ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิดและเทคนิคของเลนส์- Part9

พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ 8: เลนส์เทเลโฟโต้

2024-12-10
10
23.83 k

เลนส์เทเลโฟโต้ให้คุณถ่ายทอดตัวแบบได้เต็มเฟรม และสร้างแบ็คกราวด์เบลอที่นุ่มนวลโดยเกิดความบิดเบี้ยวเพียงเล็กน้อย อ่านต่อเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม

EOS R6 Mark II + RF70-200mm f/4L IS USM ที่ 200 มม., f/4, 1/8 วินาที, ISO 1250

ในบทความนี้:

 

ลักษณะเฉพาะของเลนส์เทเลโฟโต้:

1. ช่วยถ่ายทอดตัวแบบในระยะไกลมากได้เต็มเฟรม
2. ให้ระยะชัดลึกที่ตื้นจึงสามารถสร้างแบ็คกราวด์เบลอ (“โบเก้” ที่ส่วนแบ็คกราวด์) ได้ง่าย
3. ให้มุมรับภาพแคบ จึงช่วยตัดองค์ประกอบในส่วนแบ็คกราวด์ที่ไม่ต้องการออกจากเฟรมภาพได้ง่าย
4. ให้เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพ ทำให้องค์ประกอบในภาพดูใกล้กันมากขึ้น

 

เลนส์เทเลโฟโต้คืออะไร

เลนส์เทเลโฟโต้เป็นเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสยาว ซึ่งช่วยให้คุณสามารถถ่ายภาพโคลสอัพของฉากและวัตถุที่อยู่ห่างไกลได้ โดยสามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อยๆ ได้อีกสามประเภทตามทางยาวโฟกัสเทียบเท่ากับฟูลเฟรม

มุมรับภาพของเลนส์เทเลโฟโต้

A: เลนส์มาตรฐาน (ประมาณ 50 มม.)
B: เลนส์เทเลโฟโต้ระยะกลาง (70 มม. ถึง 135 มม.)
C: เลนส์เทเลโฟโต้ปกติ (>135 มม.)
D: เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ (400 มม. ขึ้นไป)

เลนส์เทเลโฟโต้ถ่ายทอดรูปร่างและวัตถุออกมาได้อย่างสมจริง โดยทำให้ตัวแบบเกิดความบิดเบี้ยวน้อยกว่าภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง คุณสมบัตินี้พร้อมด้วยระยะห่างกำลังดีสำหรับภาพโคลสอัพ จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเลนส์เทเลโฟโต้ระยะกลางจึงมักเป็นเลนส์ที่ช่างภาพพอร์ตเทรตและภาพผลิตภัณฑ์เลือกใช้

ยิ่งเลนส์มีทางยาวโฟกัสยาวเท่าใด จะยิ่งสามารถ “ดึงตัวแบบให้เข้ามาใกล้” และถ่ายทอดตัวแบบที่อยู่ไกลได้เต็มเฟรมมากขึ้น (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์นี้ได้ใน คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #7: อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างเลนส์เทเลโฟโต้ 200 มม. และ 300 มม.) และเนื่องจากเลนส์เทเลโฟโต้มีระยะชัดลึกที่ตื้น จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการถ่ายภาพเพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์

ลักษณะเด่นที่ชัดเจนอีกอย่างหนึ่งของเลนส์เทเลโฟโต้คือ มุมรับภาพที่แคบ ซึ่งช่วยตัดองค์ประกอบในส่วนแบ็คกราวด์ที่ไม่ต้องการออกจากภาพ เพื่อให้องค์ประกอบภาพดูงดงามขึ้น นอกจากนี้ เลนส์เทเลโฟโต้ยังมีประสิทธิภาพในการทำให้ระยะห่างระหว่างองค์ประกอบที่อยู่ใกล้กับอยู่ไกลดูใกล้กันมากขึ้น ซึ่งเรียกว่าเอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพ โดยคุณสามารถใช้เอฟเฟ็กต์นี้เพื่อลดมุมมองเปอร์สเปคทีฟในภาพได้

 

ประเภทหลักๆ ของเลนส์เทเลโฟโต้ RF

เลนส์เทเลโฟโต้ RF มีสี่ประเภทหลักๆ ดังนี้

1. RF85mm f/2 Macro IS STM
2. RF85mm f/1.2L USM
3. RF85mm f/1.2L USM DS
4. RF100mm f/2.8L Macro IS USM
5. RF135mm f/1.8L IS USM

เลนส์เดี่ยวเหล่านี้มีรูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่และทางยาวโฟกัสที่นิยมใช้ในการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์และภาพพอร์ตเทรตระดับมืออาชีพ เลนส์ทั้งสองรุ่นยังมีความสามารถในการถ่ายภาพมาโครเช่นกัน เลนส์วงแหวนสีแดง (ซีรีย์ L) เป็นเลนส์ระดับมืออาชีพที่มีซีลป้องกันสภาพอากาศและประสิทธิภาพด้านออพติคอลที่ดีกว่า


เลนส์เทเลโฟโต้และเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ในซีรีย์ L

เลนส์ในภาพ:
1. RF70-200mm f/2.8L IS USM
2. RF70-200mm f/4L IS USM
3. RF100-500mm f/4.5-7.1L IS USM
4. RF400mm f/2.8L IS USM

เลนส์เทเลโฟโต้ในซีรีย์ L รุ่นอื่นๆ:
5. RF70-200mm f/2.8L IS USM Z
6. RF100-300mm f/2.8L IS USM
7. RF600mm f/4L IS USM
8. RF800mm f/5.6L IS USM
9. RF1200mm f/8L IS USM

เลนส์เดี่ยวและเลนส์ซูมสีขาวเหล่านี้ต่างก็ได้รับการออกแบบมาเพื่อมอบความทนทาน ความเชื่อถือได้ และประสิทธิภาพยอดเยี่ยมที่จำเป็นสำหรับความต้องการของมืออาชีพ ในกลุ่มเลนส์เหล่านี้มีอยู่รุ่นหนึ่งที่เป็นเลนส์ 70-200 มม. ดั้งเดิมในรุ่นที่แตกต่างกันไป ซึ่งมักใช้สำหรับการถ่ายภาพกีฬาและภาพแอ็คชั่น ภาพทิวทัศน์ และภาพพอร์ตเทรต เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้มักใช้สำหรับการถ่ายภาพสัตว์ป่าและภาพกีฬาเช่นกัน สนามกีฬาจึงเต็มไปด้วยช่างภาพที่มีเลนส์สีขาวอยู่บ่อยครั้ง!

ทำไมเลนส์เทเลโฟโต้ของ Canon จึงมีสีขาว

เลนส์เทเลโฟโต้และเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ (ระดับมืออาชีพ) ในซีรีย์ L ของ Canon มักใช้งานกลางแจ้งท่ามกลางแสงแดดจัดอยู่บ่อยๆ การเคลือบกันความร้อนสีขาวที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะบนเลนส์ดังกล่าวจะช่วยป้องกันอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งภายในและภายนอกเลนส์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าประสิทธิภาพด้านออพติคอลจะยังคงดีเยี่ยมและถือจับเลนส์ได้สะดวก 

เคล็ดลับน่ารู้: เลนส์ไฮบริดสำหรับถ่ายภาพและวิดีโอ RF70-200mm f/2.8L IS USM Z ยังมาในเวอร์ชันสีดำ ซึ่งจะไม่เป็นจุดสนใจในระหว่างถ่ายทำภาพยนตร์มากกว่า

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
ทำไมเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้จึงจำเป็นต่อการถ่ายภาพกีฬา


เลนส์ซูมเทเลโฟโต้ที่ไม่ใช่เลนส์ L

1. RF100-400mm f/5.6-8 IS USM
2. RF200-800mm f/6.3-9 IS USM
3. RF-S55-210mm f/5-7.1 IS STM (สำหรับกล้อง APS-C)

เลนส์เหล่านี้มีประโยชน์เมื่อต้องการถ่ายภาพให้ไกลขึ้น 1 และ 3 พกพาสะดวกและเหมาะแก่การเดินทาง! 


เลนส์เดี่ยวเทเลโฟโต้รูรับแสงคงที่ที่ไม่ใช่เลนส์ L

1. RF600mm f/11 IS STM
2. RF800mm f/11 IS STM

เลนส์เหล่านี้ช่วยให้ถ่ายภาพในระยะที่ไกลมากได้ในราคาเพียงเสี้ยวเดียวของเลนส์ซีรีย์ L!

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
[รีวิว] เลนส์ RF600mm f/11 IS STM และ RF800mm f/11 IS STM ในการถ่ายภาพทิวทัศน์เมือง

 

เทคนิคที่น่าลองใช้กับเลนส์เทเลโฟโต้

1. ทำให้แบ็คกราวด์ดูใกล้ขึ้น

คุณสมบัตินี้เรียกว่าการบีบอัดเปอร์สเปคทีฟ ซึ่งจะเห็นชัดขึ้นเมื่อใช้ทางยาวโฟกัสยาวๆ ในภาพด้านล่างนี้ ไฟประดับตกแต่งที่อยู่ไกลจากเราดูซ้อนกันแน่นกว่าเนื่องจากเปอร์สเปคทีฟ การถ่ายภาพที่ระยะ 200 มม. ช่วยดึงส่วนนั้นของฉากเข้ามาใกล้ขึ้นเพื่อสร้างภาพที่ดู “บีบอัด” ยิ่งขึ้น

การบีบภาพไม่เด่นชัดนัก

70 มม.

การบีบภาพเด่นชัด

200 มม.

ดูตัวอย่างเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีใช้การบีบอัดเปอร์สเปคทีฟได้ใน
สร้างฉากตระการตาด้วยเส้นนำสายตาระยะเทเลโฟโต้
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #7: อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างเลนส์เทเลโฟโต้ 200 มม. และ 300 มม.
เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพ: การสร้างภาพลวงตาให้พระจันทร์ดูใหญ่ขึ้น


2. ใช้โบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์อย่างสร้างสรรค์
คุณสามารถใช้การบีบอัดเปอร์สเปคทีฟของเลนส์เทเลโฟโต้ร่วมกับระยะชัดที่ตื้นขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติเพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์ให้ดูเด่นไม่ซ้ำใคร ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ยากขึ้นหากใช้เลนส์ประเภทอื่น เคล็ดลับ: ให้ความสำคัญกับสิ่งที่อยู่ในแบ็คกราวด์เมื่อจัดองค์ประกอบภาพ!

ระมัดระวังสีสันที่อยู่ในแบ็คกราวด์

EOS R5 + RF100-500mm f/5-7.1L IS USM
500 มม., f/6.7

การบีบอัดและระยะชัดตื้นที่ระยะ 500 มม. เปลี่ยนดอกซากุระด้านหลังกิ่งนี้ให้เป็นแบ็คกราวด์สีชมพูสวยที่แทบเป็นสีสด

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
สีสันของทิวทัศน์: การจัดองค์ประกอบภาพท้องทะเลสีชมพูม่วงสุดโรแมนติก
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง #15: ฉันจะถ่ายภาพสัตว์ตัวเล็กๆ ตัดกับแบ็คกราวด์ที่ยุ่งเหยิงแต่งดงามได้อย่างไร

วงกลมแสงโบเก้ที่สวยงาม

EOS R6 Mark II + RF70-200mm f/2.8L IS USM
200 มม., f/2.8

ทางยาวโฟกัสยาวสร้างวงกลมแสงโบเก้ฟรุ้งฟริ้งได้อย่างง่ายดายจากแสงอาทิตย์ที่สะท้อนบนใบไม้!

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
เทคนิคของเลนส์เทเลโฟโต้: การสร้างโบเก้ซ้อนกันหลายชั้น
4 ขั้นตอนง่ายๆ ในการถ่ายภาพวงกลมโบเก้ที่เข้าใจยาก!
วิธีถ่ายภาพไฟประดับตกแต่งเพื่อสร้างบรรยากาศชวนฝัน

 

เลนส์เทเลโฟโต้เหมาะสำหรับ…

EOS R6 Mark II/ RF100-400mm f/5.6-8 IS USM/ FL: 400 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/160 วินาที, EV +0.3)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ (Ambience-priority)/ ถูกครอปเล็กน้อย

...การถ่ายภาพโคลสอัพของตัวแบบที่คุณไม่สามารถเข้าใกล้ได้
หลายๆ คนจะคิดถึงนกและสัตว์ป่าก่อน แต่เลนส์เทเลโฟโต้สามารถช่วยคุณซูมเข้าไปถึงสัตว์ที่ชอบไต่ยั้วเยี้ยอย่างเจ้าแมงมุมกระโดดสุดน่ารักดังที่คุณเห็นด้านบนได้ด้วย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
การจัดแสงธรรมชาติ: ภาพดอกไม้แบบมาโครเทเลโฟโต้ในแสงยามเย็น
การเริ่มต้นถ่ายภาพทิวทัศน์: 5 สิ่งที่ควรทราบ
#สวัสดีจากฮ่องกง: ทิวทัศน์ตระการตาจากยอดเขาที่สูงที่สุดของฮ่องกง


EOS R6 Mark II/ RF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 200 มม./ Flexible-priority AE (f/9, 1/320 วินาที) ISO 640

…การดึงเสน่ห์ของรูปทรงและลวดลายออกมา
เอฟเฟ็กต์ที่ดูแบนราบจากการบีบอัดของเลนส์เทเลโฟโต้ทำให้ลวดลายและรูปทรงเรขาคณิตดูเด่นชัดยิ่งขึ้น


EOS R8/ RF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 200 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/800 วินาที)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ (Ambience-priority)

…การขับเน้นความแน่นขนัดของเมือง
การบีบอัดทำให้รถ อาคาร และสายไฟที่อยู่ด้านบนดูเบียดชิดกันหนาแน่น จึงสื่อถึงเอกลักษณ์ความเป็นเมืองที่แออัดได้อย่างดี

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
5 สิ่งที่ควรลองด้วยเลนส์เทเลโฟโต้
การถ่ายภาพต้นซากุระในญี่ปุ่น: จุดชมวิวและเคล็ดลับของช่างภาพมืออาชีพ (2) (ตัวอย่างที่ 4)

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา