ในเดือนเมษายน 2014 ยอดการผลิตเลนส์ EF จาก Canon มียอดทะลุสถิติ 100 ล้านชิ้น ระบบเมาท์เลนส์ใหม่ชนะใจช่างภาพด้วยระบบควบคุมเชิงกลไกที่แตกต่างจากเมาท์เลนส์ FD แบบเดิมได้อย่างไร บทความตอนที่ 2 นี้จะเล่าถึงความประวัติการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น (เรื่องโดย: Kazunori Kawada)
หน้า: 1 2
ระยะที่ 2: ยุคแห่งการเติบโต - กำเนิดยุคแห่งดิจิตอล
ในเดือนเมษายน 1991 เราเปิดตัวเลนส์ TS-E 3 รุ่น (24mm, 45mm และ 90mm) สู่ท้องตลาด โดยทุกรุ่นมีกลไกการชิฟต์เพิ่มเติมจากระบบควบคุมทิลต์ อย่างไรก็ตาม ก้าวใหม่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการนำระบบควบคุมรูรับแสงอัตโนมัติสำหรับเลนส์ทิลต์-ชิฟต์มาใช้เป็นครั้งแรก สำหรับเลนส์ทิลต์-ชิฟต์ซึ่งสามารถเบนแกนออพติคอลได้ ในอดีตถือเป็นเรื่องยากที่จะย้ายกลไกระบบรูรับแสงออกจากจากบอดี้กล้อง เวลานั้น วิธีเดิมที่ใช้กันอยู่คือการจับโฟกัสที่รูรับแสงสูงสุดและทำการปรับทิลต์-ชิฟต์ที่จำเป็นก่อนจะลดขนาดรูรับแสงด้วยตนเองให้ได้ค่าตามที่ต้องการ แต่กลับกัน ในปัจจุบัน เลนส์ TS-E ใช้ “ไดอะแฟรมแม่เหล็กไฟฟ้า (EMD)” ซึ่งใช้แอคทูเอเตอร์บนตัวเลนส์ในการขับเคลื่อนรูรับแสง จึงทำให้สามารถควบคุมรูรับแสงอัตโนมัติได้ไม่ว่าเลนส์จะอยู่ในสภาวะทิลต์หรือชิฟต์ เมื่อจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนค่ารูรับแสงด้วยตนเอง ผมมักจะลืมขั้นตอนนี้ระหว่างการถ่ายภาพ แล้วก็จบลงด้วยภาพถ่ายที่มีแสงสว่างมากจนเกินไป ความผิดพลาดเช่นนั้นจะไม่เกิดขึ้นอีกเมื่อมีการควบคุมค่ารูรับแสงอัตโนมัติของเลนส์ TS-E ปัญหานี้แก้ไขได้ ด้วยการนำระบบเมาท์ที่ควบคุมด้วยไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบโดยไม่มีการควบคุมเชิงกลไกบนเมาท์เลนส์ตัวนี้เลย แม้ว่าช่างภาพมือใหม่อาจไม่คุ้นเคยกับเลนส์ TS-E และฟังก์ชั่นทิลต์ชิฟต์ แต่สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญมากสำหรับช่างภาพมืออาชีพที่มีความถนัดเฉพาะทางในด้านการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม การตกแต่งภายใน หรือผลิตภัณฑ์ ความพยายามที่จะรวมเลนส์สำหรับตลาดเฉพาะกลุ่มเข้ามาไว้ในสายผลิตภัณฑ์ EF เป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำไมช่างภาพมืออาชีพถึงวางใจในผลิตภัณฑ์ Canon อย่างมาก
คุณสมบัติของเลนส์ EF ข้อที่ 1 - Image Stabilizer (IS)
Canon เป็นรายแรกที่นำ Image Stabilizer สำหรับการใช้งานเพื่อการค้ามาใช้ได้สำเร็จบนเลนส์ SLR แบบถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ ปัจจุบัน กลไกพื้นฐานยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยมีเซนเซอร์ไจโรจำนวนหนึ่งที่ใช้ตรวจจับการสั่นไหวของกล้อง ซึ่งจะถูกชดเชยโดยใช้ระบบแก้ไขปัญหาด้านออพติค
ในปี 1995 Canon เปิดตัวเลนส์ “EF75-300mm f/4-5.6 IS USM” เลนส์แบบถอดเปลี่ยนได้สำหรับกล้อง SLR ตัวแรกของโลกที่มีคุณสมบัติ “Image Stabilizer (IS)” ฟังก์ชั่น IS ตรวจจับการสั่นไหวของกล้องด้วยเซนเซอร์ไจโรและชดเชยการสั่นไหวด้วยการเลื่อนกลุ่มเลนส์สำหรับชุดออพติคแก้ไขที่ให้ผลเทียบเท่ากับความเร็วชัตเตอร์ประมาณสองสต็อป ในครั้งนั้นผู้ใช้ต่างรู้สึกตื่นเต้นกับการปรากฏของคุณสมบัตินี้ที่พวกเขารอคอย เพราะช่วยบรรเทาความยุ่งยากแก่ช่างภาพที่ต้องใช้ขาตั้งกล้องถ่ายภาพในฉากที่มีแสงน้อย นับแต่นั้นมา คุณสมบัติ IS ได้ถูกนำมาใช้กับเลนส์ EF หลากหลายรุ่นที่ออกมาภายหลัง นอกจากเลนส์ IS แล้ว Canon ยังเป็นรายแรกที่นำเอาเลนส์ชนิดต่างๆ ในซีรีย์ EF มาปรับเพื่อใช้สำหรับงานธุรกิจสำเร็จ เช่น เลนส์ที่ผลิตโดยใช้ชิ้นเลนส์แก้วไร้ตะกั่วซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ “เลนส์ DO” ที่มี “ชิ้นเลนส์แบบกระจายแสงหลายชั้น” ซึ่งเอื้อต่อการออกแบบที่มีขนาดเล็กและประสิทธิภาพสูง
เลนส์ EF แห่งยุคประวัติศาสตร์รุ่นที่ 1 - EF75-300mm f/4-5.6 IS USM
นี่เป็นเลนส์ตัวแรกที่ผลิตขึ้นโดยมีคุณสมบัติ Image Stabilizer (IS) ซึ่งชดเชยการสั่นไหวของกล้องที่เกิดขึ้นระหว่างการถ่ายภาพเทเลโฟโต้ได้อย่างน่าทึ่งด้วยเอฟเฟ็กต์การแก้ไขที่เทียบเท่ากับความเร็วชัตเตอร์ประมาณ 2 สต็อป คุณสมบัตินี้ได้รับการยอมรับจากช่างภาพมืออาชีพและผู้ที่สนใจจำนวนมากเนื่องด้วยความสามารถที่ช่วยลดจำนวนภาพที่ถ่ายเสียลง
คุณสมบัติของเลนส์ EF ข้อที่ 2 - ชิ้นเลนส์แบบกระจายแสงหลายชั้น (DO)
- ชิ้นเลนส์แบบกระจายแสงชั้นเดียว, เกรตติ้งเลี้ยวเบน (Diffraction Grating)
- เลนส์ DO 3 ชั้น
- แสงที่ตกกระทบ (แสงสีขาว)
- เกิดแสงที่กระจายมากจนเกินไป
- ตอนนี้แสงตกกระทบเกือบทั้งหมดเป็นประโยชน์กับการถ่ายภาพ
- แสงกระจายออกเป็นประโยชน์กับการถ่ายภาพ
- แสงกระจายออกทำให้เกิดแสงแฟลร์
ชิ้นเลนส์ DO สามารถควบคุมทางเดินแสงโดยใช้ปรากฏการณ์ของการกระจายแสง ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อแสงส่องผ่านขอบวัตถุที่กั้นแสงไว้
การออกแบบที่กะทัดรัดและมีประสิทธิภาพสูงเป็นไปได้ด้วยลักษณะเฉพาะของเลนส์ฟลูออไรต์และเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมที่ผสานรวมเป็นชิ้นเลนส์เดียว
เลนส์ EF แห่งยุคประวัติศาสตร์รุ่นที่ 2 - EF400mm f/4 DO IS USM
ด้วยการนำเอาชิ้นเลนส์ DO มาใช้ Canon จึงประสบความสำเร็จในการพัฒนาเลนส์ที่มีขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบา เปี่ยมด้วยคุณลักษณะที่สร้างความน่าทึ่งด้วยรูรับแสงแคบขนาด f/4 และทางยาวโฟกัสเทเลโฟโต้ 400 มม. เลนส์ EF400mm f/4 DO IS USM เป็นประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อต้องการความคล่องตัวอย่างในการถ่ายภาพกีฬา คุณสมบัติ IS ยังมีไว้เพื่อช่วยให้การถ่ายภาพแบบถือด้วยมือง่ายดายขึ้น
ลำดับเวลาการพัฒนาเลนส์ EF - ตอนที่ 2 [สิงหาคม 1995 -มกราคม 2006]
สิงหาคม 1995
ยอดการผลิตรวมของเลนส์ EF แตะระดับ 10 ล้านชิ้น
เปิดตัวเลนส์ “EF28-80mm f/3.5-5.6 III USM” ซึ่งมาพร้อมกับการเคลือบผิวเลนส์แบบใหม่
กันยายน 1995
«ตัวแรกในโลก»
เปิดตัวเลนส์ “EF75-300mm f/4-5.6 IS USM” เลนส์แบบถอดเปลี่ยนได้สำหรับกล้อง SLR ฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. ตัวแรกที่มีคุณสมบัติ Image Stabilizer
EF75-300mm f/4-5.6 IS USM
เปิดตัวเลนส์ “EF28mm f/1.8 USM” ซึ่งใช้ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมจำลอง
มีนาคม 1996
เปิดตัวเลนส์ “EF400mm f/2.8L II USM” โดยมีการออกแบบออพติคอลใหม่ที่ใช้ชิ้นเลนส์ฟลูออไรต์และชิ้นเลนส์ UD ในการแก้ไขความคลาดสีที่อาจหลงเหลืออยู่
เมษายน 1996
เปิดตัวเลนส์ “EF180mm f/3.5L Macro USM” ซึ่งมีระบบชิ้นเลนส์ลอยภายใน เลนส์ “EF17-35mm f/2.8L USM” ที่ใช้ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม และ “EF135mm f/2L USM” ที่ให้ความสว่างมากที่สุดในกลุ่มเลนส์ระดับเดียวกัน
กันยายน 1996
เปิดตัวเลนส์ “EF28-80mm f/3.5-5.6 IV USM” แบบไม่มีสารตะกั่ว และ “EF24-85mm f/3.5-4.5 USM” ซึ่งนำเอาระบบซูมแบบขับเคลื่อนชิ้นเลนส์ทีละหลายกลุ่มและชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมจำลองมาใช้
มีนาคม 1997
เปิดตัวเลนส์ “EF300mm f/4L IS USM” ที่ใช้ชิ้นเลนส์ UD เป็นชิ้นเลนส์ลำดับที่ 2 และ 5
ธันวาคม 1997
เปิดตัวเลนส์ “EF24mm f/1.4L USM” เลนส์ EF ตัวแรกที่ใช้ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมแบบเจียรและขัดผิวและชิ้นเลนส์ UD ทั้งนี้ ยังเป็นเลนส์ชนิด L แบบไม่มีสารตะกั่วตัวแรกอีกด้วย
กุมภาพันธ์ 1998
เปิดตัวเลนส์ “EF28-135mm f/3.5-5.6 IS USM” เลนส์คอมแพคที่มีชุดทำงานระบบ IS ปรับปรุงใหม่และระบบซูมแบบขับเคลื่อนชิ้นเลนส์ทีละหลายกลุ่ม
มีนาคม 1998
เปิดตัวเลนส์ “EF22-55mm f/4-5.6 USM” ซึ่งใช้ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมเพื่อให้ได้ขนาดเลนส์ที่เล็กกะทัดรัด และ “EF55-200mm f/4.5-5.6 USM” ที่ทำให้การโฟกัสอัตโนมัติไร้เสียงและมีความเร็วสูงโดยการใช้ Micro USM
พฤศจิกายน 1998
เปิดตัวเลนส์ “EF100-400mm f/4.5-5.6L IS USM” เลนส์ L ตัวแรกที่มีคุณสมบัติ IS และชิ้นเลนส์ฟลูออไรต์และชิ้นเลนส์ Super UD
ธันวาคม 1998
เปิดตัวเลนส์ “EF35mm f/1.4L USM” ที่ใช้ระบบการโฟกัสด้านหลังด้วยชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมแบบเจียรและขัดผิว
เมษายน 1999
เปิดตัวเลนส์ “EF28-80mm f/3.5-5.6 V USM” และ “EF75-300mm f/4-5.6 III USM” ซึ่งมีการออกแบบใหม่ที่คุณภาพสูงและไม่มีสารตะกั่ว
กรกฎาคม 1999
เปิดตัวเลนส์ “EF300mm f/2.8L IS USM” และ “EF500mm f/4L IS USM” แม่แบบของเลนส์ที่เปลี่ยนไปเพื่อที่จะรวมเอาคุณสมบัติ IS กับฟังก์ชั่น AF ความเร็วสูงและการหยุด AF ไว้ด้วยกัน
กันยายน 1999
เปิดตัวเลนส์ “EF70-200mm f/4L USM” ที่เพียบพร้อมด้วยคุณภาพของภาพถ่ายระดับสูงด้วยการใช้ชิ้นเลนส์ฟลูออไรต์และชิ้นเลนส์ UD “MP-E65mm f/2.8 1-5x Macro” ซึ่งรองรับการถ่ายภาพมาโครตั้งแต่ระดับขนาดจริงไปจนขนาดขยายขึ้นถึง 5 เท่า นอกจากนี้ ยังมีเลนส์ “EF400mm f/2.8L IS USM” และ “EF600mm f/4L IS USM” เลนส์พร้อมระบบ IS สองรุ่นที่เอื้อให้ AF ที่ทำงานด้วยความเร็วสูง
มีนาคม 2000
เปิดตัวเลนส์ “EF100mm f/2.8 Macro USM” ซึ่งประสบความเร็จในการทำงานของระบบโฟกัสอัตโนมัติแบบเงียบด้วย Ring USM และเป็นเลนส์มาโครเทเลโฟโต้ระยะกลางตัวแรกที่มีระบบโฟกัสภายใน
กันยายน 2000
เปิดตัวเลนส์ “EF28-90mm f/4-5.6 USM” ซึ่งใช้การออกแบบใหม่สำหรับช่วงทางยาวโฟกัสฝั่งเทเลโฟโต้ที่กว้างขึ้นและชิ้นเลนส์แก้ไขความคลาดทรงกลมเพื่อคุณภาพของภาพถ่ายที่สูงยิ่งขึ้น พร้อมกับเลนส์ “EF28-200mm f/3.5-5.6 USM” ซึ่งให้ภาพถ่ายคุณภาพสูงได้ด้วยการใช้ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม 2 ชิ้นขณะที่มีทางยาวโฟกัสฝั่งเทเลโฟโต้ที่ยาวมากขึ้น
ตุลาคม 2000
เปิดตัวเลนส์ “EF28-105mm f/3.5-4.5 II USM” ซึ่งสนับสนุน AF ความเร็วสูงและ MF แบบ Full-time ที่มีชุดกลไกที่เทียบเท่ากับรุ่นก่อนหน้า
กุมภาพันธ์ 2001
ยอดการผลิตรวมของเลนส์ EF แตะระดับ 20 ล้านชิ้น
กันยายน 2001
เปิดตัวเลนส์ “EF70-200mm f/2.8L IS USM” เลนส์ซูมเทเลโฟโต้ที่มีคุณสมบัติ IS
ธันวาคม 2001
เปิดตัวเลนส์ “EF16-35mm f/2.8L USM” เลนส์ต้านทานฝุ่นละอองและกันน้ำพร้อมมุมรับภาพที่กว้างขึ้น
«ตัวแรกในโลก»
เปิดตัวเลนส์ “EF400mm f/4 DO IS USM” เลนส์ขนาดเล็กและน้ำหนักเบาที่ใช้ชิ้นเลนส์แบบกระจายแสงหลายชั้น (DO) อันเป็นส่วนหนึ่งของระบบออพติคอลในเลนส์แบบถอดเปลี่ยนได้สำหรับกล้อง SLR ฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.
EF400mm f/4 DO IS USM
กันยายน 2002
เปิดตัวเลนส์ “EF28-105mm f/4-5.6 USM” ซึ่งมี Micro USM II ที่เพิ่งปรับปรุงใหม่ เลนส์ “EF28-90mm f/4-5.6 II USM” อวดศักยภาพความเร็ว AF ที่สูงที่สุดเมื่อใช้กับกล้อง EOS 300V และเลนส์ “EF90-300mm f/4.5-5.6 USM” ที่ใช้การออกแบบรูรับแสงรูปทรงกลม
พฤศจิกายน 2002
เปิดตัวเลนส์ “EF24-70mm f/2.8L USM” ซึ่งใช้การออกแบบใหม่เพื่อให้ได้มุมรับภาพที่กว้างขึ้น รวมถึงชิ้นเลนส์แก้ไขความคลาดทรงกลมและชิ้นเลนส์ UD เพื่อคุณภาพของภาพถ่ายที่ดีกว่า
พฤษภาคม 2003
เปิดตัวเลนส์ “EF17-40mm f/4L USM” ซึ่งมีระยะการซูมกว้างกว่าและมีชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมและชิ้นเลนส์ Super UD เพื่อคุณภาพของภาพถ่ายที่สูงกว่า
กันยายน 2003
เปิดตัวเลนส์ “EF28-90mm f/4-5.6 II” และ “EF90-300mm f/4.5-5.6” ที่ให้ AF ความเร็วสูงได้เพราะมอเตอร์ DC ขนาดเล็กจิ๋วและ “EF55-200mm f/4.5-5.6 II USM” ที่ช่วยลดแสงแฟลร์และแสงหลอกด้วยการเคลือบผิวอย่างเหมาะสม
มิถุนายน 2004
เปิดตัวเลนส์ “EF28-300mm f/3.5-5.6L IS USM” เลนส์ซูเปอร์ซูมที่มีชุดทำงานระบบ IS และช่วงการซูมที่มากขึ้นในฝั่งมุมกว้างและเลนส์ “EF70-300mm f/4.5-5.6 DO IS USM” ซึ่งมีการออกแบบที่เล็กกะทัดรัด ช่วยลดแสงแฟลร์และแสงหลอกด้วยการใช้ชิ้นเลนส์แบบกระจายแสงหลายชั้น
กันยายน 2004
เปิดตัวเลนส์ “EF28-90mm f/4-5.6 III” สำหรับกล้อง EOS 300X และ EOS 3000V “EF-S17-85mm f/4-5.6 IS USM” เลนส์ EF ตัวแรกที่ใช้ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมแบบหล่อแก้วซึ่งมีพื้นผิวโค้งทั้งสองด้าน และยังมีเลนส์ “EF-S 18-55mm f/3.5-5.6 USM” เลนส์ EF-S ตัวแรก รวมถึงชุดเลนส์คิทของกล้อง EOS 300D ที่สามารถหาซื้อแยกต่างหากได้
พฤศจิกายน 2004
เปิดตัวเลนส์ “EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM” ซึ่งใช้เลนส์แก้ความคลาดทรงกลมและชิ้นเลนส์ Super UD
มีนาคม 2005
เปิดตัวเลนส์ “EF-S18-55mm f/3.5-5.6 II USM” และ “EF-S60mm f/2.8 Macro USM“
กันยายน 2005
เปิดตัวเลนส์ “EF70-300mm f/4-5.6 IS USM” และ “EF24-105mm f/4L IS USM“
มกราคม 2006
ยอดการผลิตรวมของเลนส์ EF แตะระดับ 30 ล้านชิ้น
(EF70-200mm f/2.8L IS USM)
EF70-200mm f/2.8L IS USM