ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับกล้อง EOS 80D (1) - จุด AF แบบกากบาททั้งหมด 45 จุด

2016-08-25
1
3.82 k
ในบทความนี้:

คุณสมบัติเด่นอย่างหนึ่งของระบบ AF ของกล้อง EOS 80D คือจุด AF ทั้งหมดสามารถใช้งานเซนเซอร์แบบกากบาทได้ และเนื่องจากจำนวนจุด AF ทั้งหมดที่มีถึง 45 จุดนี้เป็นคุณลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน คุณจึงสามารถใช้ประโยชน์จากกล้องในลักษณะที่ซับซ้อนขึ้นได้หากทำความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะเด่นและคุณสมบัติของเซนเซอร์ AF ให้ดียิ่งขึ้น เราจะมาเริ่มด้วยการเรียนรู้วิธีทำงานของเซนเซอร์ AF กัน (ภาพและเรื่องโดย Ryosuke Takahashi)

 

การมีจุด AF แบบกากบาทที่ไวต่อค่า f/5.6 จำนวน 45 จุดส่งผลให้ AF มีความแม่นยำอย่างไร

เนื่องจากจุด AF 45 จุดในกล้อง EOS 80D มีพื้นที่สำหรับการตรวจจับ AF ในระหว่างการถ่ายภาพด้วยช่องมองภาพที่กว้างขึ้นในสี่ทิศทางเมื่อเทียบกับรุ่นอื่นๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน จึงช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณสามารถถ่ายภาพตัวแบบได้ตามที่ตั้งใจไว้

นอกจากนี้ จุด AF ทั้ง 45 จุดยังมีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนประสิทธิภาพการทำงานของ AF ในกล้อง EOS 80D ดังนั้น หากคุณเข้าใจถึงคุณลักษณะดังกล่าวเป็นอย่างดีก็จะช่วยให้สามารถใช้กล้องได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

 

เซนเซอร์แบบกากบาททั้งหมด: สร้าง "โครงข่าย" การตรวจจับที่สามารถตรวจจับตัวแบบได้หลากหลายยิ่งขึ้น

จุด AF ทั้งหมด 45 จุดมีเซนเซอร์แบบกากบาท ซึ่งเซนเซอร์แบบกากบาทประกอบไปด้วยเซนเซอร์แบบเส้นในแนวตั้งและเซนเซอร์แบบเส้นในแนวนอนตัดกันที่จุดกึ่งกลาง เกิดเป็น "โครงข่าย" การตรวจจับ ซึ่งจะสามารถตรวจจับตัวแบบได้อย่างแม่นยำกว่าเซนเซอร์แบบเส้นเดี่ยว  

หากต้องการอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างเซนเซอร์แบบเส้นและเซนเซอร์แบบกากบาท โปรดดูบทความต่อไปนี้
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง 12: อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างเซนเซอร์แบบเส้นและเซนเซอร์แบบกากบาท

 

จุด AF ที่ไวต่อค่า f/5.6 + จุด AF กึ่งกลางที่ไวต่อค่า f/2.8: ทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มความแม่นยำ

เซนเซอร์ AF ที่ไวต่อค่า f/2.8 ใช้จุดแสงสองจุดใกล้กับเส้นผ่านศูนย์กลางของรูรับแสง f/2.8 ซึ่งจุดแสงทั้งสองจุดนี้อยู่ห่างจากกันพอสมควรเมื่อเทียบกับเซนเซอร์ที่ไวต่อค่า f/5.6 จึงทำให้การโฟกัสมีความแม่นยำมากขึ้น อย่างไรก็ดี หากตัวแบบอยู่นอกโฟกัสมากจนเกินไป การตรวจจับก็จะยังคงทำได้ยาก ส่งผลให้มีการตรวจจับที่ช้าลง นอกจากนี้ เนื่องจากระดับเทรชโฮลด์ของแสงคือ f2.8 ดังนั้น ค่ารูรับแสงกว้างสุดของเลนส์จึงต้องเป็น f/2.8 หรือสว่างกว่าเช่นกันเพื่อให้เซนเซอร์สามารถทำงานได้

ขณะเดียวกัน เซนเซอร์ AF ที่ไวต่อค่า f/5.6 นั้นมีความแม่นยำในการโฟกัสน้อยกว่า เนื่องจากจุดแสงสองจุดที่ใช้สำหรับการตรวจจับนั้นอยู่ใกล้กันมากกว่า อย่างไรก็ดี นั่นหมายความว่าการตรวจจับสามารถทำได้โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องค่ารูรับแสงกว้างสุดของเลนส์ เซนเซอร์ AF ที่ไวต่อค่า f/5.6 จึงมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยมในการตรวจจับตัวแบบที่อยู่นอกโฟกัสได้มากกว่าอย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน ดังนั้น การที่กล้อง EOS 80D ทำงานด้วยเซนเซอร์ทั้งสองแบบที่มีค่าความไวต่างกันนั้นย่อมช่วยเพิ่มความสามารถในการตรวจจับของ AF ได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ จุด AF กึ่งกลางของกล้อง EOS 80D ยังเป็นแบบ Dual cross ดังที่แสดงในแผนภาพจำลองด้านล่างนี้ สำหรับจุด AF แบบ Dual cross เส้นสี่เส้นของเซนเซอร์ AF ทั้งสองแบบจะตัดกัน ทำให้สามารถโฟกัสได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น 

 

เลย์เอาต์ของจุด AF 45 จุด

 

การเลือกจุด AF อื่น

1. กดปุ่มโหมดการเลือกพื้นที่ AF หรือปุ่มการเลือกจุด AF

เมื่อกดปุ่มโหมดการเลือกพื้นที่ AF หรือปุ่มการเลือกจุด AF ในช่องมองภาพ จะมีจุด AF ปรากฏขึ้นให้สามารถเลือกได้ ซึ่งในภาพด้านขวาบนนั้นมีการเลือกจุด AF กึ่งกลางไว้แล้ว

 

2. ใช้วงแหวนควบคุมหลัก วงแหวน Quick Control หรือปุ่ม Multi-controller เพื่อเลื่อนจุด AF

เมื่อจุด AF ทั้งหมดแสดงขึ้นมาแล้ว คุณสามารถหมุนวงแหวนควบคุมหลัก (หรือวงแหวน Quick Control) เพื่อเลื่อนตัวชี้ตำแหน่งขึ้น ลง หรือไปทางซ้ายหรือขวาเพื่อเลือกจุด AF อื่นได้ตามความต้องการของคุณ

 

คุณสมบัติพิเศษที่ 1: จุด AF แบบกากบาททั้งหมดทำให้จัดวางองค์ประกอบภาพได้หลากหลายยิ่งขึ้น

เนื่องจากจุด AF ทั้ง 45 จุดใช้เซนเซอร์แบบกากบาท คุณจึงสามารถจัดองค์ประกอบภาพได้อย่างอิสระและเพลิดเพลินกับความแม่นยำของ AF โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องรูปทรงหรือการวางแนวตัวแบบ เนื่องจากพื้นที่ในการตรวจจับของ AF กว้างขึ้นกว่าเดิม จึงแทบไม่จำเป็นต้องใช้การล็อค AF แต่อย่างใด โดยคุณสามารถกำหนดองค์ประกอบภาพและทำการโฟกัสอัตโนมัติได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้สามารถเตรียมใช้งานกล้องได้รวดเร็วยิ่งขึ้น กำหนดโฟกัสได้เร็วขึ้น และมีโอกาสสูงขึ้นที่จะถ่ายภาพวินาทีสำคัญได้ นอกจากนี้ ยังเกิดปัญหาการจัดเรียงในระบบวัดแสงอัตโนมัติ (AE) เมื่อล็อค AF ได้น้อยกว่าอีกด้วย

EOS 80D/ EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM/ FL: 18 มม./ Program AE (f/8, 1/250 วินาที, EV-0.3)/ ISO 100
แม้แต่ในขณะที่รูปร่างของตัวแบบอยู่ใกล้กับเส้นตรงบางๆ เซนเซอร์แบบกากบาทตัวใดตัวหนึ่งจะตอบสนองเพื่อปรับโฟกัสให้เหมาะสม

 

EOS 80D/ EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM/ FL: 18 มม./ Aperture-Priority AE (f/3.5, 1/250 วินาที, EV-0.3)/ ISO 100
จุด AF แบบกากบาททั้งหมดมีประโยชน์มากในฉากที่ตัวแบบถูกจัดวางไว้ที่ขอบภาพ ดังเช่นในตัวอย่างภาพด้านบน คุณสามารถจัดองค์ประกอบภาพให้คมชัดได้โดยการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ครอบคลุมช่องมองภาพซึ่งอยู่ที่ราว 100%

 

คุณสมบัติพิเศษที่ 2: จุด AF กึ่งกลางทำงานได้อย่างดีเยี่ยมในฉากที่มีแสงน้อย

เซนเซอร์ AF ของจุด AF กึ่งกลางมีประสิทธิภาพในการถ่ายในสภาพแสงน้อยได้เป็นเยี่ยม และสามารถทำงานได้แม้ใช้ค่าขีดจำกัดในสภาพแสงน้อยที่ EV-3.0 ซึ่งหากคุณเข้าใจถึงคุณสมบัติข้อนี้ คุณจะสามารถใช้ AF เพื่อทำการโฟกัสเมื่อแสงในบริเวณรอบๆ มืดสลัวหรือใกล้เคียงกับแสงสว่างของดวงจันทร์ได้ เช่น เมื่อถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ตอนกลางคืนหรือถ่ายภาพสัตว์ในเวลากลางคืน
เนื่องจากแสงเข้าสู่เซนเซอร์ AF ได้มากขึ้นเมื่อค่า f ของเลนส์สว่างขึ้น (ค่าต่ำลง) ดังนั้น จึงมีแสงสว่างที่เพียงพอสำหรับการถ่ายภาพในสภาพแสงน้อย

EOS 80D/ EF50mm f/1.8 STM/ FL: 50 มม./ Aperture-Priority AE (f/1.8, 1/40 วินาที, EV-0.3)/ ISO 8000
แม้แต่ในขณะถ่ายภาพตัวแบบที่มืดภายในห้องที่มีแสงน้อย เซนเซอร์ AF ของจุด AF กึ่งกลาง ซึ่งรองรับค่าขีดจำกัดในสภาพแสงน้อยที่ EV-3.0 ยังสามารถตรวจจับโฟกัสได้เป็นอย่างดี

 

คุณสมบัติพิเศษที่ 3: สามารถใช้งานจุด AF ได้สูงถึง 27 จุดเมื่อใส่ท่อต่อเลนส์

จำนวนจุด AF และประเภทของเซนเซอร์ AF ที่ระบบ AF ของกล้อง EOS 80D ใช้จะแปรเปลี่ยนไปตามความสว่างของเลนส์ที่ใช้ ซึ่งเมื่อใส่ท่อต่อเลนส์เข้ากับกล้องก็จะสามารถใช้งานเซนเซอร์ AF ที่ไวต่อค่า f/8 ได้ โดยเราสามารถใช้่งานจุด AF ได้สูงสุดถึง 27 จุด โดยเก้าจุดที่อยู่ในโซนกึ่งกลาง (ทำเครื่องหมายสีแดง) จะรองรับการทำงานของ AF โดยใช้เซนเซอร์แบบกากบาท ส่วนพื้นที่ AF ทั้งสองข้าง (ทำเครื่องหมายสีน้ำเงิน) คือเซนเซอร์แบบเส้นที่ทำหน้าที่ตรวจจับเส้นแนวนอน

เรายังสามารถใช้จำนวนจุด AF ที่สูงถึง 27 จุดนี้ได้แม้แต่ในขณะที่ค่า f เปลี่ยนเป็น f/8 เมื่อใส่ท่อต่อเลนส์ ซึ่งจะช่วยให้คุณถ่ายภาพด้วย AF ได้ง่ายขึ้น

 

EOS 80D/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM + Extender EF 1.4xIII/ FL: 560 มม./ Aperture-Priority AE (f/16, 1/2000 วินาที, EV-0.7)/ ISO 6400
จุด AF ของกล้อง EOS 80D จับภาพตัวแบบที่พื้นผิว ไม่ใช่แค่ที่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งมีข้อดีประการหนึ่งคือ คุณสามารถจัดองค์ประกอบภาพได้อย่างอิสระมากขึ้น ทำให้องค์ประกอบภาพของคุณไม่ดูเหมือนเป็นการจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลางเพียงอย่างเดียว

 

เคล็ดลับที่ 1: ใช้ปุ่ม Multi-controller เพื่อเลือกจุด AF ได้เร็วขึ้น

แทนที่จะใช้ปุ่มโหมดการเลือกพื้นที่ AF คุณเพียงแค่ใช้ปุ่ม Multi-controller ก็สามารถเปลี่ยนการเลือกจุด AF ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการทำเช่นนี้จะลดขั้นตอนไปหนึ่งขั้นตอนเมื่อเทียบกับการใช้วิธีก่อนหน้านี้ ซึ่งจะมีประโยชน์มากเมื่อคุณเจอโอกาสดีๆ ในการถ่ายภาพ และเพื่อความสะดวกมากยิ่งขึ้น คุณยังสามารถใช้วิธีดังกล่าวร่วมกับการตั้งค่าต่างๆ ในรูปแบบการเลือกจุด AF ได้

หากต้องการเปลี่ยนการตั้งค่า ให้ไปที่ [C.fn III: การใช้งาน/อื่นๆ] – [การควบคุมด้วยตนเอง]  

 

เคล็ดลับที่ 2: ใช้ "การเคลื่อนที่ของการเลือกจุด AF – ต่อเนื่อง" เพื่อให้การเลือกจุด AF มีความยืดหยุ่นยิ่งขึ้น

การเลือกการเคลื่อนที่ของการเลือกจุด AF เป็น "ต่อเนื่อง" จะช่วยให้จุด AF สามารถเวียนไปรอบๆ ยังฝั่งตรงกันข้าม เมื่อจุด AF ที่คุณเลือกไปถึงจุดที่ขอบด้านนอกของภาพ ซึ่งเมื่อจุด AF สามารถเคลื่อนที่ไปยังด้านซ้ายและขวา (หรือขึ้นและลง) ได้รวดเร็วขึ้น คุณสมบัตินี้จึงไม่เพียงเหมาะสำหรับกิจกรรมการถ่ายภาพที่มีการเคลื่อนไหวรวดเร็วอย่างเช่นกีฬา เท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพตัวแบบที่คาดเดาไม่ได้อย่างเช่นสัตว์เลี้ยงด้วย

เพื่อให้จุด AF เวียนไปรอบๆ ยังฝั่งตรงกันข้าม เลือก [ต่อเนื่อง] เมื่อคุณอยู่ในโหมดการเลือกพื้นที่ AF อื่นซึ่งไม่ใช่การเลือก AF 45 จุดอัตโนมัติ

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดย ลงทะเบียนกับเรา !

 

 

 

 

 

 

Ryosuke Takahashi

 

เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย

 

Digital Camera Magazine

 

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา