ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

HDR PQ HEIF: ก้าวข้ามขีดจำกัดของภาพแบบ JPEG

2020-03-30
0
2.29 k
ในบทความนี้:

ในฐานะกล้อง DSLR ระดับมืออาชีพรุ่นเรือธงใหม่ล่าสุดของ Canon กล้อง EOS-1D X Mark III จึงมีความเร็วในการถ่ายต่อเนื่องที่น่าทึ่งและรองรับการบันทึกภาพเคลื่อนไหวในรูปแบบ RAW 5.5K อีกทั้งยังมีคุณสมบัติการถ่ายภาพนิ่งต่างๆ ที่ได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ในบทความนี้ เราจะมาดูความสามารถในการรองรับภาพรูปแบบ HDR PQ HEIF ซึ่งเป็นการยกระดับการถ่ายภาพนิ่งขึ้นไปอีกขั้น

ภาพ HEIF, ภาพ JPEG และกล้อง EOS-1D X Mark III

1) ความรู้เบื้องต้น
2) ความแตกต่างระหว่างภาพแบบ RAW, JPEG และ HEIF
3) ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ HDR PQ HEIF
4) การถ่ายภาพรูปแบบ HEIF ด้วยกล้อง EOS-1D X Mark III
5) การแสดงภาพ HEIF
6) คุณจะลองใช้ภาพ HEIF ในอนาคตหรือไม่

 

EOS-1D X Mark III: ความเร็วและคุณภาพของภาพเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น

กล้องในซีรีย์ EOS-1D เป็นกล้อง DSLR แบบฟูลเฟรมชั้นนำของ Canon ตลอดเวลาที่ผ่านมา กล้องรุ่นนี้ได้รับความไว้วางใจจากช่างภาพมืออาชีพในการถ่ายภาพหลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นภาพกีฬา ข่าว ชีวิตสัตว์ป่า ภาพพอร์ตเทรต แฟชั่น และการถ่ายภาพทิวทัศน์ จึงไม่น่าแปลกใจที่กล้องรุ่นใหม่ล่าสุดในซีรีย์อย่าง EOS-1D X Mark III จะมีคุณทั้งคุณสมบัติใหม่และคุณสมบัติที่ได้รับการปรับปรุงมากมายซึ่งเป็นการมุ่งพัฒนาคุณภาพของภาพให้ดียิ่งขึ้น

คุณสมบัติเหล่านี้ได้แก่:

  • - เซนเซอร์ CMOS ที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นในการลดจุดรบกวนจากความไวแสง ISO สูง
  • - ฟิลเตอร์ Low-Pass ความละเอียดสูงแบบใหม่ ซึ่งป้องกันการเกิดเอฟเฟ็กต์มอเร่และสีเพี้ยนเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจน คมชัด และสมจริงมากยิ่งขึ้น
  • - ระบบประมวลผลภาพ DIGIC X ใหม่ ซึ่งให้การประมวลผลความคมชัดความละเอียดสูงและลดการเกิดจุดรบกวนได้มากขึ้น

คุณสามารถอ่านเกี่ยวกับคุณสมบัติเหล่านี้เพิ่มเติมได้ที่:
แนะนำกล้อง EOS-1D X Mark III (1): ประสิทธิภาพแห่งการถ่ายภาพนิ่ง


แน่นอนว่าภาพที่ถ่ายด้วยกล้อง EOS-1D X Mark III นั้นจะมีความชัดเจนและคมชัดยิ่งกว่าที่เคย แต่หากเราบอกว่าแค่นี้ยังไม่สามารถสะท้อนถึงประสิทธิภาพที่แท้จริงของกล้องได้ล่ะ 

ภาพต้นไม้ตัดกับท้องฟ้าที่มีเมฆครึ้ม


การถ่ายภาพไม่ได้เป็นเรื่องของสิ่งที่คุณถ่ายได้เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับสิ่งที่คุณสามารถมองเห็นได้ด้วย

เมื่อเราพูดถึงคุณสมบัติในการถ่ายภาพนิ่งของกล้อง สิ่งที่เรามักจะลืมนึกถึงในบางครั้งก็คือ ภาพถ่ายนั้นไม่ได้เป็นเรื่องของข้อมูลที่คุณสามารถบันทึกได้เท่านั้น แต่สิ่งที่คุณสามารถมองเห็นเมื่อแสดงภาพนั้นบนหน้าจอก็สำคัญเช่นกัน หากข้อมูลเกี่ยวกับสีและโทนสีของภาพที่เซนเซอร์บันทึกไว้ไม่อยู่ภายในช่วงที่อุปกรณ์แสดงภาพของคุณสามารถแสดงได้ คุณก็จะไม่สามารถเห็นภาพที่แท้จริงได้เช่นกัน

JPEG เป็นหนึ่งในรูปแบบที่ใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดในวงการภาพดิจิตอลโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภาพถ่าย แต่รูปแบบภาพนี้ถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1992 ความเป็นที่นิยมก็มีข้อเสียเช่นกัน เพราะในขณะที่อุปกรณ์แสดงภาพได้รับการพัฒนาอยู่เสมอ รูปแบบภาพ JPEG กลับไม่ได้มีวิวัฒนาการเพื่อตามให้ทัน

หน้าจอแบบ HDR (High Dynamic Range) จึงได้รับความนิยมมากกว่าในระยะหลังนี้ หน้าจอเหล่านี้ใช้เทคโนโลยีสีที่ทำให้สามารถแสดงสีสันและความเปรียบต่างได้ในช่วงที่กว้างกว่าหน้าจอ SDR (Standard Dynamic Range) แบบดั้งเดิม ซึ่งหมายความว่าจะสามารถแสดงรายละเอียดในส่วนที่สว่างและมืดได้ชัดเจนกว่าด้วย ด้วยเหตุนี้ ภาพที่แสดงบนหน้าจอ HDR จึงมีความสมจริงมากกว่า เหมือนกับคุณได้เห็นฉากนั้นด้วยตาของตนเอง

แผนภาพแสดงพิกัดสีและความลึกของสีของหน้าจอและรูปแบบไฟล์ภาพต่างๆ

ภาพดิจิตอลมักจะถูกจัดเก็บในรูปแบบ JPEG เป็นส่วนใหญ่เนื่องจากสามารถแสดงได้บนอุปกรณ์แสดงผลได้ทุกแบบแม้เป็นรุ่นเก่า แต่พิกัดสีและไดนามิกเรนจ์ของไฟล์ JPEG 8 บิต นั้นไม่สามารถใช้คุณสมบัติที่หน้าจอ HDR รุ่นใหม่ๆ มีได้

 

ความแตกต่างระหว่างภาพแบบ RAW, JPEG และ HEIF

ปริภูมิสีและความลึกของสีหมายถึงอะไร

ปริภูมิสี: ช่วงของสีที่สามารถถ่ายทอดหรือแสดงออกมาได้
ความลึกของสี: จำนวนเฉดสีเฉพาะตัวที่สามารถถ่ายทอดหรือแสดงออกมาได้
หน้าจอทีวีและคอมพิวเตอร์แบบเก่ามักจะมีปริภูมิและความลึกของสีแบบเดียวกัน ถึงแม้ว่าภาพของคุณจะมีข้อมูลสีมากกว่าปริภูมิและความลึกสีนี้ คุณก็จะยังคงไม่เห็นความแตกต่างบนหน้าจออยู่ดีเนื่องจากหน้าจอของคุณไม่สามารถแสดงข้อมูลเหล่านั้นได้


รูปแบบภาพ RAW, JPEG และ HEIF สามารถรองรับข้อมูลสีได้เท่าใด

RAW
เซนเซอร์ภาพ CMOS ในกล้อง EOS ของคุณจะจับภาพและภาพที่ได้จะมีปริภูมิและความลึกของสีมากกว่าไฟล์ JPEG ซึ่งก็คือข้อมูลสี 14 บิต ข้อมูลนี้คือสิ่งที่ถูกบันทึกในไฟล์แบบ RAW แต่คุณจะต้องทำการปรับแต่งภาพเพื่อให้แสดงและมองเห็นรายละเอียดได้

JPEG
หากคุณทำการบันทึกในรูปแบบ JPEG ข้อมูล 14 บิต จะถูกบีบอัดให้อยู่ในรูปแบบ 8 บิต ซึ่งหมายความว่ามีข้อมูลสีหายไปและพิกัดสีจะแคบลงมากด้วย เช่น sRGB

ดูข้อมูลเกี่ยวกับความแตกต่างของรูปแบบภาพ JPEG และ RAW ได้ที่:
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง #5: ภาพถ่ายแบบ RAW จะคงคุณภาพไว้เช่นเดิมหลังจากรีทัชหรือไม่

HEIF
เมื่อเปรียบเทียบกัน การบันทึกในรูปแบบ HEIF ด้วยกล้อง EOS-1D X Mark III จะทำให้คุณได้ความลึกของสี 10 บิต ภายในไฟล์ขนาดเดียวกับ JPEG เนื่องจากข้อมูลถูกแสดงออกมาเช่นนี้ ซึ่งต่างจากภาพ RAW คุณจึงสามารถเห็นความแตกต่างได้โดยไม่ต้องปรับแต่งภาพก่อน หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ คุณสามารถเพลิดเพลินไปกับผลของไดนามิกเรนจ์ที่กว้างกว่าในภาพได้จากกล้องโดยตรง

ภาพนักว่ายน้ำในรูปแบบ JPEG
ภาพนักว่ายน้ำในรูปแบบ HDR PQ HEIF ที่ได้รับการแปลงให้เป็นรูป JPEG ที่มีลักษณะแบบ HDR PQ

 

ความงดงามของรูปแบบภาพ HDR PQ HEIF: รองรับมาตรฐาน HDR ใหม่

บอกลาภาพที่ดูเหมือนปรับแต่งมากจนเกินไป

เรามาลองย้อนเวลากลับไปในช่วงที่คุณพยายามจะสร้างภาพนิ่งแบบ HDR กัน ไม่ว่าคุณจะปรับแต่งภาพด้วยตนเองหรือใช้โหมด HDR ในกล้อง เป็นไปได้ว่าวิธีการที่ใช้คือถ่ายภาพเดียวในหลายระดับแสงแตกต่างกัน จากนั้นจึงนำภาพมาซ้อนกัน วิธีนี้จะช่วยขยายไดนามิกเรนจ์ที่ถ่ายทอดออกมาในภาพได้มากขึ้นและคงรายละเอียดในส่วนที่เป็นไฮไลต์และเงาเอาไว้ได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้ภาพส่งผลต่ออารมณ์ได้มากขึ้นอย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าคุณจะถ่ายภาพ HDR แบบเดิมด้วยวิธีใด ข้อมูลสีจะถูกบันทึกลงในช่วงสี SDR ที่แคบกว่า ซึ่งทำให้โทนสีและความเปรียบต่างดูนุ่มนวลน้อยกว่า ภาพที่ได้จึงมักมีลักษณะเหมือนถูกปรับแต่งมากจนเกินไป

ถ้าอย่างนั้น ทำไมภาพเคลื่อนไหวและวิดีโอจึงดูสวยงามและสมจริงได้ทั้งๆ ที่ใช้แสงเพียงระดับเดียว นั่นเป็นเพราะว่าพวกเขาบันทึกภาพด้วยปริภูมิสีที่กว้างและความลึกของสีที่สูงกว่า ซึ่งกล้องดิจิตอลแบบเก่ายังไม่สามารถทำได้จนกระทั่งปัจจุบันนี้

JPEG / 8 บิต / sRGB

ภาพ JPEG ที่มีกรอบล้อมรอบรายละเอียดของก้อนเมฆ

HDR PQ HEIF / 10 บิต / BT.2020*

ภาพ HEIF ของพระอาทิตย์ตกที่มีกรอบล้อมรอบรายละเอียดของก้อนเมฆ
ภาพโคลสอัพของรายละเอียดก้อนเมฆในรูปแบบ JPEG
ภาพโคลสอัพของรายละเอียดก้อนเมฆในรูปแบบ HEIF

ทั้งสองภาพนี้ถูกแปลงมาจากไฟล์แบบ RAW เหมือนกัน ไฟล์ JPEG 8 บิต แบบเดิมดูสว่างแต่แบนกว่า ในขณะที่ในไฟล์ HEIF* คุณจะสามารถเห็นรายละเอียดในส่วนไฮไลต์และเงาได้มากกว่า และยังดูมีมิติมากกว่าด้วย ทั้งนี้เนื่องมาจากรูปแบบภาพ HDR PQ HEIF นั้นสามารถรองรับข้อมูลภาพที่บันทึกในไฟล์แบบ RAW ได้ดีกว่า

*ข้อควรรู้: ภาพ JPEG ที่มีลักษณะเหมือน HDR PQ
เพื่อให้สามารถแสดงภาพในเว็บไซต์ได้ ภาพตัวอย่าง “HEIF” ในบทความนี้จึงเป็นไฟล์ HEIF ที่ถูกแปลงมาให้เป็นภาพ JPEG ที่มีลักษณะเหมือน HDR PQ นี่เป็นไฟล์ JPEG รูปแบบพิเศษซึ่งสามารถแสดงภาพที่มีลักษณะเหมือนที่คุณจะเห็นเมื่อดูจากหน้าจอ HDR แต่ภาพยังคงเป็นไฟล์ 8 บิต และมีขีดจำกัดเช่นเดียวกับหน้าจอแบบ SDR ดังนั้น หากคุณทึ่งกับความแตกต่างที่ได้เห็นในขณะนี้ คุณจะต้องทึ่งกว่าแน่นอนเมื่อเห็นภาพ HEIF จริงบนหน้าจอ HDR!

 

มาตรฐาน HDR แบบต่างๆ: HDR PQ คืออะไร

ในปัจจุบันมีมาตรฐาน HDR หลักๆ อยู่สองแบบ:
- Hybrid Log-Gamma (HLG) ใช้งานได้ง่ายกับหน้าจอแบบ SDR
- Perceptual Quantizer (PQ) มีประสิทธิภาพเหมาะสำหรับหน้าจอ HDR มากที่สุด

กล้อง EOS-1D X Mark III ใช้มาตรฐานแบบ HDR PQ ซึ่งใช้ในรูปแบบ HDR สำหรับวิดีโอด้วย เช่น HDR10, HDR10+ และ Dolby Vision เนื่องจากมาตรฐานนี้บันทึกความเปรียบต่างด้วยค่าสัมบูรณ์ คุณภาพของภาพจึงมีความเสถียรกว่า ไม่ว่าจะใช้หน้าจอแบบใด มาตรฐานนี้กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในการผลิตภาพยนตร์ แต่ก็สามารถใช้ในการถ่ายภาพนิ่งได้ด้วยเช่นกัน

HDR PQ ผสมผสาน PQ gamma ซึ่งทำให้ภาพสามารถแสดงช่วงไดนามิกเรนจ์ใกล้เคียงกับที่ตามนุษย์มองเห็นด้วยความละเอียดสูงเป็นพิเศษที่กล้อง EOS ของคุณมี (เคล็ดลับน่ารู้ : “4K” จะอยู่ที่ราว 8 ล้านพิกเซล และกล้องรุ่นใหม่ทั่วไปก็มีจำนวนพิกเซลมากกว่านี้มาก!) ภาพที่ได้จึงดูสมจริงและมีความเปรียบต่างที่ใกล้เคียงกับที่เรามองเห็นในชีวิตจริง

 

ขั้นตอนการสร้างภาพนิ่งของกล้อง EOS-1D X Mark III

คุณจะใช้ไฟล์ HEIF ได้อย่างไร

ตารางด้านล่างแสดงความแตกต่างของรูปแบบการบันทึกต่างๆ ของกล้อง EOS-1D X Mark III แม้จะมีข้อมูลมาก แต่ไฟล์ HEIF (HDR PQ) ก็ยังมีขนาดเท่ากับไฟล์ JPEG และคุณยังสามารถบันทึกไฟล์ได้สองรูปแบบพร้อมกัน เช่น
- RAW+HEIF
- C-RAW+HEIF
- RAW+JPEG
- C-RAW+JPEG

ปริมาณข้อมูลที่มีในไฟล์ HEIF ยังทำให้คุณสามารถแปลงไฟล์ให้อยู่ในรูปแบบอื่นที่รองรับข้อมูลน้อยกว่าได้ด้วย ดังนั้น:
- คุณสามารถแปลงไฟล์ RAW/C-RAW ให้เป็น HEIF (HDR PQ) หรือ JPEG ได้
- สามารถแปลง HEIF (HDR PQ) ให้เป็น JPEG ได้


รูปแบบการบันทึกไฟล์ภาพนิ่งของกล้อง EOS-1D X Mark III

* ขนาดเมื่อปิด HDR PQ
**12 บิต ระหว่างการถ่ายภาพด้วยชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์
^ ขนาดไฟล์จริงขึ้นอยู่กับสภาวะการถ่ายภาพ

 

การแสดงภาพ HEIF

หากคุณไม่มีหน้าจอ HDR

ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีหน้าจอแบบ SDR ซึ่งไม่สามารถแสดงคุณภาพของภาพแบบ HEIF ได้อย่างเต็มที่ และหน้าจอ LCD ด้านหลังของกล้อง EOS-1D X Mark III ก็เป็นแบบนี้เช่นกัน แต่ถึงจะไม่มีอุปกรณ์แสดงภาพ HDR คุณก็ยังสามารถแสดงภาพที่มีความใกล้เคียงกับภาพ HEIF ได้บนหน้าจอ HDR…
- ในกล้องของคุณ: เมื่อคุณแสดงภาพในหน้าจอ LCD ด้านหลังโดยใช้ฟังก์ชัน “View Assist”
- ใน Digital Photo Professional: เมื่อคุณปรับแต่งหรือแปลงภาพจากรูปแบบ RAW ที่ถ่ายโดยตั้งค่า HDR PQ ไปที่ “เปิด”

และคุณยังสามารถแปลงไฟล์ HEIF เป็นไฟล์ JPEG ที่มีลักษณะเหมือน HDR PQ ได้ด้วย ซึ่งจะทำให้ได้ภาพที่เหมือนกับไฟล์ HEIF

ขั้นตอนการปรับแต่งไฟล์ HEIF ในกล้อง


หากคุณมีหน้าจอ HDR

หากคุณใช้คอมพิวเตอร์:
- ตรวจดูให้แน่ใจว่าคอมพิวเตอร์ของคุณมีการ์ดจอที่รองรับไฟล์แบบ HDR PQ
- เปิดไฟล์ HEIF ใน Digital Photo Professional

หากคุณเชื่อมต่อกล้องเข้ากับหน้าจอโดยตรง:
- ใช้สาย HDMI ในการเชื่อมต่อกล้องเข้ากับหน้าจอ
- คุณจะสามารถแสดงไฟล์ HDR PQ HEIF และไฟล์ RAW ที่ถ่ายด้วย “HDR PQ: เปิด” ที่ถูกจัดเก็บไว้ในการ์ดหน่วยความจำในกล้องของคุณได้

แผนภาพแสดงการเชื่อมต่อกล้องเข้ากับหน้าจอแสดงภาพ/คอมพิวเตอร์

 

สรุป: รูปแบบไฟล์ที่น่าจับตามอง

ภาพแบบ HEIF ไม่ได้มีข้อดีเพียงแค่ไดนามิกเรนจ์ที่กว้างขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีมิติที่น่าทึ่งด้วย ซึ่งทำให้ภาพดูมีความสมจริงใกล้เคียงกับภาพแบบสามมิติ หน้าจอแบบ SDR ของเรานั้นไม่ดีพอสำหรับไฟล์เหล่านี้ แต่หากลองจินตนาการถึงภาพตัวอย่างในบทความนี้ ซึ่งสมจริงกว่า และยังมีโทนสีและความเปรียบต่างที่ดีกว่า ไฟล์ภาพเหล่านี้จะใช้ศักยภาพของอุปกรณ์แสดงภาพ HDR ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นได้อย่างสมบูรณ์แบบ

นอกจากนี้ยังมีข้อดีอื่นๆ อีกด้วย: 

- ไม่จำเป็นต้องปรับแต่งภาพ (เว้นแต่คุณจะต้องการ): ไฟล์รูปแบบนี้ให้ช่วงโทนสีที่กว้างอย่างเหลือเชื่อ (สี 10 บิต!) จากกล้องโดยตรง จึงช่วยประหยัดเวลาในการปรับแต่งภาพ แต่ก็ยังมีขนาดไฟล์เทียบเท่ากับ JPEG จึงเหมาะสำหรับช่างภาพที่ต้องการถ่ายภาพคุณภาพสูงและส่งผลงานให้เร็วที่สุด

- รองรับรายละเอียดได้มากกว่าไฟล์ JPEG แบบเดิม: หากคุณชอบเล่นกับขีดจำกัดของภาพแบบ RAW ในกระบวนการปรับแต่ง การนำภาพที่ปรับแต่งออกมาในรูปแบบ HEIF จะช่วยให้คงรายละเอียดของโทนสีและความเปรียบต่างไว้ได้มากขึ้น ความจริงแล้ว หากยังมีไฟล์ RAW อยู่ คุณจะสามารถแปลงภาพเป็นไฟล์ HDR PQ HEIF เมื่อใดก็ได้ที่ต้องการ เช่น เมื่อคุณเป็นเจ้าของหน้าจอที่ดูภาพ HDR ได้ในที่สุด

เตรียมพบกับคุณภาพของภาพในแบบที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อนด้วยรูปแบบไฟล์ HEIF ลองใช้ดูสักครั้ง แล้วคุณจะได้ก้าวไปสู่อนาคตพร้อมๆ กัน

ภาพระยะใกล้ขนาดใหญ่ของพระอาทิตย์ตกในรูปแบบ HDR PQ HEIF ซึ่งถูกแปลงเป็น JPEG ที่มีลักษณะเหมือน HDR PQ


ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกล้อง EOS-1D X Mark III ได้ที่:
EOS-1D X Mark III: ถ่ายภาพให้ได้อย่างมืออาชีพ

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสำเร็จที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของกล้อง EOS DSLR ได้ที่:
ฉลองครบรอบ 30 ปี ผลิตภัณฑ์ระบบ EOS (1): EOS 650 คือกล้อง EOS รุ่นแรก
ฉลองครบรอบ 30 ปี ผลิตภัณฑ์ระบบ EOS (2): ก้าวแห่งการพัฒนาเพื่อการเติบโตของ EOS
ฉลองครบรอบ 30 ปี ผลิตภัณฑ์ระบบ EOS (3): Digital EOS กับการพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา