พัฒนาทักษะการถ่ายภาพท่องเที่ยวของคุณด้วย EOS M10 ตอนที่ 3: การใช้เลนส์ซูมเทโลโฟโต้
เลนส์เทโลโฟโต้ช่วยให้ถ่ายภาพโคลสอัพขนาดใหญ่ของวัตถุที่อยู่ไกลออกไป ซึ่งคุณไม่สามารถเข้าใกล้ด้วยตัวเอง และยังใช้ในการจับภาพส่วนที่น่าสนใจของวัตถุนั้นๆ ได้ในระยะใกล้ ในบทความนี้ เราจะมาดูวิธีการใช้งานเลนส์ซูมเทโลโฟโต้ เพื่อทำให้การเดินทางและภาพถ่ายแนวสตรีทของคุณดูน่าตื่นตาตื่นใจยิ่งกว่าที่เคย (ภาพโดย: Takeshi Akaogi, บรรณาธิการโดย: Etica)
EOS M10/ EF-M55-200mm f/4.5-6.3 IS STM/ FL: 200 มม. (เทียบเท่า 320 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8, 1/320 วินาที, EV±0)/ ISO 320/ WB: อัตโนมัติ
ถ่ายภาพที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยใช้เลนส์ซูมเทเลโฟโต้จับภาพตัวแบบน่าสนใจที่อยู่ห่างไกลได้ในระยะใกล้
ทางยาวโฟกัสมุมกว้างและทางยาวโฟกัสเทโลโฟโต้ให้ขอบเขตการมองเห็นภาพที่แตกต่างกันมาก
เวลาพบเห็นฉากที่น่าสนใจ แต่ไม่สามารถขยับเข้าไปใกล้ด้วยตนเอง คุณสามารถใช้เลนส์ซูมเทเลโฟโต้จับภาพฉากนั้นในแบบโคลสอัพ และแม้แต่เก็บรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ได้เต็มทั้งเฟรม ผมถ่ายภาพตึกแห่งนี้กลางป่า ซึ่งดูราวกับถ่ายมาจากหนังสือภาพ เมื่อใช้ทางยาวโฟกัสสั้นที่สุดของเลนส์ซูมมาตรฐาน ผมสามารถถ่ายภาพตึกที่ตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลางทิวทัศน์สีเขียวขจี แต่เมื่อใช้ทางยาวโฟกัสยาวที่สุดของเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ ผมสามารถเลือกจับภาพเฉพาะหน้าต่างทรงน่ารักๆ ของตึกได้ในระยะใกล้
EOS M10/ EF-M55-200mm f/4.5-6.3 IS STM/ FL: 200 มม. (เทียบเท่า 320 มม.)/ Aperture-priority AE (f/6.3, 1/320 วินาที, EV+1)/ ISO 1000/ WB: อัตโนมัติ
EOS M10/ EF-M15-45mm f/3.5-6.3 IS STM/ FL: 24 มม. (เทียบเท่า 38 มม.)/ Aperture-priority AE (f/3.5, 1/640 วินาที, EV+0.7)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
ผมถ่ายทอดรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ด้วยการขยายส่วนหนึ่งของห้องให้ใหญ่ขึ้น โดยใช้ทางยาวโฟกัสยาวที่สุดของเลนส์เทเลโฟโต้ (ภาพซ้าย) ขณะเดียวกัน ผมสามารถถ่ายทอดความกว้างขวางของห้องไว้ในภาพโดยใช้ทางยาวโฟกัสสั้นสุดของเลนส์ซูมมาตรฐาน (ภาพขวา)
EOS M10/ EF-M55-200mm f/4.5-6.3 IS STM/ FL: 200 มม. (เทียบเท่า 320 มม.)/ Aperture-priority AE (f/6.3, 1/40 วินาที, EV±0)/ ISO 6400/ WB: อัตโนมัติ
EOS M10/ EF-M15-45mm f/3.5-6.3 IS STM/ FL: 15 มม. (เทียบเท่า 24 มม.)/ Aperture-priority AE (f/3.5, 1/60 วินาที, EV±0)/ ISO 1000/ WB: อัตโนมัติ
ถ่ายภาพตัวแบบของคุณโดยไม่เกิดความบิดเบี้ยว โดยใช้เลนส์เทเลโฟโต้
คุณสมบัติอย่างหนึ่งของเลนส์เทเลโฟโต้คือ ความสามารถในการถ่ายภาพตัวแบบโดยเกิดความบิดเบี้ยวเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย นอกจากนี้ เนื่องจากมุมรับภาพแคบลง ยิ่งทางยาวโฟกัสยาวขึ้น องค์ประกอบในแบ็คกราวด์จะดูเหมือนเข้าใกล้ตัวแบบมากขึ้นราวกับอยู่ชิดด้านหลัง ซึ่งเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “เอฟเฟ็กต์การบีบภาพ” ทิวทัศน์ในแบ็คกราวด์สามารถเปลี่ยนแปลงได้มาก แม้ว่าจะขยับตำแหน่งของกล้องเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ เลนส์เทเลโฟโต้ยังมีคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งคือ มักตัดองค์ประกอบที่ไม่จำเป็นในแบ็คกราวด์ออกไปจากภาพ
เมื่อเปรียบเทียบกับภาพมุมกว้าง 15 มม. (ภาพขวา) จะเห็นได้ว่า ภาพเทเลโฟโต้ 200 มม. (ภาพซ้าย) แทบไม่มีความบิดเบี้ยว และป่าในแบ็คกราวด์ดูราวกับอยู่ชิดด้านหลังตัวแบบ
EOS M10/ EF-M55-200mm f/4.5-6.3 IS STM / FL: 200 มม. (เทียบเท่า 320 มม.)/ Aperture-priority AE (f/6.3/ 1/320 วินาที, EV+1)/ ISO 320/ WB: อัตโนมัติ
EOS M10/ EF-M15-45mm f/3.5-6.3 IS STM/ FL: 24 มม. (เทียบเท่า 38 มม.)/Aperture-priority AE (f/3.5, 1/640 วินาที, EV+1.0)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
เคล็ดลับ: สิ่งที่คุณควรทราบเมื่อใช้เลนส์เทเลโฟโต้
ข้อควรทราบอย่างหนึ่งคือ ภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์เทเลโฟโต้มักเกิดการเบลอได้ง่ายเมื่อกล้องสั่นไหว เนื่องจากเลนส์เทเลโฟโต้ทำงานด้วยการขยับเข้าใกล้และ “ขยาย” ตัวแบบหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวแบบ อาการกล้องสั่นแม้เพียงนิดเดียวจึงอาจเพิ่มขึ้นและส่งผลให้เกิดภาพเบลอมากขึ้น ก่อนถ่ายภาพจึงควรพยายามตั้งกล้องให้มั่นคง แล้วควรตั้งค่าระบบป้องกันภาพสั่นไหว ไปที่ “โหมด IS – ต่อเนื่อง” จากส่วน “การตั้งค่า IS” ในเมนู
ขณะถ่ายภาพ จับกล้องทั้ง 2 ด้านให้แน่นและมั่นคง และใช้มือซ้ายรองรับกล้องจากด้านล่าง ดึงและยืดสายคล้องกล้องเพื่อให้รองรับได้ดีขึ้นและมั่นคงยิ่งขึ้นขณะถ่ายภาพ
บทความนี้เป็นตอนที่ 3 แล้ว หากต้องการอ่านตอนก่อนหน้านี้ โปรดดูที่:
#1: การใช้โบเก้เพื่อทำให้ตัวแบบดูโดดเด่น
#2: การใช้การตั้งค่ารูรับแสงและรูปแบบภาพ
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ EOS M10 โปรดดูที่บทความนี้:
จุดโฟกัส: เทคนิคและรีวิว M3 และ M10
หากต้องการทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับ EF-M55-200mm f/4.5-6.3 IS STM และคุณสมบัติที่เกี่ยวข้อง โปรดอ่านบทความดังต่อไปนี้:
รีวิว EF-M55-200mm f/4.5-6.3 IS STM: เลนส์ซูมเทเลโฟโต้ขนาดกะทัดรัดที่เชื่อถือได้
เทคนิคของเลนส์เทเลโฟโต้: การสร้างโบเก้ซ้อนกันหลายชั้น
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!
เกี่ยวกับผู้เขียน
บริษัท Etica จำกัด เปิดสอนการถ่ายภาพในนามของโรงเรียน “Tanoshii Camera School" ตลอดจนให้บริการตรวจแก้ไขสื่อสิ่งพิมพ์ และวางแผนสื่อและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกล้องและการถ่ายภาพ โดยเน้นหัวข้อด้านการดูแลเด็ก สัตว์ และอาหาร บริษัทยึดคติ “ภาพถ่ายทำให้ทุกๆ คนมีความสุข!” จึงมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดเสน่ห์ของกล้องถ่ายรูปและการถ่ายภาพออกไปในวงกว้าง
ในฐานะช่างภาพ Akaogi ทำงานให้กับนิตยสารต่างๆ เป็นหลัก และเขียนหนังสือแนะนำการถ่ายภาพและเคล็ดลับที่ใช้งานได้จริง นอกจากนี้ Akaogi ยังเป็นผู้ฝึกสอนในเวิร์กช็อปการถ่ายภาพอีกด้วย