เลนส์ EF50mm f/1.8 STM เลนส์รุ่นทายาทของเลนส์ขายดีอย่าง EF50mm f/1.8 II ผ่านการปรับปรุงส่วนต่างๆ ที่สำคัญ สำหรับตอนที่ 2 ของบทความชุดนี้ ซึ่งเป็นการทดสอบความสามารถของเลนส์ที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมาก เรามาดูพลังในการถ่ายทอดภาพที่ได้จากภาพถ่ายที่ผมถ่ายจริง (เรื่องโดย: Takeshi Ohura)
การทดสอบเอฟเฟ็กต์โบเก้เกิดขึ้นจากไดอะแฟรมรูรับแสงทรงกลม
จำนวนม่านไดอะแฟรมเพิ่มขึ้นจากรุ่นเดิมซึ่งมี 5 กลีบเป็น 7 กลีบในเลนส์ EF50mm f/1.8 STM รายละเอียดสเปคพัฒนาขึ้นจากการใช้ไดอะแฟรมรูรับแสงทรงกลมด้วยเช่นกัน โบเก้ที่เกิดจากเลนส์นี้จะดูเป็นธรรมชาติและการเปลี่ยนจากจุดโฟกัสไปจนกระทั่งเป็นภาพเบลอขนาดใหญ่ก็ทำได้อย่างราบรื่น ขณะเดียวกัน วัตถุต่างๆ ที่อยู่นอกโฟกัสก็เบลอเข้าหากันได้อย่างกลมกลืน ให้บรรยากาศภาพที่นุ่มนวลขึ้นกว่าเลนส์รุ่นก่อน
เช่นเดียวกับการเบลอในส่วนแบ็คกราวด์ การเบลอโฟร์กราวด์ก็มีความเป็นธรรมชาติด้วย ทำให้เห็นได้ว่ามีการควบคุมความคลาดทรงกลมอย่างสมดุล มีแนวโน้มที่ผู้ใช้หลายคนจะใช้เลนส์ EF50mm f/1.8 STM เพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้บ่อยๆ ตามขนาดมุมรับภาพของเลนส์ และผมเชื่อว่าเลนส์นี้สามารถสร้างภาพถ่ายที่น่าพึงพอใจได้อย่างที่ช่างภาพคาดหวัง
ภาพถ่ายที่รูรับแสงกว้างสุดจากระยะโฟกัสใกล้สุด (ประมาณ 35 ซม.)
EOS 5D Mark III/ Aperture-priority AE (f/1.8, 1/2,000 วินาที, EV +0.7)/ ISO 100
ภาพถ่ายที่รูรับแสงกว้างสุดจากระยะ 2-3 เมตร
EOS 5D Mark III/ Aperture-priority AE (f/1.8, 1/4,000 วินาที, EV +0.3)/ ISO 100
ภาพถ่ายที่รูรับแสง f/2.8 จากระยะ 2-3 เมตร
EOS 5D Mark III/ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/1,250 วินาที, EV +0.3)/ ISO 100
ภาพถ่ายที่รูรับแสง f/4 จากระยะ 2-3 เมตร
EOS 5D Mark III/ Aperture-priority AE (f/4, 1/640 วินาที, EV +0.3)/ ISO 100
สามารถถ่ายในสภาพแสงย้อนได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดด้วยผิวเคลือบแบบใหม่และตัวตัดแสงแฟลร์
ไม่ว่าภาพที่เราถ่ายจะมีดวงอาทิตย์อยู่ในภาพหรือไม่ก็ตาม เมื่อดูภาพตัวอย่างเหล่านี้เราก็สามารถบอกได้ว่าไม่มีปัญหาแสงหลอกหรือแสงแฟลร์ แม้จะไม่ได้มีการแก้ไขโครงสร้างเลนส์ EF50mm f/1.8 STM ใดๆ แต่มีการใช้ผิวเคลือบแบบใหม่เพื่อให้สามารถปรับคุณลักษณะทางดิจิตอลของเลนส์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ มีการตรวจวัดอย่างละเอียดเพื่อป้องกันแสงสะท้อนภายในเลนส์ เช่น ตัวตัดแสงแฟลร์ที่มีไว้จัดการกับแสงตกกระทบที่ไม่ต้องการ การพัฒนาที่ว่ามานี้ช่วยให้เอฟเฟ็กต์แสงหลอกและแสงแฟลร์ลดลง
ภาพถ่ายย้อนแสงที่มีดวงอาทิตย์ในองค์ประกอบ
EOS 5D Mark III/ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/8,000 วินาที)/ ISO 100
ภาพถ่ายย้อนแสงที่ไม่มีดวงอาทิตย์ในองค์ประกอบ
EOS 5D Mark III/ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/3,200 วินาที)/ ISO 100
ด้วยระยะโฟกัสใกล้สุด 35 ซม. คุณสามารถเข้าใกล้ตัวแบบได้มากขึ้น
ต่อไป เราจะมาดูการถ่ายทอดรายละเอียดภาพของเลนส์ EF50mm f/1.8 STM เมื่อถ่ายภาพโคลสอัพ ผมใช้ระยะโฟกัสใกล้สุด 35 ซม. ให้เป็นประโยชน์ที่สุดโดยเลือกถ่ายภาพสตรีทสแนป และนี่คือผลงานของเลนส์ตัวนี้
EOS 5D Mark III/ Aperture-priority AE (f/2, 1/1,000 วินาที, EV +0.3)/ ISO 100
ด้วยระยะโฟกัสใกล้สุดที่สั้นขึ้นเป็น 35 ซม. ของเลนส์ EF50mm f/1.8 STM เลนส์นี้ทำให้คุณสามารถซูมใกล้ตัวแบบได้มากกว่าเดิม การปรับโฟกัสจากในระนาบโฟกัสเป็นโบเก้ราบรื่น
EOS 5D Mark III/ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/1,600 วินาที)/ ISO 100
ในภาพนี้ ผมตั้งค่ารูรับแสงที่ f/2.8 ซึ่งต่ำกว่าค่าสูงสุดไปมากกว่า 1 สต็อป เนื่องจากเลนส์นี้ใช้ไดอะแฟรมรูรับแสงทรงกลมที่มีกลีบรูรับแสง 7 กลีบ เอฟเฟ็กต์โบเก้ที่ได้จึงกลมมนไม่มีมุมหรือเหลี่ยมตามที่ชื่อไดอะแฟรมบอกไว้เป็นนัย
EOS 5D Mark III / Aperture-priority AE (f/3.2, 1/100 วินาที)/ ISO 1600
ผมลดขนาดรูรับแสงลงเป็น f/3.2 ภาพที่ได้ออกมาดูเป็นธรรมชาติไม่มีความคลาดเคลื่อนเช่นความบิดเบี้ยวปรากฏในภาพเลย ระยะโฟกัสใกล้สุดที่ใกล้กว่าเดิมทำให้คุณมองตัวแบบในระยะที่ใกล้ขึ้นได้ แม้กระทั่งในการถ่ายภาพโคลสอัพอย่างในภาพด้านบน
EOS 5D Mark III/ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/3,200 วินาที)/ ISO 100
ภาพนี้ถ่ายในระยะใกล้เคียงกับระยะโฟกัสใกล้สุดของเลนส์ พื้นที่ซึ่งอยู่ในโฟกัสคมชัด เมื่อดูที่แบ็คกราวด์ของภาพ ผมคิดว่าภาพที่ได้จะดีกว่านี้หากผมลดขนาดของรูรับแสงลงอีกหน่อย
สามารถจับโฟกัสในพื้นที่โฟกัสได้คมชัดจนน่าทึ่ง
ตอนนี้เราจะมาดูว่าเลนส์ EF50mm f/1.8 STM ทำงานอย่างไรเมื่อใช้ถ่ายภาพระยะกลางและระยะไกล
EOS 5D Mark III/ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/400 วินาที, EV -0.3)/ ISO 100
เมื่อลดขนาดรูรับแสงเป็น f/5.6 ทำให้ความละเอียดคมชัดและความเปรียบต่างเพิ่มขึ้นอย่างมาก ภาพดูคมชัดจนถึงบริเวณมุมภาพสี่ด้านซึ่งปกติจะไม่ค่อยคมชัดเมื่อใช้รูรับแสงกว้างสุด
EOS 5D Mark III/ Aperture-priority AE (f/4, 1/1,600 วินาที)/ ISO 100
ส่วนที่เบลอในระยะโฟร์กราวด์ดูเป็นธรรมชาติ ผมตั้งค่ารูรับแสงไปที่ f/4 แต่ไม่พบว่ามีปัญหาแสงน้อยลงบริเวณขอบภาพให้เห็นในภาพนี้ ความคมชัดของพื้นที่ในโฟกัสก็ดีเยี่ยมอีกด้วย
EOS 5D Mark III/ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/1,000 วินาที)/ ISO 100
โดยรวม ภาพมีความคมชัดและมีมิติ การตั้งค่ารูรับแสงที่ผมใช้คือ f/5.6 รายละเอียดที่บริเวณขอบภาพยังถือว่าน่าพอใจ แม้จะไม่เท่ากับบริเวณกึ่งกลางภาพก็ตาม
EOS 5D Mark III/ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/2,000 วินาที, EV +0.3)/ ISO 100
แม้ว่าระดับความเปรียบต่างที่เลนส์นี้มอบให้จะไม่โดดเด่นเท่าเลนส์เดี่ยวรุ่นอื่นๆ แต่ก็นับว่าเพียงพอสำหรับเลนส์ในระดับนี้ อย่างที่เห็นได้จากภาพตัวอย่าง บริเวณเสาทางซ้ายมีความบิดเบี้ยวโดยโป่งออกเล็กน้อย
EOS 5D Mark III/ Aperture-priority AE (f/2, 1/6,400 วินาที, EV -0.7)/ ISO 100
ภาพนี้ถ่ายที่ f/2 ด้วยค่ารูรับแสงที่สว่างกว่าเลนส์ซูมรูรับแสงกว้าง คุณจึงสามารถสนุกกับการสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ในภาพถ่ายได้หลากหลายแบบยิ่งขึ้น
EOS 5D Mark III/ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/1,000 วินาที, EV -0.7)/ ISO 100
พื้นผิวของตัวแบบถ่ายทอดออกมาได้อย่างสมจริงด้วยระดับความเปรียบต่างและความคมชัดของเลนส์เดี่ยว ภาพที่ได้ให้ความรู้สึกสมจริงอย่างเต็มที่
สามารถจับโฟกัสในพื้นที่โฟกัสได้คมชัดจนน่าทึ่ง
หลังจากที่ได้ทดลองถ่ายภาพไประยะหนึ่ง ข้อสรุปสำหรับผมคือ เลนส์ EF50mm f/1.8 STM เป็นเลนส์ที่มีความสามารถสมกับเป็นทายาทต่อจากเลนส์ EF50mm f/1.8 II ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้ใช้ทั้งในระดับเริ่มใช้งาน มือสมัครเล่นขั้นสูงที่มีมุมมองเฉพาะตัว ตลอดจนถึงช่างภาพมืออาชีพ ด้วยคุณสมบัติ เช่น การเคลือบผิวเลนส์ที่เหมาะสำหรับกล้องดิจิตอล พื้นผิวภายนอกที่ดียิ่งขึ้น และระบบโฟกัสอัตโนมัติที่ราบรื่นเพราะมี Stepping Motor (STM) ผมมั่นใจว่าทุกคนจะชื่นชอบกับความสามารถที่เลนส์นี้มอบให้
ในฐานะที่เคยใช้งานทั้งเลนส์ EF50mm f/1.8 และ EF50mm f/1.8 II ซึ่งเป็นเลนส์รุ่นก่อนหน้า จากผลการทดสอบนี้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าผมจะต้องซื้อเลนส์ EF50mm f/1.8 STM มาใช้แน่ๆ
ดูเหมือนว่าเลนส์นี้จะถูกสร้างมาเพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลายกว่ารุ่นก่อนๆ ทั้งในแง่ของเลนส์มาตรฐานที่ใช้งานกับกล้อง EOS ฟูลเฟรมได้ง่าย และเลนส์เทเลโฟโต้ระยะกลางสำหรับภาพโคลสอัพที่วิเศษเมื่อใช้กับกล้อง EOS ที่มีเซนเซอร์ขนาด APS-C
เกิดเมื่อปี 1965 ที่จังหวัดมิยะซะกิ Ohura จบการศึกษาจากแผนกการถ่ายภาพจากวิทยาลัยศิลปะ มหาวิทยาลัยนิฮอง เคยทำงานในกองบรรณาธิการของนิตยสารรถมอเตอร์ไซค์และบริษัทวางแผนการออกแบบ หลังจากนั้นเขาก็ผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ เขาเขียนบทความให้กับนิตยสารด้านการถ่ายภาพจากประสบการณ์ในการใช้กล้องดิจิตอลสำหรับการถ่ายภาพโฆษณา นอกเหนือจากการทำงาน เขาชอบดูภาพถ่ายและหาเวลาเยี่ยมชมแกลเลอรี่อยู่เสมอ Ohura ยังเป็นสมาชิก Camera Grand Prix Selection Committee อีกด้วย
ส่งข่าวสารรายวันเกี่ยวกับเรื่องราวของกล้องดิจิตอลและอุปกรณ์เสริมต่างๆ รวมถึงซอฟต์แวร์ตกแต่งภาพ นอกจากนี้ ยังเผยแพร่บทความต่างๆ เช่น รีวิวการใช้กล้องดิจิตอลจริงพร้อมตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องรุ่นใหม่ๆ