ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพอย่างมืออาชีพ (3): ดึงความสามารถสูงสุดของเลนส์มาใช้

2019-05-13
6
7.85 k
ในบทความนี้:

เราได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆ ในการจัดองค์ประกอบภาพไปแล้วในบทความก่อนหน้า แต่อย่าลืมว่าเลนส์และทางยาวโฟกัสที่คุณใช้ก็มีความสำคัญต่อการจัดองค์ประกอบภาพเช่นกัน! บทความนี้จะให้คำแนะนำสั้นๆ เกี่ยวกับเลนส์มุมกว้าง เลนส์มาตรฐาน และเลนส์เทเลโฟโต้ รวมถึงเทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพเพื่อดึงความสามารถของเลนส์มาใช้ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด (เรื่องโดย: Tatsuya Tanaka)

 

เลนส์มุมกว้าง

คำจำกัดความ
เลนส์เดี่ยวมุมกว้าง: ทางยาวโฟกัสต่ำกว่า 35 มม.
เลนส์ซูมมุมกว้าง: ช่วงทางยาวโฟกัสต่ำกว่า 35 มม.
ช่วงทางยาวโฟกัสมุมกว้าง: ได้ถึง 35 มม.
เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์: ทางยาวโฟกัสต่ำกว่า 24 มม.

*ช่วงทางยาวโฟกัสทั้งหมดเทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.


มุมรับภาพแบบมุมกว้าง

มุมรับภาพแบบมุมกว้าง

A: มุมรับภาพ
B: เลนส์

ตามที่ชื่อได้บอกไว้แล้ว เลนส์มุมกว้างจะมีมุมรับภาพในแนวนอนที่กว้าง ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 60º - 100º หากเทียบกัน สายตาของมนุษย์มีระยะชัดลึกโดยประมาณที่ 40º - 60º หากไม่ขยับดวงตา

มุมรับภาพที่กว้างกว่าทำให้เลนส์มุมกว้างสามารถถ่ายฉากที่อยู่เบื้องหน้าคุณได้กว้างขึ้น แม้คุณอาจไม่สังเกตเห็นในทันที

เคล็ดลับน่ารู้: สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระยะ 24 มม. เป็นทางยาวโฟกัสที่นิยมใช้ในการถ่ายภาพทิวทัศน์คือ มุมรับภาพจากระยะนี้ (74º ในแนวนอน, 53º ในแนวตั้ง) มีขนาดใกล้เคียงกับมุมรับภาพของสายตามนุษย์เมื่อมองของสิ่งหนึ่งจากระยะไกล

 

ใช้เลนส์มุมกว้างเพื่อให้ระยะห่างดูเกินจริง

ปรากฏการณ์เปอร์สเป็คทีฟทำให้วัตถุที่อยู่ใกล้ดูมีขนาดใหญ่ขึ้น และวัตถุที่อยู่ไกลดูมีขนาดเล็กลง เลนส์มุมกว้างจะทำให้ปรากฏการณ์นี้ดูเกินจริงมากขึ้น วัตถุที่ใกล้กับกล้องมากกว่าจึงดูใหญ่ขึ้นแบบผิดสัดส่วน และวัตถุที่อยู่ไกลจากกล้องจะดูเล็กลง เอฟเฟ็กต์นี้เรียกว่าเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟเกินจริง

ก้อนน้ำแข็งในแม่น้ำ

* เอื้อเฟื้อภาพถ่ายโดย Canon

ก้อนน้ำแข็งในแม่น้ำ (ตาราง)

น้ำแข็งที่ลอยอยู่ในแม่น้ำ เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟเกินจริงทำให้ก้อนน้ำแข็งดูมีขนาดใหญ่ขึ้นและอยู่ใกล้ขึ้น ในขณะที่พื้นดินในแบ็คกราวด์ดูมีขนาดเล็กลง ดูห่างออกไปและกว้างไกลมากกว่า

เคล็ดลับการจัดองค์ประกอบภาพ: ใช้เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟเกินจริงทำให้ตัวแบบในโฟร์กราวด์ของคุณโดดเด่นขึ้น ในภาพนี้ ผมให้ก้อนน้ำแข็งอยู่ตรงกลางในบริเวณสามส่วนล่างตามหลักการจัดองค์ประกอบภาพแบบกฎสามส่วน ซึ่งทำให้ก้อนน้ำแข็งมีน้ำหนักทางสายตามากขึ้นและอยู่ใกล้กล้องมากกว่า

 

ใช้เลนส์มุมกว้างในภาพที่มีเส้นนำสายตา

เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟเกินจริงจะเห็นได้ชัดเป็นพิเศษบนถนน แม่น้ำ ทางเดิน และตัวแบบอื่นๆ ที่มีเส้นขนานเพราะเกิดเอฟเฟ็กต์การบรรจบกัน เอฟเฟ็กต์นี้สามารถนำมาใช้ในการสร้างเส้นนำสายตา ซึ่งเป็นตัวนำความสนใจของผู้ชมไปยังจุดรวมสายตา 

ท้องถนนที่มีเส้นนำสายตา

ท้องถนนที่แสดงเส้นนำสายตาในแนวทแยง

ในภาพนี้ เอฟเฟ็กต์การบรรจบกันเกิดขึ้นสองจุดจากตัวอาคารและถนน โดยทำให้เกิดเส้นนำสายตาในแนวทแยงที่นำความสนใจของผู้ชมไปยังจุดที่เอฟเฟ็กต์ทั้งสองตัดกัน ซึ่งในภาพนี้ คือคนที่อยู่ตรงกลางภาพ

 

สำหรับเลนส์มุมกว้าง ทางยาวโฟกัสที่ต่างกัน 2 มม. มีความสำคัญอย่างมาก

ความแตกต่างของมุมรับภาพในแนวนอนระหว่างทางยาวโฟกัส 16 มม. และ 18 มม. อยู่ที่ประมาณ 7º (96.7º และ 90º เมื่อดูจากเครื่องมือคำนวณมุมรับภาพนี้ (ฉบับภาษาอังกฤษ)) และทำให้เกิดความแตกต่างดังที่เห็นด้านล่าง

16 มม. เทียบกับ 18 มม.

อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของมุมรับภาพจะน้อยลงเมื่อใช้ทางยาวโฟกัสที่ยาวขึ้น (เลนส์มาตรฐานและเลนส์เทเลโฟโต้) ยกตัวอย่างเช่น เมื่อใช้เลนส์เทเลโฟโต้ ความแตกต่าง 50 มม. ระหว่างระยะ 200 มม. (10.3º) กับ 250 มม. (8.2º) จะทำให้มุมรับภาพแตกต่างกันเพียง 2º

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวการจัดองค์ประกอบภาพด้วยเลนส์มุมกว้างได้ที่นี่: 
สำรวจเลนส์มุมกว้างตอนที่ 2: เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพสำหรับเลนส์มุมกว้าง

 

เลนส์มาตรฐาน

คำจำกัดความ
เลนส์เดี่ยวมาตรฐาน: ทางยาวโฟกัสระหว่าง 40-60 มม.* (50 มม. จะพบได้บ่อยที่สุด)
เลนส์ซูมมาตรฐาน: สำหรับ Canon คือเลนส์ที่มีช่วงโฟกัส* 24-70 มม., 28-70 มม., 24-105 มม., ฯลฯ
ช่วงโฟกัสมาตรฐาน: ระหว่าง 35-135 มม.*
(หมายเหตุ: 70-135 มม. ก็นับเป็นช่วง “เทเลโฟโต้ระยะกลาง” ด้วยเช่นกัน)

*ช่วงทางยาวโฟกัสทั้งหมดเทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.


มุมรับภาพแบบมาตรฐาน

มุมรับภาพแบบมาตรฐาน

A: มุมรับภาพ
B: เลนส์

โดยทั่วไป มุมรับภาพแนวนอนของเลนส์มาตรฐานจะอยู่ระหว่าง 25º ถึง 40º ซึ่งจัดว่าอยู่ระหว่างมุมรับภาพของเลนส์มุมกว้างและเลนส์เทเลโฟโต้ ซึ่งเรียกว่ามุมรับภาพแบบ “มาตรฐาน” หรือ “ปกติ” เนื่องจากให้ระยะชัดลึก ความลึก และเปอร์สเป็คทีฟที่ใกล้เคียงกับสายตาของมนุษย์

หมายเหตุ: เลนส์ซูมมาตรฐานยังครอบคลุมทางยาวโฟกัสที่จัดว่าเป็นแบบ “มุมกว้าง” และ “เทเลโฟโต้ระยะกลาง” ด้วย จึงสามารถใช้งานได้สารพัดประโยชน์อย่างมาก!

 

ใช้เลนส์ซูมมาตรฐานในการถ่ายภาพตัวแบบโดยไม่เกิดความบิดเบี้ยว

หากคุณใช้เลนส์มุมกว้างในการถ่ายภาพตัวแบบที่มีเส้นตรง เช่น อาคารสูง เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟเกินจริงจะทำให้เส้นเหล่านั้นบิดเบี้ยวไปแม้คุณจะไม่ได้เอียงกล้องขึ้นด้านบน การใช้ทางยาวโฟกัสมาตรฐานสามารถช่วยกำจัดการบิดเบี้ยวนี้ได้ 

อาคารถ่ายที่ระยะ 50 มม.

* เอื้อเฟื้อภาพถ่ายโดย Canon

แสดงส่วนโคลสอัพที่ 50 มม.

FL: 50 มม.

50 มม. แบบครอป
แสดงส่วนโคลสอัพที่ 35 มม.

FL: 35 มม.

35 มม. แบบครอป

อาคาร สะพาน และโครงสร้างอื่นๆ ที่มีเส้นตรงจะพบได้มากในทิวทัศน์เมือง จะเห็นว่าในภาพตัวอย่างที่ใช้ระยะ 35 มม. (มุมกว้าง) เส้นที่เกิดจากด้านข้างของตัวโบสถ์ดูเหมือนจะเอียงเข้าหาจุดกึ่งกลาง นี่คือผลของเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟเกินจริง หากเทียบกัน เส้นจะอยู่ในแนวตรงในตัวอย่างที่ใช้ระยะ 50 มม. ซึ่งถ่ายจากตำแหน่งเดียวกัน

เคล็ดลับ: ตั้งกล้องให้ได้ระดับ การเอียงกล้องขึ้นหรือลงจะทำให้เปอร์สเป็คทีฟบิดเบี้ยวไปไม่ว่าจะใช้เลนส์ใดก็ตาม

เลนส์มาตรฐานก็เหมาะสำหรับการถ่ายภาพวิวเช่นกัน อ่านเพิ่มเติมได้ที่
เทคนิคการถ่ายภาพด้วยเลนส์มาตรฐาน: การใช้มุมมองเพื่อดึงให้คนดูเข้าไปอยู่ในภาพ
 

เลนส์เทเลโฟโต้

คำจำกัดความ
เลนส์เดี่ยวเทเลโฟโต้: ทางยาวโฟกัส 200 มม. หรือมากกว่า
เลนส์ซูมเทเลโฟโต้: เลนส์ซูมที่มีระยะเทเลโฟโต้ 200 มม. หรือมากกว่า
ช่วงโฟกัสเทเลโฟโต้ระยะกลาง: ประมาณ 70-135 มม. (คำจำกัดความบอกว่า 85-135 มม.)
เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้: ทางยาวโฟกัสมากกว่า 300 มม.

*ช่วงทางยาวโฟกัสทั้งหมดเทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.


มุมรับภาพแบบเทเลโฟโต้

มุมรับภาพแบบเทเลโฟโต้

A: มุมรับภาพ
B: เลนส์

เลนส์เทเลโฟโต้ทำให้วัตถุที่อยู่ไกลมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วยการ “ดึง” วัตถุเข้ามาเพื่อทำให้ดูเหมือนอยู่ใกล้ขึ้น ซึ่งทำให้มุมรับภาพในแนวนอนแคบลงด้วย โดยปกติแล้วจะอยู่ที่ 10º - 15º

ข้อควรรู้: หลายๆ คนมักจะนึกถึงเลนส์มุมกว้างเมื่อต้องถ่ายภาพทิวทัศน์ แต่การถ่ายภาพทิวทัศน์ด้วยเลนส์เทเลโฟโต้ก็ทำให้ได้ภาพที่ไม่เหมือนใครเช่นกัน มุมรับภาพที่แคบกว่าทำให้ง่ายต่อการแยกองค์ประกอบต่างๆ ที่คุณต้องการให้ผู้ชมสนใจ

 

เลนส์เทเลโฟโต้ทำให้คุณเข้าใกล้วัตถุที่อยู่ไกลได้มากขึ้น

ทางยาวโฟกัสเทเลโฟโต้จะดึงตัวแบบที่อยู่ไกลเข้ามาเพื่อให้ดูใหญ่และใกล้ขึ้น จึงมีประโยชน์ในการถ่ายโคลสอัพตัวแบบเมื่อคุณไม่สามารถหรือไม่ต้องการเขยิบเข้าไปใกล้ตัวแบบ

ทะเลและพื้นดินถ่ายที่ระยะ 50 มม.
ทะเลและพื้นดินถ่ายที่ระยะ 300 มม.
50 มม. แบบมีตาราง

FL: 50 มม.

300 มม. แบบมีตาราง

FL: 300 มม.

สองภาพด้านบนถ่ายจากตำแหน่งเดียวกันด้วยเลนส์คนละชนิด ทางยาวโฟกัสที่ 300 มม. ทำให้สามารถถ่ายภาพแนวพื้นดินและคลื่นที่กำลังซัดสาดเข้าฝั่งได้แบบโคลสอัพ โดยใช้การจัดองค์ประกอบภาพในอัตราส่วน 6:3

ดูเพิ่มเติมได้ที่: เคล็ดลับการจัดองค์ประกอบภาพที่ทำให้หมอกสวยงามเตะตา

 

เลนส์เทเลโฟโต้สามารถบีบระยะห่างระหว่างตัวแบบได้

ทางยาวโฟกัสเทเลโฟโต้ไม่เพียงแต่ทำให้สิ่งของที่อยู่ไกลดูใกล้ขึ้นเท่านั้น แต่ยังสามารถทำให้สิ่งของดูเหมือนอยู่ใกล้กันมากขึ้นด้วย ซึ่งเรียกว่า “เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพ” “เอฟเฟ็กต์การบีบภาพระยะไกล” หรือ “เอฟเฟ็กต์แบบวางซ้อน” 

เทือกเขาและดวงจันทร์ถ่ายที่ระยะ 500 มม.

เทือกเขาและดวงจันทร์แบบมีตาราง

ในภาพนี้ซึ่งถ่ายที่ระยะ 500 มม. เทือกเขาที่อยู่ในโฟร์กราวด์ดูเหมือนถูก “บีบ” ให้อยู่ในระนาบเดียวกันกับดวงจันทร์ ซึ่งความจริงแล้ว ดวงจันทร์นั้นอยู่ไกลออกไปจากด้านหลังเทือกเขามาก เอฟเฟ็กต์นี้ทำให้ผมวางดวงจันทร์เอาไว้ตรงจุดตัดของตารางตามกฎสามส่วนได้ คุณสามารถใช้เอฟเฟ็กต์นี้ได้เพื่อวัตถุประสงค์ทางศิลปะ หรือเพื่อให้วัตถุในภาพดูหนาแน่นขึ้น


ข้อควรรู้ (1): ช่วงทางยาวเทเลโฟโต้ต่างๆ นิยมใช้เพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน

- 85 ถึง 135 มม.: ให้ระยะห่างจากตัวแบบที่ทำให้รู้สึกสบายตา จึงมักใช้ในการถ่ายภาพพอร์ตเทรต
- 150 ถึง 300 มม.: เหมาะสำหรับการดึงความสนใจไปยังองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งในภาพทิวทัศน์ เป็นที่นิยมใช้ในหมู่ช่างภาพทิวทัศน์ธรรมชาติ
- ซูเปอร์เทเลโฟโต้ (ทุกระยะเกินกว่า 300 มม.): เลนส์เหล่านี้เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการถ่ายภาพสัตว์ป่า นก และกีฬา


ข้อควรรู้ (2): กล้องจะเกิดการสั่นได้ง่ายกว่าเมื่อใช้เลนส์เทเลโฟโต้

เนื่องจากเลนส์เหล่านี้มีความยาวมากกว่าเลนส์ชนิดอื่น ใช้ความระมัดระวังเพื่อป้องกันการเกิดภาพสั่นไหว เช่น ใช้ขาตั้งกล้องแบบสามขา ขาตั้งกล้องแบบขาเดียว หรือใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้น


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์ได้ที่นี่: ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์

ดูบทความอื่นๆ ในบทความต่อเนื่องชุดนี้:
1. เส้นนำสายตา จังหวะที่ไม่คาดคิด และการตัดส่วนเกิน
2. “รูปแบบและจังหวะ” และ “เส้นโค้งรูปตัว S”
4. การใช้งานเลนส์พิเศษ

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Tatsuya Tanaka

เกิดเมื่อปี 1956 Tanaka เป็นหนึ่งในช่างภาพที่หาตัวจับยาก ซึ่งได้สร้างผลงานไว้หลากหลายแนวจากมุมมองที่เป็นแบบฉบับของตัวเอง เขาถ่ายภาพในรูปแบบต่างๆ มากมายตั้งแต่สิ่งที่มองเห็นในชีวิตประจำวัน เช่น แมลงและดอกไม้ ไปจนถึงภาพทิวทัศน์ ตึกสูง และดวงดาวบนท้องฟ้าเลยทีเดียว นอกเหนือจากการถ่ายภาพแล้ว Tanaka ยังพัฒนาวิธีการของตัวเองในกระบวนการปรับแต่งภาพรวมทั้งการรีทัชและการพิมพ์ขึ้นมาอีกด้วย

http://tatsuya-t.com/

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา