ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น >> All Happenings

ฉลองครบรอบ 30 ปี ผลิตภัณฑ์ระบบ EOS (1): EOS 650 คือกล้อง EOS รุ่นแรก

2017-08-31
0
4.71 k
ในบทความนี้:

เมื่อสามทศวรรษที่แล้ว กล้องตระกูล EOS รุ่นแรกคือ EOS 650 ได้ฤกษ์เปิดตัวในเดือนมีนาคม 1987 EOS นั้นย่อมาจากคำว่า “Electro-Optical System” ซึ่งยังพ้องกับชื่อของเทพธิดาแห่งรุ่งอรุณในตำนานเทพกรีกอีกด้วย กล้องซีรีย์ EOS มุ่งมั่นสู่การเป็นผู้บุกเบิกการใช้ระบบเมาท์อิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่สำหรับกล้องถ่ายภาพ SLR ในวาระการเฉลิมฉลองครบรอบ 30 ปี ที่ระบบ EOS ถือกำเนิดขึ้น บทความนี้เป็นบทความแรกในชุดบทความต่อเนื่องสามตอนที่จะติดตามวิวัฒนาการของ EOS นับตั้งแต่การเปิดตัวกล้อง EOS รุ่นแรกไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงจากกล้อง SLR ไปสู่ระบบดิจิตอล SLR ก่อนที่จะเปิดตัวเทคโนโลยี EOS ที่พัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง

EOS 650

EOS 650 (เปิดตัวในปี 1987)

EOS 650 เป็นกล้องรุ่นแรกที่ออกวางจำหน่ายภายใต้ชื่อซีรีย์ EOS โดยได้เปิดตัวเซนเซอร์ AF ไมโครคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในยุคนั้น ที่มาพร้อมประสิทธิภาพความแม่นยำของ AF ในระดับสูง นอกจากนี้ ในขณะนั้นกล้องยังมีระบบเมาท์ EF อิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ ซึ่งยังคงใช้ในกล้อง EOS รุ่นอื่นๆ ในอีก 30 ปีต่อมา

 

EOS 650 – รุ่นที่เหนือชั้นที่สุดในกลุ่มกล้อง AF SLR

EOS 650 เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของยุค เพื่อสอดรับกับเทรนด์และความต้องการล่วงหน้าถึง 30 ปี และได้รับการยกย่องว่ามีระบบ AF ที่แม่นยำขึ้น ประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีขึ้น ระบบวัดและการควบคุมระดับแสงที่แม่นยำขึ้น รวมทั้งระบบเมาท์อิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ เทคโนโลยีที่ Canon พัฒนาขึ้น อาทิ เซนเซอร์โฟกัส BASIS และ AF ที่แม่นยำสูง ซึ่งเกิดจากความสามารถของไมโครคอมพิวเตอร์ ถือว่าเหนือชั้นกว่าเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพของกล้อง SLR รุ่นคู่แข่งอื่นๆ ที่มีความสามารถของระบบ AF เช่นกัน

ในแง่ของดีไซน์ มีความพยายามที่จะมอบประสบการณ์การถ่ายภาพที่เพลิดเพลินยิ่งขึ้น โดยปรับเปลี่ยนจากดีไซน์แบบ Linear ในกล้อง SLR แบบเดิมในขณะนั้น มาเป็นการใช้สไตล์พื้นผิวโค้งเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งาน รวมทั้งกริปที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อให้จับถือกล้องได้กระชับถนัดมือยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับวงแหวนควบคุมหลักและเลย์เอาต์รอบๆ ปุ่มชัตเตอร์ที่ช่วยให้วางนิ้วได้สะดวกอีกด้วย

แนวคิดการออกแบบของ EOS ซึ่งนำเอาเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมาใช้เพื่อให้ได้กล้องที่สมบูรณ์แบบโดยไม่ยึดติดกับความเชื่อเดิมๆ นี้เอง ทำให้กล้องรุ่นต่างๆ ในปัจจุบันยังคงสืบทอดแนวคิดนี้ต่อไปในอีก 30 ปีต่อมา นี่เป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมกล้อง EOS จึงเป็นตัวเลือกของผู้ใช้งานทั่วโลกมายาวนาน

แค็ตตาล็อก EOS 650 และ 620

แค็ตตาล็อกเมื่อ 30 ปีที่แล้ว (EOS 650 (ซ้าย), EOS 650 และ 620 (ขวา))
สองเดือนหลังจากเปิดตัวกล้อง EOS 650 ในเดือนมีนาคม 1987 Canon ได้เปิดตัวกล้องรุ่นไฮเอนด์คือ EOS 620 กล้อง EOS ตัวแรกไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เป็นรุ่นเรือธง แต่มุ่งผลิตกล้องมาตรฐานที่มีราคาสมเหตุสมผล และเพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติระดับสูงด้วยการนำเทคโนโลยีชิ้นส่วนใหม่ล่าสุดมาใช้

 

ระบบ EOS

ซีรีย์ EOS ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากการเปิดตัวกล้อง EOS 650 ฉลองครบรอบ 30 ปีในเดือนมีนาคม 2017 หลักการ 3 ข้อสำหรับการพัฒนา EOS นั้นยังคงสืบทอดต่อกันมาและมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน

หลักการ 3 ข้อสำหรับการพัฒนา EOS:
1. การปรับโฉมกลไก AF ต้องไม่นำมาใช้เป็นเหตุผลในการกำหนดราคากล้อง EOS ให้สูงกว่ากล้องที่มีในปัจจุบัน
2. กล้อง EOS ต้องมาพร้อมความสามารถในการติดตามของ AF โดยใช้เลนส์ f/2.8 300 มม. ขณะถ่ายภาพกีฬาในร่มแบบถือกล้องด้วยมือ
3. ความไวของ AF ต้องเทียบเท่ากับระดับความสว่างของความไวในการวัดแสง

 

เทคโนโลยีการขับเคลื่อนเลนส์ที่ช่วยให้ได้ความเร็วและความสะดวกสบาย

นับตั้งแต่รุ่น EOS 650 เป็นต้นมา มีการนำเมาท์ของ EF ที่พัฒนาขึ้นใหม่มาใช้กับซีรีย์ EOS EF ซึ่งย่อมาจาก “Electro Focus” คือสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงแนวทางของ Canon ที่จะผลักดันเทคโนโลยีการโฟกัสแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความโดดเด่น ในช่วงเวลานั้น กล้อง AF มีแท็บอยู่ระหว่างตัวกล้องกับเลนส์ สำหรับใช้ควบคุมม่านรูรับแสงของเลนส์ แต่เมื่อนำ EMD (ไดอะแฟรมแม่เหล็กไฟฟ้า) ในตัวมาใช้กับเลนส์เพื่อควบคุมม่านรูรับแสงแบบอิเล็กทรอนิกส์ Canon สามารถขจัดการเชื่อมต่อเชิงกลไกระหว่างตัวกล้องกับเลนส์ได้เป็นผลสำเร็จ จนเกิดเป็นระบบเมาท์ EF อิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ ในสามทศวรรษต่อมา ระบบเมาท์อิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบยังคงทำงานร่วมกับกล้องได้ดี และยังวางรากฐานสำหรับการนำเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดมาใช้

เมาท์ในตัวกล้อง EOS

เมาท์ของเลนส์ในตัวกล้อง EOS

เมาท์ของเลนส์ใน EOS

เมาท์ของเลนส์ในตัวเลนส์ EF

 

เลนส์ EF รุ่นล่าสุดทำงานอย่างราบรื่น เมื่อติดตั้งเข้ากับ EOS 650 ซึ่งเป็นกล้อง EOS ตัวแรก เช่นเดียวกัน เลนส์ EF รุ่นแรกยังใช้งานร่วมกับกล้อง EOS รุ่นใหม่ล่าสุดได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยใช้การสื่อสารสัญญาณไฟฟ้าผ่านช่องต่อในตัวกล้อง EOS (ภาพซ้าย) และเลนส์ EF (ภาพขวา) การนำระบบเมาท์อิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบมาใช้นอกจากช่วยให้ไม่ต้องใช้การเชื่อมต่อเชิงกลไกแล้ว ยังทำให้กล้องและเลนส์ทุกรุ่นที่รองรับคุณสมบัตินี้สามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์

 

เมื่อกล้องส่งสัญญาณขอข้อมูล เมาท์ของเลนส์ EF จะส่งข้อมูลของเลนส์ไปยังกล้องผ่านการสื่อสารสัญญาณไฟฟ้าทางช่องต่อ จากนั้น กล้องจะควบคุมเลนส์โดยใช้ข้อมูลที่ได้รับ IS (ระบบป้องกันภาพสั่นไหว) ที่ทำหน้าที่กำจัดปัญหากล้องสั่นโดยการย้ายระบบ IS ในเลนส์ และมอเตอร์ USM ซึ่งจับโฟกัสอย่างรวดเร็วและราบรื่นผ่านแรงสั่นสะเทือนอัลตร้าโซนิคโดยใช้ข้อมูลการวัดแสงของ AF ในกล้อง คือตัวอย่างเทคโนโลยีเลนส์ที่จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีการสื่อสารทั้งสองทิศทางระหว่างกล้องกับเลนส์เท่านั้น

 

เมาท์ในตัวกล้อง EOS

EMD (ไดอะแฟรมแม่เหล็กไฟฟ้า) ในตัว ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการควบคุมการขับเคลื่อนรูรับแสง จะช่วยขับเคลื่อนรูรับแสงแบบแม่เหล็กไฟฟ้า โดยใช้ Deformation stepping motor และชุดม่านรูรับแสง

เมาท์ของเลนส์ใน EOS

เลนส์ EF ของ Canon มีเทคโนโลยีการขับเคลื่อนเลนส์ที่หลากหลาย อาทิ เลนส์ USM ที่จับโฟกัสได้อย่างรวดเร็วและราบรื่น และ IS (ระบบป้องกันภาพสั่นไหว) ที่ช่วยลดการสั่นไหวของกล้อง

 

การออกแบบเส้นผ่านศูนย์กลางเมาท์ EF เพื่อให้ได้ค่า f/1.0

เลนส์ EF 17 รุ่น วางจำหน่ายควบคู่กับการเปิดตัวกล้อง EOS 650 โดยหนึ่งในนั้นคือ EF 50mm f/1.0L USM ซึ่งเป็นเลนส์ที่จุดประกายความสนใจในกลุ่มวิศวกร Canon ที่เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการพัฒนาระบบ EOS ในระหว่างการพูดคุยเพื่อกำหนดข้อมูลจำเพาะทางเทคนิคสำหรับเส้นผ่านศูนย์กลางเมาท์ของ EF และระยะจากท้ายเลนส์ถึงเซนเซอร์ ทีมวิศวกรผู้ออกแบบเลนส์เสนอว่าควรมีการเลือกใช้ขนาดที่ช่วยให้ได้ค่า f/1.0

 

EF50mm f/1.0L USM

EF50mm f/1.0L USM (เปิดตัวในปี 1989)
เลนส์นี้มีน้ำหนักอยู่ที่ 985 กรัม และมีโครงสร้างของเลนส์ประกอบด้วย 11 ชิ้นเลนส์ใน 9 กลุ่ม ระยะโฟกัสใกล้ที่สุดที่ 60 ซม. และเส้นผ่านศูนย์กลางฟิลเตอร์ 72 มม. เลนส์มาตรฐานนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ที่สุดในโลก ณ เวลาที่เปิดตัวขณะนั้น

 

ในช่วงเวลานั้น วิศวกรของ Canon เตรียมวางแผนสร้างเลนส์ในฝันขึ้นอีกครั้ง หากพวกเขาต้องการปรับปรุงเมาท์ นั่นเป็นเพราะในอดีตที่ผ่านมา Canon ประสบความสำเร็จในการจำหน่ายเลนส์ f/0.95 50 มม. ที่ใช้กับกล้อง Canon 7 แบบ Rangefinder (เปิดตัวในปี 1961) แต่เนื่องจากข้อจำกัดทางกายภาพ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลางเมาท์ของเมาท์ FD ซึ่งเคยนำมาใช้ก่อนเมาท์ EF จะถือกำเนิดขึ้น ทำให้พวกเขาไม่สามารถสร้างเลนส์แบบถอดเปลี่ยนได้ที่ให้ค่า f/1.0 ได้ ในการสร้างเลนส์ f/1.0 50 มม. เส้นผ่านศูนย์กลางเมาท์ที่ประมาณ 50 มม. เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เมื่อพิจารณาจากอัตราเส้นผ่านศูนย์กลางไปจนถึงระยะจากท้ายเลนส์ถึงเซนเซอร์ ดังนั้น เมื่อระยะจากท้ายเลนส์ถึงเซนเซอร์ของเมาท์ EF อยู่ที่ 44 มม. และเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 54 มม. จึงตรงตามข้อกำหนดที่จะสามารถผลิตเลนส์ f/1.0 50 มม. ได้

 

Alt: Canon 7 (1961)

Canon 7 (เปิดตัวในปี 1961)
Canon 7 ที่มอบแนวคิดพื้นฐานสำหรับการพัฒนาเลนส์ f/0.95 50 มม. เปิดตัวที่งาน Photokina ครั้งที่ 7 (1960) จวบจนปัจจุบัน (2017) เลนส์ f/0.95 ยังคงครองตำแหน่งเลนส์ที่ให้ความสว่างมากที่สุด

 

เมาท์เส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่นี้ยังมีข้อได้เปรียบหลายอย่างในยุคดิจิตอล เช่น ช่วยให้กล้องสามารถถ่ายภาพที่ใช้ความชัดตื้นเป็นพิเศษ จึงสามารถถ่ายภาพในสภาพแสงน้อย พัฒนาช่องมองภาพแบบออพติคอลที่สว่าง และลดความบิดเบี้ยวได้ นี่จึงอาจเป็นหนึ่งในกรณีหายากที่การมุ่งเน้นสืบสานเอกลักษณ์ดั้งเดิมช่วยบุกเบิกอนาคตของระบบ EOS ได้

ในก้าวต่อไป ระบบ AF ขั้นสูงของ EOS จะปฏิวัติรูปแบบการถ่ายภาพของช่างภาพมืออาชีพในอนาคต ซึ่งในสองบทความต่อไป เราจะอธิบายถึงเบื้องหลังความเป็นมาของระบบ EOS ในฐานะผู้นำในวงการกล้อง หลังจากถือกำเนิดขึ้นใหม่ในฐานะระบบดิจิตอล SLR

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา