5 เคล็ดลับเพื่อการตรวจจับและติดตามตัวแบบที่ดียิ่งขึ้น
กล้องรุ่นใหม่ในระบบ EOS R เช่น EOS R7 และ EOS R6 Mark II มีจุดเด่นคืออินเทอร์เฟซการใช้งาน AF แบบใหม่และประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นในการตรวจจับและติดตามตัวแบบ ต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณควรทราบเพื่อใช้คุณสมบัติเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (เรื่องโดย: Yuta Murakami, Digital Camera Magazine)
1. ใช้โหมดพื้นที่ AF ให้เหมาะกับสถานการณ์
1. ใช้โหมดพื้นที่ AF ให้เหมาะกับสถานการณ์
ขั้นตอนแรกที่จะทำให้การติดตามตัวแบบของคุณมีประสิทธิภาพสูงสุดคือต้องแน่ใจว่ากล้องสามารถระบุและล็อคตัวแบบ (หรือส่วนหนึ่งของตัวแบบ) ที่คุณต้องการติดตามได้ กล้องนั้นมีความชาญฉลาด แต่จะสามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้นหากคุณกำหนดแนวทางไว้เป็นอย่างดี! โหมดพื้นที่ AF จะบอกให้กล้องรู้ว่าต้องมองหาตัวแบบที่จุดใด
โดยโหมดพื้นที่ AF ในกล้องของคุณสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1: เลือกอัตโนมัติ | 2: ผู้ใช้กำหนดเอง | |
การจับโฟกัสที่ตัวแบบ | จับโฟกัสและติดตามตัวแบบที่สามารถตรวจจับได้โดยอัตโนมัติภายในพื้นที่ AF ที่กำหนด | มีจุด AF เริ่มต้นที่คุณสามารถใช้ในการเลือกวัตถุหรือส่วนที่คุณต้องการให้กล้องจับโฟกัสและติดตาม |
โหมดพื้นที่ AF | AF ทั่วพื้นที่ Zone AF แบบยืดหยุ่น |
AF จุดเล็ก AF จุดเดียว ขยายพื้นที่ AF |
ต่อไปนี้คือวิธีการใช้ AF แบบต่างๆ
ตัวอย่างที่ 1: โฟกัสอย่างแม่นยำด้วยพื้นที่ AF ที่ผู้ใช้กำหนดเอง
รถไฟขบวนนี้มีขนาดเล็กมากในเฟรมภาพ ผมจึงใช้ AF จุดเล็กเพื่อให้จับโฟกัสที่รถไฟได้อย่างแม่นยำ จุด AF เริ่มต้นคือกรอบสี่เหลี่ยมสีขาวขนาดเล็กที่คอยตรวจจับตัวแบบที่ตัดผ่านเข้ามา
โฟกัสจับอยู่ที่หัวขบวนรถไฟอย่างแม่นยำแม้ในขณะที่กำลังแล่นใกล้เข้ามาเรื่อยๆ และกินพื้นที่ในเฟรมภาพมากขึ้น
และคุณยังสามารถใช้ AF จุดเดียว, Zone AF แบบยืดหยุ่น หรือโหมดขยายพื้นที่ AF โหมดหนึ่งได้เช่นกันโดยขึ้นอยู่กับขนาดของตัวแบบและลักษณะการเคลื่อนที่ ซึ่ง AF แบบสุดท้ายนี้จะใช้จุดที่อยู่รอบๆ จุด AF ที่กำหนดในการตรวจจับและโฟกัสบนตัวแบบที่กำลังเคลื่อนที่
ตัวอย่างที่ 2: ถ่ายภาพตัวแบบที่เคลื่อนที่เร็วและคาดเดาไม่ได้
หากเป็นตัวแบบเคลื่อนที่เร็วที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วในเฟรมภาพ เช่น รถไฟความเร็วสูง การเริ่มจับโฟกัสและติดตามตัวแบบในขณะที่ยังอยู่ไกลจะเป็นวิธีที่ได้ผลดีน้อยกว่า แม้ประสิทธิภาพการติดตามตัวแบบจะพัฒนาขึ้นอย่างมากในกล้องรุ่นใหม่ๆ แต่ผมกลับพบว่าวิธีที่ได้ผลดีกว่าคือการเริ่มติดตามตัวแบบด้วย Zone AF หรือ Zone AF แบบยืดหยุ่น (ขึ้นอยู่กับรุ่นของกล้อง) ก่อนที่คุณจะถ่ายภาพ วิธีนี้จะช่วยให้เกิดการคลาดเคลื่อนน้อยลง
ในโหมด Zone AF/ Zone AF แบบยืดหยุ่น หากฟังก์ชั่นการติดตามตัวแบบถูกปิดใช้งาน กล้องจะจับโฟกัสที่ตัวแบบในพื้นที่ AF ที่กำหนดเท่านั้น (กรอบสีขาว) เมื่อคุณเริ่มโฟกัสอัตโนมัติหรือกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง
หมายเหตุ: สำหรับ EOS R6 Mark II และกล้องรุ่นใหม่กว่า เมื่อ “Servo AF แบบติดตามทั่วพื้นที่” ถูกตั้งค่าไว้ที่ “เปิด” โฟกัสอาจเปลี่ยนตำแหน่งไปอยู่บนตัวแบบที่ตรวจพบนอกพื้นที่ Zone AF แบบยืดหยุ่น ดูข้อ 3)
เคล็ดลับระดับมือโปรข้อที่ 1: การตรวจจับตัวแบบจะทำได้ง่ายที่สุดเมื่อตัวแบบมีความเปรียบต่างตัดกับแบ็คกราวด์
ตัวแบบที่สามารถตรวจจับได้ง่ายจะเป็นตัวแบบที่ติดตามได้ง่ายเช่นกัน หากตัวแบบของคุณโดดเด่นออกมาจากแบ็คกราวด์เนื่องจากสีสันของตัวแบบหรือความเปรียบต่าง คุณมั่นใจได้เลยว่าจะสามารถติดตามตัวแบบได้แม่นยำกว่าหากเทียบกับสภาวะที่มีความเปรียบต่างน้อย
หาคำตอบว่า Zone AF แบบยืดหยุ่นมีประโยชน์อย่างไรต่อช่างภาพใต้น้ำ William Tan ได้ที่บทความ:
การถ่ายภาพชีวิตใต้ท้องทะเลลึกด้วย EOS R3: รีวิวตามภาพ
2. ตรวจสอบการตั้งค่าในการตรวจจับตัวแบบ
2. ตรวจสอบการตั้งค่าในการตรวจจับตัวแบบ
เมื่อไม่ใช้การตรวจจับตัวแบบ กล้องจะกำหนดตัวแบบที่ต้องการจับโฟกัสและติดตามโดยอาศัยข้อมูลจากบริบท เช่น องค์ประกอบภาพ สีสัน ความเปรียบต่าง และระยะห่างจากตัวกล้อง การตรวจจับตัวแบบ (การจดจำ) จะช่วยให้กล้องตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้นว่าควรให้ความสำคัญกับวัตถุใด นอกจากนี้ ยังช่วยให้ติดตามตัวแบบที่มีการเคลื่อนไหวแบบคาดเดาไม่ได้หรือไม่แน่นอนได้แม่นยำขึ้น เช่น เด็กๆ หรือสัตว์ต่างๆ
ควรทราบว่ากล้องของคุณสามารถตรวจจับตัวแบบใดได้บ้างแล้วตั้งค่าให้เหมาะสม
กล้องรุ่นใหม่ๆ เช่น EOS R6 Mark II จะมีเมนู “เป้าหมายที่ตรวจจับ: อัตโนมัติ” ซึ่งเป็นค่าเริ่มต้นที่ดี เมื่อใช้การตั้งค่านี้ หากตรวจพบตัวแบบหลายตัวในเฟรม (เช่น ในฉากที่มีรถยนต์ คน และสุนัข) กล้องจะวิเคราะห์ข้อมูลจากบริบทและตัดสินใจว่าจะจับโฟกัสและติดตามตัวแบบใด
ในกล้องที่ไม่มีการตั้งค่า “อัตโนมัติ” คุณจะต้องเลือกชนิดของตัวแบบที่ต้องการตรวจจับ
อย่าลืมว่า:
- “คน” จะให้ความสำคัญกับคนก่อน
- “สัตว์” จะให้ความสำคัญกับสัตว์ก่อนแต่ก็ตรวจจับคนได้ด้วยเช่นกัน
- “ยานพาหนะ” ให้ความสำคัญกับยานพาหนะในกีฬาแข่งรถ แต่ก็สามารถตรวจจับคนได้ด้วยเช่นกัน
ภาพโดย: Asuka Yano
นางแบบ: Aki Takada
People Priority
ในโหมด People Priority กล้องไม่ได้ตรวจจับและติดตามเฉพาะใบหน้าของมนุษย์เท่านั้น แต่รวมถึงศีรษะและลำตัวด้วย หากคุณเปิดใช้งานการตรวจจับดวงตา กล้องจะตรวจจับและติดตามดวงตาด้วยเช่นกัน
ในกล้องบางรุ่น เช่น EOS R7 กล้องจะมองหาใบหน้าและดวงตาก่อน หากไม่สามารถตรวจจับได้ กล้องจะมองหาลำตัวและศีรษะของตัวแบบแทน การตรวจจับศีรษะจะเกิดขึ้นที่ด้านหลังของศีรษะ รวมถึงใบหน้าที่ถูกปิดบังไปบางส่วน เช่น ในขณะที่ตัวแบบกำลังสวมหน้ากากครอบดวงตาหรือหน้ากากอนามัย กล้องรุ่นใหม่ที่ทันสมัยกว่าจะสามารถตรวจจับคนได้โดยการ “จับ” และระบุส่วนต่างๆ ของร่างกาย
คุณสมบัตินี้ทำให้กล้องมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในการถ่ายภาพเด็กๆ ที่กำลังวิ่งไปมา หรือแม้แต่นักกีฬาที่กำลังแข่งขัน!
ภาพโดย: Masayuki Oki
Animal Priority
ชนิดของสัตว์ที่สามารถตรวจจับได้จะขึ้นอยู่กับรุ่นของกล้อง กล้องส่วนใหญ่จะสามารถตรวจจับแมว สุนัข และนกได้เป็นอย่างน้อย ในขณะที่กล้องรุ่นอื่นๆ เช่น EOS R6 Mark II สามารถตรวจจับม้าได้ด้วย
เช่นเดียวกับการตรวจจับแบบ People Priority กล้องจะตรวจจับและติดตามดวงตา ใบหน้า และลำตัวของสัตว์ต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจจับใบหน้าด้านข้างได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำเช่นกัน แม้ว่าสัตว์จะมีขนาดเล็กในเฟรมภาพ
ภาพโดย: Hirohiko Okugawa
Vehicle Priority
โหมดนี้จะใช้งานได้กับรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ที่ใช้ในการแข่งขันเป็นส่วนใหญ่ แต่กล้องบางรุ่นก็สามารถตรวจจับรถไฟและเครื่องบินได้ด้วย
หากเปิดใช้งานการตรวจจับแบบจุดเล็ก กล้องจะสามารถตรวจจับพื้นที่ขนาดเล็กได้ เช่น หมวกกันน็อคของผู้ขี่มอเตอร์ไซค์
เคล็ดลับระดับมือโปร: กำหนดทางลัดในการเปลี่ยนตัวแบบที่ให้ความสำคัญ
การปรับแต่งนี้เป็นประโยชน์สำหรับฉากที่มีตัวแบบหลายตัว เช่น ในขณะที่คุณกำลังถ่ายภาพพอร์ตเทรตของคนพร้อมกับสัตว์เลี้ยง ใช้การปรับแต่งนี้กับฟังก์ชั่น “จำกัดเป้าหมายที่ตรวจจับ” ในเมนูสีชมพูเพื่อให้คุณมีตัวเลือกที่ต้องสลับไปมาน้อยลง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
ภาพพอร์ตเทรตสุนัข 3 ประเภทที่ถ่ายได้ด้วย Animal Detection AF
เทคนิคการถ่ายภาพกีฬาแข่งรถ (1): เทคนิคการแพนกล้อง
3. ปิดการติดตามตัวแบบทั่วพื้นที่หากจำเป็น
3. คำนึงถึงการติดตามตัวแบบทั่วพื้นที่
คุณสมบัตินี้จะมีความสำคัญยิ่งขึ้นหากคุณใช้โหมดพื้นที่ AF แทนโหมด AF ทั่วพื้นที่
หลังจากที่คุณพบตัวแบบที่ต้องการโฟกัสในขั้นแรกและเริ่มใช้ AF จนกระทั่งจุด AF สีฟ้าปรากฏขึ้นบนตัวแบบแล้ว คุณต้องการให้ฟังก์ชั่นตรวจจับตัวแบบทำงานอย่างไรหากตัวแบบเคลื่อนที่ออกไปนอกพื้นที่ AF ที่กำหนดไว้
การติดตามตัวแบบทั่วพื้นที่: เปิด
โดยการตั้งค่าเริ่มต้น กล้องจะติดตามตัวแบบไปทั่วทั้งพื้นที่ไม่ว่าการตั้งค่าพื้นที่ AF ของคุณจะเป็นแบบใดหากคุณยังกดปุ่มชัตเตอร์ (หรือปุ่มใดก็ตามที่คุณกำหนดให้เริ่มการทำงานของ AF) ค้างไว้
อย่างไรก็ตาม หากตัวแบบเดิมไม่สามารถตรวจจับได้อีก แต่คุณยังคงกดปุ่มชัตเตอร์/AF ค้างไว้ กล้องจะมองหาตัวแบบจากทั่วทั้งเฟรมภาพ ซึ่งอาจไปโฟกัสบนตัวแบบอื่นๆ ที่อยู่นอกพื้นที่ AF ที่กำหนดไว้
การติดตามตัวแบบทั่วพื้นที่: ปิด
หากคุณปิดใช้งานการติดตามตัวแบบ/ การติดตามตัวแบบทั่วพื้นที่ กล้องจะไม่ติดตามตัวแบบหากเคลื่อนที่ไกลออกจากพื้นที่ AF มากเกินไป แต่จะค้นหาและล็อคตัวแบบอื่นที่อยู่ภายในหรือใกล้กับพื้นที่ AF แทน
ในบางสถานการณ์ การปิดใช้งานการติดตามตัวแบบอาจช่วยให้คุณถ่ายภาพได้ดีกว่า เช่น เมื่อคุณต้องการควบคุมพื้นที่ส่วนที่ AF ทำงานได้มากขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสไตล์การถ่ายภาพและความชื่นชอบของคุณ รวมถึงความสามารถในการปรับแต่งของกล้องด้วย คุณอาจลอง:
- กำหนดปุ่มเพื่อเปิดและปิดการติดตามตัวแบบทั่วพื้นที่สลับกัน
- กำหนดปุ่มในการเปลี่ยนตำแหน่งโฟกัสไปยังตัวแบบที่ตรวจจับได้แม้จะอยู่นอกพื้นที่ AF ที่คุณกำหนดไว้
4. เปิดใช้งาน Eye Detection AF ในการถ่ายภาพพอร์ตเทรต
กล้องบางรุ่นที่มี EOS iTR AF X (การติดตามวัตถุอัจฉริยะของ EOS และ AF ที่มีระบบจดจำ) ซึ่งรองรับ AF แบบใช้การเรียนรู้เชิงลึกจะสามารถตรวจจับดวงตาได้แม่นยำยิ่งขึ้นแม้ใบหน้าของตัวแบบจะอยู่ในเงามืดหรือกำลังหันข้าง คุณสมบัตินี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการถ่ายภาพพอร์ตเทรตที่มีระยะชัดตื้นมาก!
ภาพต้นฉบับถ่ายด้วย EOS R7 + RF85mm f/2 Macro IS STM ที่ f/2, 1/200 วินาที, ISO 100
ภาพครอปแบบโคลสอัพของภาพนี้ในขณะที่นางแบบกำลังหันข้างแสดงให้เห็นว่าดวงตาอยู่ในโฟกัสอย่างคมชัด
เคล็ดลับระดับมือโปร: คุณสามารถเลือกได้ว่าจะให้ความสำคัญกับดวงตาข้างใดในกล้องบางรุ่น
ในกล้องระดับสูง เช่น EOS R7 หรือ EOS R6 Mark II คุณสามารถตั้งค่าให้กล้องเลือกดวงตาข้างซ้ายหรือขวาก่อนได้
ในโหมด “ออโต้” กล้องจะวางกรอบการติดตามไว้บนดวงตาข้างที่อยู่ใกล้กับกล้องมากกว่า ถ้ามีการตรวจจับดวงตาอีกข้างด้วย คุณจะเห็นลูกศรถัดจากกรอบการติดตาม ใช้ปุ่ม 4 ทิศทางหรือ Multi-controller ในการเปลี่ยนดวงตาที่เลือก
ข้อควรรู้: การตรวจจับดวงตาจะทำงานได้เมื่อเปิดใช้งานฟังก์ชั่นตรวจจับตัวแบบเท่านั้น
หากคุณเลือก “ไม่มี” ในเมนู “เป้าหมายที่ตรวจจับ” การตรวจจับดวงตาจะไม่ทำงานแม้จะเปิดใช้งานแล้วในเมนู AF
5. ปรับแต่งลักษณะเฉพาะของ Servo AF
5. ใช้ลักษณะเฉพาะของ Servo AF (เมนู AF2) เพื่อการควบคุมที่ละเอียดยิ่งขึ้น
ลักษณะเฉพาะของ Servo AF (การตั้งค่า Case ของ Servo AF) ช่วยให้คุณกำหนดค่าได้ว่าต้องการให้การติดตามทำงานอย่างไรเมื่ออีกวัตถุหนึ่งผ่านเข้ามาในจุด AF (“ความไวในการติดตาม”) หรือหากตัวแบบที่กำลังติดตามเปลี่ยนความเร็วอย่างกะทันหัน (“เพิ่ม/ลดความไวในการติดตาม”)
กล้องรุ่นใหม่จะมี Case ของ Servo AF 5 แบบ
- Case 1: การตั้งค่าแบบอเนกประสงค์ที่ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายและสามารถใช้กับตัวแบบที่กำลังเคลื่อนที่ได้เกือบทุกประเภท
- Case 2: สำหรับสถานการณ์ที่มักจะมีสิ่งกีดขวางปรากฏขึ้น หรือเมื่อตัวแบบมักจะเคลื่อนที่ห่างออกไปจากจุด AF (เช่น การเล่นเทนนิสหรือการเล่นสกีแบบฟรีสไตล์)
- Case 3: เหมาะสำหรับสถานการณ์ที่คุณต้องการจับโฟกัสบนตัวแบบที่ปรากฏเข้ามาในเฟรมภาพอย่างกะทันหันให้ได้ในทันที (เช่น เมื่อเริ่มต้นการแข่งขันจักรยานหรือการเล่นสกีบนเขา)
- Case 4: สำหรับตัวแบบที่มักจะเพิ่มหรือลดความเร็วอย่างคาดเดาไม่ได้ (เช่น กีฬาฟุตบอล การแข่งรถ บาสเกตบอล ยิมนาสติกลีลา)
- อัตโนมัติ: กล้องจะปรับการติดตามให้เหมาะกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับการเคลื่อนไหวของตัวแบบโดยอัตโนมัติ
การเปลี่ยน Case ของ Servo AF จะทำให้พฤติกรรมการติดตามเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ส่วนใหญ่แล้ว Case 1 หรือแบบอัตโนมัติน่าจะเพียงพอต่อการใช้งาน แต่สำหรับในบางฉาก หรือหากคุณต้องการควบคุมพฤติกรรมการติดตามได้มากขึ้น คุณอาจลองใช้ Case ต่างๆ กันหรือปรับค่าพารามิเตอร์ได้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
นกโผบิน: การตั้งค่ากล้องเพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการถ่ายภาพ
เคล็ดลับพิเศษ: ใช้ประโยชน์จากปุ่มที่คุณสามารถกำหนดได้ให้เต็มที่
หากคุณเป็นคนที่มักจะใช้โหมดหรือการตั้งค่า AF หลายแบบสลับกันไปมา โปรดดูคู่มือการใช้กล้องของคุณหรือลองศึกษารายการ “ปรับแต่งปุ่ม” ในเมนูสีส้มดู คุณอาจพบข้อมูลบางอย่างที่ช่วยให้คุณสลับโหมด AF ได้อย่างรวดเร็วด้วยการกดปุ่มเพียงครั้งเดียว ซึ่งเราได้แสดงตัวอย่างไปบ้างแล้วในบทความนี้
คุณได้กำหนดทางลัดให้กับปุ่มต่างๆ บนกล้องของคุณแล้วหรือยัง เล่าให้เราฟังได้ในช่องความคิดเห็นด้านล่าง!
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติและการตั้งค่าต่างๆ ของกล้องได้ที่:
ช่างภาพ 7 คนจะมาเล่าถึง: การตั้งค่าโฟกัสอัตโนมัติและโหมดขับเคลื่อนที่สลับใช้ตามฉากนั้นๆ
เผยโฉมคุณสมบัติ AF ของกล้อง EOS R3
การตั้งค่ากล้อง 7 แบบที่ช่วยให้ถ่ายภาพได้ราบรื่นขึ้นแต่มักถูกมองข้าม
5 การตั้งค่าพื้นฐานของกล้อง EOS R5/ EOS R6 ที่ปรับแต่งได้ตามต้องการตั้งแต่ต้น
เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
Murakami เกิดที่ชิมบาชิ โตเกียว ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของระบบรถไฟในประเทศญี่ปุ่น เขาเกิดในปี 1987 จึงมีอายุเท่ากันกับการรถไฟของญี่ปุ่นและระบบกล้อง EOS เขาเป็นช่างภาพมาตั้งแต่สมัยยังเรียนมัธยมปลายและมักจะเข้าร่วมการประกวดถ่ายภาพในระดับนักเรียนอยู่เสมอ Murakami จบการศึกษาในสาขาการถ่ายภาพจากมหาวิทยาลัย Nihon University College of Art เขาชื่นชอบการนั่งรถไฟไม่ต่างไปจากการถ่ายภาพรถaiVietnameseTraditional Chinese ไฟ และมักจะถ่ายภาพรถไฟในขณะที่เดินทางด้วยรถไฟ