ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพอย่างมืออาชีพ (1): เส้นนำสายตา จังหวะที่ไม่คาดคิด และการตัดส่วนเกิน

2019-03-20
21
86.94 k
ในบทความนี้:

ในเทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพขั้นพื้นฐาน เช่น กฎสามส่วนและการจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลาง คุณได้เรียนรู้ถึงวิธีในการแบ่งเฟรมและการจัดวางตำแหน่งของตัวแบบ แต่เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพขั้นสูงจะมีความซับซ้อนมากขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากคุณต้องคิดถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแบบกับองค์ประกอบอื่นๆ ในภาพ รวมถึงเอฟเฟ็กต์ภาพจากมุมมองของผู้ชม อย่างไรก็ตาม การฝึกฝนเทคนิคเหล่านี้จนชำนาญจะช่วยให้สามารถถ่ายทอดอารมณ์ผ่านภาพถ่ายได้ดียิ่งขึ้น

โดยเริ่มจากสามแนวคิด ดังนี้ เส้นนำสายตา จังหวะที่ไม่คาดคิด และการตัดส่วนเกิน (เรื่องโดย: Tatsuya Tanaka)

 

1. เส้นนำสายตา: เส้นต่างๆ สามารถดึงความสนใจของผู้ชมได้!

การจัดองค์ประกอบภาพตามเส้นแนวทแยงมุม

เส้นนำสายตาเป็นเทคนิคการใช้เส้นต่างๆ ที่อยู่ในเฟรมภาพในการดึงดูดสายตาของผู้ชมไปยังตัวแบบหลัก เส้นเหล่านี้มักอยู่ในรูปแบบขององค์ประกอบอย่างเช่น ถนน แม่น้ำ หรือทางรถไฟ ซึ่งอาจทอดยาวจากด้านหน้าไปยังด้านหลังภาพ จากด้านซ้ายไปยังด้านขวา หรือในรูปแบบอื่นๆ และเนื่องจากเส้นเหล่านี้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ผู้ชมจึงเข้าใจจุดมุ่งหมายของช่างภาพได้อย่างง่ายดาย

เส้นนำสายตาสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ในภาพได้ด้วยการดึงดูดสายตาของผู้ชม

และหากเส้นทอดยาวจากด้านหน้าไปยังด้านล่าง เส้นนำสายตาจะช่วยสร้างมิติความลึกในภาพได้อีกด้วย 

 

การใช้ทางรถไฟเพื่อดึงความสนใจของคนดูไปที่อุโมงค์

ทางรถไฟ อุโมงค์ และรถไฟ

ทางรถไฟที่ไม่มีรถไฟ
ภาพเน้นที่รถไฟ

ในทั้งสองภาพ ทางรถไฟดึงดูดสายตาของผู้ชมไปที่อุโมงค์ แต่ภาพแรกถ่ายทอดอารมณ์ได้ดีกว่าอีกภาพ 

ภาพเสียทำพลาดไปอย่างไร
อุโมงค์อยู่ในตำแหน่งต่ำกว่าเล็กน้อยจากส่วนบนของภาพ แม้ว่าสายตาของผู้ชมจะมองตามเส้นที่เกิดจากทางรถไฟ แต่ก็ถูกดึงความสนใจไปที่องค์ประกอบจำนวนมากที่อยู่ด้านบนอุโมงค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบไม้เปลี่ยนสีที่อยู่บนภูเขาเหนืออุโมงค์

ภาพที่ดีทำได้ดีตรงไหน
อุโมงค์อยู่ในตำแหน่งส่วนบน ทำให้ทางรถไฟดูยาวขึ้น กินพื้นที่ในภาพมากขึ้น และสร้างเส้นนำสายตาไปยังอุโมงค์ได้ดียิ่งขึ้น 

 

ใช้ถนนในไร่ดึงความสนใจของผู้ชมไปที่บ้านหลังน้อย

ถนนในไร่และบ้าน

บ้านด้านหลังทุ่งนา
แผนภาพแสดงถนนและทิศทางการมองของผู้ชม

ในภาพที่ดี ผมต้องการให้สายตาของผู้ชมจับจ้องไปที่บ้านหลังคามุงจากที่อยู่ัถัดไปจากทุ่งนาในด้านซ้ายของภาพ

ภาพเสียทำพลาดไปอย่างไร
ในภาพที่มีเครื่องหมาย “X” องค์ประกอบภาพถูกจัดวางไว้ข้างๆ กันและดึงความสนใจไปที่บ้านทั้งสองหลังเท่าๆ กัน แม้ว่าจะมองเห็นถนนด้านหน้า แต่ก็ดูกลมกลืนไปกับเส้นแนวนอนอื่นๆ ในภาพและไม่ชัดเจนพอที่จะสร้างเอ็ฟเฟ็กต์ได้มากนัก

ภาพที่ดีทำได้ดีตรงไหน
ถนนในไร่อยู่ในโฟร์กราวด์ของภาพและดึงความสนใจของผู้ชมไปโดยอัตโนมัติ เส้นนำสายตาจะนำสายตาของผู้ชมไปที่ถนน ผ่านทุ่งนาไปยังบ้านหลังคามุงจากที่อยู่ด้านซ้ายซึ่งเป็นจุดสุดท้ายที่ผมต้องการ

 

สิ่งที่ไม่คาดคิด: ค้นหามุมมองที่ต่างจากมุมมองปกติทั่วไป

ไอคอนจังหวะที่ไม่คาดคิด

หากรู้สึกว่าภาพถ่ายของคุณดูเหมือนๆ กันไปหมด นั่นอาจเป็นเพราะว่าคุณถ่ายภาพโดยใช้มุมเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก และผู้ชมก็จะเบื่อไปด้วย ในการแก้ไขปัญหานี้ คุณต้องมองตัวแบบในรูปแบบที่ต่างไปจากเดิม และการเปลี่ยนแปลงวิธีในการมองภาพผ่านเลนส์ก็อาจช่วยได้เช่นกัน

 

ทดลองทำสิ่งต่อไปนี้เพื่อให้ได้มุมมองที่แตกต่าง

- เปลี่ยนทางยาวโฟกัส เช่น หากต้องการถ่ายภาพมุมกว้าง ลองท้าทายตัวเองด้วยการถ่ายภาพระยะไกล หรือทำสลับกัน ซึ่งจะเป็นการบังคับให้คุณต้องเปลี่ยนการจัดองค์ประกอบภาพ

- ขยับกล้องให้สูงขึ้นหรือต่ำลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ขาตั้งกล้อง อย่ากลัวที่จะทดลองขยับกล้องให้สูงขึ้นหรือต่ำลงอย่างน้อย 10 ซม. เพื่อให้เห็นสิ่งต่างๆ ในมุมมองที่แปลกใหม่ 

- ลองเปลี่ยนมุมกล้อง เช่น แทนที่จะหันหน้าเข้าหาตัวแบบตรงๆ ลองดูว่าจะได้ภาพถ่ายที่ดีหรือไม่หากถ่ายภาพจากด้านข้าง เอียงกล้อง หรือลองถ่ายภาพจากมุมต่ำหรือมุมสูง หากมีหน้าจอ LCD แบบปรับหมุนได้ ก็ควรนำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่! (คลิกที่นี่เพื่ออ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับตำแหน่งและมุม)

- ขยับเข้าใกล้ตัวแบบมากขึ้น เพียงไม่กี่เซ็นติเมตรก็อาจเปลี่ยนพลังขององค์ประกอบภาพได้

 

มุมมองที่ต่างไปอาจถ่ายทอดอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น

กอริลล่ากับลูก

 ภาพที่คุณมักถ่าย
 ภาพนี้เป็นการถ่ายระยะไกลโดยหันหน้าเข้าหากอริลล่าที่กำลังนั่งพักผ่อนอยู่ ให้บรรยากาศที่ผ่อนคลาย แม้ว่าภาพนี้จะสามารถเก็บบรรยากาศและสภาพแวดล้อมไว้ได้ แต่อย่าหยุดเพียงเท่านั้น 

 

ภาพพอร์ตเทรตของกอริลล่า

ภาพพอร์ตเทรตของนักปราชญ์
ภาพนี้แตกต่างจากภาพที่แล้วโดยสิ้นเชิงใช่ไหม ผมเพียงแค่เปลี่ยนตำแหน่งถ่ายภาพและทางยาวโฟกัสเท่านั้น จากนั้น ผมก็สังเกตเจ้ากอริลล่าและเก็บภาพจังหวะที่มันวางนิ้วที่ปาก ผลที่ได้คือ กอริลล่าดูเหมือนเป็นนักปราชญ์สูงอายุที่กำลังครุ่นคิด 

 

คู่รักกอริลล่า

ถ่ายทอดช่วงเวลาหวานซึ้ง
ในภาพนี้ ผมวางตำแหน่งลิงชิมแปนซีสองตัวไว้ทางซ้ายและทางขวาให้ดูเหมือนเป็นคู่รักกัน ในระหว่างที่จัดองค์ประกอบภาพ ผมพยายามจินตนาการว่าบุคคลที่สามจะรู้สึกอย่างไรเมื่อเห็นภาพนี้ หากคุณวางเฟรมภาพได้ดี ก็จะสามารถเล่าเรื่องราวผ่านภาพถ่ายได้

 

การตัดส่วนเกิน: ตัดองค์ประกอบที่ดึงความสนใจของผู้ชมออกไป เพื่อทำให้ตัวแบบดูโดดเด่นขึ้น

ไอคอนการตัดส่วนเกิน

เมื่อไหร่ก็ตามที่ถ่ายภาพด้วยความรีบร้อน หรือไม่ทันได้เช็คองค์ประกอบภาพผ่านช่องมองภาพ บ่อยครั้งสิ่งที่ไม่ต้องการมักจะปรากฏอยู่ในภาพด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณขอบภาพ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเมื่อช่องมองภาพของกล้องมีมุมมองที่ครอบคลุมไม่ถึง 100%

เมื่อ “ตัด” องค์ประกอบส่วนเกิน คุณจะต้องจัดองค์ประกอบภาพใหม่ วิธีการง่ายๆ ก็คือใช้ทางยาวโฟกัสที่ยาวขึ้นซึ่งจะช่วยตัดองค์ประกอบเหล่านี้ออกไปและทำให้ภาพดูเรียบง่ายขึ้น (เรียนรู้วิธีการได้ที่ พัฒนาทักษะการถ่ายภาพท่องเที่ยวของคุณด้วย EOS M10 ตอนที่ 3: การใช้เลนส์ซูมเทเลโฟโต้)

 

"การตัดส่วนเกิน" ช่วยให้ตัวแบบดูโดดเด่นขึ้น

ภาพโคลสอัพของต้นไม้ในบึง

 

ภาพมุมกว้างของต้นไม้ในบึง

ภาพเสียมีองค์ประกอบอยู่เป็นจำนวนมาก เราจึงไม่แน่ใจว่าควรเล็งสายตาไปที่จุดใด การใช้ทางยาวโฟกัสที่ยาวขึ้นจะช่วยกำจัดองค์ประกอบที่ไม่ต้องการออกไปได้ ผลลัพธ์ก็คือ มีองค์ประกอบภาพที่เรียบง่ายขึ้น ซึ่งดึงดูดสายตาของเราไปยังต้นไม้ที่เป็นจุดสนใจหลักที่เราต้องการ

 

แสดงจุดมุ่งหมายในการถ่ายภาพอย่างชัดเจน

ภาพโคลสอัพของดอกไม้ในแปลงดอกไม้

 

ภาพดอกไม้ที่มีบ้านอยู่ในฉากหลัง

ในภาพเสียมีการจัดองค์ประกอบภาพแบบ “รักพี่เสียดายน้อง” เนื่องจากพยายามที่จะเก็บทุกอย่างที่มองเห็นจากจุดที่ถ่ายภาพ แต่การทำเช่นนั้นจะทำให้จุดมุ่งหมายของช่างภาพคลุมเครือไม่ชัดเจน ในทางกลับกัน ภาพที่ดีได้ตัดส่วนที่ระเกะระกะในฉากหลังออกไป แล้วทำให้ตัวแบบหลักกินพื้นที่ในเฟรมมากขึ้นเพื่อทำให้จุดมุ่งหมายในการถ่ายภาพชัดเจนมากขึ้น

 

ดูบทความต่อเนื่องเกี่ยวกับเทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพอย่างมืออาชีพได้ที่
2. “รูปแบบและจังหวะ” และ “เส้นโค้งรูปตัว S”
3. ดึงความสามารถสูงสุดของเลนส์มาใช้
4. การใช้งานเลนส์พิเศษ

หากต้องการกลับไปอ่านเทคนิคพื้นฐาน อ่านได้ที่
พื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพ: การจัดเฟรมภาพ ระดับแนวนอน และระดับแนวตั้ง

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Tatsuya Tanaka

เกิดเมื่อปี 1956 Tanaka เป็นหนึ่งในช่างภาพที่หาตัวจับยาก ซึ่งได้สร้างผลงานไว้หลากหลายแนวจากมุมมองที่เป็นแบบฉบับของตัวเอง เขาถ่ายภาพในรูปแบบต่างๆ มากมายตั้งแต่สิ่งที่มองเห็นในชีวิตประจำวัน เช่น แมลงและดอกไม้ ไปจนถึงภาพทิวทัศน์ ตึกสูง และดวงดาวบนท้องฟ้าเลยทีเดียว นอกเหนือจากการถ่ายภาพแล้ว Tanaka ยังพัฒนาวิธีการของตัวเองในกระบวนการปรับแต่งภาพรวมทั้งการรีทัชและการพิมพ์ขึ้นมาอีกด้วย

http://tatsuya-t.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา