ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

[ตอนที่ 1] ยุคแห่งการเริ่มต้น – กำเนิดเมาท์เลนส์อิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ

2014-07-31
1
3.81 k
ในบทความนี้:

ในเดือนเมษายน 2014 ยอดการผลิตเลนส์ EF จาก Canon มียอดทะลุสถิติ 100 ล้านชิ้น ระบบเมาท์เลนส์ใหม่ชนะใจช่างภาพด้วยระบบควบคุมเชิงกลไกที่แตกต่างจากเมาท์เลนส์ FD แบบเดิมได้อย่างไร บทความนี้จะบอกเล่าประวัติการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดจนถึงความคาดหวังจากบรรดาช่างภาพทั้งหลาย (เรื่องโดย: Kazunori Kawada)

หน้า: 1 2

 

ระยะที่ 1: ยุคแห่งการเริ่มต้น - กำเนิดเมาท์เลนส์อิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ

เดือนมีนาคม 1987 Canon เปิดตัว “EOS 650″ กล้อง Canon ตัวแรกที่สร้างขึ้นด้วยระบบโฟกัสอัตโนมัติ (AF) ระดับมืออาชีพ เลนส์รุ่นนี้ยังเป็นจุดกำเนิดของเลนส์ EF อีกด้วย ผมยังจดจำเหตุการณ์ก่อนเปิดตัวกล้องซีรีย์ EOS ได้ ข้อกังวลใจที่สำคัญที่สุดในหมู่ผู้ใช้ Canon คือ Canon จะเปลี่ยนแปลงมาตรฐานของเมาท์เลนส์ FD ที่มีอยู่หรือไม่ เวลานั้น เมาท์ FD ที่ใช้กับกล้อง Canon ก่อนซีรีย์ EOS ได้รับการสนับสนุนอย่างมากมายทั้งจากช่างภาพมืออาชีพและมือสมัครเล่น ช่างภาพส่วนใหญ่คิดว่า การพัฒนาระบบ AF ไม่น่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องมาตรฐานของเมาท์เลนส์ อย่างไรก็ตาม Canon เลือกแนวทางที่สวนทางกับความคาดหมายของผู้ใช้ โดยหันหลังให้กับเมาท์ FD แบบเดิมด้วยการนำมาตรฐานเมาท์ EF ใหม่ล่าสุดเพื่อใช้กับกล้องซีรีย์ EOS การตัดสินใจครั้งนี้สร้างความผิดหวังให้กับผู้ใช้ที่เป็นเจ้าของเลนส์ FD หลายตัว บางคนถึงกับมองว่าเป็น “การหักหลัง” ทว่าในปัจจุบันหลังจากเปิดตัวมาแล้วหลายปี แทบจะไม่มีผู้ใช้คนใดที่ไม่เห็นด้วยว่า การตัดสินใจของ Canon ในครั้งนั้นถูกต้องแล้ว

คุณสมบัติของเลนส์ EF ข้อที่ 1 - ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม

ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมสามารถแก้ไขความบิดเบี้ยวและทำให้สามารถดีไซน์เลนส์ในขนาดเล็กลงได้ Canon นำเลนส์นี้มาใช้ตั้งแต่ต้นปี 1971 ได้มีการกำหนดวิธีการผลิตขึ้น 4 วิธี เพื่อผลิตชิ้นเลนส์หล่อแก้วแบบเจียรและขัดผิว เลนส์หล่อพลาสติกและเลนส์จำลองตามลำดับ

เมาท์ EF ใหม่เป็นระบบเมาท์ที่ควบคุมด้วยไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งขจัดการประสานเชิงกลไก เช่น การทำงานของรูรับแสงและการส่งค่ารูรับแสงออกไปทั้งหมด และทำการสื่อสารกับบอดี้กล้องผ่านสัญญาณไฟฟ้า การนำเมาท์เลนส์รูปแบบใหม่มาใช้ไม่ใช่เพียงเพื่อสอดรับกับการใช้ระบบ AF เท่านั้น แต่ยังเป็นความพยายามที่พิจารณาไปถึงความก้าวหน้าในอนาคตของกล้องซีรีย์นี้ด้วย ขณะที่กล้อง SLR ที่มีระบบ AF ทั้งหมดจากคู่แข่งของ Canon มีมอเตอร์ภายในบอดี้กล้อง Canon กลับมีชื่อเสียงด้านการใช้มอเตอร์ในเลนส์สำหรับเลนส์ EF เดี๋ยวนี้ ผู้ผลิตกล้องแทบทุกรายต่างก็ใช้มอเตอร์ในเลนส์ขับเคลื่อนกลไก AF นับเป็นอีกหนึ่งข้อพิสูจน์ถึงวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของ Canon แม้หลังจากการพัฒนาเมาท์แบบใหม่นั้นจะยังมีเลนส์เพียงไม่กี่รุ่นในสายผลิตภัณฑ์นี้ แต่ไม่นานระบบเลนส์ EF ที่แข็งแกร่งก็ถูกรังสรรค์ขึ้นและเปิดตัวอย่างประสบความสำเร็จด้วยเลนส์ USM ซึ่งทำให้การใช้งาน AF ที่แทบไม่มีเสียงเป็นไปได้ด้วยการใช้ “มอเตอร์อัลตร้าโซนิค” รวมถึง “เลนส์ EF50mm f/1.0L USM” และเลนส์ความเร็วสูงอื่นๆ ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเมาท์ใหญ่กว่าเมาท์ FD

คุณสมบัติของเลนส์ EF ข้อที่ 2 - ชิ้นเลนส์ฟลูออไรต์

ชิ้นเลนส์ฟลูออไรต์นำมาใช้ประโยชน์ในการแก้ไขความคลาดสี ในปลายทศวรรษที่ 1960 Canon พัฒนาเทคโนโลยีการตกผลึกเทียมสำหรับการผลิตชิ้นเลนส์ฟลูออไรต์สำหรับกล้องรุ่นไฮเอนด์ เช่น เลนส์ชนิด L สำเร็จ นับเป็นอีกครั้งหนึ่งของความพยายามของ Canon ที่ยึดมั่นในแนวทางของตนเอง เนื่องจากไม่มีผู้ผลิตกล้องรายใดในเวลานั้นที่นำเอาชิ้นเลนส์ฟลูออไรต์มาใช้ประดิษฐ์เลนส์กล้อง SLR

คุณสมบัติของเลนส์ EF ข้อที่ 3 - ชิ้นเลนส์ UD

ชิ้นเลนส์ UD ถูกพัฒนาขึ้นโดย Canon ในปลายทศวรรษที่ 1970 ชิ้นเลนส์ UD ก็นำมาใช้เพื่อแก้ไขความคลาดสีเช่นเดียวกับชิ้นเลนส์ฟลูออไรต์ โดยที่ชิ้นเลนส์ UD สองชิ้นมีผลในการแก้ไขความคลาดเทียบเท่ากับชิ้นเลนส์ฟลูออไรต์ชิ้นเดียว ทศวรรษ 1990 Canon ประสบความสำเร็จในการพัฒนา “เลนส์ Super UD” ซึ่งเปี่ยมด้วยประสิทธิภาพในระดับที่สูงกว่า

คุณสมบัติของเลนส์ EF ข้อที่ 4 - มอเตอร์อัลตร้าโซนิค (USM)

 

 

Ring USM

 

Micro USM

 

มาวันนี้ ผู้ผลิตกล้องเกือบทุกรายใช้มอเตอร์อัลตร้าโซนิค (USM) ในการขับเคลื่อนกลไก AF แต่ Canon นับเป็นรายแรกที่นำเอาระบบ USM มาใช้ร่วมกับเลนส์ EF โดยแรกเริ่มทีเดียวมีเพียง “Ring USM” ซึ่งใช้ได้เฉพาะกับเลนส์เส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ ภายหลังมีการพัฒนา “Micro USM” ที่ขนาดกะทัดรัดกว่าเพื่อใช้กับเลนส์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า

 

ลำดับเวลาการพัฒนาเลนส์ EF - ตอนที่ 1 [มีนาคม 1987 -มีนาคม 1995]

มีนาคม 1987
 

เปิดตัว “EF35-70mm f/3.5-4.5“, “EF35-105mm f/3.5-4.5” และ “EF50mm f/1.8

 

EF35-70mm f/3.5-4.5

 

EF35-105mm f/3.5-4.5

 

EF50mm f/1.8

 
 
 
 
เมษายน 1987

เปิดตัวเลนส์ฟิชอายแบบทแยงมุม “EF15mm f/2.8 Fisheye” ซึ่งประกอบโดยใช้มอเตอร์ AFD (Arc Form Drive) และ “EF28mm f/2.8” ซึ่งใช้ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมหล่อแก้วหนึ่งชิ้น

 
 
 
พฤษภาคม 1987

เปิดตัวเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ “EF70-210mm f/4” และ “EF100-300mm f/5.6

 
 
 
มิถุนายน 1987

เปิดตัว “EF100-300mm f/5.6L” ประสิทธิภาพสูง ซึ่งใช้เลนส์ฟลูออไรต์และเลนส์ UD

 
 
 
ตุลาคม 1987

เปิดตัว “EF135mm f/2.8 Softfocus” ที่มาพร้อมกับโหมดซอฟต์โฟกัส

 
 
 
พฤศจิกายน 1987

เปิดตัว “EF28-70mm f/3.5-4.5” ซึ่งใช้ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมและไดอะเฟรมป้องกันแสงแฟลร์

 
 
 
พฤศจิกายน 1987
 

«ตัวแรกในโลก»
เปิดตัว “EF300mm f/2.8L USM” เลนส์แบบถอดเปลี่ยนได้สำหรับกล้อง SLR ที่มีมอเตอร์อัลตร้าโซนิค (Ring USM) ตัวแรก

 

EF300mm f/2.8L USM

 
 
 
 
ธันวาคม 1987

เปิดตัว “EF50mm f/2.5 Compact Macro” และ “EF50-200mm f/3.5-4.5

 
 
 
มิถุนายน 1988

เปิดตัว “EF28-70mm f/3.5-4.5 II“, “EF35-135mm f/3.5-4.5” และ “EF50-200mm f/3.5-4.5L”

 
 
 
ตุลาคม 1988

เปิดตัว “EF35-70mm f/3.5-4.5A” เลนส์ที่ไม่มีวงแหวนโฟกัส ออกแบบมาเพื่อการโฟกัสอัตโนมัติโดยเฉพาะ

 
 
 
พฤศจิกายน 1988

เปิดตัว “EF24mm f/2.8” ซึ่งนำระบบการโฟกัสด้านหลังมาใช้เพื่อลดความบิดเบี้ยว อีกทั้ง “EF200mm f/1.8L USM” และ “EF600mm f/4L USM

 
 
 
ธันวาคม 1988

เปิดตัว “EF100-200mm f/4.5A” เลนส์ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับการโฟกัสอัตโนมัติ

 
 
 
เมษายน 1989

เปิดตัว “EF28-80mm f/2.8-4L USM” ซึ่งใช้ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมที่ผ่านการเจียรและขัดผิวเพื่อลดความคลาดและความบิดเบี้ยว

 
 
 
กันยายน 1989
 

«ตัวแรกในโลก»
เปิดตัว “EF50mm f/1.0L USM” ซึ่งมีรูรับแสงกว้างสุดขนาด f/1 อันน่าทึ่ง และนับว่ากว้างที่สุดในบรรดาเลนส์แบบถอดเปลี่ยนได้สำหรับกล้อง SLR ฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.

 

EF50mm f/1.0L USM

 
 
 
 
กันยายน 1989

เปิดตัว “EF85mm f/1.2L USM” ซึ่งใช้ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมที่ผ่านการเจียรและขัดผิว ทั้งยังเป็นเลนส์ที่ให้ความสว่างมากที่สุดในบรรดาเลนส์ระดับเดียวกัน รวมทั้งเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ประสิทธิภาพสูง “EF80-200mm f/2.8L” ด้วย

 
 
 
ตุลาคม 1989

เปิดตัว “EF20-35mm f/2.8L” ซึ่งใช้ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมเป็นส่วนประกอบและมีระบบโฟกัสภายในและด้านหลัง

 
 
 
มีนาคม 1990

เปิดตัว “EF35-80mm f/4-5.6 PZ” ซึ่งใช้การซูมด้วยมอเตอร์และออกแบบมาเพื่อการโฟกัสอัตโนมัติโดยเฉพาะ พร้อมกับ “EF35-135mm f/4-5.6 USM” เลนส์ตัวแรกจาก Canon ที่ใช้กลไกการโฟกัสด้านหลัง

 
 
 
เมษายน 1990

เปิดตัว “EF100mm f/2.8 Macro” ซึ่งมีตัวจำกัดโฟกัส

 
 
 
มิถุนายน 1990

เปิดตัวเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ขนาดเล็ก “EF70-210mm f/3.5-4.5 USM” และ “EF100-300mm f/4.5-5.6 USM

 
 
 
กันยายน 1990

เปิดตัวเลนส์ซูมมาตรฐานราคาประหยัด “EF35-80mm f/4-5.6

 
 
 
ตุลาคม 1990

เปิดตัว “EF35mm f/2” ขนาดกะทัดรัดซึ่งมาพร้อมโครงสร้างเลนส์ที่ไม่ซับซ้อนและรูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่

 
 
 
พฤศจิกายน 1990

เปิดตัวเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ราคาย่อมเยา “EF80-200mm f/4.5-5.6

 
 
 
ธันวาคม 1990

เปิดตัว “EF50mm f/1.8 II” เลนส์ราคาย่อมเยา น้ำหนักเบา ที่ใช้โครงสร้างเลนส์แบบ Caussian

 
 
 
มีนาคม 1991

เปิดตัว “EF75-300mm f/4-5.6” เลนส์ซูมเทเลโฟโต้ราคาย่อมเยาที่มีช่วงซูมกว้างขึ้น

 
 
 
เมษายน 1991

เปิดตัว “EF400mm f/2.8L USM” ซึ่งมีชิ้นเลนส์ UD สองชิ้นไว้แก้ไขความคลาดสี และวงแหวนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับแมนนวลโฟกัส รวมทั้งกลไกการโฟกัสแบบตั้งค่าล่วงหน้าในตัว นอกจากนี้ยังมีเลนส์ “EF35-105mm f/4.5-5.6“, “TS-E24mm f/3.5L” และ “TS-E45mm f/2.8

 
 
 
เมษายน 1991
 

«ตัวแรกในโลก»
เปิดตัว “TS-E90mm f/2.8” เลนส์ทิลต์-ชิฟต์เทเลโฟโต้ระยะกลางสำหรับกล้องฟอร์แมต 35 มม. ตัวแรกในโลก

 

TS-E90mm f/2.8

 
 
 
 
ตุลาคม 1991

เปิดตัว “EF28-80mm f/3.5-5.6 USM” ซึ่งใช้ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมจำลอง และ “EF100mm f/2 USM” ซึ่งมีระบบโฟกัสด้านหลังและแมนนวลโฟกัส Full-time

 
 
 
ธันวาคม 1991

เปิดตัว “EF14mm f/2.8L USM“, “EF200mm f/2.8L USM” และ “EF300mm f/4L USM

 
 
 
มีนาคม 1992

เปิดตัว “EF500mm f/4.5L USM” ซึ่งใช้ชิ้นเลนส์ฟลูออไรต์และ UD รวมทั้ง Ring USM และระบบโฟกัสภายในที่ช่วยในการโฟกัสอัตโนมัติแบบไร้เสียง

 
 
 
เมษายน 1992

เปิดตัว “EF35-80mm f/4-5.6 USM” ซึ่งมาพร้อมกับมอเตอร์อัลตร้าโซนิค

 
 
 
มิถุนายน 1992

เปิดตัว “EF80-200mm f/4.5-5.6 USM“, “EF35-105mm f/4.5-5.6 USM“, “EF75-300mm f/4-5.6 USM” และ “EF20mm f/2.8 USM

 
 
 
กรกฎาคม 1992

เปิดตัวเลนส์เทเลโฟโต้ระยะกลางขนาดกะทัดรัด “EF85mm f/1.8 USM” ที่รองรับแมนนวลโฟกัสแบบ Full-time และใช้ระบบการโฟกัสด้านหลังเพื่อแก้ไขความคลาดต่างๆ

 
 
 
พฤศจิกายน 1992

เปิดตัว “EF28-105mm f/3.5-4.5 USM” ที่ใช้กลุ่มเลนส์หลากหลายเพื่อให้ได้ดีไซน์ที่เบาและเล็กที่สุดในกลุ่มเลนส์ประเภทเดียวกัน

 
 
 
มกราคม 1993
 

«ตัวแรกในโลก»
เปิดตัว “EF35-350mm f/3.5-5.6L USM” เลนส์แบบถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ที่มาพร้อมระดับการซูม 10 เท่าและการทำงานของโฟกัสอัตโนมัติความเร็วสูงและเงียบ

 

EF35-350mm f/3.5-5.6L USM

 
 
 
 
มีนาคม 1993

เปิดตัว “EF20-35mm f/3.5-4.5 USM” ซึ่งซูมด้วยกลุ่มเลนส์กลุ่มที่สองเพื่อลดความบิดเบี้ยว และใช้ไดอะแฟรมป้องกันแสงแฟลร์ในกลุ่มเลนส์กลุ่มที่หนึ่ง

 
 
 
พฤษภาคม 1993

เปิดตัว “EF400mm f/5.6L USM” ที่ให้คุณภาพภาพถ่ายสูงและการทำงานของโฟกัสอัตโนมัติความเร็วสูงและเงียบด้วยชิ้นเลนส์ Super UD

 
 
 
มิถุนายน 1993

เปิดตัว “EF50mm f/1.4 USM” ที่สร้างขึ้นตามแนวคิดการออกแบบเลนส์ FD50mm f/1.4 และใช้ Micro USM ที่รองรับแมนนวลโฟกัสแบบ Full time

 
 
 
ตุลาคม 1993

«ตัวแรกในโลก»
เปิดตัว “EF28-80mm f/3.5-5.6 II USM” เลนส์ตัวแรกในโลกที่ใช้การออกแบบออพติคอลซึ่งประกอบด้วยชิ้นเลนส์ไร้สารตะกั่วเท่านั้น

EF1200mm f/5.6L USM

 
 
 
เมษายน 1991
 

«ตัวแรกในโลก»
เปิดตัว “TS-E90mm f/2.8” เลนส์ทิลต์-ชิฟต์เทเลโฟโต้ระยะกลางสำหรับกล้องฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. ตัวแรกของโลก

 

EF28-80mm f/3.5-5.6 II USM

 
 
 
 
พฤศจิกายน 1993

เปิดตัว “EF28-70mm f/2.8L USM” ที่ใช้ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมที่ผ่านการเจียรและขัดผิวเพื่อให้ภาพคุณภาพสูงและเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ในส่วนพื้นผิวด้านหน้า

 
 
 
มีนาคม 1995

เปิดตัว “EF70-200mm f/2.8L USM” ซึ่งมีชิ้นเลนส์ UD และ “EF75-300mm f/4-5.6 II USM

 
Kazunori Kawada

 

เกิดที่จังหวัดคานากาวะเมื่อปี 1961 หลังจากเป็นผู้ช่วยช่างภาพ Koichi Saito เป็นเวลา 4 ปี Kawada ผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระในปี 1997 ปัจจุบัน งานของเขาเน้นที่การถ่ายภาพและการเขียนรีวิวให้กับนิตยสารกล้องและสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ

 
แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา