได้ดีที่สุดในฉากต่อไปนี้!
เมื่อต้องการแยกตัวแบบหลักออกมา
EOS R5/ RF35mm f/1.4L VCM/ FL: 35 มม./ Manual exposure (f/1.4, 1/50 วินาที, ISO 100)
ทำให้ตัวแบบหลักโดดเด่นยิ่งขึ้นในฉากที่ยุ่งเหยิง ด้วยการใช้เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างเพื่อเบลอวัตถุอื่นในแบ็คกราวด์และโฟร์กราวด์ บางทีคุณอาจพบว่าตัวเองใช้เทคนิคนี้บ่อยครั้งในการถ่ายภาพอาหาร สิ่งของทั่วๆ ไป หรือแม้แต่ภาพพอร์ตเทรต!
เคล็ดลับระดับมือโปร: หากไม่ถนัดใช้โหมดการเปิดรับแสงแบบแมนนวล ลองใช้โหมด Av
โหมด Aperture-priority AE (Av) คือโหมดการเปิดรับแสงกึ่งอัตโนมัติ คุณสามารถเลือกใช้ค่า f-stop ได้อย่างอิสระ และกล้องจะเลือกความเร็วชัตเตอร์และค่าความไวแสง ISO ที่ดีที่สุดเพื่อให้ได้ระดับแสงที่เหมาะสมกับฉาก
เมื่อคุณต้องการถ่ายภาพโดยไม่ใช้ขาตั้งให้คมชัดยิ่งขึ้นหรือหยุดการเคลื่อนไหวในยามค่ำคืน
f/5, 1/5 วินาที, ISO 3200: ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว
f/1.8, 1/30 วินาที, ISO 3200: ภาพคมชัดยิ่งขึ้น
เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างช่วยให้เราได้ระดับแสงที่เท่ากันโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้น ทำให้สามารถหยุดภาพเรือที่กำลังแล่นและได้ภาพที่คมชัด