ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิดและเทคนิคของเลนส์- Part3

พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ #1: เลนส์ซูม

2017-08-31
9
18.76 k
ในบทความนี้:

เลนส์ซูมทำให้คุณสามารถใช้ทางยาวโฟกัสได้หลากหลายแบบโดยไม่ต้องเปลี่ยนเลนส์ จึงเหมาะแก่การใช้งานอย่างมาก เราลองมาทำความรู้จักกับเลนส์ซูมประเภทต่างๆ รวมถึงคุณสมบัติพิเศษของเลนส์แต่ละประเภทกัน (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)

ภาพด้านบนเกี่ยวกับพื้นฐานของเลนส์

 

เลนส์ซูมเพียงตัวเดียวถ่ายทอดอารมณ์ภาพได้หลากหลายรูปแบบ

ประโยชน์
- เลนส์เพียงตัวเดียวสามารถครอบคลุมช่วงทางยาวโฟกัสกว้าง
- คุณไม่ต้องเปลี่ยนเลนส์ตลอดเวลา

จุดอ่อน
- เลนส์ซูมส่วนใหญ่มีค่า f สูงสุดสูง (รูรับแสงกว้างสุดมีค่าต่ำ)

เลนส์ซูมใช้งานสะดวกอย่างมาก สิ่งที่คุณต้องทำมีแค่หมุนวงแหวนซูมเพื่อเปลี่ยนทางยาวโฟกัสเท่านั้น ซึ่งลดความยุ่งยากในการเปลี่ยนเลนส์ และนั่นหมายความว่าคุณจะพลาดโอกาสในการถ่ายภาพน้อยลง อีกทั้งยังช่วยลดจำนวนเลนส์ที่คุณต้องพกพาอีกด้วย และอุปกรณ์ที่เบาขึ้นคือโบนัสเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณต้องออกเดินทางหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น เดินป่า นี่คือเหตุผลว่าทำไมชุดเลนส์จึงเป็นเลนส์ซูมเกือบทั้งหมดเสมอ

ช่วงทางยาวโฟกัสที่เลนส์สามารถถ่ายได้ (‘ช่วงโฟกัส’ หรือ ‘ช่วงทางยาวโฟกัส’) จะมีระบุไว้บนเลนส์ ตัวอย่างเช่น ช่วง “18 - 55 มม.” หมายความว่าคุณสามารถเปลี่ยนทางยาวโฟกัสเป็นค่าใดก็ได้ระหว่าง (และรวมถึง) 18 มม. ถึง 55 มม. ทางยาวโฟกัสที่สั้นลงจะช่วยให้คุณได้มุมรับภาพที่กว้างขึ้น และทางยาวโฟกัสที่ยาวขึ้นจะช่วยให้คุณเข้าใกล้ตัวแบบที่อยู่ในระยะไกลได้มากขึ้น

สิ่งหนึ่งที่ควรทราบคือ เมื่อเปรียบเทียบกับเลนส์เดี่ยวแล้ว เลนส์ซูมมักจะมีค่า f สูงสุดที่มากกว่า (รูรับแสงกว้างสุดมีค่าต่ำกว่า) ซึ่งหมายความว่าหากคุณใช้เลนส์ซูมเพื่อถ่ายภาพในสถานที่ที่มีแสงน้อย มีแนวโน้มมากขึ้นที่คุณจะต้องใช้ความไวแสง ISO ที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ระดับความเบลอในโบเก้ (ฉบับภาษาอังกฤษ) ที่คุณสามารถสร้างด้วยเลนส์ซูมยังมีจำกัดอีกด้วย เมื่อเทียบกับเลนส์เดี่ยวที่มีรูรับแสงกว้างสุดที่มีขนาดใหญ่กว่า (เราจะอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับโบเก้ในบทความต่อๆ ไป)

 

ไอเดียหลักที่ 1: ประเภทของเลนส์ซูม

เลนส์ซูมมีด้วยกันสี่ประเภท เลนส์ซูมมุมกว้างสามารถเก็บภาพทิวทัศน์เป็นบริเวณกว้าง เลนส์ซูมมาตรฐานและเลนส์ซูมพิเศษครอบคลุมช่วงทางยาวโฟกัสที่หลากหลาย รวมถึงช่วงเทเลโฟโต้ ขณะเดียวกัน เลนส์ซูมเทเลโฟโต้สามารถเก็บภาพระยะใกล้ของตัวแบบที่อยู่ห่างออกไปได้ เลนส์ซูมทั้งสี่ประเภทมีรุ่นที่สามารถใช้ได้ทั้งกับกล้อง DSLR ฟูลเฟรม กล้อง DSLR ขนาด APS-C หรือกล้องมิเรอร์เลสซีรีย์ EOS-M

คุณอาจสนใจอ่านบทความนี้: 
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #9: อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ f/2.8 และ f/4

 

ตัวอย่างของเลนส์ซูมมุมกว้าง

เลนส์ซูมมุมกว้าง
(1) EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM
(2) EF16-35mm f/4L IS USM
(3) EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM

ตัวอย่างของเลนส์ซูมมาตรฐาน

เลนส์ซูมมาตรฐาน
(4) EF-S18-55mm f/3.5-5.6 IS STM
(5) EF24-105mm f/4L IS USM
(6) EF-M18-55mm f/3.5-5.6 IS STM

 
ตัวอย่างของเลนส์ซูมพิเศษ

เลนส์ซูมพิเศษ
(7) EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS STM
(8) EF-M18-150mm f/3.5-6.3 IS STM

ตัวอย่างของเลนส์ซูมเทเลโฟโต้

เลนส์ซูมเทเลโฟโต้
(9) EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM
(10) EF70-300mm f/4-5.6L IS USM
(11) EF-M55-200mm f/4.5-6.3 IS STM

 

ไอเดียหลักที่ 2: ช่วงโฟกัสกว้าง

คนจำนวนมากนิยมใช้เลนส์ซูมเพราะสามารถครอบคลุมช่วงทางยาวโฟกัสที่กว้าง ตัวอย่างเช่น คุณอาจต้องการเลนส์ซูมมาตรฐานตัวเดียวที่ครอบคลุมช่วงทางยาวโฟกัสทั้งหมด ตั้งแต่มุมกว้างจนถึงเทเลโฟโต้ เพราะช่วงดังกล่าวช่วยให้คุณสามารถเปลี่ยนโฉมภาพในขั้นสุดท้าย โดยการรวมฉากไว้ในเฟรมภาพมากขึ้นหรือโดยการเข้าใกล้พื้นที่ที่ต้องการ

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
เอฟเฟ็กต์ภาพที่ได้จากเลนส์มุมกว้าง
เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพอย่างมืออาชีพ – ดึงความสามารถสูงสุดของเลนส์มาใช้
การใช้เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพและโบเก้ขนาดใหญ่ด้วยเลนส์เทเลโฟโต้

 

ที่ 24 มม.

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Program AE (f/9, 1/160 วินาที, EV+0.3)/ ISO 100/ WB: Manual

ที่ 50 มม.

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 50 มม./ Program AE (f/9, 1/200 วินาที, EV+0.3)/ ISO 100/ WB: Manual

 

ที่ 85 มม.

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 85 มม./ Program AE (f/7.1, 1/250 วินาที, EV+0.3)/ ISO 100/ WB: Manual

ที่ 105 มม.

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 105 มม./ Program AE (f/6.3, 1/250 วินาที, EV+0.3)/ ISO 100/ WB: Manual

 

เลนส์ซูม EF24-105 ตัวเดียวครอบคลุมช่วงโฟกัสเหมือนกับเลนส์เดี่ยวถึง 4 ตัว

ดังที่แสดงด้านบน แม้ว่ารูรับแสงกว้างสุดจะแตกต่างกัน แต่ EF24-105mm f/4L IS USM ครอบคลุมช่วงโฟกัสเหมือนกับเลนส์เดี่ยวถึง 4 ตัว

 

ไอเดียหลักที่ 3: รูรับแสงแบบปรับได้และรูรับแสงแบบคงที่

ในส่วนของรูรับแสงกว้างสุด เลนส์ซูมจะรวมอยู่ในกลุ่มเลนส์หนึ่งในสองประเภทต่อไปนี้ ในเลนส์ที่มีรูรับแสงแบบปรับได้ รูรับแสงกว้างสุดจะเปลี่ยนไปตลอดช่วงการซูม แต่จะยังคงเหมือนเดิมในเลนส์ที่มีรูรับแสงแบบคงที่ (หรือที่เรียกว่า "เลนส์ที่มีรูรับแสงคงที่ (constant aperture lense)) เลนส์ประเภทที่สองนี้ช่วยให้คุณสามารถใช้รูรับแสงแบบเดียวกันได้ไม่ว่าจะใช้ทางยาวโฟกัสเท่าใด ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับบางสถานการณ์ เช่น การถ่ายภาพเทเลโฟโต้ในสภาวะแสงน้อย ซึ่งคุณจำเป็นต้องให้ปริมาณแสงเข้าสู่เซนเซอร์ภาพมากที่สุด (อ่านได้จากไอเดียหลักที่ 4 ด้านล่าง) อย่างไรก็ดี เนื่องจากเลนส์ประเภทนี้มีโครงสร้างเลนส์ที่ซับซ้อนมากกว่า เลนส์ที่มีรูรับแสงแบบคงที่จึงมักมีขนาดใหญ่กว่า น้ำหนักมากกว่า และราคาสูงกว่าเลนส์ที่มีรูรับแสงแบบปรับได้

เลนส์ที่มีรูรับแสงแบบปรับได้
- EF24-105mm f/3.5-5.6 IS STM 525 ก.
- EF70-300mm f/4-5.6L IS USM 1050 ก.

เลนส์ที่มีรูรับแสงแบบคงที่
- EF24-70mm f/2.8L II USM 805 ก.
- EF70-200mm f/2.8L IS II USM 1490 ก.

 

ไอเดียหลักที่ 4: รูรับแสงกว้างสุดในเลนส์ที่มีรูรับแสงแบบปรับได้

รูรับแสงกว้างสุดในเลนส์ที่มีรูรับแสงแบบปรับได้จะระบุไว้เป็นช่วง เช่น “f/3.5-5.6” รูรับแสงกว้างสุดที่สว่างขึ้น (ค่า f ต่ำลง) จะใช้กับระยะมุมกว้าง และค่อยๆ มืดลงเมื่อค่า f สูงขึ้น เนื่องจากทางยาวโฟกัสเพิ่มขึ้น

ตัวอย่าง: ในเลนส์ EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS STM

ความสัมพันธ์ระหว่างทางยาวโฟกัสกับรูรับแสงกว้างสุดใน EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS STM

 

ไอเดียหลักที่ 5: รูรับแสงกว้างสุดและระดับของโบเก้

เลนส์ที่มีรูรับแสงแบบปรับได้
EF24-105mm f/3.5-5.6 IS STM

ถ่ายด้วย EF24-105mm f/3.5-5.6 IS STM ที่ทางยาวโฟกัส 24 มม. รูรับแสงสูงสุดที่ f/3.5

EOS 5D Mark III/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/3.5, 1/1250 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: Manual

เลนส์ที่มีรูรับแสงแบบคงที่
EF24-70mm f/2.8L II USM

ถ่ายด้วย EF24-70mm f/2.8L II USM ที่ทางยาวโฟกัส 24 มม. รูรับแสงสูงสุดที่ f/2.8

EOS 5D Mark III/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/2500 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: Manual

ในตัวอย่างด้านบน ที่ระยะมุมกว้าง 24 มม. รูรับแสงกว้างสุดของเลนส์ที่มีรูรับแสงแบบปรับได้คือ f/3.5 และ f/2.8 ในเลนส์ที่มีรูรับแสงคงที่ ความแตกต่างอยู่ที่ประมาณ 1/3 ของ f-stop ซึ่งอาจดูน้อยมาก แต่ทำให้เอฟเฟ็กต์โบเก้ที่ได้แตกต่างกันอย่างชัดเจน ฉะนั้น โปรดจำไว้ว่าโบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์จะเห็นได้ชัดเจนมากกว่าในภาพที่ถ่ายโดยใช้เลนส์ซูมที่มีรูรับแสงคงที่

 

หากต้องการอ่านเกี่ยวกับ f-stop เพิ่มเติม โปรดดูที่:
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #1: รูรับแสง

คุณอาจสนใจอ่านบทความนี้:
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #6: หากเลนส์ซูมของฉันไม่มีรูรับแสงกว้างสุดที่สว่างมาก ฉันจะสามารถสร้างโบเก้ขนาดใหญ่ได้อย่างไร

 

เลนส์ที่มีรูรับแสงแบบปรับได้
EF24-105mm f/3.5-5.6 IS STM

ถ่ายด้วย EF24-105mm f/3.5-5.6 IS STM ที่ 70 มม., f/5.6

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/3.5-5.6 IS STM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/125 วินาที, EV+0.3)/ ISO 100/ WB: Manual

เลนส์ที่มีรูรับแสงแบบคงที่
EF24-70mm f/2.8L II USM

ถ่ายด้วย EF24-70mm f/2.8L II USM at 70mm, f/2.8

EOS 5D Mark III/ EF24-70mm f/2.8L II USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/500 วินาที, EV+0.3)/ ISO 100/ WB: Manual

ในตัวอย่างด้านบน ที่ทางยาวโฟกัส 70 มม. (ช่วงเทเลโฟโต้) ค่า f สูงสุดในเลนส์ที่มีรูรับแสงแบบปรับได้คือ f/5.6 และ f/2.8 ในเลนส์ที่มีรูรับแสงที่คงที่ ซึ่งแตกต่างกันถึง 2 f-stop ความแตกต่างที่มากขึ้นนี้ยังส่งผลต่อเอฟเฟ็กต์โบเก้ นั่นคือภาพที่ถ่ายโดยใช้เลนส์ที่มีรูรับแสงคงที่จะมีโบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์ที่เบลอมากกว่า หากโบเก้มีผลอย่างมากต่อรูปแบบการถ่ายภาพของคุณ คุณจึงได้ประโยชน์มากกว่าจากเลนส์ที่มีรูรับแสงคงที่

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Tomoko Suzuki

หลังเรียนจบจากวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยโตเกียวโพลีเทคนิคแล้ว Suzuki ก็เข้าทำงานกับบริษัทโปรดักชั่นโฆษณาแห่งหนึ่ง เธอได้ทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับช่างภาพหลายคน รวมถึง Kirito Yanase และมีความเชี่ยวชาญการถ่ายภาพโฆษณาผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องแต่งกายและเครื่องสำอางอีกด้วย ตอนนี้เธอทำงานเป็นช่างภาพสตูดิโอให้กับบริษัทผลิตเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา