ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ถ่ายภาพสวยดั่งใจ: รถไฟท่ามกลางทิวทัศน์ฤดูใบไม้ร่วงตระการตา

2019-08-21
5
654
ในบทความนี้:

Hirokazu Nagane ช่างภาพทางรถไฟผู้มีชื่อเสียงจากภาพ “ทิวทัศน์รถไฟ” อันน่าทึ่ง ซึ่งถ่ายภาพรถไฟและทัศนียภาพสวยงามไว้ด้วยกันโดยที่องค์ประกอบทั้งสองอย่างต่างดึงดูดสายตาผู้ชมได้ไม่แพ้กัน จะมาแบ่งปันเคล็ดลับในการถ่ายภาพนี้ด้วยกล้อง EOS R (เรื่องโดย: Hirokazu Nagane, Digital Camera Magazine)

รถไฟท่ามกลางต้นไม้ในฤดูใบไม้ร่วง

EOS R/ RF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 98 มม./ Manual exposure (f/11, 1/640 วินาที, EV±0)/ ISO 800/ WB: แสงแดด
เส้นทางรถไฟ: สาย JR Yonesaka (วิ่งระหว่างจังหวัดยามากะตะกับจังหวัดนีงะตะ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น)

 

ขั้นตอนพื้นฐานของการถ่ายภาพทิวทัศน์รถไฟ

หนึ่งในพื้นฐานของการถ่ายภาพทิวทัศน์รถไฟ ซึ่งต่างจากการถ่ายภาพทางรถไฟทั่วไปคือ การขยับเข้าใกล้ส่วนที่สวยที่สุดของฉาก ซึ่งไม่ใช่การถ่ายภาพโคลสอัพของรถไฟ ดังนั้น ผมจึงเลือกการตั้งค่าการเปิดรับแสงที่ได้ผลดีที่สุดสำหรับทิวทัศน์ธรรมชาติเสมอ ส่วนรถไฟนั้นเป็นสิ่งที่ผมให้ความสำคัญเป็นอันดับสอง

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการถ่ายภาพลักษณะนี้เป็นการถ่ายภาพทางรถไฟอีกรูปแบบหนึ่งด้วย ตัวรถไฟจึงต้องดึงดูดความสนใจได้มากพอเช่นกัน การสร้างความสมดุลนี้อาจเป็นหนึ่งในแง่มุมที่ท้าทายที่สุดของการถ่ายภาพแนวนี้


สิ่งที่ทำให้ภาพนี้ได้ผล: การจัดแสง

ภาพนี้ถ่ายในสภาวะที่มีแสงด้านหลัง ซึ่งไม่เพียงแต่เพิ่มมิติความลึกให้กับฉาก แต่ยังทำให้ส่วนต่างๆ ในฉากดูส่องประกายอีกด้วย ดังนั้น ใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วงจึงมีสีสันเข้มขึ้นและสดใสยิ่งขึ้น

สภาพย้อนแสงทำให้ด้านหน้าของรถไฟมีส่วนที่ดูมืดเกินไปอยู่บ้าง แต่ก็แทบจะสังเกตไม่เห็น ไฟหน้าและหลังคาของรถไฟที่ส่องประกายท่ามกลางแสงแดดนั้นเพียงพอแล้วที่จะดึงดูดความสนใจของเรา

 

3 เทคนิคเพื่อถ่ายภาพได้สวยดั่งใจ


1. หน้าจอ EVF: เปลี่ยนหน้าจอเพื่อให้ไอคอนทั้งหมดอยู่ด้านนอกตัวอย่างภาพ

ตามค่าเริ่มต้นแล้ว EVF จะแสดงการแสดงผลแบบที่ 1 ซึ่งเป็นการแสดงตัวอย่างภาพแบบเต็มหน้าจอที่ไอคอนการถ่ายภาพจะวางซ้อนกันบนภาพตัวอย่าง ผมใช้การแสดงผลแบบที่ 2 ซึ่งจะนำไอคอนต่างๆ ไปไว้ด้านนอก เพื่อให้ผมมองเห็นตัวแบบได้อย่างชัดเจนจนถึงขอบภาพ

หน้าจอ EVF แบบเต็มหน้าจอ

การแสดงผลแบบที่ 1

หน้าจอ EVF ที่มีขอบ

การแสดงผลแบบที่ 2

หากต้องการเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผล ให้ไปที่ “รูปแบบการแสดงผลของช่องมองภาพ” ในเมนู SET UP

 

2. การโฟกัส: ปิดกลไกการหดเลนส์กลับอัตโนมัติเมื่อปิดเครื่อง

เมื่อคุณถ่ายภาพทิวทัศน์รถไฟ การต้องรอคอยเป็นเวลานานๆ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผมมักจะมีขั้นตอนการทำงานดังนี้

ขั้นตอนที่ 1: ตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดเฟรมภาพ
ขั้นตอนที่ 2: หาจุดที่จะจับโฟกัส แล้วจับโฟกัสล่วงหน้า ตรวจดูให้แน่ใจว่าคุณกำลังใช้ AF ด้วยปุ่มด้านหลัง หากไม่ใช่ โฟกัสจะเปลี่ยนไปเมื่อคุณกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง
ขั้นตอนที่ 3: ปิดกล้องจนกว่ารถไฟจะเข้ามาใกล้

อย่างไรก็ตาม ตามค่าเริ่มต้นของกล้อง เมื่อคุณปิดกล้องแล้ว ไม่ว่าจะใช้เลนส์ EF หรือเลนส์ RF โฟกัสจะรีเซ็ตไปที่ระยะอนันต์ ทำให้คุณเสียตำแหน่งโฟกัสที่ตั้งไว้อย่างพิถีพิถันในขั้นตอนที่ 2

ดังนั้น ต้องปิดฟังก์ชั่น “หดเลนส์กลับเมื่อปิดเครื่อง” เพื่อไม่ให้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้น

สเกลบอกระยะชัดของ Canon ที่ระยะอนันต์

ตามค่าเริ่มต้นนั้น การปิดกล้องจะเป็นการรีเซ็ตตำแหน่งโฟกัสบนเลนส์ EF/RF โดยอัตโนมัติ: สังเกตว่าสเกลบอกระยะชัดจะขยับไปที่ “∞”

เมนูหดเลนส์กลับเมื่อปิดเครื่องของกล้อง EOS R

ป้องกันปัญหานี้ได้โดยตั้งค่า “หดเลนส์กลับเมื่อปิดเครื่อง” เป็น “ปิด”

 

3. การจัดองค์ประกอบภาพ: แบ่งเฟรมออกเป็น 4 ส่วน และจัดให้รถไฟอยู่ในเฟรมใดเฟรมหนึ่ง

ช่างภาพท่านอื่นๆ อาจมีความคิดที่ต่างออกไป แต่ทฤษฎีของผมคือ ถ้าคุณแบ่งทั้งฉากออกเป็นสี่ส่วนและจัดให้รถไฟอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่ง รถไฟจะดูเด่นยิ่งขึ้นในภาพ

ในการจัดเฟรมภาพนี้ ผมพยายามไม่แสดงฉากมากจนเกินไป เพื่อสร้างความประทับใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับทิวทัศน์ให้กับผู้ชม

ภาพด้านล่างแสดงฉากในภาพหลักในมุมมองที่กว้างขึ้น ผมเลือกที่จะซูมเข้าไปใกล้ในส่วน C

ทิวทัศน์รถไฟแสดงจุดองค์ประกอบภาพ

A: กันส่วนนี้ออกไปนอกเฟรมหลังจากพิจารณาการวางตำแหน่งของรางรถไฟแล้ว

B: กันแนวภูเขาไว้นอกเฟรมเช่นกัน การวางองค์ประกอบเช่นนี้ไว้ในเฟรมจะทำให้ผู้ชมเห็นสัดส่วนจริงของทิวทัศน์มากเกินไป

C: ส่วนนี้คือส่วนของฉากที่ผมตัดสินใจเก็บไว้ในภาพ ผมแบ่งเฟรมออกเป็น 4 ส่วน และจัดให้รถไฟอยู่ในเฟรมใดเฟรมหนึ่ง


สำหรับเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบภาพ โปรดดูที่:
เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพอย่างมืออาชีพ (1): เส้นนำสายตา จังหวะที่ไม่คาดคิด และการตัดส่วนเกิน


คุณสมบัติที่มีประโยชน์ 2 ข้อสำหรับการถ่ายภาพรถไฟ

1. EVF

ผมชอบมองผ่านช่องมองภาพเพื่อถ่ายภาพรถไฟ เพราะผมรู้สึกว่ามันช่วยให้ผมมีสมาธิดีขึ้นในการถ่ายภาพรถไฟที่กำลังเคลื่อนที่ ท่ามกลางสภาพแสงที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การมี EVF เป็นข้อได้เปรียบสำคัญ เพราะผมสามารถเห็นได้ว่าภาพสุดท้ายจะดูเป็นอย่างไรโดยไม่ต้องหันไปตรวจสอบภาพตัวอย่างใน Live View

2. พื้นที่ AF ขนาดใหญ่

ในการถ่ายภาพรถไฟ เรามักจะตั้งจุดโฟกัสไว้ที่มุมของเฟรมภาพ ซึ่งช่วยให้มีพื้นที่ AF ขนาดใหญ่ ในกล้อง EOS R นั้น พื้นที่ AF ครอบคลุมเฟรมภาพเกือบทั้งหมด (แนวนอน 88% × แนวตั้ง 100%) ทั้งในการถ่ายภาพแบบ Live View และผ่าน EVF ซึ่งทำให้จับโฟกัสได้ง่ายมากๆ

 

รู้หรือไม่ว่าการใช้หัวขาตั้งกล้องวิดีโอสามารถช่วยให้คุณถ่ายภาพรถไฟแบบแพนกล้องได้ อ่านเพิ่มเติมได้ที่
เคล็ดลับที่มืออาชีพใช้ในการถ่ายภาพด้วยขาตั้งกล้อง

สำหรับเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพรถไฟ โปรดดูที่:
วิธีถ่ายภาพรถไฟที่กำลังเคลื่อนที่ให้น่าประทับใจด้วยการถ่ายภาพต่อเนื่อง
ทางรถไฟ – การจัดองค์ประกอบภาพและคุณสมบัติเด่นของกล้องเพื่อการถ่ายภาพช่วงเวลาอันน่าประทับใจ
การถ่ายทอดโทนสีดีเยี่ยมและการเกลี่ยแสงสวยสร้างความรู้สึกสมจริงให้กับภาพถ่ายรถไฟ

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับฟังก์ชั่นของกล้อง EOS R และวิธีใช้ได้ในบทความ:
สถานที่น่าสนใจในสวิตเซอร์แลนด์: 5 วิธีใช้กล้อง EOS R ให้คุ้มค่าที่สุด
เทคนิคการถ่ายภาพดวงดาวที่ควรลองใช้กับ EOS R
6 คุณสมบัติของกล้อง EOS R ที่เป็นประโยชน์ต่อการถ่ายภาพภูเขาและก้อนเมฆ

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Hirokazu Nagane

เกิดในโยโกฮาม่าในปี 1974 หลังจบการศึกษาจาก Musashi Institute of Technology (ปัจจุบันเรียกกันว่า "Tokyo City University") เขาได้เรียนถ่ายภาพจากช่างภาพทางรถไฟ Mitsuhide Mashima ซึ่งเป็นซีอีโอของ Mashima Railway Pictures ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาเคยมีส่วนร่วมในการอธิบายเทคนิคการถ่ายภาพทางรถไฟให้กับนิตยสารถ่ายภาพ และเขียนคู่มือการถ่ายภาพทางรถไฟ เขาเดินทางไปทั่วประเทศญี่ปุ่นเพื่อถ่ายภาพรถไฟพร้อมกับยึดคติประจำใจที่ว่า "ถ่ายภาพให้ดูสมจริงจนคุณได้ยินเสียงของรถไฟแม้เพียงแค่มองดูภาพถ่าย"

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา