ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ EOS 80D (ตอนที่ 1) - ตัวกล้อง

2016-03-24
3
7.39 k
ในบทความนี้:

กล้อง EOS 80D เปิดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 2016 เพื่อให้เป็นทายาทต่อจาก EOS 70D กล้องรุ่นนี้จึงได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติมจากกล้องรุ่น EOS 70D เป็นอย่างมาก เรามาพบกับนักพัฒนากล้องเพื่อขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิวัฒนาการของตัวกล้อง รวมถึงแนวคิดของกล้องระดับกลางแบบไฮเอนด์นี้ ซึ่งมีเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดและสะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้ใช้งานที่หลากหลาย (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi ภาพหมู่โดย: Takehiro Kato)

(แถวหลัง จากซ้ายมือ) Kohei Furuya (ศูนย์วิจัยและพัฒนา ICP 2)/ Koji Ikeda (ศูนย์พัฒนา ICP 2)/ Terutake Kadohara (ศูนย์วิจัยและพัฒนา ICP 2)/ Takashi Ichimiya (ศูนย์วิจัยและพัฒนา ICP 2)/ Yuichiro Sugimoto (แผนก ICP 1)
(แถวหน้า จากซ้ายมือ) Takafumi Kishi (ศูนย์พัฒนา ICP 2)/ Masahiro Kobayashi (แผนก ICP 2)/ Nobuyuki Inoue (ศูนย์พัฒนา ICP 2)/ Koji Sato (ศูนย์พัฒนา ICP 1)/ Yutaka Watanabe (ศูนย์พัฒนา ICP 1)

Q: กลุ่มเป้าหมายของกล้อง EOS 80D เป็นใครครับ

A:

"[EOS 80D] ถูกวางตำแหน่งให้เป็นกล้องระดับกลางของตระกูล EOS นอกเหนือจากมือสมัครเล่นขั้นสูงแล้ว เรายังหวังที่จะดึงดูดผู้ที่ซื้อกล้อง DSLR เป็นครั้งแรก

คุณสมบัติของกล้องชนิดนี้เป็นจุดเน้นสำคัญสำหรับผู้เริ่มใช้งาน ในขณะเดียวกันก็ผสานคุณสมบัติสำหรับการถ่ายภาพอย่างจริงจังมากขึ้น

Q: มีการปรับปรุงกำลังขยายและพื้นที่ครอบคลุมของช่องมองภาพด้วยใช่ไหมครับ

A:

"ช่องมองภาพในกล้อง EOS 80 D นั้นได้รับการปรังปรุงให้มีพื้นที่ครอบคลุมราว 100% ส่วนกำลังขยายเพิ่มขึ้นราว 95% ขณะที่ช่วงการปรับแก้สายตาตั้งค่าไว้ที่ประมาณ -3.0 ถึง +1.0m-1 (dpt) ที่จุดมองภาพที่ประมาณ 22 มม."

แน่นอนว่าคุณสมบัติหลักอย่างหนึ่งก็คือพื้นที่ครอบคลุมที่มีราว 100% ในขณะเดียวกัน การที่ช่องมองภาพและฟังก์ชั่น Live View แสดงภาพครอบคลุมพื้นที่่ที่เท่ากันนับว่าสำคัญอย่างมากเช่นกัน

A: เพนทาปริซึม
B: แสงช่วยสำหรับให้ความสว่างบนหน้าจอ LCD โปร่งแสง
C: LCD โปร่งแสง (PN-LCD)
D: หน้าจอโฟกัส
E: ปริซึม LCD แสดงข้อมูล
F: LCD สำหรับแสดงข้อมูลภายนอกระยะชัดลึกของช่องมองภาพ
G: เซนเซอร์การวัดแสง RGB+IR
H: เลนส์ใกล้ตา

Q: ได้มีการออกแบบกล้องให้สามารถควบคุมกระจกระหว่างการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงอย่างไรบ้างครับ

A:

"เราพยายามที่จะลดแรงกระแทกของกระจกหลักและกระจกรองล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดผลกระทบจริง"

สิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษหลังการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงคือ วิธีในการลดการสั่นสะเทือนของกระจกระหว่างการถ่ายภาพ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ นักพัฒนากล้องจึง "พยายามที่จะลดแรงกระแทกของกระจกหลักและกระจกรองก่อนที่จะเกิดผลกระทบจริง" EOS 80D ใช้ระบบขับเคลื่อนโดยตรงซึ่งใช้มอเตอร์แบบไม่มีสปริงเพื่อลดแรงกระแทกเมื่อกระจกเคลื่อนตำแหน่ง

A: กลไกป้องกันการเคลื่อนของกระจกหลัก
B: กลไกการขับเคลื่อนกระจกรอง
C: มอเตอร์ขับเคลื่อน

Q: เรามีวิธีตัดสินใจอย่างไรว่าควรใช้โหมดการเลือกพื้นที่ AF แต่ละโหมดจากทั้งสี่โหมดเมื่อใด

A:

ฟังก์ชั่นพื้นฐานของกล้องรุ่นนี้เหมือนกับฟังก์ชั่นในกล้อง EOS 70D

"[โหมด Large Zone ใหม่] ให้การโฟกัสอัตโนมัติในพื้นที่ที่กว้างขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ Zone AF ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับตัวแบบที่เคลื่อนไหวอย่างฉับไว เรายังแนะนำโหมดนี้สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการกำหนดโฟกัสอย่างคร่าวๆ ในบริเวณกว้างโดยวางตำแหน่งตัวแบบในโซนใดโซนหนึ่งจากสามโซน"

โซน AF

Large Zone AF

 

AF จุดเดียว

การเลือก AF 45 จุดอัตโนมัติื

 

Q: จุด AF 45 จุดนั้นมีประโยชน์สำหรับผู้ใช้งานอย่างไร

A:

"[เมื่อจุด AF มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก] ผู้ใช้สามารถกำหนดจุดที่จะโฟกัสได้แม่นยำยิ่งขึ้นตามองค์ประกอบภาพ ไม่เพียงแต่กล้องจะสามารถจับภาพตัวแบบที่เคลื่อนไหวในพื้นที่ที่กว้างขึ้นได้เท่านั้น แต่ยังสามารถจับโฟกัสบนจุดที่ต้องการในโหมดเลือกจุดอัตโนมัติได้ง่ายยิ่งขึ้น"

ดังนั้น จำนวนของ AF ที่เพิ่มมากขึ้นจึงมีแนวโน้มที่จะทำให้วิธีการถ่ายภาพของผู้ใช้แตกต่างไปอย่างมาก

 

Q: ประโยชน์ของช่องมองภาพอัจฉริยะมีอะไรบ้าง

A:

ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ผ่านช่องมองภาพด้วยสายตาได้

"โดยสามารถแสดงข้อมูลอย่างเช่น โหมดเลือกพื้นที่ AF, เส้นตาราง, เส้นอัตราส่วนภาพ, ไอคอนการตรวจจับแสงที่สั่นไหว, สัญลักษณ์การเตือน, เฟรม AF ของพื้นที่ และระดับอิเล็กทรอนิกส์"

 

Q: การที่กล้องสามารถใช้งานร่วมกับ NFC ได้มีข้อดีอย่างไร

A:

"ทำให้กล้อง EOS 80D สามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนที่ใช้ NFC หรือ Connect Station ได้อย่างง่ายดาย"

เนื่องจากสามารถทำการเชื่อมต่อโดยจัดให้กล้องและอุปกรณ์ที่จะเชื่อมต่ออยู่ใกล้กัน เพียงเท่านี้ การถ่ายโอนหรือจัดเก็บภาพก็แสนง่ายดาย อีกทั้งมีแนวโน้มว่าจะมีการใช้งานฟังก์ชั่นนี้มากขึ้น และเราอาจได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จาก NFC ในอนาคต

A: อุปกรณ์ Wi-Fi / B: อุปกรณ์ NFC

Q: จอ LCD แบบหน้าจอสัมผัสสามารถทำอะไรได้บ้าง

A:

"ให้คุณสามารถใช้งานกล้องได้อย่างเป็นธรรมชาติ ตั้งแต่การตั้งค่าไปจนถึงการถ่ายภาพและดูภาพ"

ฟังก์ชั่นที่เป็นแบบฉบับของจอ LCD แบบหน้าจอสัมผัสคือ Touch AF และชัตเตอร์แบบแตะ การใช้งานหน้าจอสัมผัสบนหน้าจอ Quick Control ก็สะดวกง่ายดายเช่นเดียวกัน การเลือกและตั้งค่าเมนูยังสามารถทำได้โดยการสัมผัสหน้าจอ และเพื่อให้การเลือกราบรื่นมากขึ้นกว่าเดิมก็เพียงแค่ปัดนิ้วบนหน้าจอเท่านั้น

 

Q: เพราะเหตุใดจึงมีการปรับปรุงเลนส์คิทใหม่ครับ

EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM

A:

แม้ว่าเลนส์คิทใหม่ EF-S 18-135mm f/3.5-5.6 IS USM จะมีระยะโฟกัสเท่ากันกับเลนส์ EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS STM แต่ก็ได้รับการออกแบบขึ้น "ตามแนวคิดเพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกันกับภาพเคลื่อนไหวได้มากขึ้นรวมถึงมีโฟกัสอัตโนมัติที่รวดเร็วขึ้น" ความแตกต่างที่สำคัญคือ มีการเปิดตัว Nano USM ซึ่งเป็นแอคทูเอเตอร์ที่ได้รับการพัฒนาใหม่สำหรับการโฟกัสอัตโนมัติ

 

Q: รูปแบบการถ่ายภาพประเภทใดบ้างที่เลนส์คิทตัวใหม่นี้จะใช้งานได้อย่างโดดเด่นที่สุด

EF-S 18-135mm f/3.5-5.6 IS USM ติดตั้งอยู่กับกล้อง EOS 80D

A:

"เลนส์นี้จะช่วยให้ระบบโฟกัสอัตโนมัติมีความเร็วและความแม่นยำสูงขณะถ่ายภาพนิ่ง โดยที่คุณจะสามารถจับโฟกัสได้อย่างฉับไวในขณะถ่ายภาพตัวแบบที่เคลื่อนไหวรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน การทำงานของโฟกัสอัตโนมัติสำหรับการถ่ายภาพเคลื่อนไหวยังเงียบขึ้นและราบรื่นขึ้นกว่าเดิม

นอกจากนี้ อัตราการซูมที่สูงด้วยช่วงโฟกัสระหว่าง 18 ถึง 135 มม. ก็ทำให้เลนส์ยังเป็นประโยชน์ไม่ว่าจะใช้ฉากแบบใดก็ตาม ดังนั้น ผมจึงขอแนะนำเลนส์คิทตัวใหม่นี้หากคุณให้ความสำคัญกับเรื่องความเร็วของโฟกัสอัตโนมัติ

 

Q: เราจะใช้ Power Zoom Adapter PZ-E1 อย่างไร

Power Zoom Adapter PZ-E1

A:

"Zoom Adapter ที่ใช้ระบบไฟฟ้าและสามารถถอดได้นี้จะทำงานโดยใช้แบตเตอรี่ AAA 4 ก้อน คุณสามารถปรับความเร็วในการซูมโดยใช้สวิตช์โหมดความเร็วและก้านซูม นอกจากนี้ ยังสามารถซูมจากระยะไกลได้โดยใช้ EOS Utility หรือ Camera Connect"

Power Zoom Adapter PZ-E1 ใหม่จะช่วยคุณขยายขอบเขตในการถ่ายภาพให้กว้างไกลยิ่งขึ้นทั้งในการถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว

 

Q: Power Zoom Adapter PZ-E1 สามารถนำไปใช้ในการถ่ายภาพนิ่งได้ด้วยหรือไม่

A:

"ใช่ ได้แน่นอนครับ"

Power Zoom Adapter PZ-E1 ไม่ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อการถ่ายภาพเคลื่อนไหวเพียงอย่างเดียว แต่ยังรองรับการซูมจากระยะไกลโดยใช้ EOS Utility และแอพ Camera Connect ดังนั้น คุณจะสามารถใช้งานแอพดังกล่าวได้เช่นกันหากว่าต้องการถ่ายภาพนิ่งจากมุมมองด้านบนหรือเมื่อถ่ายภาพจากสถานที่ห่างไกล นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์ในการถ่ายภาพในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย เช่น การถ่ายภาพสัตว์ป่า หรือการถ่ายภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนโดยใช้รีโมทคอนโทรล

Q: Power Zoom Adapter PZ-E1 สามารถต่อเข้ากับเลนส์ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ของ Canon ทุกชิ้นหรือไม่

A:

 

"ไม่ได้ครับ ปัจจุบัน Power Zoom Adapter PZ-E1 ใช้ได้กับ EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM เท่านั้น"

ขณะนี้ Power Zoom Adapter PZ-E1 สามารถใช้ได้กับเลนส์คิทตัวใหม่เท่านั้น อย่างไรก็ดี การต่อเลนส์สามารถทำได้ง่ายๆ จึงมีแนวโน้มที่จะมีเลนส์รุ่นที่เข้ากันได้เพิ่มมากขึ้นในอนาคต

 
Ryosuke Takahashi

เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย

 
Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย

จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

 
แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา