ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด สิ่งที่ช่างภาพพูดถึง เลนส์ RF- Part

บทวิจารณ์เลนส์: เดินถ่ายรูปเล่นกับ RF15-30mm f/4.5-6.3 IS STM

2022-09-21
0
1 k

หากคุณต้องการเลนส์ซูมมุมกว้างอัลตร้าไวด์ขนาดเล็กและน้ำหนักเบาสำหรับการท่องเที่ยวและเดินถ่ายรูป Kazuo Nakahara พบว่า RF15-30mm f/4.5-6.3 IS STM เป็นเลนส์ที่มีคุณค่ายอดเยี่ยม โดยเฉพาะระบบป้องกันภาพสั่นไหวอันทรงพลังและประสิทธิภาพแบบมาโคร และยังเป็นตัวเลือกที่ใช้งานได้จริงสำหรับผู้ที่กำลังใช้กล้อง APS-C EOS R โดยมีเจตนาจะเปลี่ยนมาใช้กล้องฟูลเฟรมในภายหลัง อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความนี้ (เรื่องโดย Kazuo Nakahara, Digital Camera Magazine)

ในบทความนี้:

 

เลนส์ซูมมุมกว้างอัลตร้าไวด์น้ำหนักเบาขนาดกะทัดรัดที่คุ้มค่าอย่างยิ่งกับเงินที่เสียไป

ด้วยน้ำหนักเพียง 390 ก. โดยประมาณ RF15-30mm f/4.5-6.3 IS STM จึงมีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาเป็นพิเศษสำหรับเลนส์ที่ออกแบบมาเพื่อกล้องฟูลเฟรม เนื่องจากเป็นเลนส์ในระดับมาตรฐาน จึงไม่มีคุณสมบัติ เช่น ซีลป้องกันสภาพอากาศเหมือนที่พบในเลนส์ซีรีย์ L ระดับมืออาชีพ อย่างไรก็ตาม คุณภาพของภาพและความใช้งานง่ายทำให้เลนส์นี้เป็นเลนส์ที่คุ้มค่ามาก

ในบทความนี้ ผมนำเลนส์ดังกล่าวไปเดินถ่ายรูปเล่นโดยใช้คู่กับกล้อง EOS R6 วันนั้นอยู่ในช่วงต้นฤดูร้อนและความร้อนก็กำลังเริ่มก่อตัวขึ้น แต่การเดินเล่นเพื่อถ่ายภาพสแนปช็อตด้วยเลนส์นี้กลับเป็นเรื่องสบายๆ ผมแทบไม่รู้สึกเลยว่ามีเลนส์อยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี


คุณสมบัติเด่นข้อที่ 1: กะทัดรัดและมีน้ำหนักเบา


เลนส์ซูมมุมกว้างที่ออกแบบมาสำหรับกล้องฟูลเฟรมนั้นเป็นที่รู้กันดีว่าจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก และยิ่งเลนส์กว้างเท่าใด เลนส์ก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเท่านั้น แต่เลนส์ RF15-30mm f/4.5-6.3 IS STM นั้นมีน้ำหนักเบาเป็นพิเศษและยาวเพียง 88.4 มม. หรือราวๆ ฝ่ามือของผมเท่านั้น ด้วยขนาดที่กะทัดรัดมาก คุณจึงไม่ต้องลังเลเลยว่าจะนำเลนส์ชิ้นที่สองไปด้วยดีหรือไม่หากคุณเป็นช่างภาพประเภทที่ชอบพกพาเลนส์ไปหลายๆ ชิ้น และผมมั่นใจว่าเลนส์นี้จะเข้ากับกล้อง APS-C ได้เป็นอย่างดีด้วยเช่นกัน

EOS R6/ RF15-30mm f/4.5-6.3 IS STM/ FL: 15 มม./ Aperture-priority AE (f/4.5, 1/1250 วินาที, EV +0.7)/ ISO 100/WB: อัตโนมัติ

ภาพนี้ถ่ายโดยมองจากส่วนโคนของดอกไม้ขึ้นไปด้านบน ขนาดที่เล็กของเลนส์ช่วยให้ใช้ถ่ายภาพในจุดแคบๆ อย่างเช่นในภาพนี้ได้อย่างง่ายดาย เมื่อมีแสงจ้าจากด้านหลัง จึงมองเห็นแสงหลอกและแสงแฟลร์อยู่บ้าง แต่ความเปรียบต่างลดลงเพียงเล็กน้อย

 

ความคมชัดและคุณภาพของภาพที่ยอดเยี่ยมสำหรับกล้องในระดับเดียวกัน

แม้จะเป็นเลนส์ระดับมาตรฐาน ทว่า RF15-30mm f/4.5-6.3 IS STM กลับไม่ใช้เลนส์ UD (Ultra-low Dispersion) เพียงแค่หนึ่งชิ้น แต่ใช้ถึงสองชิ้น ซึ่งสามารถแก้ไขความคลาดสีได้อย่างมีประสิทธิภาพ การแก้ไขความบิดเบี้ยวนั้นจะทำโดยวิธีการทางดิจิตอลในตัวกล้อง จึงไม่จำเป็นต้องใช้ชุดออพติคแก้ไข ซึ่งช่วยทำให้เลนส์มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา บางคนอาจกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวิธีการดังกล่าว แต่ผมเห็นว่าเพียงพอแล้ว เนื่องจากผมแทบไม่เห็นความคลาดต่างๆ ในภาพเลย

ภาพถ่ายที่ 15 มม. จากระยะมุมกว้างมีความคมชัดตั้งแต่รูรับแสงกว้างสุดไปจนตลอดช่วงการซูม เลนส์มีประสิทธิภาพในการแยกรายละเอียดของภาพที่ค่อนข้างสมดุลดีสำหรับกล้องระดับนี้

EOS R6/ RF15-30mm f/4.5-6.3 IS STM/ FL: 15 มม./ Aperture-priority AE (f/9, 1/100 วินาที, EV +0.7)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ที่ระยะมุมกว้าง 15 มม. เพียงเอียงกล้องขึ้นด้านบนเล็กน้อยก็จะสามารถถ่ายภาพอาคารเหล่านี้ให้มีเอฟเฟ็กต์เปอร์สเปคทีฟอันทรงพลังได้ เส้นขอบของตัวอาคารมักจะเกิดสีเพี้ยนได้ง่ายในฉากเช่นนี้ แต่ในภาพนี้ เส้นขอบกลับคมชัดและเห็นได้อย่างชัดเจน

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเปอร์สเปคทีฟมุมกว้างอัลตร้าไวด์อันเป็นเอกลักษณ์ได้ที่:
สำรวจเลนส์มุมกว้างตอนที่ 1: เอฟเฟ็กต์ภาพที่ได้จากเลนส์มุมกว้าง
สำรวจเลนส์มุมกว้างตอนที่ 2: เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพสำหรับเลนส์มุมกว้าง

 

ระบบป้องกันภาพสั่นไหวสูงสุด 7 สต็อปเมื่อใช้ระบบ IS แบบประสานการควบคุม

แม้จะมีขนาดเล็ก แต่เลนส์รุ่นนี้มีระบบป้องกันภาพสั่นไหวแบบออพติคอล (ระบบ IS แบบออพติคอล) ที่แก้ไขการสั่นของกล้องได้สูงสุดเทียบเท่าความเร็วชัตเตอร์ 5.5 สต็อป เมื่อติดตั้งลงบนกล้องที่มีระบบ IS ในตัวกล้อง จะสามารถป้องกันภาพสั่นไหวได้สูงสุดถึง 7 สต็อปด้วยระบบ IS แบบประสานการควบคุม คุณสมบัตินี้ทำให้คุณวางใจได้เมื่อต้องถ่ายภาพในฉากที่มีแสงน้อย

ผมลองถ่ายภาพแบบไม่ใช้ขาตั้งกล้องสองสามภาพโดยเปิดรับแสงนาน 1 วินาที และภาพส่วนใหญ่ที่ได้ก็มีความคมชัด ช่างภาพผู้มีประสบการณ์ในการถ่ายด้วยมือจะสามารถถ่ายภาพที่คมชัดได้ที่ 2 หรือแม้แต่ 3 วินาที เมื่อใช้เลนส์รุ่นนี้ คุณอาจพบว่าไม่จำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้องในหลายๆ ฉากอีกต่อไป

EOS R6/ RF15-30mm f/4.5-6.3 IS STM/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 0.8 วินาที)/ ISO 320/ WB: อัตโนมัติ

ผมลองถ่ายภาพด้วยมือและใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำในช่วงค่ำที่ท้องฟ้าเป็นสีน้ำเงิน ผมมักจะต้องใช้ขาตั้งกล้องหากถ่ายภาพที่ 0.8 วินาที แต่เมื่อจับคู่เลนส์กับกล้องเช่นนี้ ผมสามารถถ่ายภาพให้คมชัดได้โดยไม่มีปัญหาใดๆ เลย เมื่อใช้ f/8 เลนส์จะสร้างเอฟเฟ็กต์แฉกแสง 14 จุด

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
ฉาก 3 ประเภทที่ใช้ประโยชน์จาก IS ในตัวกล้องได้เต็มที่

 

สรีระและฟิลเตอร์

วัสดุและสัมผัส
ท่อเลนส์ทำจากโพลีเมอร์ที่ใช้ในงานวิศวกรรม จึงไม่ให้สัมผัสที่หรูหรานัก แต่เลนส์ยังคงให้ความรู้สึกแข็งแรงและมีคุณภาพดีโดยไม่มีส่วนใดหลุดหรือหลวม วัสดุทำจากเรซินช่วยให้เลนส์มีน้ำหนักเบา

วงแหวนควบคุม/โฟกัส
เลนส์ไม่มีวงแหวนควบคุมโดยเฉพาะ แต่มีวงแหวนควบคุม/โฟกัสรวมกันและมีสวิตช์สำหรับสลับการใช้งานระหว่างสองฟังก์ชัน

ฟิลเตอร์
เลนส์มีเส้นผ่านศูนย์กลางฟิลเตอร์ 67 มม. ซึ่งเท่ากับเลนส์ระดับเดียวกันเหล่านี้:
- RF24-105mm f/4-7.1 IS STM (เลนส์ซูมมาตรฐาน)
- RF100-400mmm f/5.6-8 IS USM (เลนส์ซูมซูเปอร์เทเลโฟโต้)
เลนส์ทั้งสามนี้ เมื่อรวมกันจะกลายเป็นกลุ่มเลนส์สามรุ่นเด่นที่มีราคาถูกและน้ำหนักเบา นอกจากนี้คุณสมบัติในการใช้ฟิลเตอร์แบบขันสกรูร่วมกันได้ยังเป็นข้อดีอีกข้อหนึ่ง

 

AF

โฟกัสอัตโนมัติ (AF) ในเลนส์ RF15-30mm f/4.5-6.3 IS STM ขับเคลื่อนโดย Stepping Motor (STM) ขณะใช้เลนส์นี้ ผมไม่พบสถานการณ์ใดเลยที่ความเร็ว AF เป็นปัญหา ช่างภาพวิดีโอจะพบว่ากลไกการโฟกัสที่ลื่นไหลและเงียบของ STM มีประโยชน์อย่างยิ่ง

 

ถ่ายภาพแบบมาโครที่กำลังขยายสูงสุด 0.5 เท่า

คุณสมบัติที่โดดเด่นอีกข้อหนึ่งของเลนส์ RF15-30mm f/4.5-6.3 IS STM คือความสามารถในการถ่ายภาพแบบมาโครมุมกว้างอัลตร้าไวด์ ซึ่งช่วยเพิ่มความเป็นไปได้ในการสร้างสรรค์ให้มากยิ่งขึ้น ในขณะที่ระยะโฟกัสใกล้สุดคือ 28 ซม. ในโหมด AF การใช้โหมดโฟกัสแบบแมนนวล (MF) จะลดระยะนี้ลงมาอยู่ที่ 12.8 ซม. เมื่อคุณถ่ายภาพในช่วงโฟกัส 15 มม. ถึง 20 มม. สามารถใช้กำลังขยายได้ถึง 0.5 เท่าเมื่อโฟกัสแบบแมนนวลที่ระยะมุมกว้าง 15 มม.

การเปลี่ยนมาใช้โหมด MF ทำได้ง่ายๆ เนื่องจากเลนส์รองรับระบบโฟกัสอัตโนมัติแบบปรับแมนนวลได้ในโหมด AF เพียงหมุนวงแหวนโฟกัส (ตรวจดูให้แน่ใจว่าสวิตช์อยู่ที่ "โฟกัส")

ขณะใช้ AF (ระยะโฟกัสใกล้สุด: 28 ซม.)

ขณะใช้ MF (ระยะโฟกัสใกล้สุด: 12.8 ซม.)


EOS R6/ RF15-30mm f/4.5-6.3 IS STM/ FL: 15 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/500 วินาที, EV +1.3)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ

ภาพนี้ถ่ายด้วยระยะโฟกัสใกล้สุดจากระยะมุมกว้าง (12.8 ซม.) เอฟเฟ็กต์ที่ได้มีเอกลักษณ์มาก คุณจะสังเกตเห็นว่าแบ็คกราวด์ก็ถูกถ่ายไว้ด้วยเช่นกัน ช่วงรูรับแสงกว้างสุด f/4.5 ถึง f/6.3 อาจค่อนข้างช้า แต่เมื่อถ่ายภาพแบบโคลสอัพ ช่วงรูรับแสงดังกล่าวจะสร้างโบเก้ที่นุ่มนวลในแบ็คกราวด์ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมไม่คาดคิดว่าเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์จะทำได้

เคล็ดลับ: ขณะถ่ายภาพที่ระยะโฟกัสใกล้สุด 12.8 ซม. คุณควรหาวิธีในการกำจัดเงาที่ทาบทับลงไปบนตัวแบบด้วย ในภาพนี้ ผมฉายแสง LED จากเหนือเลนส์ลงไปบนดอกไม้

 

การใช้เลนส์กับกล้อง APS-C: เลนส์ซูมมาตรฐานประสิทธิภาพเยี่ยมเริ่มต้นที่ 24 มม.

เมื่อติดตั้ง RF15-30mm f/4.5-6.3 IS STM ลงไปบนกล้อง APS-C เลนส์จะทำงานเช่นเดียวกับเลนส์ซูมมาตรฐานที่ครอบคลุมช่วงโฟกัสเทียบเท่าฟูลเฟรมที่ 24 ถึง 48 มม. ระยะมุมกว้างนั้นกว้างกว่า RF-S18-45mm f/4.5-6.3 IS STM (ช่วงโฟกัสเทียบเท่าฟูลเฟรม 29 ถึง 72 มม.)

ระยะ 24 มม. จะให้ความยืดหยุ่นมากกว่า 29 มม. หากถ่ายภาพในพื้นที่แคบ และยังทำให้ภาพมีเปอร์สเปคทีฟแบบมุมกว้างที่โดดเด่นอีกด้วย หากโดยทั่วไปคุณชอบถ่ายภาพที่มุมกว้างมากกว่าและใช้กล้อง APS-C EOS R อยู่แล้ว RF15-30mm f/4.5-6.3 IS STM จะเป็นเลนส์ซูมมาตรฐานที่น่าใช้อย่างยิ่ง และเหนืออื่นใด คุณจะมีเลนส์ซูมมุมกว้างอัลตร้าไวด์ที่พร้อมใช้งานทันทีเมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้กล้องฟูลเฟรมในภายหลัง!

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างกล้องฟูลเฟรมกับกล้อง APS-C ได้ใน:
กล้องฟูลเฟรมและกล้อง APS-C: ควรเลือกรุ่นไหนดี

คุณทราบหรือไม่ว่าการถ่ายภาพที่ 24 มม. ช่วยให้คุณจัดองค์ประกอบภาพด้วยเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ได้ดียิ่งขึ้น อ่านได้ที่:
ภาพโคลสอัพระยะ 24 มม.: 3 แบบฝึกหัดง่ายๆ เพื่อฝึกใช้มุมมองเปอร์สเปคทีฟมุมกว้างให้ชำนาญ

 

สรุป: ไม่ใช่เลนส์สำหรับมือใหม่เท่านั้น

RF15-30mm f/4.5-6.3 IS STM เป็นเลนส์ที่ได้รับการออกแบบมาดีมาก เนื่องจากให้ประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมในราคาค่อนข้างถูก เลนส์นี้จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้เริ่มต้นถ่ายภาพที่กำลังจะซื้อเลนส์ซูมมุมกว้างอัลตร้าไวด์ชิ้นแรก ความจริงแล้ว ด้วยคุณสมบัติทั้งหมดที่อัดแน่นอยู่ในตัวเลนส์ขนาดเล็กและน้ำหนักเบา เลนส์นี้จึงควรค่าแก่การเป็นเจ้าของหากคุณชื่นชอบการถ่ายภาพด้วยมุมกว้างอัลตร้าไวด์ แม้คุณจะมีเลนส์กลุ่มเดียวกันในระดับที่สูงกว่าอยู่แล้วก็ตาม


EOS R6 + RF15-30mm f/4.5-6.3 IS STM


ฮูดเลนส์ EW-73E (มีจำหน่ายแยกต่างหาก)

 

ข้อมูลจำเพาะที่สำคัญ

โครงสร้างเลนส์: 13 ชิ้นเลนส์ใน 11 กลุ่ม
จำนวนม่านรูรับแสง: 7
รูรับแสงต่ำสุด: f/22-32
ระยะโฟกัสใกล้สุด: 0.28 ม. (AF), 0.238 ม. (MF)
กำลังขยายสูงสุด (ประมาณ): 0.16 เท่า (AF), 0.52 เท่า (MF)
เส้นผ่านศูนย์กลางฟิลเตอร์: 67 มม.
ขนาด: φ76.6 x 84.4 มม.
น้ำหนัก: ประมาณ 390 ก.

 

ค่ารูรับแสงกว้างสุดที่ปรับได้

เนื่องจาก RF15-30mm f/4.5-6.3 IS STM เป็นเลนส์ซูมแบบปรับรูรับแสงได้ ค่ารูรับแสงกว้างสุดจึงเปลี่ยนแปลงไปตามทางยาวโฟกัส นี่คือสิ่งที่ผมสังเกตเห็น

คุณสามารถทราบข้อมูลได้มากมายจากชื่อเลนส์ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์: ชื่อเลนส์มีความหมายอย่างไรและทำไมเลนส์บางรุ่นจึงเป็นสีขาว

 

โครงสร้างของเลนส์

A: ชิ้นเลนส์ UD
B: ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม PMo


เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์ RF ได้ที่:
In Focus: รีวิวเลนส์ RF

หากคุณตัดสินใจไม่ได้ระหว่างเลนส์นี้กับเลนส์ EF ที่คล้ายกัน บทความนี้อาจช่วยคุณได้
เลนส์ RF กับเลนส์ EF: แตกต่างกันอย่างไรและควรตัดสินใจเลือกอย่างไร

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Kazuo Nakahara

เกิดที่เมืองฮอกไกโดในปี 1982 Nakahara ผันเข้าสู่วงการถ่ายภาพหลังจากทำงานในบริษัทผลิตสารเคมี เขาถ่ายภาพที่ Vantan Design Institute เป็นหลักและเป็นผู้บรรยายในเวิร์คช็อปและสัมมนาด้านการถ่ายภาพ นอกเหนือจากการทำงานถ่ายภาพโฆษณา เขายังเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการถ่ายภาพอย่าง studio9 อีกด้วย

http://photo-studio9.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา