ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด สิ่งที่ช่างภาพพูดถึง เลนส์ RF- Part10

บทวิจารณ์เลนส์: RF70-200mm f/2.8L IS USM ในการถ่ายภาพทิวทัศน์

2019-12-26
3
4.83 k
ในบทความนี้:

RF70-200mm f/2.8L IS USM เป็นเลนส์ซูมเทเลโฟโต้รุ่นแรกที่ได้รับการออกแบบมาสำหรับเมาท์ RF และยังเป็นหนึ่งใน 3 เลนส์ซูมทรงพลังตระกูล RF ที่มีรูรับแสงคงที่ที่ f/2.8 ซึ่งใครๆ ต่างรอคอย Takashi Karaki ช่างภาพทิวทัศน์ได้นำเลนส์นี้ไปใช้ในการถ่ายภาพฤดูใบไม้ร่วงในช่วงที่สวยที่สุดในภูมิภาคซันอิงทางตะวันตกของเกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น และมาบอกเล่าความประทับใจในรีวิวต่อไปนี้ (เรื่องโดย Takashi Karaki, Digital Camera Magazine)

 

เลนส์ซูมเทเลโฟโต้ขนาดเล็กและน้ำหนักเบาที่มีการออกแบบให้ยืดออกได้

เมื่อผมถือเลนส์ RF70-200mm f/2.8L IS USM เอาไว้ในมือ สิ่งแรกๆ ที่ทำให้ผมประหลาดใจคือขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบาของเลนส์รุ่นนี้ 3 เลนส์ซูมทรงพลังมักจะทำให้ผมคิดถึงเลนส์ที่มีขนาดใหญ่และหนัก แต่เลนส์รุ่นนี้ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง ขนาดที่เล็กและเบากว่าถือเป็นข้อดีอย่างยิ่งสำหรับผม เนื่องจากผมมักจะถ่ายภาพบนภูเขาและในป่าซึ่งการเดินทางพร้อมสัมภาระที่มีน้ำหนักเบาและขนาดกะทัดรัดสามารถช่วยให้เคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น


ช่วงทางยาวโฟกัสและรูรับแสงคงที่

ช่วงทางยาวโฟกัส 70-200 มม. นับว่าสมบูรณ์แบบสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ซึ่งจับภาพขององค์ประกอบที่อยู่ใกล้และไกลได้อย่างแม่นยำ ความสามารถในการสร้างโบเก้ด้วยรูรับแสงกว้างสุดที่ f/2.8 ได้ตลอดทั้งช่วงทางยาวโฟกัสทำให้เลนส์รุ่นนี้มีประโยชน์อย่างมาก นี่จึงเป็นสาเหตุว่าเพราะเหตุใดเลนส์ f/2.8 70-200 มม. ในกลุ่มเมาท์ EF จึงเป็นเลนส์ที่ขายดีมาเป็นระยะเวลานานและมีการอัพเดตมาแล้วหลายครั้ง และเลนส์ในเวอร์ชัน RF นี้ก็มีความสามารถในการทำงานไม่แตกต่างกัน

ศึกษาวิธีใช้เลนส์เทเลโฟโต้สำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ได้ใน:
เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพอย่างมืออาชีพ (3): ดึงความสามารถสูงสุดของเลนส์มาใช้
เคล็ดลับการจัดองค์ประกอบภาพที่ทำให้หมอกสวยงามเตะตา


รถไฟในป่าที่เต็มไปด้วยใบไม้เปลี่ยนสี

EOS R/ RF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 200 มม./ Manual exposure (f/2.8, 1/600 วินาที)/ ISO 200/ WB: เมฆครึ้ม

รถไฟชมวิวสาย JR Kisuki รายล้อมด้วยใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วงสีทองที่กำลังส่องประกายในแสงแดดขณะวิ่งข้ามจังหวัดชิมาเนะและฮิโรชิมะ โบเก้อันสวยงามนุ่มนวลของใบไม้เปลี่ยนสีที่อยู่ด้านหน้าช่วยทำให้รถไฟที่อยู่กึ่งกลางเฟรมดูโดดเด่นยิ่งขึ้น

เรียนรู้วิธีการใช้กล้อง EOS R ของคุณสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์รถไฟได้ใน:
ถ่ายภาพสวยดั่งใจ: รถไฟท่ามกลางทิวทัศน์ฤดูใบไม้ร่วงตระการตา


ระยะโฟกัสใกล้สุดที่ 70 ซม.

ระบบควบคุมโฟกัสอิเล็กทรอนิกส์แบบชิ้นเลนส์ลอยตัวในเลนส์ RF70-200mm f/2.8L IS USM ทำให้สามารถลดระบบโฟกัสใกล้สุดให้เหลือ 70 ซม. ได้จากเดิม 120 ซม. ในเลนส์ EF70- 200mm f/2.8L IS III USM เมื่อรวมคุณสมบัตินี้เข้ากับกำลังขยายสูงสุด 0.23 เท่า เลนส์รุ่นนี้จึงสามารถถ่ายภาพคล้ายภาพมาโครได้ ดังภาพด้านล่างซึ่งสามารถแสดงรายละเอียดของหยดน้ำค้างยามเช้าทุกหยดได้อย่างชัดเจน

หยดน้ำค้างบนใยแมงมุมสีรุ้ง

EOS R/ RF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 200 มม./ Manual exposure (f/2.8, 1/1,000 วินาที)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ

ภาพมาโครเทเลโฟโต้ถ่ายที่ 200 มม. จากระยะโฟกัสใกล้สุด 70 ซม. ซึ่งทำให้ได้กำลังขยายสูงสุด 0.23 เท่า รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของใยแมงมุมและน้ำค้างทุกหยดถูกแสดงออกมาได้อย่างชัดเจน ส่วนสีรุ้งบนใยแมงมุมนั้นเป็นปรากฏการณ์จากแสงอาทิตย์ที่สะท้อนบนหยดน้ำค้าง


ระบบป้องกันภาพสั่นไหวและประสิทธิภาพในการถ่ายฉากย้อนแสง

ผมถ่ายภาพหลายภาพในสภาวะแสงน้อย เช่น ภาพที่ราบสูงในตอนรุ่งสาง ทุ่งหญ้าซึซึกิญี่ปุ่น และรถไฟที่กำลังแล่นผ่านป่าในฤดูใบไม้ร่วง ผมแทบมองไม่เห็นการสั่นของกล้องเลย เมื่อถ่ายภาพย้อนแสง การเคลือบแบบ Subwavelength Structure Coating (SWC) (ฉบับภาษาอังกฤษ) ทำให้ผมมั่นใจว่าแสงหลอกและแสงแฟลร์ลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด

ต้นหญ้าสูงด้านหน้าพระอาทิตย์ที่กำลังตกดิน

EOS R/ RF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 200 มม./ Manual exposure (f/6.3, 1/800 วินาที)/ ISO 400/ WB: แสงแดด

ดอกหญ้าซึซึกิที่โปร่งแสงแต้มด้วยสีสันของพระอาทิตย์ตกดิน แม้จะมีแสงสว่างจ้าจากพระอาทิตย์ในยามเย็น แต่กลับไม่มีแสงหลอกหรือแสงแฟลร์ให้เห็นเลย การที่สามารถบันทึกภาพพระอาทิตย์ตกในทุกขณะได้โดยไม่ต้องกังวลถึงปัญหาเหล่านี้นับเป็นสิ่งสำคัญมาก


ปุ่มควบคุมต่างๆ ที่ได้รับการออกแบบมาอย่างดี

ผมยังรู้สึกดีใจมากๆ ที่นักออกแบบเลนส์ได้คำนึงถึงวิธีการใช้งานจริงของเลนส์ซูมเทเลโฟโต้เมื่อพวกเขาออกแบบปุ่มควบคุมต่างๆ ตัวอย่างหนึ่งได้แก่ ตำแหน่งของวงแหวนควบคุมแบบกำหนดเองได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติหลักของเลนส์ RF ที่ช่วยให้คุณเปลี่ยนค่าการเปิดรับแสงได้โดยไม่ต้องละสายตาจากช่องมองภาพ สำหรับเลนส์ RF รุ่นอื่นๆ วงแหวนนี้จะอยู่ที่ด้านหน้าของเลนส์ แต่สำหรับ RF70-200mm f/2.8L IS USM เมื่อคำนึงถึงการที่ผู้ใช้จะต้องซูมเข้าและออกอยู่บ่อยครั้ง วงแหวนควบคุมจึงถูกวางไว้ในจุดที่ใกล้กับเมาท์มากขึ้นเพื่อลดโอกาสในการหมุนวงแหวนผิดโดยไม่ได้ตั้งใจ


คุณภาพของภาพ

ภาพที่ได้มีความคมชัดอย่างแท้จริง ในภาพด้านล่าง คุณจะเห็นว่าเค้าโครงของต้นไม้ ใบไม้ และนกที่กำลังโผบินถูกแสดงออกมาเป็นเส้นที่คมชัดและมีรายละเอียดที่ชัดเจน คุณภาพอันน่าประทับใจเช่นนี้ทำให้เป็นเรื่องน่าสนุกยิ่งขึ้นในการถ่ายภาพที่มีระยะชัดไม่เหมือนใครซึ่งคุณจะได้จากเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ความไวแสงสูง เหมือนกับว่าภาพถ่ายของผมพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดได้เพียงแค่ใช้เลนส์นี้เท่านั้น

 

ต้นไม้และนกด้านหน้าพระอาทิตย์ที่กำลังตกดิน

EOS R/ RF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 200 มม./ Manual exposure (f/3.5, 1/1,250 วินาที)/ ISO 1600/ WB: แสงแดด

ต้นไม้ยืนต้นภายใต้ท้องฟ้าสีส้มเจิดจ้ายามรุ่งอรุณบนที่ราบสูง แม้ผมจะถ่ายภาพนี้โดยไม่ใช้ขาตั้งกล้อง ก็ยังสามารถแสดงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของนกซึ่งกำลังบินอยู่โดยรอบได้อย่างคมชัด

 

3 คุณสมบัติเด่นของเลนส์ RF70-200mm f/2.8L IS USM

#1: ขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบาเกินคาด

เลนส์รุ่นนี้เป็นเลนส์ซูมรูรับแสงใหญ่ที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาอย่างน่าแปลกใจ ภาพประกอบด้านล่างแสดงความยาวทั้งหมดเมื่อยืดและหดจนสุด


ความยาวทั้งหมดที่ 70 มม. และ 200 มม.

ความยาวของเลนส์ RF70-200mm f/2.8L IS USM ที่ 70 มม. และ 200 มม.

เมื่อหดจนสุดที่ 70 มม. ความยาวทั้งหมดจะอยู่ที่ 146 มม.
ที่ 200 มม. จะมีความยาวสูงสุดที่ 204.5 มม. ซึ่งไม่แตกต่างจากเลนส์ EF70-200mm f/2.8L IS Ⅲ USM มากนัก (199 มม.)

ที่สำคัญ เลนส์ RF70-200mm f/2.8L IS USM ยังมีน้ำหนักเบากว่า EF70-200mm f/2.8L IS Ⅲ USM อยู่ราว 400 กรัมด้วย

 

#2: เลย์เอาต์วงแหวนที่ใช้งานง่าย

วงแหวนควบคุม วงแหวนโฟกัส และวงแหวนซูมของเลนส์ RF70-200mm f/2.8L IS USM

เลนส์รุ่นนี้มีวงแหวนสำหรับโฟกัส ควบคุม และซูมแยกออกจากกัน โดยวงแหวนควบคุมจะอยู่ใกล้กับเมาท์เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่าย

 

#3: โหมดป้องกันภาพสั่นไหวสามโหมด รวมทั้งโหมดสำหรับภาพกีฬา

เลนส์นี้มีระบบ Dual Sensing IS (ระบบป้องกันภาพสั่นไหว) ซึ่งใช้ข้อมูลจากเซนเซอร์ไจโรในเลนส์และเซนเซอร์ภาพในตัวกล้องเพื่อให้ป้องกันภาพสั่นไหวสูงสุดถึงห้าสต็อป ผลที่ได้คือ เพิ่มความเชื่อถือได้ในการถ่ายภาพแบบถือกล้องด้วยมือซึ่งนับเป็นเรื่องดีมาก นอกจากนี้ ยังมีโหมด IS สามโหมด จากเดิมสองโหมดในเลนส์เวอร์ชันเมาท์ EF

สวิตช์โหมด IS

 

กล้อง EOS R ที่ติดตั้งเลนส์ RF70-200mm f/2.8L IS USM

กล้อง EOS R ที่ติดตั้งเลนส์ RF70-200mm f/2.8L IS USM

 

เลนส์ฮูด: ET-83F (W III)

เลนส์ฮูด ET-83F (W III)

 

โครงสร้างเลนส์

แผนภาพโครงสร้างเลนส์ RF70-200mm f/2.8L IS USM

A: ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม (ฉบับภาษาอังกฤษ)
B: ชิ้นเลนส์ UD (ฉบับภาษาอังกฤษ)
C: ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม UD
D: SWC (ฉบับภาษาอังกฤษ)
การเคลือบฟลูออรีน (ฉบับภาษาอังกฤษ) กันรอยเปื้อนบนพื้นผิวด้านหน้าและหลังของเลนส์

 

ข้อมูลจำเพาะที่สำคัญ

โครงสร้างเลนส์: 17 ชิ้นเลนส์ใน 13 กลุ่ม
ระยะโฟกัสใกล้สุด: 0.7 ม.
กำลังขยายสูงสุด: 0.23 เท่า
จำนวนม่านรูรับแสง: 9 (กลีบ)
เส้นผ่านศูนย์กลางฟิลเตอร์: 77 มม.
ขนาด: φ89.9×146.0 มม.
น้ำหนัก: ประมาณ 1,070 กรัม (ไม่รวมเมาท์สำหรับขาตั้งกล้อง)

 

ภาพตัวอย่าง

เงาสะท้อนของต้นไม้ในฤดูใบไม้ร่วง

EOS R/ RF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 70 มม./ Manual exposure (f/7.1, 1/40 วินาที)/ ISO 400/ WB: แสงแดด

ต้นไม้ที่มีสีสันของฤดูใบไม้ร่วงสะท้อนลงบนสระน้ำที่อยู่ลึกเข้าไปในป่าเขา ในการถ่ายภาพให้ทั้งกิ่งก้านที่มีใบไม้สีสันสดใสและลำต้นของต้นไม้อยู่ในเฟรมได้นั้น ผมต้องอยู่ในท่าโก้งโค้งไม่มั่นคง แต่ก็ยังสามารถถ่ายภาพที่คมชัดได้โดยไม่เห็นการสั่นของกล้องเพราะมีระบบ IS

 

กระท่อมมุงจากหลังเล็กในทุ่งหญ้า

EOS R/ RF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 70 มม./ Manual exposure (f/2.8, 1/1,600 วินาที)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ

กระท่อมมุงจากหลังเล็กกลางทุ่งหญ้าเงียบสงบ ดอกคอสมอสที่อยู่ด้านหน้าเพิ่มความน่ารักให้กับฉากที่ดูเหนือกาลเวลานี้ โบเก้นุ่มนวลในส่วนโฟร์กราวด์ด้วยรูรับแสงกว้างสุด f/2.8 ทำให้ภาพทั้งภาพดูมีบรรยากาศอ่อนโยนละมุนละไม

*เนื่องจากรีวิวนี้ใช้เลนส์รุ่นก่อนการผลิต รูปลักษณ์ภายนอกและคุณภาพของภาพที่ได้จากผลิตภัณฑ์อาจแตกต่างไปจากนี้

~~~

ศึกษาความเป็นมาของเลนส์ซูม EF f/2.8L จาก Canon ได้ใน:
ประวัติที่แทบไม่มีใครรู้ของเลนส์ซูม f/2.8L และ f/4L ของ Canon

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีของเลนส์ RF และเลนส์ RF รุ่นอื่นๆ ได้ที่:
จุดโฟกัส: เลนส์ RF

หากกำลังตัดสินใจว่าจะซื้อกล้อง EOS R หรือ EOS RP ดี โปรดดูที่:
EOS R หรือ EOS RP เลือกใช้กล้องรุ่นไหนดี

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Takashi Karaki

หลังจากผ่านประสบการณ์การเป็นโค้ชกีฬา ต่อด้วยการทำงานในแวดวงการผลิตนิตยสารและบรรณาธิการมาเป็นเวลา 10 ปี Karaki ก็ย้ายไปยังเมืองโยนาโงะในจังหวัดท็อตโตริ ซึ่งเขาได้กลายเป็นที่รู้จักจากผลงานการถ่ายภาพทิวทัศน์ในภูมิภาคซันอินของญี่ปุ่น ผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์ใน จุลสาร Amazing Village ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับหมู่บ้านสวยๆ ในญี่ปุ่นที่จัดทำขึ้นภายใต้โครงการความร่วมมือ CANON × Discover Japan ในปี 2017 และภาพทะเลหมอกที่ช่องเขาอาเคชิในจังหวัดท็อตโตริก็เป็นหนึ่งใน 12 ภาพที่ได้รับคัดเลือกจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น (JNTO) ให้เป็นตัวแทนของญี่ปุ่น

Instagram: @karakky0918

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา