ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

การใช้โหมด HDR ในกล้อง EOS 80D

2016-11-17
1
4.18 k
ในบทความนี้:

การถ่ายภาพ HDR เป็นการสร้างภาพถ่ายที่มีช่วงไดนามิกเรนจ์กว้าง โดยการถ่ายภาพสามภาพด้วยการเปิดรับแสงที่หลากหลายและนำภาพทั้งหมดมารวมเข้าด้วยกัน วิธีนี้ช่วยลดความแตกต่างระหว่างโทนสีของส่วนไฮไลท์และเงาในภาพ อันอาจเกิดขึ้นจากขีดจำกัดช่วงไดนามิกเรนจ์ (ช่วงความสว่างและความมืดที่สามารถบันทึกภาพได้) ในการถ่ายภาพ คุณสามารถใช้โหมด HDR ในกล้อง EOS 80D ได้ง่ายๆ ซึ่งในบทความนี้เราจะอธิบายวิธีการใช้ให้ทราบ (ภาพและเรื่องโดย Ryosuke Takahashi)

 

โหมด HDR ใน EOS 80D ช่วยให้ขั้นตอนการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติทั้งหมด ตั้งแต่การถ่ายภาพจนถึงการนำภาพมารวมเข้าด้วยกัน

การถ่ายภาพ HDR เป็นการผลิตภาพถ่ายที่มีช่วงไดนามิกเรนจ์กว้างโดยการถ่ายภาพสามภาพด้วยการเปิดรับแสงที่หลากหลาย (ระบบถ่ายภาพคร่อม) และนำภาพทั้งหมดมารวมเข้าด้วยกัน โดยคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของโหมดนี้คือ สามารถลดส่วนที่สว่างจ้าและมืดเกินไปได้พร้อมกัน ซึ่งเหมาะสมกับฉากที่มีโทนสีแตกต่างกันมากๆ และในกรณีที่คุณต้องการเก็บภาพองค์ประกอบที่อยู่ในร่มและกลางแจ้งไว้ในภาพถ่าย

ใน การถ่ายภาพ HDR แบบเดิม เราจะนำภาพถ่ายที่ได้มาปรับแนวตำแหน่งที่ถูกต้อง จากนั้นจึงนำมารวมเข้าด้วยกันโดยใช้โปรแกรมปรับแต่งภาพในคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องมือ HDR ใน Digital Photo Professional แต่นั่นหมายความว่าเราจะจินตนาการถึงภาพถ่ายที่ปรับแต่งเสร็จเรียบร้อยแล้วในสถานที่นั้นๆ ได้ยาก อีกทั้งยังไม่สามารถแก้ไขการปรับแนวตำแหน่งที่ผิดพลาดจากสถานที่ถ่ายภาพอีกด้วย

ความไม่สะดวกซึ่งเกิดเป็นปกติวิสัยนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยโหมด HDR ในกล้องถ่ายภาพ ซึ่งจะช่วยให้ระบบถ่ายภาพคร่อม การปรับแนวตำแหน่ง และกระบวนการรวมภาพทำงานได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งไม่เพียงทำให้เราสามารถถ่ายภาพ HDR ด้วยการถ่ายภาพแบบถือกล้องด้วยมือได้เท่านั้น แต่ยังเพิ่มความสะดวกมากขึ้น เนื่องจากคุณสามารถตรวจสอบและปรับแต่งภาพให้เสร็จในสถานที่ถ่ายภาพได้ทันที โดยกล้อง Canon รุ่นแรกที่มีโหมด HDR คือรุ่น EOS 5D Mark III ซึ่งคุณสามารถอ่านเพิ่มเติมว่านักพัฒนาพูดถึงกล้องรุ่นนี้ไว้อย่างไรได้ใน บทสัมภาษณ์ทีมนักพัฒนากล้อง EOS 5D Mark III [ตอนที่ 2]

นอกจากนี้ เรายังสามารถถ่ายภาพ HDR ด้วยเอฟเฟ็กต์ในแนวศิลป์ได้ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถเลือกระดับการเปิดรับแสงได้ โดยก่อนอื่นให้เข้าไปที่โหมด HDR จากเมนูการถ่ายภาพ แล้วเลือก [ปรับช่วงการรับแสง] จากนั้น ในเมนูเดียวกัน คุณจะมองเห็นตัวเลือกทั้งห้าตัวเลือกสำหรับปรับแต่งเอฟเฟ็กต์แบบต่างๆ รวมถึงสีธรรมชาติ ให้เลือกตัวเลือกที่ไม่ใช่ "สีธรรมชาติ" สำหรับภาพถ่าย HDR เพื่อปรับแต่งภาพในเชิงศิลป์

อีกวิธีหนึ่งที่จะสามารถถ่ายภาพ HDR ในกล้อง EOS 80D ได้ คือการเลือกโหมดดังกล่าวจากโหมดฟิลเตอร์สร้างสรรค์ในวงแหวนเลือกโหมด อย่างไรก็ดี คุณจะไม่สามารถเข้าถึงการตั้งค่ากล้องและตัวเลือกเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ได้ นั่นเป็นเพราะการถ่ายภาพ HDR ในโหมดฟิลเตอร์สร้างสรรค์เป็นเพียงเวอร์ชั่นแบบง่ายๆ สำหรับผู้เริ่มใช้งานเท่านั้น จึงมีตัวเลือกการตั้งค่าอัติโนมัติและการใช้เอฟเฟ็กต์ปรับแต่งภาพที่จำกัด หากคุณต้องการปรับแต่งการตั้งค่าการถ่ายภาพ HDR เพิ่มเติม ให้กำหนดค่าการถ่ายภาพ HDR จากเมนูการถ่ายภาพ

 

ขั้นตอนการใช้โหมด HDR

 

1. เลือก [โหมด HDR] จากแท็บ [SHOOT3]

เมื่อเริ่มถ่ายภาพ ให้เลื่อนไปใต้แท็บ [SHOOT3] ในเมนู เลือก [โหมด HDR] ใต้การตั้งค่าจากโรงงาน ซึ่งถูกปิดใช้งานอยู่ ซึ่งโหมดนี้จะทำให้คุณสามารถดำเนินการตั้งค่าในรายละเอียดได้

 

2. เลือก [อัตโนมัติ] ใต้ [ปรับช่วงการรับแสง]

กดปุ่ม [SET] เพื่อตั้งค่าไดนามิกเรนจ์ ซึ่งยิ่งมีค่ากว้างมากเท่าใด ความแตกต่างของโทนสีที่มากขึ้นนั้นจะลดน้อยลง เลือก [อัตโนมัติ] จากนั้น กล้องของคุณจะเลือกการเปิดรับแสงที่เหมาะสม

 

3. เลือก [มาตรฐานศิลปะ] ใต้ [เอฟเฟ็กต์]

ฟังก์ชั่น [เอฟเฟ็กต์] จะช่วยกำหนดรูปแบบขององค์ประกอบภาพ HDR คุณสามารถเลือกเอฟเฟ็กต์ที่ต้องการจากตัวเลือกที่หลากหลาย รวมถึง [สีธรรมชาติ] แบบเรียบง่ายได้ ซึ่งตรงนี้ผมเลือก [มาตรฐานศิลปะ]

 

4. เลือก [ทุกภาพ] ใต้ [HDR ต่อเนื่อง]

การตั้งค่านี้จะกำหนดวิธีถ่ายภาพ HDR ดังนั้น เมื่อคุณเลือก [ทุกภาพ] แล้ว โหมด HDR จะยังมีผลต่อไปจนกว่าจะปิดใช้งานการตั้งค่านี้ ครั้งนี้เราจะเลือก [ทุกภาพ] เพื่อเปิดใช้การถ่ายภาพต่อเนื่อง

 

5. เลือก [ใช้งาน] ใต้ [ปรับแนวอัตโนมัติ]

เมื่อคุณเลือก [ใช้งาน] ใต้ [ปรับแนวอัตโนมัติ] แล้ว กล้องจะพิจารณาการปรับแนวผิดเล็กๆ น้อยๆ ในภาพโดยอัตโนมัติ ซึ่งคุณสมบัตินี้จะทำให้บริเวณขอบภาพถูกตัดออกไป

 

เอฟเฟ็กต์ HDR 5 แบบ

สีธรรมชาติ

ขยายช่วงไดนามิกเรนจ์ผ่านการประมวลผลภาพโดยการลดส่วนที่สว่างและมืดเกินไป เพื่อสร้างภาพที่รวมกันขึ้นมาแล้วดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น เนื่องจากไม่มีการใช้เอฟเฟ็กต์พิเศษใดๆ ในภาพนี้ เอฟเฟ็กต์นี้จึงเหมาะกับฉากหลากหลายประเภทรวมถึงภาพทิวทัศน์ อีกทั้งยังเป็นโหมดพื้นฐานที่สุดในบรรดาเอฟเฟ็กต์ HDR ทั้งหมดอีกด้วย

ก่อน
EOS 80D/ EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM/ FL: 10 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/4 วินาที)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ (เน้นบรรยากาศ)

 

หลัง
EOS 80D/ EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM/ FL: 10 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/13 วินาที)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ (เน้นบรรยากาศ)/ การถ่ายภาพ HDR: สีธรรมชาติ

 

ศิลปะมาตรฐาน

สร้างเอฟเฟ็กต์ทางภาพที่ยอดเยี่ยมกว่าเอฟเฟ็กต์สีธรรมชาติ เอฟเฟ็กต์ HDR นี้ทำให้ภาพที่ออกมาดูเหมือนภาพวาด เนื่องจากการไล่เฉดสีจะดูสวยขึ้นกว่าที่เป็นจริง และสามารถถ่ายทอดรายละเอียดในส่วนที่เป็นไฮไลท์และเงาไว้ในภาพเดียวกันได้ เอฟเฟ็กต์นี้เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่คุณต้องการให้เกิดผลทางอารมณ์มากกว่าที่ได้รับจากเอฟเฟ็กต์แบบสีธรรมชาติเล็กน้อย

EOS 80D/ EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM/ FL: 18.0 มม./ มาตรฐานศิลปะ HDR (f/3.5, 1/250 วินาที)/ WB: อัตโนมัติ (เน้นบรรยากาศ)

 

ศิลปะ สีสดใส

สีสันจะมีความอิ่มมากกว่าศิลปะมาตรฐาน จึงทำให้เอฟเฟ็กต์ภาพของ HDR โดดเด่นไม่เหมือนใครมากขึ้น จึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพพระอาทิตย์ตกและภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืน และยังเหมาะกับการถ่ายภาพท้องถนนอันทันสมัยที่เต็มไปด้วยสีสันสดใส จึงควรใช้เอฟเฟ็กต์นี้เมื่อคุณต้องการให้ตัวแบบส่งผลทางอารมณ์

EOS 80D/ EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM/ FL: 18 มม./ HDR ศิลปะ สีสดใส (f/3.5, 1/250 วินาที)/ WB: อัตโนมัติ (เน้นบรรยากาศ)

 

ศิลปะ คมเข้ม

ให้สีสันที่มีความอิ่มมากที่สุดในบรรดาเอฟเฟ็กต์ HDR ทั้งห้าแบบ จึงช่วยดึงเอาด้านที่เป็นสามมิติของตัวแบบออกมา เอฟเฟ็กต์นี้เหมาะสำหรับตัวแบบ ได้แก่ ทิวทัศน์ วัตถุ และสถาปัตยกรรมที่มนุษย์ทำขึ้น นับเป็นโหมดที่มีความโดดเด่น จึงทำให้ภาพเหมือนถูกวาดด้วยพู่กันระบายสี

EOS 80D/ EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM/ FL: 18 มม./ HDR ศิลปะ คมเข้ม (f/3.5, 1/250 วินาที)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ (เน้นบรรยากาศ)

 

ศิลปะ ลายนูน

ถ่ายทอดโครงร่างของตัวแบบได้อย่างชัดเจนโดยการเน้นเงาซิลลูเอตต์ โดยมีคุณสมบัติคือความปกติที่เกิดขึ้นจากการลดโทนสีดังเช่นโทนสีที่สร้างสรรค์ขึ้นจากการใช้สีที่มีความสดต่ำมาก โหมด HDR นี้เหมาะสมที่สุดสำหรับถ่ายภาพตัวแบบในเชิงอุตสาหกรรม เช่น สถานที่และวัตถุที่ใช้ในการก่อสร้างต่างๆ

EOS 80D/ EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM/ FL: 18 มม./ HDR ศิลปะ ลายนูน (f/5.6, 1/640 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ (เน้นบรรยากาศ)

 

สิ่งที่พึงจดจำ

  • เมื่อเลือกโหมด HDR แล้ว จะไม่มีฟังก์ชั่นการปรับแสงเหมาะสมอัตโนมัติ เน้นโทนภาพบริเวณสว่าง และการแก้ไขความบิดเบี้ยวให้เลือกใช้งาน
  • การถ่ายภาพ HDR ไม่สามารถใช้งานร่วมกับการถ่ายภาพซ้อนได้
  • การถ่ายภาพ HDR มีข้อจำกัดในเรื่องคุณภาพภาพถ่ายและไม่สามารถทำได้ในรูปแบบ RAW หรือ RAW+JPEG ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้กำหนดคุณภาพของภาพเป็น JPEG ก่อนเริ่มถ่ายภาพ

 

รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับข่าวสาร เคล็ดลับและลูกเล่นในการถ่ายภาพได้โดย ลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับเรา!

 

 

 

 

Ryosuke Takahashi

 

เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย

 

Digital Camera Magazine

 

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา