EOS 80D ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2016 มาพร้อมกับ เซนเซอร์ภาพและ Dual Pixel CMOS AF ที่ผ่านการพัฒนาครั้งสำคัญ บทความนี้จะนำสรุปบทสัมภาษณ์นักพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ ที่นำไปสู่การปฏิวัติวงการถ่ายภาพมาฝากผู้อ่านกัน (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi ภาพกลุ่มโดย: Takehiro Kato ภาพโดย: Tomoko Suzuki)
(แถวหลัง จากซ้ายมือ)
Kohei Furuya (ศูนย์วิจัยและพัฒนา ICP 2)/ Koji Ikeda (ศูนย์พัฒนา ICP 2)/ Terutake Kadohara (ศูนย์วิจัยและพัฒนา ICP 2)/ Takashi Ichinomiya (ศูนย์วิจัยและพัฒนา ICP 2)/ Yuichiro Sugimoto (แผนก ICP 1)
(แถวหน้า จากซ้ายมือ)
Takashi Kishi (ศูนย์พัฒนา ICP 2)/ Masahiro Kobayashi (แผนก ICP 2)/ Nobuyuki Inoue (ศูนย์พัฒนา ICP 2)/ Koji Sato (ศูนย์พัฒนา ICP 1)/ Yutaka Watanabe (ศูนย์พัฒนา ICP 1)
Q: การนำ DIGIC 6 มาใช้เป็นครั้งแรกช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกล้องได้อย่างไรบ้าง
A:
"เราได้พัฒนาปรับปรุงการทำงานที่สำคัญๆ ได้แก่ ระบบการประมวลผลเพื่อลดจุดรบกวน ซึ่งทำให้สามารถใช้ ISO 16000 เป็นการตั้งค่ามาตรฐานบนกล้องได้ รวมถึงมีฟิลเตอร์สร้างสรรค์สำหรับการถ่ายภาพเคลื่อนไหว และการรองรับภาพเคลื่อนไหวแบบ Full HD 60p, 50p และ HDR"
ระบบเหล่านี้ถึงแม้จะเพิ่มภาระในการประมวลผลภาพ แต่ในขณะเดียวกันปัญหานี้ก็ได้รับการแก้ไขด้วยการใช้ระบบประมวลผลความเร็วสูง ซึ่งระบบประมวลผลภาพ DIGIC 6 นั้นมีขีดความสามารถสูงกว่าที่คาดคิดไว้มาก
Q: เซนเซอร์ภาพแบบใหม่มีคุณสมบัติที่โดดเด่นอย่างไรบ้าง
A:
"นอกเหนือจากกล้องจะมีความละเอียดสูงประมาณ 24.2 ล้านพิกเซลแล้ว EOS 80D ยังมีช่วงความไวแสง ISO มาตรฐานที่ครอบคลุมตั้งแต่ 100 ไปจนถึง 16000 อีกทั้งยังรองรับการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงถึง 7 ภาพต่อวินาที สามารถถ่ายภาพเคลื่อนไหวแบบ Full HD 60p และมีคุณสมบัติ Dual Pixel CMOS AF แบบใหม่"
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เซนเซอร์ภาพใหม่จะมีส่วนช่วยในการประมวลผลความเร็วสูง ทำให้สามารถถ่ายภาพเคลื่อนไหวที่มีอัตราต่อเฟรมสูง และมีความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องที่ประมาณ 7 เฟรมต่อวินาที
Q: เซนเซอร์การวัดแสง RGB+IR ความละเอียด 7,560 พิกเซลมีฟังก์ชั่นอะไรบ้าง
A:
นอกเหนือจากความสามารถในการวัดความสว่างของภาพแล้ว เซนเซอร์นี้มีฟังก์ชั่นต่างๆ มากมาย
"IR ไม่เพียงแต่สามารถตรวจจับแสงอินฟราเรดเท่านั้น แต่ยังนำไปใช้ตรวจจับสีสันต่างๆ ร่วมกับพิกเซล RGB ได้ด้วย ตัวอย่างเช่น เรานำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์เพื่อหาอินฟราเรดคลื่นสั้นและตรวจจับแสงที่สั่นไหว เพื่อช่วยควบคุมการเปิดรับแสงได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น"
และเรายังนำข้อมูลที่ได้นี้ไปใช้กับระบบ Scene Detection ของ EOS อีกด้วย
Q: Dual Pixel CMOS AF ได้รับการพัฒนาปรับปรุงอย่างไรบ้าง
A:
"AF นี้สามารถทำงานได้ในทุกสภาวะการถ่ายภาพ (ทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง) และใช้งานได้กับเลนส์ EF ทุกประเภท เรายังได้รวมคุณสมบัติของ Servo AF ไว้ เพื่อรองรับการถ่ายภาพนิ่งในฟังก์ชั่น Live View นอกจากนี้ AF ยังทำงานได้ทั้งในระหว่างการถ่ายภาพแบบ Full HD 60p และการซูมสำหรับบันทึกภาพเคลื่อนไหวแบบดิจิตอล และสนับสนุนการตั้งค่าภาพเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง (ความเร็ว AF/ความไวในการติดตาม)"
ด้วยการปรับปรุงฟังก์ชั่นการทำงานอย่างครบครันเกือบทุกส่วนเช่นนี้ จึงทำให้ Dual Pixel CMOS AF สามารถมอบประสบการณ์การถ่ายภาพที่เพลิดเพลินยิ่งขึ้น
Q: Dual Pixel CMOS AF มีความสามารถในการโฟกัสภาพอย่างไรบ้าง
A:
หนึ่งในข้อดีของ Dual Pixel CMOS AF คือ ใช้ระบบ AF แบบตรวจจับ Phase Difference
"แต่ละพิกเซลของเซนเซอร์ CMOS จะมีโฟโตไดโอด 2 ตัว เราจะใช้ข้อมูลจากพิกเซลทั้งหมดที่ได้สำหรับการโฟกัส"
กล้องสามารถจับโฟกัสได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากสามารถตรวจจับตำแหน่งของตัวแบบได้โดยใช้พิกเซล Phase Difference
Q: ประโยชน์ของเซนเซอร์แบบ Dual Cross-type มีอะไรบ้าง
A:
"ความสามารถของระบบโฟกัสอัตโนมัติจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับจุด AF อื่นๆ"
โดยเซนเซอร์แบบ Dual Cross-type จะเพิ่มความสามารถของระบบโฟกัสอัตโนมัติโดยการนำเซนเซอร์แบบ Cross-type สองชิ้นมาวางซ้อนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เซนเซอร์ Cross-type ที่จัดเรียงตามแนวทแยงมุมจะนำมาวางซ้อนกับเซนเซอร์แบบ Cross-type เพื่อให้สามารถทำการโฟกัสได้โดยไม่เปลี่ยนไปตามรูปร่างของตัวแบบ
A: การโฟกัสแบบ Cross-type: f/5.6 แนวตั้ง + f/5.6 แนวนอน (สามารถใช้งานร่วมกับเลนส์ f/8 ได้ด้วย)
B: การโฟกัสแบบ Dual cross-type: f/2.8 ทแยงมุมด้านขวา + f/2.8 ทแยงมุมด้านซ้าย
f/5.6 แนวตั้ง + f/5.6 แนวนอน (สามารถใช้งานร่วมกับเลนส์ f/8 ได้ด้วย)
Q: ประโยชน์ของการมีจุด AF เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ใช้งานร่วมกับเลนส์ f/8 ได้คืออะไร
A:
"เมื่อใส่ท่อต่อเลนส์ เรายังสามารถใช้งานระบบโฟกัสอัตโนมัติที่มีความแม่นยำสูงได้ แม้เมื่อใช้งานร่วมกับเลนส์ที่มีขนาดรูรับแสงกว้างสุดที่ f/8"
ใน EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM และ Extender EF1.4x III จุดเหล่านี้จะอยู่ในรูปแบบการโฟกัสในกลุ่ม G ซึ่งสามารถใช้งานจุด AF ได้สูงถึง 27 จุด ในขณะเดียวกัน เซนเซอร์แบบ Cross-type ยังสามารถทำงานบนพื้นที่ AF ที่กึ่งกลางได้อีกด้วย
Q: AF ที่มีระบบติดตามด้วยสีจะนำมาใช้ในกรณีใดบ้าง
A:
"ฉากที่มืดเกินไป เช่น ฉากที่เราไม่สามารถมองเห็นรูปร่างของวัตถุได้ด้วยตาเปล่าเมื่อได้รับแสงสว่างจากแหล่งกำเนิดแสงที่น้อย เช่น แสงจันทร์"
EV-3 หมายถึง ระดับความสว่างที่เทียบได้กับสถานที่ที่ไม่มีไฟจากถนน ดังนั้น ย่านดาวน์ทาวน์ในช่วงเวลากลางคืนจึงสว่างกว่า EV-3 ซึ่งเราจะนำ AF นี้มาใช้ประโยชน์ได้ในการถ่ายภาพสัตว์ในเวลากลางคืน ต้องขอบคุณความสามารถในการตรวจจับที่ยอดเยี่ยม ที่ทำให้การโฟกัสคงที่แม้ท่ามกลางสภาวะที่มืด
Q: ฉากประเภทใดบ้างที่สามารถถ่ายโดยใช้ความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องที่ประมาณ 7 เฟรมต่อวินาที
A:
อัตราเฟรมที่เร็วขึ้นจะทำให้จำนวนภาพที่ถ่ายได้ต่อหนึ่งช่วงเวลานั้นสูงขึ้น
"นี่จึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการจับภาพตัวแบบที่เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วในจังหวะที่เหมาะสม ดังนั้นจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพเด็กๆ ที่กำลังวิ่งเล่นไปมา สัตว์เลี้ยง กีฬาที่ใช้ความว่องไว และกีฬาแข่งรถ"
อีกทั้งยังสามารถถ่ายภาพการเปลี่ยนแปลงลักษณะการเคลื่อนไหวเล็กๆ น้อยๆ ได้อีกด้วย
*บทความนี้เขียนขึ้นโดยอ้างอิงจากกล้องรุ่นทดลอง ข้อมูลบางอย่างเช่นลักษณะของผลิตภัณฑ์และคุณภาพของภาพอาจแตกต่างจากผลิตภัณฑ์จริงบ้างเล็กน้อย
Ryosuke Takahashi
เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย
Digital Camera Magazine
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation