ฟังก์ชั่นช่วยปรับภาพสร้างสรรค์ บทที่ 3: วิธีถ่ายภาพแสงไฟวันคริสมาสต์ที่ส่องประกายระยิบระยับ
ฟังก์ชั่นช่วยปรับภาพสร้างสรรค์ (Creative Assist) เป็นวิธีง่ายๆ ในการสร้างสรรค์ภาพถ่ายตามสไตล์คุณ แม้ว่าคุณจะเป็นช่างภาพมือใหม่ก็ตาม ในบทเรียนนี้ เราได้รวบรวมสิ่งที่เราเรียนรู้ในบทที่ 1 และ 2 สำหรับเทคนิควงกลมโบเก้หนึ่งจุด ซึ่งแม้แต่ตากล้องมือใหม่ก็สามารถใช้ในการถ่ายภาพไฟประดับตกแต่งให้ดูสวยสดงดงามได้ นอกจากนี้ มาเรียนรู้เทคนิคที่มีประโยชน์ต่างๆ เพื่อรับมือกับปัญหากล้องสั่นไหว ซึ่งเป็นศัตรูตัวฉกาจสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืน (ภาพโดย: Takeshi Akaogi, บรรณาธิการโดย: Etica)
ใช้ประโยชน์จากวงกลมโบเก้และเมนู "ความเปรียบต่าง" ในการถ่ายภาพ
วงกลมโบเก้คือจุดแสงทรงกลมที่มีลักษณะเบลอ ซึ่งถ่ายโดยใช้วิธีเบลอแหล่งกำเนิดแสง (อ่านเพิ่มเติมได้ใน คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #8) เมื่อวงกลมโบเก้ถูกนำมารวมไว้ในภาพถ่ายทิวทัศน์ยามค่ำคืนจะทำให้ภาพถ่ายของคุณดูน่าพิศวงและสวยงามน่ารักมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น การใช้เมนู "ความอิ่มตัวของสี" ในฟังก์ชั่น ฟังก์ชั่นช่วยปรับภาพสร้างสรรค์ซึ่งคุณได้เรียนรู้ไปแล้วใน บทที่ 2 จะทำให้แสงไฟวันคริสมาสต์หลากสีดูน่าสนใจมากขึ้น
จุดที่ 1: วิธีถ่ายภาพวงกลมโบเก้
การปรับระดับแบ็คกราวด์เบลอในเมนู "แบ็คกราวด์" ด้วยฟังก์ชั่นฟังก์ชั่นช่วยปรับภาพสร้างสรรค์ตามที่คุณได้เรียนรู้ไปแล้วใน บทที่ 1 จะช่วยให้คุณสามารถควบคุมการถ่ายภาพโบเก้ในส่วนโฟร์กราวด์และแบ็คกราวด์ได้
ยิ่งคุณปรับระดับแบ็คกราวด์เบลอในเมนู "เบลอฉากหลัง" ไปที่ฝั่ง "เบลอ" มากเท่าใด ช่วงโฟกัสจะแคบลงมากขึ้นเท่านั้นและทำให้แหล่งกำเนิดแสงทั้งด้านหน้าและด้านหลังของตัวแบบที่โฟกัสนั้นกลายเป็นวงกลมโบเก้ในที่สุด
EF-M18-55mm f/3.5-5.6 IS STM/ ฟังก์ชั่นช่วยปรับภาพสร้างสรรค์/ เบลอฉากหลัง+3
เมื่อวางแสงสว่างที่ประดับตกแต่งไว้บริเวณหน้ากล้องโดยตรง และโฟกัสไปที่ผู้คนที่กำลังเดินผ่านไปมาในระยะไกล ผมสามารถเบลอแสงสว่างด้านหน้าได้มาก และยังถ่ายภาพแสงดังกล่าวออกมาเป็นวงกลมโบเก้ได้อีกด้วย
เคล็ดลับพิเศษ: วิธีทำให้ภาพทั้งภาพอยู่นอกโฟกัสเพื่อสร้างเอฟเฟกต์เหมือนฝัน
วิธีหนึ่งที่จะทำให้วงกลมโบเก้ในภาพของคุณโดดเด่นยิ่งขึ้นก็คือ ทำให้ภาพทั้งภาพอยู่นอกโฟกัส!
ขั้นตอนที่ 1: วางมือของคุณไว้ที่ด้านหน้าเลนส์เล็กน้อย แล้วกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งเพื่อโฟกัสที่มือนั้น
ขั้นตอนที่ 2: กดปุ่มชัตเตอร์ค้างไว้ครึ่งหนึ่งต่อไป จากนั้นเอามือออกจากด้านหน้าเลนส์ ภาพทั้งภาพบนหน้าจอควรอยู่นอกโฟกัสแล้ว
ขั้นตอนที่ 3: ถ่ายภาพ ภาพที่ออกมาจะให้ความรู้สึกฟุ้งๆ ดูนุ่มนวลชวนฝัน
ก่อน
EOS M10/ EF-M15-45mm f/3.5-6.3 IS STM/ ฟังก์ชั่นช่วยปรับภาพสร้างสรรค์
หลัง
EOS M10/ EF-M15-45mm f/3.5-6.3 IS STM/ ฟังก์ชั่นช่วยปรับภาพสร้างสรรค์
จุดที่ 2: ปรับความอิ่มตัวของสีไปที่ฝั่ง "สีสด" เพื่อให้แสงไฟวันคริสต์มาสหลากสีดูเด่นสะดุดตามากยิ่งขึ้น
หากคุณต้องการเน้นถึงความสวยงามของแสงไฟวันคริสต์มาสที่มีหลากสีสัน ผมขอแนะนำให้เพิ่มระดับความอิ่มตัวของสีเพื่อสื่อถึงความสดใสของสีสันต่างๆ
(ต้องการศึกษาวิธีการหรือไม่) กลับไปที่ ฟังก์ชั่นช่วยปรับภาพสร้างสรรค์ บทที่ 2)
หากคุณตั้งค่าความเข้มในฟังก์ชั่น ฟังก์ชั่นช่วยปรับภาพสร้างสรรค์ไปที่ "สีสด" โดยทั่วไปจะทำให้สีสันในภาพดูสวยงามมากขึ้น
ก่อน: ความสว่าง±0, คอนทราสต์±0, ความอิ่มตัวของสี±0
หลัง: ความสว่าง+2, คอนทราสต์+2, ความอิ่มตัวของสี+2
EF-M22mm f/2.0 STM
แสงสีชมพูและสีเขียวที่ใช้ประดับตกแต่งสถานที่ดูมีสีสันสดใสมากขึ้น และความสว่างมีความแตกต่างมากขึ้น จึงทำให้ภาพโดยรวมดูคมชัดและสดใสมีชีวิตชีวา
จุดที่ 3: วิธีรับมือกับปัญหากล้องสั่นมีความสำคัญเมื่อถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อย
ในสภาวะแสงน้อย ความเร็วชัตเตอร์จะลดลงเพื่อให้ได้ระดับความสว่างที่เหมาะสมกับสภาวะแสงน้อย และเมื่อความเร็วชัตเตอร์ลดลง ปัญหากล้องสั่นและการเบลอของตัวแบบจะเกิดขึ้นได้ง่าย ดังนั้น ท่าถ่ายภาพที่มั่นคงจึงมีความสำคัญในการช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากล้องสั่น
2 ขั้นตอนเพื่อถือกล้องให้ถนัดมือยิ่งขึ้น
1. เก็บแขนทั้งสองข้างให้แนบชิดกับลำตัวและประคองด้านล่างของตัวกล้องด้วยมือซ้าย
2. เมื่อคุณกางแขนออกจากกันเพื่อถ่ายภาพ ให้ดึงสายคล้องให้ตึงเพื่อประคองและทำให้กล้องมีความมั่นคง
(ต่อไปนี้คือ เคล็ดลับเพิ่มเติมในการป้องกันปัญหากล้องสั่น เมื่อถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อย)
เคล็ดลับ: ใช้ทางยาวโฟกัสยาวๆ เพื่อให้ภาพดูแน่นขึ้น
แม้ว่าคุณจะถ่ายภาพจากสถานที่เดียวกันแต่ภาพที่ออกมาจะแตกต่างกันอย่างมาก ขึ้นอยู่กับว่าคุณปรับมุมรับภาพของเลนส์ (ระยะโฟกัส) ไปที่ระยะเทเลโฟโต้ (60 มม. หรือมากกว่า*) หรือที่ระยะมุมกว้าง (35 มม. หรือน้อยกว่า*)
(อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ คุณลักษณะของเลนส์แบบต่างๆ)
เมื่อถ่ายไฟประดับตกแต่ง โดยเฉพาะเวลาถ่ายฉากที่ค่อนข้างลึก ผมแนะนำให้ใช้ทางยาวโฟกัสยาวๆ วิธีนี้จะทำให้วัตถุที่อยู่ด้านหลังดูใกล้เข้ามา ทำให้เกิดเอฟเฟ็กต์ความหนาแน่นซึ่งเพิ่มความน่าสนใจให้กับภาพ
*ค่าเทียบเท่าในฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.
ถ่ายที่ 45 มม. (ค่าเทียบเท่าในฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.: ประมาณ 72 มม.)
EF-M15-45mm f/3.5-6.3 IS STM
ถ่ายที่ 45 มม. (ค่าเทียบเท่าในฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.: ประมาณ 24 มม.)
EF-M15-45mm f/3.5-6.3 IS STM
ดูเอฟเฟ็กต์สวยๆ ที่สร้างได้ด้วยเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสยาวๆ ได้ที่:
สร้างฉากตระการตาด้วยเส้นนำสายตาระยะเทเลโฟโต้
วิธีถ่ายภาพไฟประดับตกแต่งเพื่อสร้างบรรยากาศชวนฝัน
หากคุณชื่นชอบรูปลักษณ์ของวงกลมโบเก้ คุณจะสามารถสร้างสรรค์ได้มากขึ้นอีกเมื่อใช้โหมด Aperture-priority AE (Av)! มาดูตัวอย่างต่อไปนี้ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณสามารถทำได้ในโหมดดังกล่าวโดยใช้แฟลชติดกล้อง:
เทคนิคการใช้แฟลชติดกล้อง #6: วงกลมโบเก้ที่น่ามหัศจรรย์ในวันฝนตก
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!เกี่ยวกับผู้เขียน
บริษัท Etica จำกัด เปิดสอนการถ่ายภาพในนามของโรงเรียน “Tanoshii Camera School" ตลอดจนให้บริการตรวจแก้ไขสื่อสิ่งพิมพ์ และวางแผนสื่อและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกล้องและการถ่ายภาพ โดยเน้นหัวข้อด้านการดูแลเด็ก สัตว์ และอาหาร บริษัทยึดคติ “ภาพถ่ายทำให้ทุกๆ คนมีความสุข!” จึงมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดเสน่ห์ของกล้องถ่ายรูปและการถ่ายภาพออกไปในวงกว้าง
ในฐานะช่างภาพ Akaogi ทำงานให้กับนิตยสารต่างๆ เป็นหลัก และเขียนหนังสือแนะนำการถ่ายภาพและเคล็ดลับที่ใช้งานได้จริง นอกจากนี้ Akaogi ยังเป็นผู้ฝึกสอนในเวิร์กช็อปการถ่ายภาพอีกด้วย