ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิดและเทคนิคของเลนส์- Part7

พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ #6: เลนส์มุมกว้าง

2017-10-12
5
12.06 k
ในบทความนี้:

เลนส์มุมกว้างสามารถเก็บภาพในมุมกว้างได้อย่างน่าทึ่ง พร้อมกับสร้างภาพที่มีเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟอันโดดเด่น ในบทความนี้ เราจะมาศึกษาลักษณะเฉพาะของเลนส์มุมกว้าง รวมทั้งตักตวงเคล็ดลับเกี่ยวกับการฝึกฝนใช้งานจนชำนาญกัน (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)

ภาพด้านบนเกี่ยวกับพื้นฐานของเลนส์

 

ลักษณะเฉพาะของเลนส์มุมกว้าง

1. สามารถถ่ายระยะชัดลึกที่กว้างได้อย่างน่าทึ่ง
2. สามารถใช้เพื่อเน้นเปอร์สเป็คทีฟ
3. ทำให้บริเวณขอบภาพดูบิดเบี้ยว
4. ช่วยให้ได้โฟกัสชัดลึกง่ายขึ้น


โดยทั่วไป เลนส์มุมกว้างหมายถึงเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัส 35 มม. หรือต่ำกว่านั้น เมื่อเทียบกับฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. ยิ่งทางยาวโฟกัสสั้น มุมรับภาพที่ได้ก็จะยิ่งกว้างขึ้น อันที่จริง เลนส์มุมกว้างสามารถถ่ายภาพฉากได้มากกว่าที่ตาของคนเรามองเห็น

เนื่องจากเลนส์มุมกว้างขับเน้นเปอร์สเป็คทีฟด้วยเช่นกัน ดังนั้น ในผลภาพที่ได้ วัตถุที่อยู่ใกล้จึงดูใหญ่ขึ้น และวัตถุที่อยู่ไกลจะดูเล็กลง นี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของเลนส์มุมกว้าง แต่ในขณะเดียวกันเลนส์อาจทำให้เกิดความบิดเบี้ยวอันไม่พึงประสงค์ในภาพถ่ายได้เช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวแบบ เอฟเฟ็กต์ความบิดเบี้ยวเห็นได้ชัดที่บริเวณขอบภาพ คุณจึงอาจต้องวางตัวแบบไว้ที่กึ่งกลางเฟรม หากไม่ต้องการให้ตัวแบบดูบิดเบี้ยวไป

เลนส์มุมกว้างยังมีระยะชัดลึกที่กว้าง ซึ่งทำให้ง่ายต่อการโฟกัสแบบชัดลึก และสร้างภาพถ่ายที่ภาพทั้งหมดอยู่ในโฟกัสตั้งแต่ส่วนโฟร์กราวด์จนถึงแบ็คกราวด์ การใช้มุมกว้างนี้ยังหมายความว่าคุณสามารถต้านทานการสั่นของกล้องได้ จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์กว้างใหญ่ ห้องแคบ ถนน และอาคารต่างๆ ได้

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของเลนส์มุมกว้างได้ที่:
ถาม-ตอบเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายภาพ ลักษณะเฉพาะของเลนส์มุมกว้างและการประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สำรวจเลนส์มุมกว้างตอนที่ 1: เอฟเฟ็กต์ภาพที่ได้จากเลนส์มุมกว้าง

 

ประเภทหลักๆ ของเลนส์มุมกว้าง

เลนส์ L สำหรับกล้องฟูลเฟรม

เลนส์ IS สำหรับกล้องฟูลเฟรม

เลนส์ EF-S/EF-M

เราสามารถแบ่งเลนส์มุมกว้างของ Canon ออกได้เป็นสามหมวดใหญ่ๆ ด้วยกัน ได้แก่

1. เลนส์ L สำหรับใช้กับกล้องฟูลเฟรม
2. เลนส์ IS สำหรับใช้กับกล้องฟูลเฟรม และ
3. เลนส์ EF-S/EF-M

เลนส์ L คือเลนส์ระดับพรีเมี่ยมและมักมีขนาดใหญ่กว่า รวมทั้งมีคุณภาพในระดับพรีเมี่ยม จึงทำให้มีราคาสูง
ส่วนเลนส์ที่มีระบบ IS (ระบบป้องกันภาพสั่นไหวในตัว) ส่วนใหญ่เป็นเลนส์เดี่ยว และมีขนาดกะทัดรัดกว่ามากเมื่อเทียบกับเลนส์ L
ส่วนเลนส์ EF-S/EF-M คือเลนส์สำหรับใช้กับกล้อง DSLR ขนาด APS-C และกล้อง EOS-M โดยเฉพาะตามลำดับ และหลายรุ่นมีขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบา

 

ทางยาวโฟกัสมุมกว้าง

เลนส์มุมกว้างที่มีทางยาวโฟกัสน้อยกว่า 20 มม. เมื่อเทียบกับฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. ถือว่าเป็นเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ ยิ่งทางยาวโฟกัสสั้น มุมรับภาพก็จะยิ่งกว้างขึ้น และเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟจะยิ่งชัดเจนขึ้นด้วย

 

เทคนิคสำหรับการใช้เลนส์มุมกว้างอย่างมีประสิทธิผล

1. เข้าใกล้ตัวแบบเพื่อให้เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟมีประสิทธิภาพสูงสุด
ดังที่ได้แนะนำไว้ในพื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ #5: เปอร์สเป็คทีฟเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟจะออกมาเด่นชัดหรือด้อยลงขึ้นอยู่กับระยะการถ่ายภาพ เช่น ระยะห่างระหว่างกล้องกับตัวแบบ ตัวอย่างด้านล่างถ่ายโดยใช้ทางยาวโฟกัสที่เท่ากัน (16 มม.) แต่ในภาพที่ถ่ายจากตัวแบบที่อยู่ใกล้กว่า (ขวา) ตัวแบบในส่วนโฟร์กราวด์ของภาพดูมีขนาดใหญ่ขึ้น และทำให้ภาพดูน่าสนใจยิ่งขึ้น นี่จึงช่วยส่งเสริมแนวคิดที่ว่ายิ่งกล้องอยู่ใกล้ตัวแบบมากเท่าใด เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟจะยิ่งชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น

เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟด้อยลงเมื่อคุณถอยห่างจากตัวแบบ

ถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง (เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟไม่โดดเด่น)

EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L II USM/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (f/4.0, 1/200 วินาที, EV-1.0)/ ISO 100/ WB: Manual

การเข้าใกล้ตัวแบบจะช่วยเพิ่มเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟ

ถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง (เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟโดดเด่น)

EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L II USM/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (f/4.0, 1/200 วินาที, EV-1.0)/ ISO 100/ WB: Manual

 

2. วางตัวแบบไว้กึ่งกลางเฟรมเมื่อถ่ายภาพพอร์ตเทรต
เมื่อถ่ายภาพพอร์ตเทรต ควรระวังความบิดเบี้ยวที่เกิดจากความคลาด ซึ่งเกิดกับเลนส์มุมกว้างโดยเฉพาะ ตัวอย่างด้านล่างถ่ายโดยใช้ทางยาวโฟกัสที่เท่ากัน (17 มม.) อย่างไรก็ดี ในภาพด้านซ้ายซึ่งวางตัวแบบไว้ด้านข้างเฟรม ใบหน้าของตัวแบบดูบิดเบี้ยว เนื่องจากความคลาดดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว ซึ่งความบิดเบี้ยวดังกล่าวจะยิ่งเด่นชัดมากขึ้นเมื่อใกล้กับบริเวณขอบภาพมากขึ้น นี่คือเหตุผลว่าทำไมจึงควรวางตัวแบบบุคคลไว้กึ่งกลางภาพเมื่อถ่ายภาพด้วยเลนส์มุมกว้าง

แต่มีข้อยกเว้นอย่างหนึ่งคือ หากคุณต้องการทำให้ขาของนางแบบดูยาวขึ้น ศึกษาไอเดียเพิ่มเติมได้ที่:
สำรวจเลนส์มุมกว้างตอนที่ 2: เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพสำหรับเลนส์มุมกว้าง

ใบหน้าบิดเบี้ยวบริเวณขอบภาพ

ภาพพอร์ตเทรตมุมกว้าง - ใบหน้าบิดเบี้ยว

EOS 6D/ EF17-40mm f/4L USM/ FL: 17 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/500 วินาที, EV+0.7)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

ไม่มีความบิดเบี้ยวเมื่อวางตัวแบบไว้กึ่งกลางภาพ

ภาพพอร์ตเทรตมุมกว้าง - ไม่เกิดใบหน้าบิดเบี้ยว

EOS 6D/ EF17-40mm f/4L USM/ FL: 17 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/400 วินาที, EV+0.7)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

 

ใช้เลนส์มุมกว้างสำหรับฉากเหล่านี้

ห้องแคบๆ ที่ดูกว้างขวางเมื่อใช้เลนส์มุมกว้าง

EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L II USM/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/40 วินาที, EV-1.3)/ ISO 4000/ WB: อัตโนมัติ

พื้นที่แคบในที่ร่มซึ่งคุณต้องการถ่ายระยะชัดลึกที่กว้าง
ใช้เลนส์มุมกว้างเพื่อเก็บภาพมุมกว้างของพื้นที่แคบในที่ร่ม เพื่อสร้างความรู้สึกถึงความกว้างและพื้นที่อันกว้างใหญ่ ให้ถือกล้องเอียงขึ้นที่ตำแหน่งที่ต่ำและมุมต่ำ

 

ภาพอาคารดูสูงขึ้นเมื่อใช้เลนส์มุมกว้าง

EOS 6D/ EF17-40mm f/4L USM/ FL: 17 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/100 วินาที, EV+1)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

เพื่อทำให้อาคารดูสูงตระหง่านขึ้น
มุมรับภาพที่กว้างของเลนส์มุมกว้างยังเหมาะอย่างยิ่งสำหรับทำให้อาคารดูสูงตระหง่านขึ้น โดยมีวิธีคือขยับเข้าใกล้กำแพงอาคารมากขึ้น และเล็งกล้องไปด้านบนตรงๆ เพื่อให้เกิดเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟ และหากต้องการเน้นเอฟเฟ็กต์ให้เด่นชัดขึ้นอีก ควรจัดองค์ประกอบภาพในแนวตั้ง

หากต้องการทราบเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพอาคารและการตกแต่งภายใน โปรดอ่านบทความต่อเนื่องของเราเกี่ยวกับเคล็ดลับในการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม:
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #1: 3 แนวคิดพื้นฐาน
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #2: การใช้มุมกว้าง/ทางยาวโฟกัสเทเลโฟโต้
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #3: เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพที่มีประสิทธิภาพ
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #4: การถ่ายภาพอาคารยามค่ำคืน

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Tomoko Suzuki

หลังเรียนจบจากวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยโตเกียวโพลีเทคนิคแล้ว Suzuki ก็เข้าทำงานกับบริษัทโปรดักชั่นโฆษณาแห่งหนึ่ง เธอได้ทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับช่างภาพหลายคน รวมถึง Kirito Yanase และมีความเชี่ยวชาญการถ่ายภาพโฆษณาผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องแต่งกายและเครื่องสำอางอีกด้วย ตอนนี้เธอทำงานเป็นช่างภาพสตูดิโอให้กับบริษัทผลิตเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา