ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิดและเทคนิคของเลนส์- Part4

พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ #2: เลนส์เดี่ยว

2017-08-31
13
4.78 k
ในบทความนี้:

เลนส์เดี่ยวหรือที่บางครั้งเรียกว่าเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสคงที่ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการสร้างโบเก้ รวมถึงการถ่ายภาพที่มีการสั่นไหวของกล้องน้อยที่สุด เรามาสำรวจคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ของเลนส์ประเภทนี้กัน และดูว่ารูรับแสงกว้างสุดที่กว้างมากของเลนส์มีประโยชน์ต่อภาพถ่ายของเราอย่างไร (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)

ภาพด้านบนเกี่ยวกับพื้นฐานของเลนส์

 

จุดเด่นที่สุดของเลนส์เดี่ยวคือ สร้างโบเก้ที่งดงามได้อย่างง่ายดาย

ประโยชน์
- รูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการสร้างโบเก้
- คุณสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้นได้ในสภาวะแสงน้อย ซึ่งช่วยป้องกันอาการกล้องสั่น
- มักมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา จึงพกพาได้สะดวกมาก

จุดอ่อน
- ต้องเปลี่ยนเลนส์บ่อยครั้งเพื่อใช้ทางยาวโฟกัสต่างๆ กัน
- ไม่สามารถซูมเพื่อปรับมุมรับภาพได้

เลนส์เดี่ยวยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เลนส์โฟกัสเดี่ยว หรือเลนส์โฟกัสคงที่ และดังชื่อที่ว่าไว้ เลนส์นี้มีทางยาวโฟกัสเดียวเท่านั้น จึงไม่สามารถซูมเข้าหรือออกเพื่อเปลี่ยนมุมรับภาพได้ อย่างไรก็ดี เลนส์ชนิดนี้มักมีความสว่างและมาพร้อมรูรับแสงกว้างสุดที่กว้าง (ค่า f ต่ำ) ซึ่งทำให้สร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่สวยงามในส่วนแบ็คกราวด์ได้ง่าย นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้ ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้นได้เมื่อถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อย จึงได้ภาพถ่ายที่คมชัดโดยไม่ต้องใช้ความไวแสง ISO ที่สูง และเสี่ยงต่อการเกิดจุดสีรบกวนเพื่อป้องกันปัญหากล้องสั่นไหว

แล้วค่ารูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ และความไวแสง ISO สัมพันธ์กันอย่างไร อ่านสรุปได้จาก:
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #3: การเปิดรับแสง

เมื่อเปรียบเทียบกับเลนส์ซูม เลนส์เดี่ยวมีโครงสร้างเลนส์ที่เรียบง่ายกว่า ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้เลนส์ชนิดนี้มักมีขนาดเล็กกว่า น้ำหนักเบากว่า และพกพาง่ายกว่าด้วยเช่นกัน นี่จึงเป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติที่ทำให้เลนส์เดี่ยวแตกต่างจากเลนส์ซูม อย่างไรก็ดี เนื่องจากเลนส์เดี่ยวมีทางยาวโฟกัสคงที่ ดังนั้นสำหรับฉากและตัวแบบบางประเภท คุณอาจต้องพกพาเลนส์สองสามตัว และสลับใช้เลนส์บ่อยครั้งเพื่อให้ได้ภาพตามที่ต้องการ นั่นหมายความว่าคุณต้องพึ่งทักษะฝีมือของตัวเองในการจัดองค์ประกอบภาพ จึงอาจกล่าวได้ว่าการใช้เลนส์เดี่ยวช่วยพัฒนาทักษะถ่ายภาพของคุณให้ดีขึ้นด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง: แนวคิดในการกำหนดข้อจำกัดในการถ่ายภาพให้กับตนเอง เพื่อช่วยคุณฉีกออกจากแนวคิดสร้างสรรค์แบบเดิมๆ

 

ไอเดียหลักที่ 1: ประเภทของเลนส์เดี่ยว

เลนส์เดี่ยวมีด้วยกันสี่ประเภทหลักๆ ประเภทแรกประกอบด้วยเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ (ทางยาวโฟกัสสั้นกว่า 24 มม. เทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.) และเลนส์มุมกว้าง ซึ่งสามารถเก็บภาพมุมกว้างได้ ประเภทที่สองประกอบด้วยเลนส์มาตรฐาน (เทียบเท่า 50 มม.) และเลนส์เทเลโฟโต้ระยะกลาง (เทียบเท่า 85 มม. หรือที่เรียกกันว่า "เลนส์พอร์ตเทรต" เนื่องจากมักใช้กับการถ่ายภาพพอร์ตเทรต) ซึ่งสามารถถ่ายที่มุมรับภาพใกล้เคียงกับที่มองเห็นด้วยตาเปล่า ส่วนเลนส์เทเลโฟโต้และเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ ซึ่งเป็นเลนส์เดี่ยวประเภทที่สามสามารถเก็บภาพระยะใกล้ของวัตถุที่อยู่ห่างออกไป และประเภทสุดท้ายคือ เลนส์มาโคร ซึ่งสามารถเก็บภาพระยะใกล้ของตัวแบบที่มีขนาดเล็กจากระยะการถ่ายที่ใกล้

 

รูปที่ 1-3 EF14mm f/2.8L II USM (มุมกว้างอัลตร้าไวด์), EF24mm f/2.8 IS USM (มุมกว้าง), EF-M22mm f/2 STM (มุมกว้าง)

เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์และเลนส์มุมกว้าง 2 ตัว
(1) EF14mm f/2.8L II USM
(2) EF24mm f/2.8 IS USM
(3) EF-M22mm f/2.0 STM

รูปที่ 4-6 EF-S24mm f/2.8 STM (มาตรฐาน), EF50mm f/1.4 USM (มาตรฐาน), EF85mm f/1.8 USM (เทเลโฟโต้ระยะกลาง)

เลนส์มาตรฐาน 2 ตัว และเลนส์เทเลโฟโต้ระยะกลาง 1 ตัว
(4) EF-S24mm f/2.8 STM
(5) EF50mm f/1.4 USM
(6) EF85mm f/1.8 USM

 

รูปที่ 7 และ 8: EF300mm f/4L IS USM (เทเลโฟโต้), EF600mm f/4LIS II USM (ซูเปอร์เทเลโฟโต้)

เลนส์เทเลโฟโต้และเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้
(7) EF300mm f/4L IS USM
(8) EF600mm f/4L IS II USM

รูปที่ 9-11 (เลนส์มาโคร): EF-M28mm f/3.5 Macro IS STM, EF-S35mm f/2.8 Macro IS STM, EF100mm f/2.8L Macro IS USM

เลนส์มาโคร
(9) EF-M28mm f/3.5 Macro IS STM
(10) EF-S35mm f/2.8 Macro IS STM
(11) EF100mm f/2.8L Macro IS USM

 

ไอเดียหลักที่ 2: เลนส์เดี่ยว เลนส์ซูม และความแตกต่างของเอฟเฟ็กต์โบเก้

เลนส์เดี่ยวมักถ่ายภาพที่มีโบเก้ได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับเลนส์ซูมปกติที่มีทางยาวโฟกัสเท่ากัน ดังเช่นตัวอย่างด้านล่างซึ่งถ่ายที่ 50 มม. ทั้งนี้เพราะรูรับแสงกว้างสุดที่มีให้ใช้งานในเลนส์เดี่ยวคือ f/1.4 ขณะที่เลนส์ซูม (ที่ทางยาวโฟกัสนี้) มีรูรับแสงกว้างสุดที่ f/5 พึงทราบว่าความแตกต่างนี้มีความสำคัญต่อขนาดของพื้นที่ที่อยู่นอกโฟกัสของโบเก้

 

EF50mm f/1.4 USM

ถ่ายด้วย EF50mm f/1.4 USM, f/1.4

EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.4 USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/1.4, 1/1250 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: Manual

EF24-105mm f/3.5-5.6 IS STM

ถ่ายด้วย EF24-105mm f/3.5-5.6 IS STM ที่ 50 มม., f/5

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/3.5-5.6 IS STM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/5, 1/125 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: Manual

 

ไอเดียหลักที่ 3: ค่า f ที่สามารถเลือกได้หลากหลาย

เลนส์เดี่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่ จะมีช่วงค่า f ที่ใช้งานได้หลากหลายกว่า เมื่อเทียบกับเลนส์ที่มีรูรับแสงแบบปรับได้ซึ่งตั้งค่าทางยาวโฟกัสไว้เท่ากัน ตัวอย่างเช่น รูรับแสงกว้างสุดของเลนส์ EF24-105mm f/3.5-5.6 IS STM ที่ 50 มม. คือ f/5 แต่ในเลนส์ EF50mm f/1.4 USM คุณสามารถใช้รูรับแสงกว้างสุดที่ f/1.4 การมีช่วงค่า f ที่หลากหลายกว่าให้เลือกนี้ช่วยให้คุณมีตัวเลือกมากขึ้นในการสื่ออารมณ์ภาพในแนวศิลป์

ต่อไปนี้คือสิ่งที่สามารถทำได้ด้วยเลนส์ f/1.4:
การถ่ายภาพดาราศาสตร์: การถ่ายภาพท้องฟ้าที่ดารดาษไปด้วยแสงดาวด้วยเลนส์ f/1.4

 

ความแตกต่างในช่วงการตั้งค่ารูรับแสงที่ใช้งานได้ที่ 50 มม. (EF50mm f/1.4 USM กับ EF24-105mm f/3.5-5.6 IS STM)

 

ไอเดียหลักที่ 4: การจับโฟกัส

เมื่อคุณใช้เลนส์เดี่ยวที่รูรับแสงกว้างสุด ระยะชัดลึกจะตื้น (กล่าวคือ พื้นที่ที่อยู่ในระยะโฟกัสจะแคบมาก) และทำให้คุณจับโฟกัสในบริเวณที่ต้องการได้ยากขึ้น ดังนั้น คุณอาจจะต้องลองถ่ายภาพหลายครั้ง โดยให้แต่ละครั้งมีจุดโฟกัสต่างกันเล็กน้อย นอกจากนี้ ควรทำความคุ้นเคยกับวิธีจับโฟกัสที่แม่นยำในแบบต่างๆ เช่น การขยายจุด AF ในการถ่ายภาพ Live View หรือวิธีการโฟกัสแบบปรับตำแหน่งอย่างละเอียดผ่านการโฟกัสแบบแมนนวล (MF)

หากต้องการอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับระยะชัดลึก โปรดดูที่: 
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #1: รูรับแสง

ภาพโคลสอัพ ถ่ายด้วย EF50mm f/1.4 USM ที่ f/1.4

EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.4 USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/1.4, 1/50 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

เมื่อคุณเข้าใกล้ตัวแบบที่มีขนาดเล็ก ระยะชัดลึกจะตื้นมาก และคุณจะต้องอาศัยการโฟกัสแบบ Pinpoint ที่แม่นยำ MF จึงอาจเป็นตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพมาก แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฉากที่ถ่ายด้วยเช่นกัน

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Tomoko Suzuki

หลังเรียนจบจากวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยโตเกียวโพลีเทคนิคแล้ว Suzuki ก็เข้าทำงานกับบริษัทโปรดักชั่นโฆษณาแห่งหนึ่ง เธอได้ทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับช่างภาพหลายคน รวมถึง Kirito Yanase และมีความเชี่ยวชาญการถ่ายภาพโฆษณาผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องแต่งกายและเครื่องสำอางอีกด้วย ตอนนี้เธอทำงานเป็นช่างภาพสตูดิโอให้กับบริษัทผลิตเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา