ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

วิธีถ่ายภาพไฟประดับตกแต่งเพื่อสร้างบรรยากาศชวนฝัน

2017-06-08
3
13.98 k
ในบทความนี้:

ด้วยการใช้ประโยชน์จากเอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพของเลนส์ซูมซูเปอร์เทเลโฟโต้ และการควบคุมขนาดของวงกลมโบเก้ คุณเองก็สามารถถ่ายภาพไฟประดับตกแต่งเพื่อสร้างบรรยากาศชวนฝันได้เช่นกัน ในบทความนี้ ผมจะอธิบายถึงเทคนิคต่างๆ ที่ช่างภาพมืออาชีพใช้ถ่ายภาพดังกล่าว (เรื่องโดย: GOTO AKI)

ไฟประดับตกแต่ง ถ่ายด้วย Canon EOS 5D Mark III

EOS 5D Mark III/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM/ FL: 400 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/60 วินาที, EV-0.3)/ ISO 1600/ WB: แสงแดด

ผมต้องการให้ภาพของผมถ่ายทอดบรรยากาศที่มีแสงไฟสีน้ำเงินและสีขาวสว่างพร่างพราวไปทั่วทั้งจอภาพ แต่หากวงกลมโบเก้ในส่วนโฟร์กราวด์มีขนาดใหญ่เกินไป แสงสว่างในส่วนแบ็คกราวด์จะดูไม่โดดเด่น ดังนั้น เมื่อถ่ายภาพควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าส่วนโฟร์กราวด์และแบ็คกราวด์มีความสมดุล

 

เทคนิคที่ 1: เพื่อให้แสงไฟในภาพดูหนาแน่นขึ้น ให้ใช้ประโยชน์จากเอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพของเลนส์ซูมซูเปอร์เทเลโฟโต้

ยิ่งทางยาวโฟกัสของเลนส์เทเลโฟโต้ยาวมากเท่าใด คุณยิ่งสามารถดึงตัวแบบของคุณให้เข้ามาใกล้ได้มากขึ้นเท่านั้น หากคุณใช้เลนส์เทเลโฟโต้ 400 มม. เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพที่เกิดจากทางยาวโฟกัสจะทำให้คุณรู้สึกราวกับว่าอยู่ใกล้กับทุกสิ่งทุกอย่างในจอภาพ เนื่องจากเป็นเรื่องยากที่จะมองเห็นเอฟเฟ็กต์ภาพด้วยตาเปล่า ดังนั้น ควรมองผ่านช่องมองภาพเพื่อหาตำแหน่งที่แสงไฟจะกระจายตัวหนาแน่นไปทั่วทั้งหน้าจอก่อนลั่นชัตเตอร์

ในภาพนี้ ผมใช้เลนส์ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM เอฟเฟ็กต์ป้องกันการสั่นไหวประมาณ 4 สต็อปทำให้การถ่ายภาพแบบถือกล้องถ่ายเป็นเรื่องง่ายแม้แต่ในตอนกลางคืน และยังช่วยให้คุณสามารถค้นหามุมที่ต้องการได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ เลนส์ยังใช้เทคโนโลยีการเคลือบเลนส์แบบ ASC ใหม่ล่าสุดของ Canon ซึ่งช่วยลดการเกิดแสงแฟลร์และแสงหลอกให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อให้คุณสามารถถ่ายภาพได้อย่างไร้กังวล แม้ในสภาวะที่มีแสงจากแหล่งกำเนิดแสงหลายแห่ง

ตัวอย่างที่ไม่ดี: วงกลมโบเก้มีขนาดเล็กไม่สวยงามเมื่อใช้ทางยาวโฟกัส 200 มม.

EOS 5DS R/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM/ FL: 200 มม./ Aperture-priority AE (f/8.0, 1/6 วินาที, EV+0.7)/ ISO 400/ WB: แสงแดด

ทางยาวโฟกัสที่ 200 มม. ทำให้คุณไม่สามารถเติมไฟประดับตกแต่งให้เต็มจอภาพได้
ทางยาวโฟกัสที่ 200 มม. ซึ่งครอบคลุมในเลนส์ซูมเทเลโฟโต้มาตรฐาน จะลดเอฟเฟ็กต์การบีบภาพลง และเก็บองค์ประกอบที่ไม่จำเป็นไว้ในภาพถ่าย

 

เทคนิคที่ 2: วงกลมโบเก้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น (1) – ใช้ค่ารูรับแสงกว้างสุด

การเปิดรูรับแสงให้กว้างขึ้นจะทำให้วงกลมโบเก้มีขนาดใหญ่ขึ้น ขณะที่การปรับรูรับแสงให้แคบลงจะทำให้วงกลมโบเก้มีขนาดเล็กลง ในภาพนี้ ผมใช้ค่ารูรับแสงกว้างสุด (f/5.6) เพราะผมต้องการให้วงกลมโบเก้มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่จะทำได้สำหรับภาพถ่ายชวนฝัน คุณสามารถสร้างวงกลมโบเก้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นอีกได้หากใช้เลนส์ที่มีค่ารูรับแสงกว้างสุดที่กว้างขึ้น เช่น f/2.8

ขนาดของวงกลมโบเก้สามารถเปลี่ยนได้ตามทางยาวโฟกัสเช่นกัน ดังนั้น ขนาดของรูรับแสงจึงไม่ใช่เงื่อนไขสำคัญในการสร้างวงกลมโบเก้ให้มีขนาดใหญ่ หากคุณถ่ายภาพในสถานที่ที่เต็มไปด้วยไฟประดับตกแต่ง และต้องการสร้างภาพถ่ายที่ปกคลุมไปด้วยแสงไฟเป็นหลัก คุณสามารถใช้ค่ารูรับแสงตั้งแต่ f/8 จนถึง f/11 ได้ และสามารถใช้ประโยชน์จากวงกลมโบเก้ที่มีขนาดเล็กได้ด้วยเช่นเดียวกัน

โฟกัสที่ไฟประดับตกแต่งในส่วนแบ็คกราวด์
โฟกัสที่ไฟประดับตกแต่งที่อยู่ห่างจากกล้องมากที่สุด ผมกำหนดทางยาวโฟกัสที่ต้องการใช้ขณะมองผ่านช่องมองภาพ เพื่อตรวจสอบระดับของเอฟเฟ็กต์โบเก้ของไฟที่อยู่ใกล้กับผมมากที่สุด

ตำแหน่งที่ต้องการโฟกัส: ไฟประดับตกแต่งที่ด้านหลัง

 

เทคนิคที่ 3: วงกลมโบเก้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น (2) – ขยับเข้าใกล้แหล่งกำเนิดแสง

ค่ารูรับแสงกว้างสุดที่ f/5.6 อาจดูไม่กว้างพอสำหรับช่างภาพบางคน แต่คุณยังคงสามารถสร้างวงกลมโบเก้ขนาดใหญ่จากไฟประดับตกแต่งได้เช่นกัน ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ระยะห่างระหว่างไฟกับกล้อง ในขณะที่คุณมองผ่านช่องมองภาพ ให้นำเลนส์ขยับเข้าใกล้แหล่งกำเนิดแสงให้มากที่สุด คุณจะสามารถเห็นได้ทันทีว่าคุณได้วงกลมโบเก้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นแม้จะใช้รูรับแสงเท่าเดิม จากนั้น ควบคุมขนาดของวงกลมโบเก้โดยปรับทั้งการตั้งค่ารูรับแสงและระยะการถ่ายภาพ

ไฟประดับตกแต่งที่มีวงกลมโบเก้ขนาดใหญ่ ถ่ายด้วย Canon EOS 5D Mark III

EOS 5DS R/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM/ FL: 400 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/15 วินาที, EV+1)/ ISO 400/ WB: แสงแดด

คุณสามารถสร้างวงกลมโบเก้ขนาดใหญ่ได้โดยการขยับเข้าไปใกล้แหล่งกำเนิดแสง
หากคุณขยับเข้าใกล้แหล่งกำเนิดแสงพร้อมกับโฟกัสไปที่ส่วนแบ็คกราวด์ แหล่งกำเนิดแสงที่อยู่ใกล้คุณจะเปลี่ยนเป็นวงกลมโบเก้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แม้ว่าทางยาวโฟกัสและรูรับแสงกว้างสุดอาจมีค่าจำกัดเนื่องจากเลนส์ที่คุณใช้ แต่คุณสามารถเอาชนะข้อจำกัดนี้ได้ด้วยการปรับระยะการถ่ายภาพ

 

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเคล็ดลับในการสร้างวงกลมโบเก้ได้ที่:
4 ขั้นตอนง่ายๆ ในการถ่ายภาพวงกลมโบเก้ที่หายาก
ส่วนใดที่ควรโฟกัสเพื่อให้ได้ภาพถ่ายวงกลมโบเก้ที่สวยงาม
เทคนิคของเลนส์เทเลโฟโต้: การสร้างโบเก้ซ้อนกันหลายชั้น

สำหรับเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพไฟประดับตกแต่งอ่านได้ที่:
EOS M10 บทที่ 5: วิธีถ่ายภาพแสงไฟวันคริสมาสต์ที่ส่องประกาย


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

GOTO AKI

เกิดเมื่อปี 1972 ที่จังหวัดคานากาวะ จบการศึกษาจาก Sophia University และ Tokyo College of Photography Goto เผยแพร่ผลงานคอลเลคชั่นภาพถ่ายที่มีชื่อว่า "LAND ESCAPES" และยังมีส่วนร่วมในผลงานอื่นๆ อีก อาทิ "water silence" การแสดงผลงานศิลปะที่ผสานภาพถ่ายกับวิดีโอเข้าไว้ด้วยกัน

http://gotoaki.com/

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา