ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

รู้จักกับเทคโนโลยีของ Canon: DIGIC คืออะไร

2022-09-07
4
2.18 k

ประสิทธิภาพของกล้องดิจิตอลขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น เซนเซอร์ภาพ เลนส์ที่คุณใช้ ฯลฯ จากปัจจัยเหล่านี้ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือระบบประมวลผลภาพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับแทบทุกฟังก์ชันและแทบทุกกระบวนการขณะถ่ายภาพ ลำหรับกล้อง Canon EOS หัวใจสำคัญที่อยู่เบื้องหลังประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมในการสร้างภาพถ่ายคือระบบประมวลผลภาพ DIGIC ซึ่ง Canon เป็นผู้พัฒนาขึ้นเอง อ่านต่อเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม

ในบทความนี้:

ระบบประมวลผลภาพคืออะไร

ระบบประมวลผลภาพคืออะไร

ก่อนจะเข้าใจว่าระบบประมวลผลภาพมีหน้าที่อะไร เราจะมาดูวิธีการสร้างภาพถ่ายของกล้องดิจิตอลกัน


อธิบายวิธีการสร้างภาพถ่ายดิจิตอลอย่างง่ายๆ

(1) แสงในฉากเข้าสู่กล้องผ่านเลนส์
(2) เซนเซอร์ภาพจะบันทึกแสงไว้
(3) เซนเซอร์ภาพเข้ารหัสให้แสงกลายเป็นสัญญาณไฟฟ้า 
(4) สัญญาณเหล่านี้จะถูกประมวลผลโดยระบบประมวลผลภาพเพื่อสร้างภาพดิจิตอล ในกล้อง Canon EOS ระบบประมวลผลภาพนี้มีชื่อว่า DIGIC

ดังที่แสดงในแผนภาพด้านบน หน้าที่หลักของระบบประมวลผลภาพในกล้องดิจิตอลคือ ช่วยเซนเซอร์ภาพเปลี่ยนแสงให้กลายเป็นภาพดิจิตอล แต่ระบบประมวลผลภาพมีหน้าที่มากกว่านั้น กล้องดิจิตอลถูกสร้างขึ้นมาจากส่วนประกอบหลายอย่าง เช่น ชุดชัตเตอร์ และส่วนอื่นๆ ที่ทำหน้าที่สื่อสารกับเลนส์ โดยทั้งหมดนี้จะทำงานร่วมกันเนื่องจากต้องรับคำสั่งจาก “สมอง” ของกล้อง ซึ่งก็คือระบบประมวลผลภาพ DIGIC นั่นเอง


ความเป็นมาของ DIGIC

ระบบประมวลผลภาพ DIGIC ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ Canon ก้าวออกจากมาตรฐานเดิมในการใช้ระบบประมวลผล LSI (วงจรรวมขนาดใหญ่) จากการผลิตในปริมาณมากและตัดสินใจที่จะพัฒนาขึ้นเอง "ระบบประมวลผลภาพ" อันน่าทึ่งที่ได้มานั้นสามารถประมวลผลข้อมูลได้มากกว่าที่ความเร็วสูง และยังเป็นการบุกเบิกแนวทางให้กล้องที่ล้ำสมัยและมีความละเอียดสูงขึ้นด้วย

กล้องรุ่นแรกที่มีระบบประมวลผลภาพนี้คือ PowerShot S10 (ฉบับภาษาอังกฤษ) ซึ่งวางจำหน่ายในปี 1999 หลังผ่านการปรับปรุงหลายครั้ง ระบบประมวลผลภาพนี้จึงถูกนำมาใช้ในกล้อง EOS 10D (ฉบับภาษาอังกฤษ) (วางจำหน่ายปี 2003) ในชื่อ "DIGIC"

 

เกิดอะไรขึ้นภายในกล้องเมื่อคุณถ่ายภาพ

คุณเคยคิดหรือไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นภายในกล้องขณะที่คุณถ่ายภาพ


DIGIC คือสมองในกล้องของคุณที่ทำหน้าที่หลายอย่าง

ในความเป็นจริง ระบบประมวลผลภาพทำหน้าที่มากกว่าการเปลี่ยนแสงที่เซนเซอร์ภาพบันทึกให้กลายเป็นภาพดิจิตอล

ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่เรากดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งโดยใช้โหมดเปิดรับแสงอัตโนมัติและเปิดใช้งาน AF (โฟกัสอัตโนมัติ) กระบวนการอย่างน้อย 2 ขั้นตอนจะเกิดขึ้นแล้ว:

เมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง ระบบประมวลผลภาพจะเริ่มวัดแสง จากนั้น ระบบจะคำนวณค่าการเปิดรับแสงที่ดีที่สุดสำหรับฉาก แล้วจึงสื่อสารกับส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับการตั้งค่าให้เหมาะสม


เมื่อคุณเริ่มใช้งาน AF ระบบ DIGIC จะวิเคราะห์ข้อมูลจากเซนเซอร์ภาพเพื่อตรวจจับและติดตามตัวแบบ ในขณะเดียวกันก็จะสื่อสารกับเลนส์เพื่อขับเคลื่อนกลไกการโฟกัสภายในเลนส์และจับโฟกัส

ซึ่งแน่นอนว่านี่ยังไม่ใช่หน้าที่ทั้งหมดของ DIGIC แต่ความจริงแล้วเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น แผนภาพแสดงกระบวนการด้านล่างแสดงให้เห็นว่า DIGIC มีบทบาทในทุกขั้นตอนของการสร้างภาพถ่าย ทั้งก่อนและหลังคุณลั่นชัตเตอร์:


และนี่คือปริมาณการประมวลผลที่จำเป็นสำหรับภาพเพียง 1 ภาพเท่านั้น!

ลองคิดดูว่า หากคุณถ่ายภาพ 10 เฟรมต่อวินาที กระบวนการข้างต้นจะต้องเกิดซ้ำกัน 10 ครั้งใน 1 วินาที ยิ่งเซนเซอร์ภาพมีความละเอียดสูงเท่าใด ข้อมูลที่ต้องประมวลผลต่อภาพและปริมาณงานของระบบประมวลผลภาพก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมระบบประมวลผลภาพที่รวดเร็วและทรงพลังจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประสิทธิภาพของกล้องที่ดียิ่งขึ้น


DIGIC มีการพัฒนาอย่างไรตลอดหลายปีที่ผ่านมา

2002 DIGIC สามารถประมวลผลสัญญาณได้ด้วยชิปประมวลผลเพียงชิ้นเดียว
2004 DIGIC II รวดเร็วยิ่งขึ้น จุดรบกวนน้อยลง
2006 DIGIC III ภาพมีความละเอียดสูงขึ้นและรองรับการตรวจจับใบหน้า
2008 DIGIC 4 ภาพมีความละเอียดสูงขึ้น เร็วขึ้น และตรวจจับการเคลื่อนไหวได้
2011 DIGIC 5 ลดจุดรบกวนได้มากขึ้น สมดุลแสงขาวดีขึ้น
2013 DIGIC 6 ความสามารถในการถ่ายวิดีโอ (Full HD/60p)
2016 DIGIC 7 ภาพมีความละเอียดสูงขึ้น ฟังก์ชันการทำงานมากขึ้น (การติดตามและตรวจจับตัวแบบ ระบบป้องกันภาพสั่นไหว)
2018 DIGIC 8 ฟังก์ชันการถ่ายภาพและประสิทธิภาพการถ่ายวิดีโอที่ดียิ่งขึ้น (4K)
2020 DIGIC X ประสิทธิภาพการถ่ายวิดีโอที่ดียิ่งขึ้น (>4K) เร็วขึ้น และรองรับอัลกอริธึมการเรียนรู้เชิงลึก

DIGIC และเทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึก

DIGIC X: รองรับเทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึก

เวอร์ชันล่าสุดของ DIGIC คือ DIGIC X ซึ่งรองรับเทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึกและมีการปรับปรุงในด้านอื่นๆ อีกมากมาย


เพราะเหตุใด DIGIC จึงจำเป็นสำหรับเทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึก

การเรียนรู้เชิงลึกคือการเรียนรู้ของเครื่องจักรรูปแบบหนึ่งที่ใช้ประโยชน์จากโครงข่ายประสาทเทียมหลายชั้นซึ่งมีโครงสร้างแบบเดียวกับสมองของมนุษย์ การใช้เทคโนโลยีเรียนรู้เชิงลึกช่วยให้พัฒนาอัลกอริธึมจดจำตัวแบบได้อย่างรวดเร็วเพื่อให้สามารถตรวจตัวแบบได้หลากหลายประเภทมากขึ้นด้วยความแม่นยำที่สูงขึ้น

EOS R7 + RF600mm f/4L IS USM ที่ f/4, 1/1600 วินาที, ISO 100
การเรียนรู้เชิงลึกคือสิ่งที่ช่วยฝึกฝนอัลกอริธึมในกล้องรุ่นที่มี DIGIC X ให้สามารถจดจำนกได้

กล้องไม่สามารถ "เรียนรู้" ได้ด้วยตัวเอง เนื่องจากต้องใช้กำลังการประมวลผลมากเกินกว่าที่สามารถใส่ลงไปในตัวกล้องได้ แต่กล้องจะมีอัลกอริธึมการเรียนรู้เชิงลึกมากมายที่เกิดจากการเรียนรู้ซึ่งเกิดขึ้นภายในห้องปฏิบัติการพัฒนา การใช้งานอัลกอริธึมเหล่านี้ต้องอาศัยวงจรไฟฟ้าและกำลังการประมวลผลคุณภาพสูง ซึ่งเป็นคุณสมบัติของ DIGIC X


กล้องที่มี DIGIC X และสิ่งที่กล้องเหล่านี้สามารถทำได้


EOS-1D X Mark III: การเปิดตัวของ DIGIC X

EOS-1D X Mark III เป็นกล้องรุ่นแรกที่มี DIGIC X ซึ่งสามารถตรวจจับศีรษะได้ด้วยการเรียนรู้เชิงลึก คุณสมบัตินี้ช่วยเสริมประสิทธิภาพให้การตรวจจับใบหน้าที่มีอยู่เดิม จึงติดตามตัวแบบได้ดียิ่งขึ้นในฉากต่างๆ เช่น การแข่งขันกีฬา ซึ่งใบหน้าของนักกีฬาอาจถูกบดบัง


EOS R5 และ EOS R6: ตรวจจับสัตว์ผ่านการเรียนรู้เชิงลึก

กล้อง EOS R5 (ฉบับภาษาอังกฤษ) และ EOS R6 ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึกในการตรวจจับดวงตา ใบหน้า และลำตัวทั้งหมดของแมว สุนัข และนก


EOS R3, EOS R7, EOS R10 และรุ่นที่สูงกว่า

EOS R3 ใช้การเรียนรู้เชิงลึกเพื่อให้สามารถรองรับ:
- การตรวจจับพาหนะในการแข่งขัน
- การตรวจจับลำตัวมนุษย์
- การตรวจจับศีรษะของนักกีฬาฤดูหนาวที่สวมหน้ากากและหมวกกันน็อค
- การตรวจจับดวงตาที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

กล้อง EOS R3 และ EOS R7 รวมถึง EOS R10 ที่เปิดตัวในภายหลังก็ใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึกเช่นเดียวกันเพื่อเพิ่มความแม่นยำของสมดุลแสงขาวอัตโนมัติ

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับฟังก์ชัน AF ของกล้อง EOS R3 ได้ที่:
เผยโฉมคุณสมบัติ AF ของกล้อง EOS R3


สิ่งที่กล้องพร้อม DIGIC X สามารถตรวจจับได้

ตัวแบบ
ส่วนที่ตรวจจับได้
EOS R3
EOS R5/R5 C
EOS R6
EOS R7/R10
EOS-1D X Mark III
มนุษย์
ดวงตา/ใบหน้า/ศีรษะ
ลำตัว
-
สุนัข/แมว/นก
ดวงตา/ใบหน้า/ลำตัวทั้งหมด
-
สุนัข/แมว/นก
ดวงตา/ใบหน้า/ลำตัวทั้งหมด
-
กีฬาแข่งรถ
ขับเคลื่อน 4 ล้อ/ขับเคลื่อน 2 ล้อ
รถทั้งคัน/บางส่วน
-


●วิดีโอ: Eye Detection AF ในกล้อง EOS R3

บทบาทของ DIGIC ขณะถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง

การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงและการติดตามตัวแบบที่แม่นยำ


DIGIC ทำหน้าที่อะไรระหว่างการถ่ายภาพต่อเนื่อง

ยังจำขั้นตอนการประมวลผลที่แสดงไว้ก่อนหน้านี้ในบทความได้หรือไม่ ขณะถ่ายภาพต่อเนื่อง ขั้นตอนดังกล่าวจะเกิดซ้ำกับทุกๆ ภาพที่ถ่าย นอกจากนี้ DIGIC ยังทำหน้าที่คำนวณเพื่อคาดคะเนตำแหน่งของตัวแบบที่กำลังเคลื่อนที่และทำให้ตัวแบบอยู่ในโฟกัสด้วย ในกล้องที่รองรับ AF แบบใช้การเรียนรู้เชิงลึก ขั้นตอนนี้จะรวมถึงการทำงานของอัลกอริธึมการเรียนรู้เชิงลึกที่ต้องประมวลผลข้อมูลปริมาณมากด้วย

ปัจจุบัน EOS R3 มีความสามารถในการถ่ายภาพต่อเนื่องเร็วที่สุดในบรรดากล้อง EOS ทั้งหมด โดยให้ภาพความละเอียดเต็มสูงสุด 30 fps เมื่อใช้ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ขณะวางจำหน่ายเป็นครั้งแรก และสูงสุด 195 fps (ได้สูงสุด 50 ภาพ) เมื่ออัปเดตเฟิร์มแวร์เป็นเวอร์ชัน 1.2.0 ซึ่งเปิดตัวในเดือนกรกฎาคม 2022 ลองนึกภาพกระบวนการประมวลผลภาพทั้งหมดที่เกิดขึ้น 50 ครั้งภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งวินาที นี่คือข้อพิสูจน์ถึงความเร็วและประสิทธิภาพของ DIGIC X

 
ความละเอียดของพิกเซลภาพ
ชัตเตอร์กล
(ความเร็วในการถ่ายต่อเนื่องสูงสุด)
ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์
(ความเร็วในการถ่ายต่อเนื่องสูงสุด)
EOS-1D X Mark III
20.1MP
16 fps
20 fps
EOS R3
24.1MP
12 fps
195 fps*
EOS R5/R5 C
45.0MP
12 fps
20 fps
EOS R6
20.1MP
12 fps
20 fps
EOS R7
32.5MP
15 fps
30 fps
EOS R10
24.2 MP
15 fps
23 fps

* สูงสุด 50 ภาพ เมื่ออัปเดตเฟิร์มแวร์เป็นเวอร์ชัน 1.2.0

DIGIC, วิทยาการสี และคุณภาพของภาพ

พื้นฐานสำคัญแห่งคุณภาพของภาพ


ระบบประมวลผลภาพทำหน้าที่อะไรหลังคุณถ่ายภาพแล้ว

มาทบทวนกระบวนการที่ได้อธิบายไว้ในส่วนต้นของบทความกันอีกครั้ง ในความเป็นจริง ส่วนที่ (4) ของกระบวนการนั้นซับซ้อนกว่ามาก หากอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายๆ จะมีขั้นตอนดังนี้:

ข้อมูล RAW เปรียบเหมือนฟิล์มเนกาทีฟในเวอร์ชันดิจิตอล ซึ่งจำเป็นต้องผ่านการล้างอัดด้วยวิธีการทางดิจิตอล (ประมวลผล) ก่อนเราจึงจะสามารถดูภาพได้ ระบบประมวลผลภาพ DIGIC คือสิ่งที่ควบคุมเซนเซอร์ภาพ อ่านสัญญาณไฟฟ้า และทำหน้าที่ในการสร้างภาพถ่ายแบบดิจิตอล


ข้อควรรู้: บทบาทของ DIGIC ในวิทยาการสี

เซนเซอร์ภาพนั้น "ตาบอดสี" ด้วยตัวของมันเอง กล่าวคือสามารถบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับความเข้มของแสงที่ผ่านเข้ามาได้เท่านั้น แต่ไม่สามารถบันทึกสีได้ เราสร้างภาพสีขึ้นมาได้ด้วยวิธีการหลักดังนี้:

1. ชุดฟิลเตอร์สี (CFA) RGB ที่อยู่ด้านหน้าเซนเซอร์ภาพ ซึ่งทำหน้าที่กรองแสงให้แยกออกมาเป็นส่วนประกอบสีแดง (R), เขียว (G) และน้ำเงิน (B) เซนเซอร์ภาพไม่สามารถแยกความแตกต่างของสีได้เอง แต่จะบันทึกความเข้มของแสงในแต่ละส่วนประกอบ จากนั้นจึงส่งต่อไปยังระบบประมวลผลภาพในรูปแบบสัญญาณไฟฟ้า และสัญญาณเหล่านี้จะถูกเข้ารหัสในไฟล์ RAW ให้อยู่ในรูปแบบข้อมูลดิจิตอลด้วย

2. อัลกอริธึม การสร้างใหม่ (ฉบับภาษาอังกฤษ) (หรือการกู้คืนสี) ซึ่งระบบประมวลผลภาพใช้ในการประมวลผลข้อมูลสี R, G และ B จากเซนเซอร์ภาพ จากนั้นจึงแสดง (“สร้างใหม่”) สีออกมาในภาพ

นี่คือปัจจัยหลักสองข้อเบื้องหลังสิ่งที่หลายคนเรียกว่า "วิทยาการสี" ของกล้อง สีสันที่แสดงออกมาจากกล้องโดยตรงคือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของระบบประมวลผลภาพในการจัดการข้อมูลสี

จะเกิดอะไรขึ้นหากคุณนำฟิลเตอร์สีออกไปจากเซนเซอร์ภาพ หาคำตอบได้ที่นี่ (ฉบับภาษาอังกฤษ) แต่อย่าลองทำด้วยตนเอง!

การสร้างและประมวลผลข้อมูล RAW

ขณะ DIGIC สร้างภาพถ่ายจากข้อมูล RAW ด้วยวิธีการดิจิตอล ระบบจะทำการประมวลผลแบบ 14 บิต ซึ่งรวมถึงการกู้คืนข้อมูลสี RGB เพื่อ “สร้าง” สีสันขึ้นใหม่ และในเวลาเดียวกัน ระบบจะทำการลดจุดรบกวน และปรับความคมชัด ความเปรียบต่าง โทนสี และสมดุลแสงขาว

กล้อง EOS R3 มีความไวแสง ISO ปกติสูงสุดถึง 102,400 ได้เนื่องจากอัลกอริธึมประมวลผลการลดจุดรบกวนรุ่นใหม่ใน DIGIC X

นอกจากนี้ DIGIC ยังทำหน้าที่ปรับแต่งเพื่อเพิ่มคุณภาพและความสวยงามของภาพที่ได้จากกล้องโดยตรงด้วย ซึ่งรวมถึงการใช้:
- การแก้ไขความคลาดของเลนส์
- ฟิลเตอร์สร้างสรรค์
- HDR Merging ในตัวกล้อง
- การถ่ายภาพซ้อน

การประมวลผลภาพจะเสร็จสิ้นเมื่อแปลงภาพเป็นไฟล์ JPEG (8 บิต) และ/หรือ HEIF (10 บิต) บีบอัดและเขียนลงในการ์ดหน่วยความจำ ตอนนี้คุณทราบแล้วว่าเพราะเหตุใดไฟล์ JPEG หรือ HEIF ที่ได้จากกล้องของคุณจึงดูดีกว่าไฟล์ RAW มาก!


HDR PQ HEIF: ภาพ HDR จากการเปิดรับแสงครั้งเดียว

การสร้างภาพถ่าย HDR (High Dynamic Range) ที่สมจริงบนไฟล์ JPEG 8 บิตไฟล์เดียวมักต้องอาศัยการนำภาพถ่ายคร่อมหลายภาพมารวมกัน อย่างไรก็ตาม สำหรับกล้อง EOS ที่ใช้ DIGIC X คุณสามารถทำได้ในการเปิดรับแสงครั้งเดียวโดยการบันทึกในรูปแบบ HDR PQ HEIF 10 บิต

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
HDR PQ HEIF: ก้าวข้ามขีดจำกัดของภาพแบบ JPEG

ให้การถ่ายวิดีโอ 8K เป็นไปได้

กำลังการประมวลผลที่ทำให้สามารถถ่ายวิดีโอ 8K ได้

ในปัจจุบัน การบันทึกวิดีโอความละเอียดสูงได้กลายมาเป็นฟังก์ชันที่ขาดไม่ได้ในกล้องดิจิตอลทุกรุ่น อย่างไรก็ตาม คุณสมบัตินี้ต้องใช้กำลังการประมวลผลมหาศาลเพื่อบันทึกวิดีโอคุณภาพและความละเอียดสูงเนื่องจากปริมาณข้อมูลในแต่ละเฟรม

Canon เคยให้ความสำคัญกับการถ่ายภาพนิ่งเป็นหลักขณะพัฒนาระบบประมวลผลภาพ จนถึง DIGIC 7 แต่นับจาก DIGIC 8 เป็นต้นมา Canon เริ่มให้ความสำคัญกับฟังก์ชันการประมวลผลที่เกี่ยวข้องกับวิดีโอมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดกล้องที่มีประสิทธิภาพการถ่ายวิดีโอได้ดียิ่งขึ้น โดยสามารถถ่ายแบบ 4K ได้และรองรับคุณสมบัติมากมายในการถ่ายวิดีโอ


สเปคที่สำคัญในการถ่ายวิดีโอของกล้องที่มี DIGIC X

 
ความละเอียดสูงสุด
วิดีโอ 4K แบบ Oversampled
อัตราเฟรมสูง
EOS-1D X Mark III
5.5K DCI RAW 60P
ตั้งแต่ 5.5K
4K 120P
EOS R3
6K DCI RAW 60P
ตั้งแต่ 6K
4K 120P
EOS R5
8K DCI RAW 30P
ตั้งแต่ 8.2K
4K 120P
EOS R5 C
8K DCI RAW 60P
ตั้งแต่ 8.2K
4K 240P*
EOS R6
4K UHD IPB 60P
ตั้งแต่ 5.1K
FHD 120P
EOS R7
4K UHD IPB 60P
ตั้งแต่ 7K
FHD 120P
EOS R10
4K UHD IPB 60P แบบครอป
-
FHD 120P

* เมื่ออัปเดตเฟิร์มแวร์เป็นเวอร์ชัน 1.2.0

4K DCI/ UHD หนึ่งเฟรมมีขนาด 8.85 และ 8.3 ล้านพิกเซลตามลำดับ แม้จะน้อยกว่าภาพนิ่งหนึ่งภาพจากกล้องรุ่นเดียวกันมาก แต่ AF และการวัดแสงอัตโนมัติจะต้องถูกนำมาคำนวณใหม่ในทุกๆ เฟรม นั่นหมายความว่าขั้นตอนการประมวลผลที่ได้อธิบายไว้ข้างต้นจะถูกทำซ้ำ 60 ครั้งต่อวินาทีหากคุณถ่ายวิดีโอที่ 60 fps

คุณอาจคิดว่าเพราะ 4K มีขนาดเล็ก แต่กล้องที่มี DIGIC X แทบทุกรุ่นสามารถถ่ายวิดีโอ 4K แบบ Oversampled ได้ ซึ่งหมายความว่ากล้องต้องจัดการกับข้อมูลที่มากกว่า 4K ความจริงแล้ว เฟรมขนาด 8K นั้นใหญ่กว่าเฟรม 4K ถึง 4 เท่า และกล้อง EOS R5 C สามารถบันทึกวิดีโอแบบ 8K DCI 60P RAW ได้ นี่คือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของ DIGIC X

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
EOS C70, R5 C, R5 หรือ R3: ควรเลือกกล้องรุ่นใดสำหรับการถ่ายวิดีโอ
8K, 4K และ Full HD คืออะไร มีวิธีใช้อย่างไร

สรุป

สรุป: DIGIC คือหัวใจของประสิทธิภาพของกล้อง

หากพูดถึงประสิทธิภาพของกล้อง หลายคนมักให้ความสนใจกับคุณสมบัติต่างๆ เช่น ช่วงไดนามิกเรนจ์ของเซนเซอร์ภาพ อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรมองข้ามระบบประมวลผลภาพ ซึ่งประสิทธิภาพของระบบเป็นสิ่งที่กำหนดคุณภาพของภาพที่ได้

ด้วยความพยายามเพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพของภาพที่สูงของ Canon ระบบประมวลผลภาพ DIGIC จึงใช้เวลาหลายปีในการพัฒนา ในเวอร์ชันล่าสุด DIGIC X ได้รับการพัฒนาโดยคำนึงถึงทั้งการถ่ายภาพนิ่งและการถ่ายวิดีโอ ด้วยวงจรไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงสำหรับประมวลผลอัลกอริธึมการเรียนรู้เชิงลึก รวมถึงการปรับปรุงต่างๆ ที่ช่วยเพิ่มความเร็วในหลายกระบวนการ DIGIC X จึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับคุณภาพของภาพที่โดดเด่นและประสบการณ์การถ่ายภาพที่ราบรื่น

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา