ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ #9: เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้าง

2017-12-28
9
7.82 k
ในบทความนี้:

เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างมีค่า f ต่ำ จึงไม่เพียงให้เอฟเฟ็กต์ภาพเบลอที่นุ่มนวลในส่วนแบ็คกราวด์เท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย พบคำตอบได้ในบทความนี้ (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)

เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างช่วยสร้างโบเก้

 

คุณสมบัติของเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้าง

1. เลนส์ที่มีค่ารูรับแสงกว้างสุดสร้างโบเก้ที่นุ่มนวลได้ง่าย (แบ็คกราวด์เบลอ)
2. ช่วยให้ถ่ายภาพโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงได้แม้ในสภาพแสงน้อย จึงเหมาะสำหรับป้องกันการสั่นไหวของกล้อง
3. ระยะชัดลึกที่ตื้นมากทำให้ต้องใช้ความพยายามมากขึ้นเพื่อให้ได้โฟกัสที่คมชัด
4. ให้ภาพที่สว่างและคมชัดยิ่งขึ้นหากใช้ช่องมองภาพแบบออพติคอล


เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเลนส์ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่ เนื่องจากมีขนาด "เส้นผ่านศูนย์กลาง" ที่ค่อนข้างใหญ่สำหรับให้แสงเข้าสู่เลนส์ เส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่นี้ทำให้เลนส์มีค่ารูรับแสงกว้างสุด (ค่า f ต่ำ) และเป็นเหตุผลที่ทำให้เลนส์นี้เรียกอีกอย่างว่า เลนส์ "สว่าง" โดยทั่วไป เลนส์นี้จะมีค่า f กว้างสุดที่ f/2.8 หรือต่ำกว่า แม้แต่ในเลนส์ซูมที่มีรูรับแสงแบบปรับได้ ซึ่งค่ารูรับแสงกว้างสุดนี้จะขึ้นอยู่กับทางยาวโฟกัสที่ใช้ ยิ่งค่ารูรับแสงกว้างสุดมากขึ้นเท่าใด จะได้เอฟเฟ็กต์แบ็คกราวด์เบลอ ที่เด่นชัดได้ง่ายขึ้นเท่านั้น

การที่แสงสามารถเข้าสู่เลนส์และเซนเซอร์ภาพได้มากอันเนื่องมาจากรูรับแสงกว้างหมายความว่าสามารถรักษาความเร็วชัตเตอร์ สูงไว้ได้ แม้ในสภาพแสงน้อย เช่น เมื่อถ่ายภาพในที่ร่ม ยามค่ำคืน หรือในแสงสลัว จึงช่วยป้องกันการสั่นไหวของกล้องแม้จะถ่ายภาพแบบถือกล้องด้วยมือ

อย่างไรก็ดี เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างยังมีระยะชัดลึกที่ตื้นมากเช่นกัน จึงทำให้ยากที่จะจับโฟกัสได้แม่นยำ สำหรับฉากบางประเภท การถ่ายภาพในแบบ Live View โดยใช้ภาพขยายและการโฟกัสแบบแมนนวล (MF) จึงอาจมีประสิทธิภาพมากกว่า (อ่าน: ทำอย่างไรจึงจะโฟกัสด้วยแมนนวลโฟกัส (MF) ได้แม่นยำ)

ในกล้องรุ่นต่างๆ ที่ใช้ช่องมองภาพแบบออพติคอล เช่น EOS 77D และ EOS 800D เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างจะมีข้อได้เปรียบอีกอย่างหนึ่งคือ ให้ปริมาณแสงเข้าสู่ช่องมองภาพแบบออพติคอลได้มากขึ้น ทำให้ได้ภาพที่คมชัดและสว่างขึ้น ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับจับโฟกัสและจัดองค์ประกอบภาพในสภาพที่มีแสงน้อย

 

ประเภทหลักๆ ของเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้าง

เลนส์ IS สำหรับกล้องฟูลเฟรม

เลนส์ ที่ไม่มี IS สำหรับกล้องฟูลเฟรม

เลนส์ EF-S/EF-M

เราสามารถแบ่งเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างของ Canon ออกได้เป็นสามหมวดด้วยกัน ได้แก่

เลนส์ IS สำหรับกล้องฟูลเฟรม มีระบบป้องกันภาพสั่นไหว (IS) ในตัว จึงมีประสิทธิภาพสูงขึ้นสำหรับถ่ายภาพในสภาพแสงน้อย และการถ่ายแบบถือกล้องด้วยมือ

เลนส์ที่ไม่มี IS สำหรับกล้องฟูลเฟรม มีประสิทธิภาพสูงในการถ่ายภาพฉากที่มีแสงน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับเลนส์ที่ "มืดกว่า" ซึ่งมีรูรับแสงกว้างสุดที่มีขนาดเล็กกว่า

เลนส์ EF-S/EF-M ผลิตเพื่อใช้งานกับกล้อง DSLR ที่มีเซนเซอร์ APS-C และกล้องมิเรอร์เลสซีรีย์ EOS M ตามลำดับ และสามารถสร้างเอฟเฟ็กต์ที่นุ่มนวล

เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างมีทั้งที่เป็นเลนส์เดี่ยวและเลนส์ซูม

 

สิ่งที่ทำให้เป็นเลนส์ที่มี "รูรับแสงกว้าง" คืออะไร

ช่วงค่า f ของเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้าง

โดยทั่วไป เลนส์จะถือว่าเป็น "เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้าง" ก็ต่อเมื่อค่า f ต่ำสุด (รูรับแสงกว้างสุด) มีค่าเท่ากับ f/2.8 หรือต่ำกว่า นอกจากประโยชน์อื่นๆ แล้ว การใช้รูรับแสงกว้างสุดนี้ยังช่วยให้ได้เอฟเฟ็กต์นอกโฟกัส (โบเก้) ที่ชัดเจน และความเร็วชัตเตอร์ที่สูงในสภาพแวดล้อมที่มืดหรือสลัว

 

เทคนิคในการใช้ประโยชน์จากเลนส์ที่มีรูรับแสงขนาดใหญ่

1. ใช้ค่า f ต่ำ เพื่อสร้างวงกลมโบเก้น่ารักๆ

เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างใช้รูรับแสงทรงกลม เพื่อสร้างวงกลมโบเก้ที่ด้านหลังตัวแบบหลัก ส่วนค่า f ที่ต่ำช่วยสร้างวงกลมโบเก้ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น

f/1.8

โบเก้ขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อใช้ค่า f/1.8

EOS 6D/ EF50mm f/1.8 STM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/1.8, 1/4 วินาที, EV-0.3)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

f/5.6

โบเก้ขนาดเล็กลงเมื่อใช้ค่า f/5.6

EOS 6D/ EF50mm f/1.8 STM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 2.5 วินาที, EV-0.3)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

 

2. ใช้โหมด Aperture-priority AE เพื่อควบคุมขนาดของแบ็คกราวด์เบลอ

หากคุณต้องการใช้ประโยชน์จากโบเก้ (แบ็คกราวด์เบลอ) ในองค์ประกอบภาพ ให้ใช้โหมด Aperture-priority AE และตั้งค่ารูรับแสงตามที่ต้องการ หากคุณใช้โหมด Program AE กล้องจะตั้งค่า f อัตโนมัติ ซึ่งจะไม่ใช่ค่ารูรับแสงกว้างสุดเสมอไป

Program AE (f/3.5, 1/60 วินาที)

โหมด Program AE, f/3.5

EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.4 USM / FL: 50 มม./ Program AE(f/3.5, 1/60 วินาที, EV+0.7)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

Aperture-priority AE (f/1.4, 1/250 วินาที)

Aperture-priority AE, f/1.4

EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.4 USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/1.4, 1/250 วินาที, EV+0.7)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

 

เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างทำงานได้ดีที่สุดในฉากต่อไปนี้!

การถ่ายภาพอาหาร, โบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์

EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.2L USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE(f/2, 1/50 วินาที, EV+0.7)/ ISO 640/ WB: อัตโนมัติ

เมื่อคุณต้องการแยกตัวแบบหลักให้โดดเด่น
เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างช่วยสร้างแบ็คกราวด์เบลอที่มีขนาดใหญ่ได้ หากตัวแบบหลักอยู่ไม่ไกลจากแบ็คกราวด์ จึงเหมาะอย่างยิ่งเมื่อคุณต้องการสร้างความโดดเด่นให้กับวัตถุใดวัตถุหนึ่งในภาพที่มีองค์ประกอบเพียงสองสามอย่าง บางทีคุณอาจพบว่าตัวเองใช้เทคนิคนี้บ่อยครั้งในการถ่ายภาพอาหาร สิ่งของทั่วๆไป หรือแม้แต่ภาพพอร์ตเทรต

 

ภาพยามค่ำคืนแบบถือกล้องด้วยมือ

EOS 5D Mark III/ EF85mm f/1.2L II USM/ FL: 85 มม./ Aperture-priority AE(f/1.2, 1/100 วินาที)/ ISO 500/ WB: อัตโนมัติ

เมื่อคุณต้องการถือกล้องถ่ายภาพในตอนกลางคืน
ในยามที่สภาพแสงน้อยมาก ปกติคุณต้องเปิดรับแสงให้นานขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้ภาพที่ออกมาไม่มืดเกินไป ซึ่งการทำเช่นนี้จะเพิ่มโอกาสในการเกิดปัญหากล้องสั่นมากขึ้น และโดยปกติช่างภาพจะพยายามป้องกันปัญหานี้โดยการใช้ขาตั้งกล้อง แต่เมื่อใช้เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างซึ่งมีรูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่ จะช่วยให้ปริมาณแสงเข้าสู่เลนส์และกล้องได้มากขึ้น คุณจึงถ่ายภาพแบบถือกล้องได้แม้แต่ในตอนกลางคืน โดยไม่ต้องเพิ่มความไวแสง ISO เพื่อชดเชยแสง

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา